Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury) - Coggle Diagram
การบาดเจ็บจากการคลอด
(Birth Injury)
ความหมาย
การบาดเจ็บที่เกิดกับทารกระหว่างคลอดจากแรงที่ทำกับทารกโดยตรง และไม่เกี่ยวกับโรคที่มารดาเป็นระหว่างตั้งครรภ์
:warning: ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา
ความผิดปกติที่มีมาก่อนการตั้งครรภ์
มารดามีภาวะเบาหวาน
เชิงกรานแคบไม่ได้สัดส่วนกับทารก (CPD)
ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ
PIH
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ภาวะน้ำคร่ำน้อย
ระยะเวลาของการคลอด
การคลอดเฉียบพลัน
:warning: ปัจจัยเสี่ยงจากทารก
ทารกมีส่วนนำผิดปกติ
หน้า
ไหล่
ก้น
ทารกมีขนาดตัวโตมากทำให้เกิดการคลอดยาก
อายุครรภ์ของทารกไม่ครบกำหนด หรือเกินกำหนด
การคลอดไหล่ยาก
ทารกมีความพิการแต่กำเนิด
:warning: ปัจจัยเสี่ยงจากการคลอด
การคลอดด้วยคีม หรือเครื่องสุญญากาศ
การใช้แรงดึงมากเกินไปในการช่วยคลอดทารก
:warning: ปัจจัยเสี่ยงผู้ทำคลอด
ขาดความชำนาญหรือขาดการเอาใจใส่อย่างเพียงพอ
การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก(Skull injuries)
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ :smiley:
(Caput succedaneum)
เกิดจากการคั่งของของเหลวในระหว่างชั้นของ
หนังศีรษะกับเยื่อหุ้มกระโหลกศีรษะ
:explode: ก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ (suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ
มีขอบเขตไม่แน่นอน
:red_flag: สาเหตุ
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะระหว่างการคลอดท่าศีรษะ ทำให้มีของเหลวไหลซึมออกมานอกหลอดเลือดในชั้นใต้เยื่อหุ้มศีรษะ
การใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด
(vacuum extraction)
:red_flag: การวินิจฉัย
จากการคลำศีรษะทารก พบก้อนบวมโน นุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ชัดเจนข้าม suture พบทันทีภายหลังคลอด
:explode: อาการและอาการแสดง
:check: พบได้ด้านข้างของศีรษะ การบวมของก้อนโนนี้จะมีความกว้างและมีขนาดโตประมาณไข่ห่าน ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
:star: แนวทางการรักษา
หายไปได้เอง ประมาณ 2 -3 วันหลังคลอด
ถ้าเกิดจาก V/E จะหายได้ช้ากว่า
:star: บทบาทการพยาบาล
สังเกตลกัษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการ
บันทึกอาการและการพยาบาล
:explode: ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
:check: มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะของทารก
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ (Cephalhematoma) :smiley:
อาการและอาการแสดง :red_flag:
อาการจะชัดเจนหลัง 24 ชม.ไปแล้วเนื่องจากเลือดจะค่อยๆ ซึมออกมานอกหลอดเลือด
ในรายที่รุนแรงอาจพบทันทีหลังเกิดและพบว่าก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ คือ เป็นสีดำหรือสีน้ำเงินคล้ำ เนื่องจากการแข็งตัวของเลือด และอาจพบว่าทารกมีภาวะซีดได้จากการสูญเสียเลือดมาก
เป็นการคั่งของของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตชัดเจน และไม่ข้ามรอยต่อ (suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ :fire:
:red_flag: สาเหตุ
ระยะเวลาการคลอดยาวนาน
ศีรษะทารกถูกกดจากช่องทางคลอด
การใช้ V/E
พบมากที่กระดูก parietal
:red_flag: ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีอาการรุนแรง ก้อนโนเลือดมขนาดใหญ่ จะเกิดภาวะ hyperbilirubinemiaได้
อาจเกิดการติดเชื้อจากการดูดเลือดออกจากก้อนโนเลือดในกรณีมีแผนการรักษา
:red_flag: การวินิจฉัย
ประวัติเบ่งคลอดนาน ช่วยคลอดโดยใช้ V/E
ตรวจพบศีรษะมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่งลักษณะแข็งหรือค่อนข้างตึง คลำขอบเขตได้ชัดเจน กดไม่บุ๋ม
:star: แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะค่อยๆหายไปเองภายใน 2 เดือน
ถ้ามีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วยและมีระดับบิลลิรูบินในเลือดสูง จำเป็นต้องได้รับการส่องไฟ (phototherapy)
ในรายที่ก้อนเลือดขนาดใหญ่อาจรักษาโดยการดูดเลือดออก
:star: บทบาทการพยาบาล
สังเกต ลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมอง
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด
สังเกตอาการซีด เจาะ Hct และให้เลือดตามแผนการรักษา
ตรวจ MB ถา้ตวัเหลืองรายงานแพทยเ์พื่อพิจารณาส่องไฟ
อธิบายมารดาและบิดาให้เข้าใจถึงอาการของทารก
แนะนำไม่ใช้ใช้ยาทา ยานวด ประคบหรือเจาะเอาเลือดออกเอง
Subgaleal hematoma :smiley:
ภาวะที่มีเลือดสะสมใต้ช่องว่างของเนื้อเยื่อที่พังพืดของกะโหลกกับเยื่อหุ้มกะโหลก
สาเหตุ :red_flag: : มักพบในการคลอดโดยใช้ V/E
:red_flag: อาการและอาการแสดง
:check: มีขอบเขตจากหน้าไปหลังเริ่มจากขอบเบ้าตาไปยังท้ายทอยและด้านข้างจากหูไปหูอีกข้าง
:check: ก้อนมีลักษณะนิ่ม และข้ามแนวประสานกระดูก ก้อนมีขนาด เพิ่มขึ้นช้าๆ ในหลายชั่วโมงหรือวัน หรือเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ทารกช็อกจากการเสียเลือดได
Subgaleal hematoma อันตรายมากกว่า
Cephalhematoma :warning:
เนื่องจากสามารถขยายขนาดได้ตั้งแต่ขอบกระดูกเบ้าตาจนถึงชายผม ทำให้ทารกเสียเลือดมากจนเกิด hypovolemia
ภาวะที่เลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ (Intracranial hemorrhage) :smiley:
เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง
เนื้อเยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา (epidural)
ใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นดูรารา (subdural)
ใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นอะแรคนอยด์(subarachnoid)
ภายในเนื้อสมอง (intracerebral)
ภายในห้องสมอง (intraventricular)
สาเหตุ :red_flag:
Preterm :fire:
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานในขณะคลอดหรือเกิดภายหลังคลอด :fire:
การได้รับอันตรายรุนแรงจาการคลอด
เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด :fire:
✓ การใช้เครื่องมือช่วยคลอด
✓ การคลอดท่าก้น
✓ ภาวะ CPD
✓ การคลอดยาก
✓ การให้ยาช่วยเร่งคลอดไม่เหมาะสม
✓ การคลอดเฉียบพลัน
:red_flag: ภาวะแทรกซ้อน
เลือดออกกดศูนย์หายใจทำให้ทารกหายใจลำบาก
ทารกอาจเกิดปัญญาอ่อน (mental retardation)
:red_flag: การวินิจฉัย
จากประวัติการคลอดเพื่อค้นหาสาเหตุ
:red_flag: อาการและอาการแสดง
▪ รายที่มีอาการรุนแรงจะแสดงอาการแรกคลอดทันที หรืออาจค่อย ๆ แสดงอาการหรืออาจไม่แสดงอาการเลยในบางราย
• Reflex ลดน้อยลงหรือไม่มี โดยเฉพาะ moro reflex จะเสียไป
• กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี มีอาการอ่อนแรง
• มีภาวะซีด หรือมีอาการเขียว
ซึม ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูดนม
• ร้องเสียงแหลม
• การหายใจผิดปกติ มีหายใจเร็ว ตื้น ช้า ไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดหายใจ
• กระหม่อมโป่งตึง
• ชัก (Convulsion)
แนวทางการรักษา:star:
▪ ถ้ามีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจได้รับการรักษาโดยเจาะน้ำไขสันหลังเพื่ออบรรเทาอาการความดันในสมอง
▪ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกถ้าตัวเย็น
▪ ดูแลให้ได้รับยาระงับการชักและให้วิตามินเค
▪ ดูแลให้ออกซิเจนถ้าทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
▪ ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอ
:star: บทบาทการพยาบาล
▪ ดูแลให้ทารกหายใจสะดวกและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
✓ จัดให้นอนราบ ศีรษะตะแคงไปดา้นใดหน้าหนึ่ง อาจยกหัวเตียงสูง กนอ้ยเพื่อลดความดันในสมองและช่วยให้ปอดขยายได้สะดวก
✓ ดูดสิ่งคดัหลั่ง จากปากและจมูกให้หมด
✓ กรณีที่ให้ออกซเิจน สำรวจปริมาณออกซิเจนที่ทารกได้รับควรเกิน 40% หรือตามแผนการรักษา และให้ออกซิเจนที่มีความชื้นปนเพื่อ
ช่วยละลายเสมหะ
▪ ดูแลให้ได้รับนมและน้ำที่เพียงพอ
▪ ให้ทารกอยู่ในตู้อบ (incubator) ที่ควบคุมอุณหภูมิ
▪ เตรียมเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือทารกไว้ให้พร้อม
▪ ตรวจสอบสัญญาณชีพ และบันทึกไว้ทุก 2- 4ชม. ตามระดับความรุนแรงของอาการ
▪ ป้องกันและไม่ให้ทารกได้รับอันตรายจากการชัก
▪ ดูแลใหท้ารกได้พักผ่อน รบกวนทารกให้น้อยที่สุด
▪ ดูแลฉีดวิตามินเค จำนวน 1 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อ
▪ ประคับประคองจิตใจมารดาและบิดา
▪ ให้การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยการให้ความรู้แก่บิดามารดา
ในการดูแลทารกให้เหมาะสม
การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
:explode: กระดูกต้นแขนหัก(Fracture humurus)
:red_flag: สาเหตุ
▪ การคลอดทา่ศีรษะ ไห่คลอดยาก
▪ การคลอดท่าก้น ผู้ทำคลอดดึงทารกออกมาแขนเหยียด
:red_flag: การตรวจร่างกาย
▪ทดสอบ moro reflex พบว่า ทารกจะไม่งอแขน
▪ เมื่อจับแขนขยับทารกจะน้องไห้
:red_flag: อาการและอาการแสดง
กระดูกหักแบบสมบูรณ์ อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะคลอด
แขนข้างที่หักจะมีอาการบวมและทารกจะไม่เคลื่อนไหวข้างที่หักเนื่องจากรู้สึกเจ็บ
:red_flag: แนวทางการรักษา
▪ ถ้าเป็นเพียงกระดูกแขนเดาะ
รักษาโดยการตรึงแขนให้แนบกับลำตัวเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหว 1-2 wks.
▪ กระดูกแขนหักสมบูรณ์
รักษาโดยการจับแขนตรึงกับ
ผนังทรวงอก ศอกงอ 90 องศา แขนส่วนล่างและมือทาบขวางลำตัว ใช้ผ้าพันรอบแขนและลำตัว หรือใส่เฝือกอ่อนจากหัวไหล่ถึงสันหมัด
:fire: กระดูกต้นขาหัก (Fracture femur)
สาเหตุ
▪ การคลอดท่าก้น
▪ ผู้ทำคลอดดึงขาทารก ขณะติดอยู่ที่ทางเข้าเชิงกราน
:red_flag: การตรวจร่างกาย
▪ ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ทารกไม่ยกขาข้างที่หัก
▪ สังเกตว่าทารกจะไม่เคลื่อนไหวขาข้างที่หัก
:red_flag: อาการและอาการแสดง
▪ อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทารกคลอด
▪ อาจไม่ทราบว่ากระดูกหักจนเวลาผ่านไปหลายวัน จะพบว่าขาทารกมีอาการบวม
▪ เมื่อจับทารกเคลื่อนไหวหรือถูกยบริเวณที่กระดูกต้นขาหัก ทารกจะร้องไห้
:star: แนวทางการรักษา
▪ ถ้ากระดูกไม่หักแยกจากกัน (incomplete)
รักษาโดยการใส่เฝือกขายาว ประมาณ 3 -4 wks.
▪ ถ้ากระดูกหักแยกจากกัน (complete)
รักษาโดยการห้อยขาทั้งสองไว้กับราวที่ขวางปลายเตียง ขาเหยียดตรง ให้ก้นและสะโพกลอยจากพื้นดึงขาไว้นาน 2-3 สัปดาห์
:explode: กระดูกไหปลาร้าหัก (Fracture clavicle)
สาเหตุ
▪ ทารกตัวโตหรือคลอดท่าก้น ที่แขนเหยียดซึ่งผู้ทำคลอดดึงแขนออกมา
▪ การคลอดทารกท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
:red_flag:การตรวจร่างกาย
▪ ทดสอบ moro reflex แขนทั้งสองข้างของทารกเคลื่อนไหวไม่เท่ากัน
▪ กรณีที่กระดูกเดาะอาจยกแขนได้ คลำบริเวณที่หักอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ
:red_flag: อาการและอาการแสดง
▪ ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหักน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
▪ ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจับใต้แขนยกตัวทารกขึ้น
▪ อาจพบว่ามีอาการบวมห้อเลือด (ecchymosis) ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
▪ อาจพบปมประสาทใต้ไหปลาร้า (brachial plexus)ของทารกอาจได้รับอันตรายร่วมด้วย
:star: แนวทางการรักษา
▪ ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็ว มักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1 สัปดาห์
▪ รักษาโดยให้แขนและไหล่ด้านที่หักอยู่นิ่งๆโดยการกลัดแขนเสื้อติดกับตัวเสื้อประมาณ 10 – 14 วัน
บทบาทการพยาบาลทารกที่มีอาการบาดเจ็บของกระดูก
ดูแลไม่ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว และจัดบริเวณที่หักให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องตามแผนการรักษา
จัดกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้เคลื่อนไหวร่างกายทารกบ่อย ๆ
ดูแลให้ได้รับความสุขสบายและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่ม
ดูแลให้ทารกได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลการขับถ่าย ป้องกันการระคายเคืองจากอุจจาระและปัสสาวะ
ดูแลให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจแก่ทารก
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
การบาดเจ็บของเส้นประสาท
facial
nerve injury
:pen:
:red_flag: สาเหตุ
▪ การคลอดยาก
▪ การใช้คีมช่วยคลอดทำให้กดเยื่อประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงใบหน้า
การตรวจร่างกาย
▪ จากสังเกตสีหน้าของทารกเวลานอน เวลาร้องไห้หรือแสดงสีหน้าท่าทาง
:red_flag:อาการและอาหารแสดง
▪ มีอาการอมัพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า
มักเป็นด้านเดียว
▪ กล้ามเนื้อด้านที่เป็นอัมพาตจะไม่เคลื่อนไหว ทำให้หน้าเบี้ยวไปข้างที่ดี
▪ รูปหน้าทั้ง 2 ด้านจะไม่เท่ากัน เห็นได้ชัดเจนเมื่อทารกร้องไห้
▪ ลืมตาไดเ้พียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
▪ ปากข้างที่เป็นจะถูกดึงลงมาทา ให้มุมมริมฝีปากล่างตก
▪ ไม่มีรอยย่นที่หน้าผาก
:star: แนวทางการรักษา
▪ ปกติถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน ถึงสัปดาห์
▪ แต่ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
:star: บทบาทการพยาบาล
ล้างตา หยอดตาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อบุตา ตาขาวกระจกตาแห้ง
ดูแลให้ได้รับนมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและเฝ้าการสำลัก
ดูแลให้ทารกได้รับการตอบสนองด้านจิตใจ
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
การให้นมแก่ทารก : กรณีให้นมมารดา
▪ มารดาควรอุ้มทารกให้ศีรษะสูงตลอดเวลาขณะให้นม
▪ สอนวิธีให้มารดาบีบบริเวณลานหัวนมเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี
▪ เมื่อทารกสำลักให้จับตะแคงหน้าหนีทันที เพื่อให้น้ำนมไหลออกจากปาก ก และรีบท าทางเดินหายใจให้โล่ง โดยใช้ลูกสูบยางแดงดูดออก
▪ ถ้าทารกไม่สามารถดูดนมมารดาจากเต้าได้โดยตรงมารดาควรบีบนมใส่ขวดให้กับทารก
การให้นมแก่ทารก : กรณีให้นมผสม
▪ แนะนำให้ใช้หัวนมยางนุ่มขนาดพอเหมาะ
▪ อุ้มทารกให้นมท่าศีรษะสูง ถ้าสำลักจับตะแคงหน้าทันที และทำทางเดินหายใจให้โล่ง
▪ เตรียมอุปกรณ์ช่วยดูดเสมหะให้พร้อมใช้เสมอ
▪ ถ้าทารกไม่สามารถดูดนมจากขวดได้เอง อาจใช้วิธีหยอดนม/ใช้ syringe หยอดเข้าปากบริเวณกระพุ้งแก้มข้างที่ไม่มีอาการ
▪ สอนวิธีการให้นมทารกกับมารดาหรือผู้เลี้ยงดู รวมทั้งวิธีการช่วยเหลือเมื่อทารกมี
อาการสูดสำลัก
ข้อควรจำ
: การให้นมกับทารกต้องให้ทีละน้อย ๆ รอให้ทารกกลืนนมให้หมดก่อนแล้ว
จึงให้ต่อ
การบาดเจ็บของเส้นประสาท Brachial
:pen:
สาเหตุ
▪ เกิดจากข่ายประสาท Brachial ถูกดึงหรือกด
▪ พบในทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้นหรือคลอดยากบริเวณแขนหรือไหล่จากการดึงรั้งออกไปจากศีรษะในระหว่างการคลอด
❖ Erb-Duchenne paralysis
▪ เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังระดับคอ c5-c6
▪ แขนข้างนั้นส่วนบนไม่ขยับ
▪ แขนจะอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
▪ บริเวณข้อมือยังขยับ
▪ กำมือได้ตามปกติ
❖ Klumpke’ s paralysis
▪ เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 7-8 และเส้นประสาทเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1 (c7-8 และ T1)
▪ แขนข้างนั้นส่วนล่างไม่ขยับ
▪ แขนอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
▪ บริเวณข้อมือไม่ขยับ
▪ กำมือไม่ได้
การตรวจร่างกาย :red_flag:
▪ Erb Duchen Paralysis
✓ ทดสอบ moro reflex พบวา่ แขนข้างที่เป็นยกขึ้นไม่ได้ หรือได้น้อย
✓ การเคลื่อนไหวและการงอของแขนลดลง
✓ การตอบสนองต่อการกำมือ (grasp reflex) ปกติ
▪ Klumpke’ s paralysis
✓ ทดสอบ moro reflexไหล่และแขนส่วนบนเหยียดกางออกเป็นปกติ แต่ข้อมือ นิ้วมือตกไม่มีแรง
✓ การตอบสนองต่อการก ามือ (grasp reflex) ผิดปกติ
:star: แนวทางการรักษา
ใหแ้ขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
การพยาบาล :star:
ดูแลให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว โดยจัดแขนให้อยู่ในท่าตามแผนการรักษา ให้มืออยู่ในท่าหงาย ไม่อุ้มทารกลงจากเตียงบ่อย ๆ
ดูแลให้แขนที่ได้รับอันตรายได้ออกกำลัง หลังจากการรักษาพยาบาลในช่วงแรกดีขึ้น และส่งกายภาพบำบัดโดยพยาบาลมีส่วนร่วม
ดูแลความสุขสบายและการผ่อนคลายให้ทารกที่ต้องตรึงแขน สำรวจมือ ปลายนิ้วเพื่อดูว่าเย็นหรือซีดไหม
ทำวามสะอาดร่างกายด้วยความนุ่มนวล ถอดเสื้อจากแขนด้านดีก่อนและสวมเสื้อด้านที่เจ็บก่อน
ตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ควรเพิ่มความรัก แตะต้องสัมผัสมากกว่าทารกปกติ
ช่วยให้บิดามารดามั่นใจในการดูแลทารก
นางสาวอาทิตยา คำบุดดี
เลขที่ 129 รหัส 602701130