Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU, จิดาภา…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือด
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง
(intra-arterial monitoring)
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง
การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
Air embolization จาก air ที่ใช้หลุดเข้าไปในระบบจากการ flush โดยมักเกิด cerebral embolization ได้ในการแทง axillary artery cannulation
ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ มักเกิดในรายที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ สามารถป้องกันได้โดยกดห้ามเลือดตําแหน่งที่แทง
การเกิดเนื้อตาย (Skin necrosis) อาจเกิดได้ ถ้ามี thrombosis เกิดขึ้น
การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลง ตรวจสอบอุณหภูมิความรู้สึก capillary refill และคลําชีพจรแขนหรือขาข้างที่ใส่สายยาง เพื่อป้องกันภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนปลาย
การติดเชื้อ (infection) อาจเกิดได้จากการแทงผ่านผิวหนังที่มีการติดเชื้ออยู่เดิมและการใช้ sterile technique ที่ไม่ดีพอหรือการติดเชื้อหลังจากใส่ไว้เป็นเวลานาน และสาเหตุอื่นๆ
การป้องกันการติดเชื้อ
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อตรงตําแหน่งสายหลอดเลือดแดง
ทําแผลทุก 7 วัน กรณีใช้ transparent dressing หรือเปลี่ยนผ้าปิดแผลทุก 2 วัน กรณีใช้ gauze dressing หรือเมื่อมีเลือดหรือสารน้ําเปียกซึม
หลีกเลี่ยงการปลดสาย ข้อต่อต่างๆ ดูแลให้เป็นระบบปิด
เปลี่ยนชุดของ transducer และชุดการให้สารน้ําทุก 3 วัน
ใช้ sterile technique ในทุกขั้นตอนของการเตรียมและการวัด
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ ใช้ continuous flush system โดยใช้สารน้ํา 0.9% NSS 500 cc ผสมกับ Heparin 2,000-2,500 ยูนิต ซึ่งใส่ความดันขนาด 300 มม.ปรอท
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศค้างในสาย
ตรวจสอบความแม่นยําของการปรับเทียบค่า
Levelling the transducer จัดตําแหน่ง transducer ให้อยู่ในตําแหน่ง phlebostatic axis
Zeroing the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ เพื่อเทียบกับเครื่อง monitor ให้การวัดความดันมีความเที่ยงตรงและแม่นยํา
ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ ให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการหัก งอ ของสาย arterial line
การป้องกันการเลื่อนหลุด ควร immobilized arm โดยใช้ arm broad ที่เหมาะสม บริเวณ insert site ต้องสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน และบันทึกตําแหน่งของสายยาง หากพบควร ดูดลิ่มเลือดหรือฟองอากาศออกและรายงานแพทย์
จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที ตามความจําเป็น และรายงานแพทย์ เมื่อค่าที่ได้มีความผิดปกติ
ในกรณีที่แพทย์ถอดสายยางออกแล้วควรกดตําแหน่งแผลไว้นาน อย่างน้อย 10 นาที หรือจนกว่า เลือดจะหยุด ทําความสะอาดแผลและปิดแผลด้วย plaster ที่เหนียวให้แน่น ด้วยหลักปราศจากเชื้อ
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ในรายที่จําเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas
หรือส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการบ่อย ๆ
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก เช่น ผู้ป่วยถูกไฟไหม้ทั้งตัว
ในผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนลดลง หรือความดันโลหิตตำ่
เป็นวิธีการสอดใส่สายยางเข้าไปในเส้นเลือดแดง (arterial line; A-line) และนํามาต่อกับเครื่องวัด (manometer) เป็นการวัดความดันของหลอดเลือดแดงโดยตรง
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดําส่วนกลาง
(Central venous pressures; CVP)
ตําแหน่งเส้นเลือดที่ใช้สําหรับ monitor CVP
subclavian vein
internal jugular vein
สายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง (central line)
Femoral vein
สามารถ monitor CVP ทาง catheter ซึ่งตําแหน่งที่ใช้จะเป็นเส้นเลือด ดําใหญ่บริเวณข้อพับ
การแปลงค่า CVP
ใช้ water manometer หรือใช้ไม้บรรทัดที่มีสายยาง (extension tube) ซึ่งใช้บ่อยบนคลินิก จะมีหน่วยเป็น centimeters of water (cm H2O)
ใช้ pressure transducer ซึ่งจะมีหน่วยเป็น millimeters of mercury (mmHg)
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ําเกิน
ในกรณีที่ต้องการประเมินการทํางานของหัวใจและหลอดเลือด
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ shock และกรณีอื่นที่ทําให้ปริมาณเลือด และน้ําในร่างกายลดลง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวน
หลอดเลือดดําส่วนกลาง
ป้องกันการอุดตันของสายสวน การอุดตันสายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มี fibrin sheath มาเกาะสาย การเกิดลิ่มเลือดอุดตันในสาย ควรตรวจสอบตําแหน่งสายและทดสอบสายก่อนใช้งานทุกครั้ง ดูแลสายสวนทางหลอดเลือดดํา ไม่ให้หักพับงอ การให้ยาหรือสารละลาย ต่างชนิดควรใช้ NSS flush คั่นก่อน
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน พยาบาลควรระมัดระวังสายขณะเคลื่อนย้ายและขณะทําแผล ดูแลไม่ให้เกิดการดึงรั้ง และตรวจสอบผ้าปิดแผลติดกับผิวหนังให้แน่น
การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายป้องกันฟองอากาศเข้าสู่หลอดเลือดใ
ความแม่นยําของการเปรียบเทียบค่า
Levelling the transducer จัดตําแหน่ง transducer ให้อยู่ในตําแหน่ง phlebostatic axis คือ ตําแหน่ง 4th intercostal space ตัดกับ mid anterior-posterior line
Zero the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0) เพื่อเทียบกับเครื่อง monitor ให้การวัดความดันมีความเที่ยงตรงแม่นยํา
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด
จากการใส่สายสวนหลอดเลือดดํา
ส่วนกลาง การพยาบาล มีดังนี้
ทําความสะอาดแผลด้วย 2% Chlorhexidine in 70% Alcohol และเปลี่ยน sterile transparent dressing ทุก 7 วัน
กรณีการเปลี่ยนชุดสารน้ําควรเปลี่ยนภายใน 72 ชั่วโมง และชุดให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําชนิดที่เป็นไขมันแบบ emulsions ซึ่งมีส่วนผสม amino acids และ glucose ควรเปลี่ยน ภายใน 24 ชั่วโมง
ประเมินแผลบริเวณรอบๆ ที่คาสายสวนหลอดเลือดดําทุกเวรและทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าปิดแผลสังเกตอาการอักเสบบวม แดง
สวมปิดบริเวณข้อต่อด้วย needleless connectorเพื่อให้สายสวนหลอดเลือดดําอยู่ในระบบปิด ควรเปลี่ยน needleless connector เมื่อสกปรก
พิจารณาความจําเป็นในการคาสายสวนหลอดเลือดดํา
และพิจารณาถอดออกให้เร็วที่สุด
เฝ้าระวังและดูแลระบบการให้สารน้ําต้องเป็นระบบปิดตลอดเวลา
การวัดการไหลเวียนเลือดและ
ความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤต
Invasive line monitoring เป็นการตรวจสอบสัญญาณชีพ โดยการใส่สายสวน (catheter) เข้าไป ตามจุดต่าง ๆ ของระบบไหลเวียน เพื่อนํามาประเมินในการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่องและ วิเคราะห์ผลได้รวดเร็ว
ผู้ป่วยภาวะวิกฤตเป็นผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบการไหลเวียนโลหิตอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการตรวจสอบและเฝ้าระวังเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต โดยใส่เครื่องวัดการไหลเวียนและความดันโลหิต
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
และการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ
การบาดเจ็บต่อกล่องเสียงและเยื่อบุหลอดลม พบในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอเป็นเวลานาน สามารถกดผนังหลอดลม จนทําให้เกิดภาวะขาดเลือด เกิดแผลและภาวะแทรกซ้อนอื่น
ภาวะปอดแฟบ
มพบภาวะปอดแฟบได้จากการตั้งปริมาตรการหายใจตำ่และไม่มีการตั้งถอนหายใจให้ผู้ป่วย
ดังนั้นควรช่วยหายใจด้วยมืออาจทําหลังดูดเสมหะ โดยค่อยๆบีบเข้าช้า ๆ เมื่อปอดขยายตัวเต็มที่แล้ว ให้บีบค้างไว้ประมาณ 5 วินาที
แล้วจึงปล่อยออก ทําติดต่อกัน 5 ครั้ง
ภาวะถุงลมปอดแตก
ภาวะที่มีลมรั่วจากถุงลมเนื่องจากการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวก หรือการค้างความดันในช่วงหายใจออกให้เป็นบวก (PEEP)
การเกิดปอดอักเสบจาก
การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนานเกิน 48 ชั่วโมง ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative)
ป้องกันโดยการล้างมือก่อนและหลังทุกครั้ง ที่มีการดูดเสมหะ ดูดเสมหะโดยยึดหลัก Aseptic technique เฝ้าระวังหรือติดตามการติดเชื้อที่เกิดโดยการ สังเกตลักษณะ สี กลิ่นของเสมหะ ฟังเสียงปอด ติดตามภาวะไข้ ผล CXR รวมถึงเก็บเสมหะส่งเพาะเชื้อ
การบาดเจ็บของปอดจากการ
ใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป
พบในผู้ป่วยที่มีโรคปอดอยู่เดิม การตั้งปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป ส่งผลต่อความดันสูงสุดในทางเดินหายใจ ทําให้ถุงลมถ่างขยายมากเกินไป
ป้องกันได้โดยการตั้งความดันสูงสุดในถุงลมปอดไม่เกิน
35 เซนติเมตรน้ํา และการตั้งค่า tidal volume ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ภาวะพิษจากออกซิเจน
เกิดจากการได้รับความเข้มข้นของออกซิเจนมากกว่า0.6 นานเกิน 24-48 ชั่วโมงขึ้นไป จะทําให้มีการทําลายของเนื้อปอดได้
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
ใช้เครื่องช่วยหายใจจะทําให้เลือดดําไหลกลับหัวใจลดลง
เนื่องจากการมีแรงดันในช่องอกสูงขึ้นกว่าปกติ
ระบบทางเดินอาหาร
การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
ผลต่อภาวะโภชนาการ
ผู้ป่วยต้องงดน้ํางดอาหาร ทําให้ร่างกายต้องนํากลูโคสที่สะสมที่ตับมาใช้เพื่อนําไปใช้ในการสังเคราะห์น้ําตาลทําให้ผลเสียต่อการทํางาน
หลายระบบ รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกัน
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านร่างกาย
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
โดยการดูดเสมหะเมื่อพบว่ามีปริมาณเสมหะมาก
การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
และดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด
การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
การป้องกันภาวะปอดแฟบ
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน ต้องรายงานแพทย์ทันที
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สําคัญ
การดูแลด้านจิตใจ
พยาบาลควรประคับประคองด้านจิตใจโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและวิธีการรักษา
พยาบาลควรดูแลด้านจิตใจของ ครอบครัวและญาติของผู้ป่วยด้วย
การไม่สามารถ สื่อสารกับผู้อื่นทางคําพูดได้ ทําให้เกิดความคับข้องใจ
พยาบาลควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และดูแลความสุขสบายทั่วไป
วิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย ของตนเอง กลัวตาย กลัวเครื่องช่วยหายใจหลุด บางรายรู้สึกท้อแท้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasive positive ventilator (NPPV)
แก้ไขภาวะกรดจากการหายใจ ลดอัตราการหายใจแต่จะควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดีเท่าเครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวก
ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
เหมาะสําหรับผู้ป่วยหายใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง สําหรับใช้ที่บ้าน หรือใช้ในเวลากลางคืนและใช้ในรายที่ ถอดท่อช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจที่ให้การช่วย หายใจผู้ป่วยที่ไม่มีท่อทางเดินหายใจซึ่งสามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น
Invasive positive ventilator (NPPV)
เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้มากที่สุดในภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นการอัดอากาศเข้าไปในปอดผ่านทาง endotracheal tube หรือ tracheostomy
โดยใช้แรงดัน บวก
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ
Synchronized Intermittent
mandatory ventilation (SIMV)
เป็นวิธีช่วยหายใจที่มีทั้งการหายใจเองและ
การหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
เป็นการเตรียมหย่าเครื่องช่วยหายใจ
Spontaneous ventilation
Continuous positive airway pressure (CPAP)
การหายใจที่ให้แรงดันบวก(PEEP) ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก โดยไม่มีการส่งแรงดันช่วยเพิ่มขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า
Pressure support ventilator (PSV)
การหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วย สามารถหายใจได้เอง เครื่องจะช่วยจ่ายแก๊สเพื่อให้ได้ระดับความดันตามที่ตั้งไว้
และจะหยุดจ่ายอากาศเมื่อ ผู้ป่วยไม่ต้องการแล้ว
Control mandatory ventilation (CMV)
หรือ Assist/control (A/C) ventilation
ควรเลือกใช้เมื่อผู้ป่วยได้รับยานอนหลับและ/หรือร่วมกับ
ยาหย่อนกล้ามเนื้อ
เป็นวิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกําหนดด้วย
เครื่องช่วยหายใจทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่มีการหายใจเองเลย
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ
การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง/เสี่ยงเนื่องจากมีการมีติดเชื้ออย่างรุนแรงของเนื้อปอด/การระบายอากาศและการกําซาบไม่สมดุล/สมองได้รับบาดเจ็บ
การกําซาบเนื้อเยื่อไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากถุงลมปอดเสียหน้าที่
ขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเสมหะเหนียวและ
ไม่สามารถไอออกเองได้
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อของปอดเนื่องจากการใส่ท่อหายใจ/
การกลืนผิดปกติและภูมิต้านทานร่างกายลดลง
เสี่ยง/มีโอกาสเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ/มีการรั่วของลม/มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด/มีภาวะปอดแฟบ
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ
(ventilation failure)
ผู้ป่วยที่มีภาวะล้มเหลวของการระบาย อากาศ
เช่น ผู้ป่วยที่ซึมมาก ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง
(diaphragm fatigue)
ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ ความผิดปกติของระบบประสาท
รวมทั้งความผิดปกติของผนังทรวงอกและภาวะอ้วน
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
เครื่องช่วยหายใจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีการใช้ออกซิเจนที่ลดลงจากการลดการ ทํางานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ และทําให้มีการกระจาย
ออกซิเจนเข้าสู่ในระบบทางเดินหายใจที่ดีขึ้น
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ในภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูง ทําให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ลดลง
ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว การใช้เครื่องช่วยหายใจจะทําให้เลือดกลับสู่หัวใจลดลง ในขณะที่ลดแรงตึงของผนังกล้ามเนื้อ หัวใจขณะบีบตัว ทําให้การทํางานของหัวใจดีขึ้นและทําให้ อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของหัวใจห้องซ้ายดีขึ้น
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือท่านั่งหากไม่มีข้อห้าม
เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของปอด
เริ่มทําการหย่าเครื่องช่วยหายใจเมื่อประเมินสภาพผู้ป่วยว่าพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยวิธี T piece หรือวิธีปรับ mode การหายใจ
ดูดเสมหะในปากและท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
ส่งเสริมให้อากาศผ่านเข้าออกอย่างมีประสิทธิภาพ
วัดสัญญาณชีพและ Oxygen saturation ก่อน
ขณะการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทุก 5-10 นาที
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆเพื่อลดความกลัว
ให้ผู้ป่วยร่วมมือและให้กําลังใจผู้ป่วย
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ใช้เกณฑ์การเฝ้าระวัง ได้แก่ SpO2 >90% P<120ครั้ง/นาที R < 30ครั้ง/นาที
SBP 90-160 mmHg EKG ไม่เปลี่ยนแปลง
ควรเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจาก
ผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
สัญญาณชีพปกติ T < 38 P < 100 ครั้ง/นาที R < 30 ครั้ง/นาที
Systotic 90-160 mmHg
ค่าSpontaneoustidalvolumeเมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้วมากกว่า5มิลลิลิตรต่อน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม
ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทําตามคําสั่ง
Rate Volume Ratio (RVR) <105 จึงจะมีโอกาส
เอาเครื่องช่วยหายใจออกได้
ค่า PEEP น้อยกว่า 5 เซนติเมตรน้ํา
ใช้ยาระงับประสาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการควบคุม
ความกระวนกระวายของผู้ป่วย
ค่า PaO2 > 60 มม.ปรอท FiO2 ไม่เกิน 0.4
ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจหรือหลอดเลือดถ้ามียาต้องอยู่ในระดับตำ่
โรคหรือสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหายหรือทุเลาลง
สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
การลดการช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจนสามารถ
หายใจเองและหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจในที่สุด
เครื่องช่วยหายใจ
ใช้สําหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจไม่เพียงพอ
มีบทบาทสําคัญในการรักษาประคับประคองผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลวหรือระบบไหลเวียนล้มเหลว
เป็นการช่วยหายใจแบบแรงดันบวก “positive mechanical ventilator”
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
Adenosine 6 mg/2 ml/vial ฉีดทางหลอดเลือดดําขนาด 6 mg ฉีดเร็ว ๆ ภายใน 1 – 3 วินาที ตามด้วย NSS bolus 20 ml พร้อมกับยกแขนสูง (double syringe technique) สามารถให้ยาซํา้ ได้อีก 12 mg
ผลข้างเคียง
อาการหน้าแดง (flushing) เหนื่อยและแน่นหน้าอก ซึ่งอาการไม่รุนแรงและมักจะหายไป ในเวลา< 1 นาที
การนําไปใช้
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia หรือใน ภาวะ unstable narrow complex regular tachycardia แต่ต้องเตรียมพร้อมทํา cardioversion ไว้ด้วย
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
การพยาบาล
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว (10 วินาที) และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องฉีดเร็วๆ บริเวณ upper extremities และ flush NSS ตาม 20 ml ด้วยวิธี double syringe technique
ถ้าฉีดยาช้าเกินไปยาจะถูกทําลายหมดก่อนถึงหัวใจ เนื่องจากยามี half-life สั้นมากเพียง 0.5-5 วินาที
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น purine nucleoside สามารถยับยั้งการนําไฟฟ้าผ่าน AV node เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย ยาจะถูกจับและทําลายที่เม็ดเลือดแดงและผนังหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว
Digoxin
ขนาดที่ใช้
Digoxin injection 0.5 mg/ 2 mL amp (=0.25 mg/mL) ขนาดเริ่มแรก 0.25 – 0.5 mg ทางหลอดเลือดดําและให้ซ้ําได้ขนาดสูงสุด 1 mg/day
การบริหารยา
การให้ยาแบบ IV bolus จะต้องให้แบบช้าๆ นานกว่า 5 นาที ยาฉีดที่ให้อาจไม่ต้องเจือ จางแต่ถ้าเจือจางควรเจือจางด้วย sterile water for injection, NSS, D5W โดยใช้สารละลายมากกว่า 4 เท่า เพื่อป้องกันการตกตะกอนและควรใช้ทันทีที่ผสม
การนําไปใช้
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ atrial fibrillation (AF), atrial flutter และ supraventricular Tachycardia (SVT)
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation
การเป็นพิษจากยา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย สับสบ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจหยุดเต้น (heart block)
หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A arrest
กลไกการออกฤทธิ์
มีผลเพิ่ม vagal tone ทําให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น จากการลดการทํางานของระบบประสาท sympathetic ทําให้อัตราเต้นของหัวใจ
ลดลง
การพยาบาล
monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง หรือในผู้ป่วยที่มีลักษณะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากพิษของยา
รายงานแพทย์เมื่อ HR < 60 ครั้ง/นาที หรือ >100 ครั้ง/นาที BP < 90/60 mmHg RR < 14 ครั้ง/ นาที หรือพบ Arrhythmia
กรณียาฉีด ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา และหลังให้ยาทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2 ครั้ง ต่อไปทุก 30 นาที ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมงจนครบ 6 ชั่วโมง
ยากระตุ้นความดันโลหิต
Dobutamine
ขนาดที่ใช้
Dobutamine 2-20 mcg/kg/min ขนาดยามากกว่า 20 mcg/kg/min ทําให้หัวใจเต้นเร็ว ซงทําให้ภาวะหัวใจขาดเลือดแย่ลงได้
การบริหารยา
ยา 1 Vial บรรจุ 20 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg หรือ 12.5 mg/ml แผนการรักษาของแพทย์ นิยมเขียนเป็น 1:1, 2:1, 4:1 ใช้สารละลาย D5W หรือ NSS ให้ขนาดตามแผนการรักษา การคํานวณ dose และ drip rate ได้จากสูตร
การนําไปใช้
เพิ่ม cardiac output ในผู้ป่วยหัวใจวาย หรือ cardiogenic shock
ผลข้างเคียง
บางรายอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากยาทําให้หัวใจ ต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นจากฤทธิ์ของยาที่ทําให้หัวใจเพิ่มแรงบีบตัว
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทําให้เนื้อเยื่อตายได้
ยาอาจทําให้เกิดความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะได้
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ Beta-1 และAlpha-1 Adrenergic receptors ที่หัวใจ ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น และหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว ทําให้ช่วยลด afterload ทําให้การบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ดังนั้นจึงเพิ่ม Cardiac output
การพยาบาล
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากพบรอยแดง บวม ให้เปลี่ยนตําแหน่งใหม่ทันที
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต monitor ECG urine out put อาการข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชม.
เลือกตําแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดําเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยาโดยใช้เครื่อง ควบคุมอัตราการไหลของสารน้ําอัตโนมัติ
สามารถปรับเพิ่มหรือลดยาได้ทีละ 2μd/min keep BP ≥ 90/60 และ ≤140/90 หรือตามแผนการ รักษาของแพทย์
Norepinephrine
ขนาดยาที่ใช้
เริ่มต้นที่ 0.01-3 mcg/kg/min หากขนาดยาเกิน 1 mcg/kg/min เฝ้าระวังการเกิด vasoconstriction อย่างใกล้ชิด
การบริหารยา
ยา 1 Amp บรรจุ 4 ml มีความเข้มข้นของยา 4 mg (1 mg/ml) แผนการรักษาของแพทย์นิยมเขียน เป็น 4:100, 8:100 สารละลายที่ใช้เจือจางยาคือ D5W เท่านั้น ห้ามผสมใน NSS ตามสัดส่วนในแผนการรักษา สําหรับ peripheral line ไม่ควรผสมเกินกว่า 4 mg/D5W 250ml
การนําไปใช้
รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะseptic shock และ cardiogenic shock ระดับรุนแรง หรือภาวะ shock หลังจากได้รับสารน้ําเพียงพอแล้ว
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะปวดศีรษะความดันโลหิตสูงกระวนกระวายหายใจ
ลําบาก
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทําให้เนื้อเยื่อตายได้ตรวจดู IV site ทุก1ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวัง การเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากพบรอยแดง บวม ให้เปลี่ยนตําแหน่งใหม่ทันที
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้น beta1 และ alpha adrenergic receptors ส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ทําให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวและคลายตัวเพิ่มขึ้นแต่อัตราการเต้นของหัวใจไม่ เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นน้อยโดยเมื่อฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดํายาจะออกฤทธิ์ภายใน 1-2 นาที
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะความดันโลหิตอัตราการเต้นของหัวใจและmonitorECGอาการ ข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชั่วโมง
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากผสมยาความ เข้มข้นเกินกว่า 4 mg/D5W 250ml ควรให้ทาง central line
Dopamine
ขนาดที่ใช้และการบริหารยา
ยา 1 Amp บรรจุ 10 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg (25 mg/ml) แผนการรักษาของแพทย์นิยม เขียนเป็น 1:1, 2:1, 4:1 (ความเข้มข้นของยา:สารละลาย) สารละลายที่ใช้เจือจางยาคือ NSS หรือ D5W การคํานวณ dose และ drip rate ได้จากสูตร
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทําให้เนื้อเยื่อตายได้
ผลข้างเคียงเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ เป็นต้น
การนําไปใช้
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม Cardiac output
ขนาดสูง ทําให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ shock จากการติดเชื้อในกระแสเลือด
ขนาดตำ่ ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไต (renal blood flow)และสมอง
การพยาบาล
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากพบรอยแดง บวม ให้เปลี่ยนตําแหน่งใหม่ทันที
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต monitor ECG urine out put อาการข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชม.
เลือกตําแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดําเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยาโดยใช้เครื่อง ควบคุมอัตราการไหลของสารน้ําอัตโนมัติ
สามารถปรับเพิ่มหรือลดยาได้ทีละ 2μd/min keep BP ≥ 90/60 และ ≤140/90 หรือตามแผนการ รักษาของแพทย์
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้น Adrenergic และ
Dopaminergic receptors ตามขนาดยา
ขนาดตำ่(0.5-3mcg/kg/min)กระตุ้นdopaminergicreceptorsส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังไต
ขนาดปานกลาง(3-10mcg/kg/min)ยาจับกับbeta1receptorsกระตุ้นการปลดปล่อย norepinephrine ทําให้เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
ขนาดสูง (10-20 mcg/kg/min) มีผลต่อ alpha1adrenergic receptors ทําให้เกิดการหดตัวของ หลอดเลือดเพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
ขนาดยาที่ใช้
0.6-1 mg ทุก 3-5 นาที (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 3 mg)
การบริหารยา
Atropine 0.6 mg/ml/ampule ให้ IV Bolus: Undiluted
or dilute 1-10 ml ฉีด 15 – 30 วินาที
การนําไปใช้
ใช้แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ผลข้างเคียง
ทําให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) และในกรณีที่มี acute myocardial infarction อาจทําให้เกิดภาวะ ischemia มากขึ้น ท้องอึด การเคลื่อนไหวของลําไส้ลดลง
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น anticholinergic drug ทํางานโดยการไปยับยั้งการทํางานของ vagus nerve ที่หัวใจ ทําให้มีการเพิ่มขึ้นของ heart rate
การพยาบาล
ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG ทั้ง HRและBP
ไม่ควรให้ถ้า HR > 60ครั้ง/นาที
ควรระวังการให้ขนาดที่ตำ่กว่า 0.5 mg อาจเกิดการตอบสนองชนิดหัวใจเต้นช้าลงไปอีกได้ เนื่องจากยาในขนาดตำ่มีผลกระตุ้น central หรือ peripheral parasympathetic
รายงานแพทย์เมื่อHR>120ครั้ง/นาทีโดยให้monitorHRทุก5นาที
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ adrenaline
1 mg/ ml/ ampule (1: 1,000)
ขนาดยาที่ใช้
Hypotension or symptomatic bradycardia อาจผสม 1 mg ใน NSS หรือ sterile water 500 ml ในขนาด 2-10 mcg/min
ขนาดยาที่ใช้ในความดันโลหิตตำ่รุนแรง ขนาด 0. 05- 1.0 mcg/kg/min
Cardiac arrest เริ่ม 1 mg IV และให้ซำ้ทุก 3-5 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น ขนาดยาที่ใช้ทางท่อช่วยหายใจ ขนาด 2-2.5 มิลลิกรัม
การบริหารยา
IV; Undilute (1:1,000) หรือ dilute ให้ได้ 1: 10,000 ยา (1 amp: สารน้ํา 10 ml) อัตราตามแผนการรักษา
การนําไปใช้
ใช้ในภาวะ symptomatic bradycardia ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้atropine
Cardiac arrest
ใช้เป็นยาตัวแรกในการทําCPRทั้งในภาวะsystole/PEAและVF/pulselessVT
ผลข้างเคียง
tachycardia, arrhythmias, hypertension
กลไกการออกฤทธิ์
เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary perfusion)
เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (cerebral perfusion)
ออกฤทธิ์กระตุ้น Alpha adrenergic receptor และ beta adrenergic receptor ทําให้หลอดเลือดดําส่วนปลายหดตัว (vasoconstriction)
เพิ่มความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ (positive inotropic effect) และอัตราการเต้นของหัวใจ
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ทุก 15 นาที ติดต่อกัน 2 ครั้ง เมื่อเริ่มให้ยา
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ทุก 15 นาที ติดต่อกัน 2 ครั้ง เมื่อเริ่มให้ยา
Amiodarone
ขนาดที่ใช้
ในกรณีทํา CPR ขนาด 300mg หรือ 5 mg/kg เจือจางใน D5W 20 ml. IV push หลังจากนั้นให้ maintenance dose 10-20 mg/kg/day ขนาดเฉลี่ย 600-800 mg/24 ชั่วโมง อาจให้ได้สูงถึง 1.2 g/24 ชั่วโมง
การบริหารยา
Amiodarone injection 150 mg/ 3 mL เจือจางใน D5W เท่านั้น
การนําไปใช้
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดVentricular fibrillation (VF) และ Ventricular tachycardia (VT)
ผลข้างเคียง
อาจทําให้เกิด vasodilatation และ hypotension ได้
Bradycardia,hypothyroidism,hyperthyroidism,thrombophlebitis
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น class III antiarrhythmic drugs
ใช้รักษาภาวะ tachyarrhythmia ได้หลายชนิด
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะความดันโลหิตอัตราการเต้นของหัวใจและmonitorEKGทุก15 นาที x 3 ครั้ง หลัง loading dose รายงานแพทย์เมื่อ BP < 90/60 mmHg, HR < 60 BPM
ยาขยายหลอดเลือด
Sodium Nitroprusside
การนําไปใช้
ใช้ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ขนาดที่ใช้และการบริหารยา
การเตรียมยาผสม 50 mg ใน D5W 250 ml เริ่มให้ 0.1 mcg/kg/min ปรับยาขึ้นครั้งละ 10 mcg/min ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาโดยไม่ทําให้เกิดความดันโลหิตลดลง เพิ่มทุก 3-15 นาที ขนาดโดยเฉลี่ย 3 mcg/kg/min ขนาดสูงสุด 5-10 mcg/kg/min การลดยาควรทําช้า ๆ เพื่อป้องกันหลอด เลือดหดเกร็งกลับมาอีก
กลไกการออกฤทธิ์
ยาขยายหลอดเลือดแดงและดํา โดย free nitroso group (NO) จะไปยับยั้ง excitation-contraction coupling ของผนังหลอดเลือด
ผลข้างเคียง
หากลดความดันโลหิตเร็วเกินไป อาจทําให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก
เกิดพิษจาก cyanide มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับยาในขนาดสูง (10-15 mcg/kg/min) นานมากกว่า 1 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะมีความรู้สึกตัวลดลงและมีภาวะความเป็นกรดในเลือดสูงขึ้น
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ทุก 5 นาทีหลังให้ยา และติดตามทุก 1 ชั่วโมง พิจารณาตามอาการของผู้ป่วย
ป้องกันยาในขวดน้ําเกลือทําปฏิกิริยากับแสงด้วยกระดาษ ผ้า หรือ aluminum foil ให้สังเกตว่าสี ของยาจะเปลี่ยนไปหากทําปฏิกิริยากับแสง
Nitroglycerin
ขนาดที่ใช้
เริ่มขนาด 5-10 mcg/min เพิ่มทีละ 5-10 mcg/min ทุก 5-10 นาที ขนาดยา 30-40 mcg/min ทํา ให้เกิด Vasodilatation ขนาดยาที่มากกว่า 150 mcg/min ทําให้เกิด arteriolar dilation
การบริหารยา
NTG 1 vial มี 10 ml บรรจุยา 50 mg เจือจางใน 5%D/W หรือ 0.9%NSS โดยผสม Nitroglycerin 500-1000 มก. ใน D5W
หรือ NSS 250 ml
การนําไปใช้
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
ผลข้างเคียง
Hypotension, Tachycardia, Flushing, headache
กลไกการออกฤทธิ์
หลั่ง nitric oxide (NO) เข้าสู่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด กระตุ้น guanylate cyclase ใน cytoplasm ทําให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดดําขยายตัวเลือดไหลกลับหัวใจลดลง ลดปริมาณเลือดในห้องหัวใจ แรงในการบีบตัวของหัวใจลดลง ช่วยลดความต้องการ ออกซิเจนของร่างกาย
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ยามีผลทําให้
ความดันโลหิตตำ่
monitor EKG ยาทําให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
Nicardipine
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
ยา 1 Amp ขนาด 2mg/2 ml หรือ 10 mg/10 ml
IV bolus คือ เจือจางยา Nicardipine 2 mg ด้วย NSS ให้เป็น 4 ml IV ครั้งละ 1-2 ml นาน 1-2 นาที ให้ซํา้ ได้ทุก 15 นาที จน BP ลดลงระดับที่ต้องการ
IV drip นิยมเขียนเป็น 1: 10 เจือจางด้วย NSS หรือ D5W การเตรียมยา Nicardipine 20 mg + NSS 80 ml เริ่มขนาด 5 mg/hr IV infusion และปรับเพิ่มขนาดยา 2.5 mg/hr ทุก 5 นาที max 15 mg/hr
ผลข้างเคียง
ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ
การรั่วออกของยาออกนอกเส้นเลือด เพราะอาจทําให้หลอดเลือดอักเสบ
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
การนําไปใช้
ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
การพยาบาล
กรณี Emergency ให้ยาทาง IV bolus ติดตามทุก 5 นาที จน BP, HR ได้ระดับที่ต้องการ จากนั้นติดตามทุก 15 นาที
กรณีให้ IV drip ติดตามทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก จากนั้น ทุก 1 ชั่วโมงขณะให้ยา
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor ECG อาการ ข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชม.
รายงานแพทย์ทันทีถ้า BP < 90/60 mmHg หรือ HR< 60 ครั้ง/นาที หรือ HR > 120 ครั้ง/นาที
กลไกการออกฤทธิ์
เป็นยากลุ่ม Calcium channel blocker ออกฤทธิ์ยับยั้งแคลเซียมเข้าเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอด
จิดาภา ตั้งอยู่ดำรงกุล 6001210217 Sec B (10)