Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU :fire:, zagez0,…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU :fire:
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ :<3:
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)
เครื่องช่วยหายใจ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจไม่เพียงพอ มี
บทบาทสำคัญในการรักษาประคับประคองผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลวหรือระบบไหลเวียนล้มเหลว
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure) ในบางภาวะร่างกายมีความจำเป็นในการใช้
ออกซิเจนในปริมาณสูง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure) ผู้ป่วยที่มีภาวะล้มเหลวของการระบาย
อากาศ เช่น ผู้ป่วยที่ซึมมาก ผู้ป่วยโรคหืด
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue) เช่น ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ ความผิดปกติของ
ระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทส่วนปลาย เช่น Guillain-Barre syndrome
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ ในภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูง
ภาวะดังกล่าวทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ลดลง นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasive positive ventilator; NPPVเครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ
Invasive positive ventilator; NPPV
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ (Mode of ventilator)
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV) เป็นวิธีช่วยหายใจที่มีทั้งการหายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
Spontaneous ventilation หมายถึง การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง
Control mandatory ventilation (CMV)เป็นวิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกำหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่มีการหายใจเองเลย
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma)
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia; VAP)
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
ระบบทางเดินอาหาร
ผลต่อภาวะโภชนาการ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจขณะที่ยังรู้สึกตัว จะวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของตนเอง กลัวตาย
การดูแลด้านร่างกาย
1) ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน
2) การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย ตำแหน่งของท่อหลอดลมคอควรอยู่เหนือ Carina ประมาณ 1 นิ้ว
3) การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
4) การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system
5) การป้องกันภาวะปอดแฟบ
6) การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning) การลดการช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจนสามารถหายใจเองและหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจในที่สุด
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยที่สามารถทำการหย่าเครื่องช่วยหายใจได
โรคหรือสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหายหรือทุเลาลง
มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ ค่า PaO2>60 มม.ปรอท FiO2 ไม่เกิน 0.4
ค่า PEEP น้อยกว่า 5 เซนติเมตรน้ำ
ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทำตามคำสั่ง
สัญญาณชีพปกติ อุณหภูมิ<38 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของหัวใจ <100 ครั้ง/นาที อัตราการ หายใจ< 30 ครั้ง/นาทีระดับความดันซิสโตลิก 90-160 มม.ปรอท
ค่า Spontaneous tidal volume เมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว มากกว่า 5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว1 กิโลกรัม
ใช้ยาระงับประสาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการควบคุมความกระวนกระวายของผู้ป่วย
ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจหรือหลอดเลือด
สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยหายใจเองทาง T piece หรือหายใจเองสลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพักๆ
การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจ
ควรเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆ เพื่อลดความกลัว
ดูดเสมหะในปากและท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
จัดท่าของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือท่านั่ง
เริ่มทำการหย่าเครื่องช่วยหายใจเมื่อประเมินสภาพผู้ป่วยว่าพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย T piece 10 ลิตร/นาที ต่อไปได้ ให้ต่อท่อช่วยหายใจเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ setting ก่อนหน้าที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เกณฑ์การพิจารณาถอดท่อช่วยหายใจ
แพทย์พิจารณาให้ถอดท่อช่วยหายใจได้ (extubation)
สามารถหายใจผ่าน T piece 10ลิตร/นาที เกิน 2 ชั่วโมง
สามารถไอขับเสมหะออกมาได้แรงพ้นท่อช่วยหายใจ
รู้สึกตัวดีหรือ GCS>10 คะแนน
ประเมิน cuff leak test ผ่าน
วิธีในการถอดท่อช่วยหายใจ
จัดท่าให้ผู้ป่วยเป็นท่านั่งศีรษะสูง
ดูดเสมหะในปากและในท่อช่วยหายใจให้โล่ง
แกะพลาสเตอร์ที่ยึดท่อช่วยหายใจ
เอาลมในกระเปาะท่อช่วยหายใจออกให้หมดโดยใช้ syringe
ให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจ ค่อยๆดึงท่อช่วยหายใจออกและให้ผู้ป่วยไอขับเสมหะออกมา ดูดเสมหะอีกครั้ง
เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงท
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor) :<3:
การวัดการไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤต
Invasive line monitoring เป็นการตรวจสอบสัญญาณชีพ โดยการใส่สายสวน (catheter) เข้าไป
ตามจุดต่าง ๆ ของระบบไหลเวียน เพื่อนำมาประเมินในการดูแลรักษาผู้ป่วย
ค่าปกติ MAP = 70-100 mmHg. (ซึ่ง MAP จะต้องมากกว่า 60 mmHg. จึงจะทำให้อวัยวะสำคัญในร่างกายมีการกำซาบของเนื้อเยื่อดี)
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ในผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนลดลง หรือความดันโลหิตต่ำ เช่น ในภาวะช็อก ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรงหลายระบบ
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก เช่น ผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด ผ่าตัดสมอง
ในรายที่จำเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas หรือส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการบ่อย ๆ
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก เช่น ผู้ป่วยถูกไฟไหม้ทั้งตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง (arterial line)
ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ ใช้ continuous flush system
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
3.1 การติดเชื้อ (infection)
3.2 การเกิดเนื้อตาย (Skin necrosis)
3.3 Air embolization
3.5 การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลง (limb ischemia)
3.4 ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ (Hematoma)
การป้องกันการติดเชื้อ (Infection)
4.1 ใช้ sterile technique ในทุกขั้นตอนของการเตรียมและการวัด
4.2 หลีกเลี่ยงการปลดสาย ข้อต่อต่างๆ ดูแลให้เป็นระบบปิด
4.3 ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อตรงตำแหน่งสายหลอดเลือดแดง
4.4 ทำแผลทุก 7 วัน
4.5 เปลี่ยนชุดของ transducer และชุดการให้สารน้ำทุก 3 วัน
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศค้างในสาย
ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ ให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการหัก งอ ของสายarterial line
จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที
การป้องกันการเลื่อนหลุด ควร immobilized arm โดยใช้ arm broad
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform)
10.ในกรณีที่แพทย์ถอดสายยางออกแล้วควรกดตำแหน่งแผลไว้นาน อย่างน้อย 10 นาท
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP มีดังนี้
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ shock
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน
ในกรณีที่ต้องการประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
ตำแหน่งเส้นเลือดที่ใช้สำหรับ monitor CVP คือ
subclavian vein เป็นตำแหน่งเหมาะสมที่สุด
รองลงมาคือ internal jugular vein และตำแหน่ง Femoral vein
การแปลงค่า CVP
CVP ปกติ อาจอยู่ในช่วง 6-12 cm H2O (2-12 mmHg)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ความแม่นยำของการเปรียบเทียบค่า
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน พยาบาลควรระมัดระวังสายขณะเคลื่อนย้ายและขณะทำแผล ดูแล
ไม่ให้เกิดการดึงรั้ง และตรวจสอบผ้าปิดแผลติดกับผิวหนังให้แน่น
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ป้องกันการอุดตันของสายสวน การอุดตันสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (central vein thrombosis)
การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต :<3:
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
1.1 Epinephrine หรือ adrenaline
กลไกการออกฤทธ์ ออกฤทธิ์กระตุ้น Alpha adrenergic receptor และ beta adrenergic receptor
การนำไปใช้
ใช้เป็นยาตัวแรกในการทำ CPR ทั้งในภาวะ systole/PEA และ VF/pulseless VT
ใช้ในภาวะ symptomatic bradycardia ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ atropine
Cardiac arrest
ผลข้างเคียง tachycardia, arrhythmias, hypertension
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2ครั้ง เมื่อเริ่มให้ยา
ปรับขนาดยา เมื่อ BP < 90/60 หรือ >140/90 mmHg หรือ HR>120 ครั้ง/นาที หรือตามแผนการรักษา
1.2 Amiodarone (Cordarone®)
กลไกการออกฤทธิ์ เป็น class III antiarrhythmic drugs ใช้รักษาภาวะ tachyarrhythmia
การนำไปใช้
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด Ventricular fibrillation (VF) และ Ventricular tachycardia (VT)
ผลข้างเคียง
อาจทำให้เกิด vasodilatation และ hypotension ได้
Bradycardia, hypothyroidism, hyperthyroidism, thrombophlebitis
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor EKG
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
2.1 Atropine
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น anticholinergic drug ทำงานโดยการไปยับยั้งการทำงานของ vagus nerve ที่หัวใจ
การนำไปใช้ใช้แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ผลข้างเคียง ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)
การพยาบาล
ควรระวังการให้ขนาดที่ต่ำกว่า 0.5 mg
ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG อัตราการเต้นของหัวใจและความดัโลหิต
ไม่ควรให้ถ้า HR > 60 ครั้ง/นาที
รายงานแพทย์เมื่อ HR > 120 ครั้ง/นาที โดยให้ monitor HR ทุก 5 นาที
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
3.1 Adenosine
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น purine nucleoside สามารถยับยั้งการนำไฟฟ้าผ่าน AV node
การนำไปใช้
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia (reentry SVT)
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
ผลข้างเคียง อาการหน้าแดง (flushing) เหนื่อยและแน่นหน้าอก
การพยาบาล เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว (10 วินาที) และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องฉีดเร็วๆ
3.2 Digoxin (Lanoxin ®)
กลไกการออกฤทธิ์มีผลเพิ่ม vagal tone ทําให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น
การนำไปใช้
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ atrial fibrillation (AF), atrial flutter และ supraventricular
Tachycardia (SVT)
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A arrest
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation
การเป็นพิษจากยา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ปวดท้อง เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย สับสบ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจหยุดเต้น (heart block)
การพยาบาล
กรณียาฉีด ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา และหลังให้ยาทุก 15 นาที
monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
4.1 Dopamine (Inopin®)
กลไกการออกฤทธิ์ยาออกฤทธิ์กระตุ้น Adrenergic และ Dopaminergic receptors ตามขนาดยา
การนำไปใช้
ขนาดต่ำ ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไต (renal blood flow)และสมอง
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม Cardiac out put
ขนาดสูง ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ shock จากการติดเชื้อในกระแสเลือด
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
ผลข้างเคียงเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ เป็นต้น
การพยาบาล
เลือกตำแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดำเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยาโดยใช้เครื่องควบคุมอัตราการไหลของสารน้ำอัตโนมัติ (Infusion pump)
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากพบรอยแดง บวมให้เปลี่ยนตำแหน่งใหม่ทันที
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต monitor ECG urine out put อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชม.
สามารถปรับเพิ่มหรือลดยาได้ทีละ 2µd/min keep BP ≥ 90/60 และ ≤140/90 หรือตามแผนการรักษาของแพทย์
4.2 Dobutamine
กลไกการออกฤทธิ์ เป็นยาในกลุ่ม Adrenergic agonist ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ Beta-1 และAlpha-1 Adrenergicreceptors ที่หัวใจ
การนำไปใช้เพิ่ม cardiac output ในผู้ป่วยหัวใจวาย หรือ cardiogenic shock
ผลข้างเคียง
ยาอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะได้
บางรายอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
การพยาบาล เหมือนกับยา Dopamine
4.3 Norepinephrine (Levophed®) กลุ่ม Adrenergic agonist
กลไกการออกฤทธิ์ ยาออกฤทธิ์กระตุ้น beta1 และ alpha adrenergic receptors
การนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะseptic shock และ cardiogenic shock ระดับรุนแรง
ผลข้างเคียง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย หายใจลำบาก
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง
5.ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
5.1 Nicardipine
กลไกการออกฤทธิ์ เป็นยากลุ่ม Calcium channel blocker
ผลข้างเคียง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
การนำไปใช้ ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
กรณี Emergency ให้ยาทาง IV bolus
5.2 Sodium Nitroprusside
กลไกการออกฤทธิ์ ยาขยายหลอดเลือดแดงและดำ โดย free nitroso group (NO) จะไปยับยั้ง excitation-contraction coupling ของผนังหลอดเลือด (vascular smooth muscle)
การนำไปใช้
ใช้ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ผลข้างเคียง หากลดความดันโลหิตเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก
การพยาบาล ประเมินสัญญาณชีพ และ ป้องกันยาในขวดน้ำเกลือทำปฏิกิริยากับแสงด้วยกระดาษ ผ้า หรือ aluminum foil
5.3 Nitroglycerin (NTG)
กลไกการออกฤทธิ์
ยาขยายหลอดเลือดโดยการหลั่ง nitric oxide (NO) เข้าสู่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด กระตุ้น
guanylate cyclase ใน cytoplasm
การนำไปใช้
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
ผลข้างเคียง Hypotension, Tachycardia, Flushing, headache
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ยามีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ
monitor EKG ยาทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)