Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU,…
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี
และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่
ไม่สามารถหายใจเองได้ รักษาประคับประคองผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลวหรือ
ระบบไหลเวียนล้มเหลว เป็นการช่วยหายใจแบบแรงดันบวก “positive mechanical ventilator”
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure)
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue)
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
. Non-invasive positive ventilator; NPPV
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ
หมายถึงเครื่องช่วยหายใจที่ให้การช่วยหายใจผู้ป่วยที่ไม่มีท่อ
ทางเดินหายใจซึ่งสามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น
Invasive positive ventilator; IPPV
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
เป็นการอัดอากาศเข้าไปในปอดผ่านทาง endotracheal tube
หรือ tracheostomy tube โดยใช้แรงดันบวก
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ (Mode of ventilator)
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
เป็นวิธีช่วยหายใจที่มีทั้งการ
หายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
Spontaneous ventilation
การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง
Pressure support ventilator (PSV) เป็นวิธีการหายใจที่
เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง
Continuous positive airway pressure (CPAP)
เป็นวิธีการหายใจที่ให้แรงดันบวก (PEEP)
ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก
Control mandatory ventilation (CMV) หรือ
Assist/control (A/C) ventilation
เป็นวิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้ง
ถูกกำหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป
(Pulmonary volutrauma)
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma)
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
(Ventilator Associated Pneumonia; VAP)
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
ระบบทางเดินอาหาร พบได้บ่อย ได้แก่
การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ท้องอืด
ผลต่อภาวะโภชนาการ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
ด้านจิตใจ
ประคับประคองด้านจิตใจโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย
วิธีการรักษาอย่างมีเหตุผล แจ้งให้ทราบทุกครั้งเมื่อต้องให้การพยาบาล
รวมทั้งการดูแลด้านจิตใจของครอบครัวและญาติของผู้ป่วยด้วย
การดูแลด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน
รายงานแพทย์ทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
ป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โดยการดูดเสมหะ
ดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
และดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด
ป้องกันภาวะปอดแฟบ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
หมายถึง การลดการช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
จนสามารถหายใจเองและหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจในที่สุด
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยที่สามารถ
ทำการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยหายใจเองทาง T piece หรือหายใจเอง
สลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพักๆ
การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาล
ควรเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้า
หลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆ เพื่อลดความกลัว
ดูดเสมหะเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
จัดท่าศีรษะสูงหรือท่านั่ง
เริ่มทำการหย่าเครื่องช่วยหายใจเมื่อ
ประเมินสภาพผู้ป่วยว่าพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
วัดสัญญาณชีพและความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว
(Oxygen saturation) ก่อน
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจน
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
. ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที 2 ชั่วโมง
หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15-30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
และเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด
(central line monitor)
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง
(intra-arterial monitoring)
การพยาบาล
ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การป้องกันการติดเชื้อ (Infection)
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย
ตรวจสอบข้อต่อต่าง ๆ ให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ
ป้องกันการเลื่อนหลุด
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform)
และบันทึกตำแหน่งของสายยาง
จดบันทึกค่า Arterial blood pressure
ที่ได้ทุก 15-60 นาที ตามความจำเป็น
กรณีที่แพทย์ถอดสายยางออกแล้วควรกดตำแหน่งแผล
ไว้นาน อย่างน้อย 10 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุด
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง
(Central venous pressures; CVP)
การพยาบาล
ความแม่นยำของการเปรียบเทียบค่า
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการ
ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ป้องกันการอุดตันของสายสวน
ควรตรวจสอบตำแหน่งสายและทดสอบสายก่อนใช้งานทุกครั้ง
ป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต
(common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ Adrenaline
1 mg/ml/ampule (1: 1,000)
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ปรับเพิ่ม/ลดขนาดยา โดยดูจาก BP หรือ HR
หรือตามแผนการรักษา
Amiodarone (Cordarone®)
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor EKG ทุก 15 นาที 3 ครั้ง
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
การพยาบาล
ควรระวังการให้ขนาดที่ต่ำกว่า 0.5 mg
อาจเกิดการตอบสนองชนิดหัวใจเต้นช้าลง
ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG
อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
ไม่ควรให้ถ้า HR > 60 ครั้ง/นาที
รายงานแพทย์เมื่อ HR > 120 ครั้ง/นาที
โดยให้ monitor HR ทุก 5 นาท
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
การพยาบาล
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว (10 วินาที)
และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องฉีดเร็วๆ
ถ้าฉีดยาช้า ยาจะถูกทำลายหมดก่อนถึงหัวใจ
Digoxin (Lanoxin ®)
การพยาบาล
กรณียาฉีด ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา
และหลังให้ยาทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2 ครั้ง
monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
Dopamine (Inopin®)
การพยาบาล
เลือกตำแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดำเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยาโดยใช้เครื่อง Infusion pump
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง
เพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
monitor ECG urine out put
ปรับเพิ่มหรือลดยาตามแผนการรักษา
Dobutamine
Norepinephrine (Levophed®)
กลุ่ม Adrenergic agonist
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor ECG
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง
เพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Nicardipine
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor ECG
กรณี Emergency ให้ยาทาง IV bolus
ติดตามทุก 5 นาที จน BP, HR ได้ระดับที่ต้องการ
กรณีให้ IV drip ติดตามทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก
จากนั้น ทุก 1 ชั่วโมงขณะให้ยา
รายงานแพทย์ทันทีหากเกิดความผิดปกติ
Sodium Nitroprusside
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
ทุก 5 นาทีหลังให้ยา
ป้องกันยาในขวดน้ำเกลือทำปฏิกิริยากับแสงด้วย
กระดาษ ผ้า หรือ aluminum foil
Nitroglycerin (NTG)
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
monitor EKG
นางสาวเณสรา คามจังหาร 6001211078 เลขที่ 50 Sec.A