Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A beautifful mind - Coggle Diagram
A beautifful mind
-
-
โรคที่คาดว่าจะเป้น
Delusions
อาการที่ผู้ป่วยมีความเชื่อหรือความคิดอย่างแรงกล้าว่าสิ่งๆ หนึ่งนั้นเป็นจริง และไม่สามารถลบความเชื่อนั้นออกไปจากความทรงจำ แม้จะพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงก็ตาม โดยปกติผู้ป่วยโรคหลงผิดจะยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติ ยกเว้นบางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิด
Schizophrenia
ความผิดปกติทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง ส่งผลต่อการพูด การคิด การรับรู้ ความรู้สึก และการแสดงออกของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ อย่างประสาทหลอน หลงผิด ปลีกตัวจากสังคม หรือไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ
hallucination
อาการทางประสาทที่ทำให้เห็นภาพ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น รับรู้รสชาติ หรือเกิดความรู้สึก ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
-
-
-
อาการสำคัญ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล หวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทำร้าย วิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวออกจากที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานจึงนำส่งโรงพยาบาลจิตเวช
ประวัติการเจ็บป่วย
2 ปีก่อนมาโรงพยาบาล หลังจบปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์ถูกเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมเรียกตัวไปช่วยถอดรหัสทางการทหาร ผู้ป่วยทํางานอย่างลับๆ จนกระทั่ง พบว่า มีคนสะกดรอยตามเขาอยู่ตลอดและพยายามทําร้ายเขาตลอด ผู้ป่วยกลัวการถูกทําร้ายมาก แต่พยายามเก็บเป็นความลับไม่ให้ใครรู้เนื่องจากเขาเป็นสายลับ แม้กระทั่งภรรยา
พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551
ตัวอย่าง
มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่
๑) ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอื่น
๒) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน
๓) มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
มาตรา ๑๕ ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้
๑) ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
๒) ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดรักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติให้เปิดเผยได้
๓) ได้รับความคุ้มครองจากการวิจัย ตามมาตรา ๒๐
มาตรา ๒๐ การวิจัยใดๆ ที่กระทำต่อผู้ป่วยจะกระทำได้ ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ป่วย และต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนด้วย และความยินยอมนี้ผู้ป่วยจะยกเลิกเมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
-