Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 การใช้ยาในการรักษาการพยาบาลเบื้องต้น - Coggle Diagram
บทที่ 1 การใช้ยาในการรักษาการพยาบาลเบื้องต้น
การแบ่งกลุ่มยาตามลำดับ/ประเภท/กลุ่ม (Category) ความปลอดภัยต่อมารดาและทารกในครรภ์
Category C : จากการศึกษาในสัตว์พบว่า ยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์สัตว์ แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้นการจะใช้ยาในประเภทนี้ ควรใช้เมื่อมีการประเมินจากแพทย์ระหว่างประโยชน์ที่ได้จากการใช้ยา และความเสี่ยงต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์ว่า เกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
Category D : ยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์มนุษย์ ดังนั้นยาในกลุ่มนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาแล้วว่า จะก่อให้เกิดประโยชน์มาก กว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ซึ่งมักจะเป็นการใช้ยาเพื่อช่วยชีวิตมารดา หรือเป็นการใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่รุนแรง ซึ่งไม่สามารถใช้ยาที่ปลอดภัยมากกว่าได้ หรือใช้ยาอื่นไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
Category B : จากการศึกษาในสัตว์ พบว่ายาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ไม่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์สัตว์ แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้นยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้อย่างค่อนข้างปลอดภัยในระดับหนึ่ง โดยต้องขึ้นกับขนาดยา และควรได้รับการสั่งใช้ยาจากแพทย์เช่นกัน
Category X : จากการศึกษาในสัตว์และในมนุษย์พบว่า ยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนสัตว์และทารกในครรภ์มนุษย์ และมีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากยา
Category A : จากการศึกษาในมนุษย์พบว่า ยาในกลุ่มนี้ ยังไม่พบความเสี่ยงในการก่อให้ เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์เมื่อใช้ในช่วง 3 เดือนแรก/ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และไม่มีหลักฐานทางการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์เมื่อใช้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และที่ 3 ดังนั้นยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ สตรีมีครรภ์จึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยเมื่อใช้ในขนาดยาที่ถูกต้อง ยาในกลุ่มนี้มีน้อยชนิด
กลุ่มยาแก้ปวด(Analgesics) / ยาลดไข้(Antipyretics) และยาต้านการอักเสบ (Non-steriods anti-inflammatory: NSAIDS)
Paracetamol หรือ Acetaminophen
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสร้าง prostaglandins ในสมอง สามารถใช้ลดไข้ แก้ปวด แต่มีฤทธิ์น้อยมากในการต้านอักเสบ
ขนาดและวิธีใช้ : ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือเวลามีอาการ สูงสุดไม่เกิน 4 กรัม/วัน , เด็ก (อายุน้อยกว่า 12 ปี) รับประทานครั้งละ 10-15 มก./กก. ทุก 4-6 ชั่วโมง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง/วัน
ข้อควรระวัง : ห้ามรับประทานติดต่อกันเกิน 10 วันในผู้ใหญ่ หรือ 5 วันในเด็ก เนื่องจากมีพิษต่อตับ และผู้ป่วย โรคตับควรหลีกเลี่ยงยานี้ และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาดอง เมื่อใช้ยาพาราเซตามอล เพราะเสริมความเป็นพิษต่อ ตับยิ่งขึ้น
กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs)
2.กลุ่ม coxibs หรือ COX-2 inhibitors ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ COX-1 น้อย จึงเกิดผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหารน้อยกว่า แต่ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบหลอดเลือดของหัวใจและสมองตามมา
2.1 Selective COX-2 inhibitor ได้แก่ NSAIDs ที่มี IC50 ratio ของ COX-2/COX-1 น้อยกว่า 1 ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Meloxicam, Etodolac, Nimesulide
2.2 Specific COX-2 inhibitor ได้แก่ NSAIDs ที่มี IC50 ratio ของ COX-2/COX-1 น้อยกว่า 0.01 ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Celecoxib, Rofecoxib
NSAIDs ดั้งเดิม
ในปัจจุบัน เช่น Aspirin, Indomethacin, Ibuprofen, Naproxen,Diclofenac, Mefenamic acid, Piroxicam,Tenoxicam
แอสไพริน (Acetylsalicylic acid [ASA], Aspirin)
กลไกการออกฤทธ์ : ยานี้ออกฤทธ์แก้ปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบโดยการยับยั้งการสร้าง prostaglandins ผ่านการยับยั้งการสร้างเอ็นไซม์ cycloxygenese ทำให้ลดการเจ็บปวด และกระบวนการอักเสบ โดยออกฤทธิ์ต่อตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดทั้งส่วนกลางและส่วนปลาย
ยา Aspirin จะทำหน้าที่ในการยับยั้งกระบวนการ platelet aggregation แบบ irreversible ทำให้ยาจะยังคงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการเป็น anti-platelet ไว้เป็นเวลาระยะหนึ่งหลังจากผู้ป่วยรับประทานยา last dose ไปแล้ว ดังนั้นในผู้ป่วยที่ได้รับยา แล้วมีการวางแผนที่จะผ่าตัด จะต้องมีการหยุดยาก่อนเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ platelet function กลับมาเป็นปกติก่อน
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
ยาระบายและยาต้านภาวะท้องเดิน (Laxative and Antidiarrheal Agents)
ยาระบาย (Laxative)
กลุ่มยาที่มีแรงดึงน้ำมาก (Hyperosmotic agents)ได้แก่ยา น้ำตาลแลคทูโลส (lactulose), กลีเซอรีน (glycerin), ซอร์บิทอล (sorbital), และโพลีเอทธิลีนไกลคอล (polyethelineglycol) ที่ใช้มากได้แก่ ยา เหน็บ glycerin ออกฤทธิ์เร็วภายใน 30 นาที
กลุ่มยาที่ช่วยหล่อลื่นอุจจาระ (Lubricant laxatives)ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยไปเคลือบกากอาหารทำให้ อุจจาระอ่อนนุ่มลงและป้องกันการดูดกลับน้ำเข้าร่างกาย ได้แก่ยา น้ำมันแร่ (mineral oil), น้ำมันมะกอก (olive oil) ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการออกแรงเบ่ง
กลุ่มยาระบายที่เป็นพวกเกลือ (Saline laxatives)ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ยาระบายที่เป็นพวกเกลือของ Magnesium, Sodium และ Potassium เกลือเหล่านี้ละลายน้ำได้ดีจึงไปดึงน้ำจากเนื้อเยื่อมาไว้ที่ลำไส้ทำ ให้มีน้ำมากขึ้นจึงเกิดแรงดันออสโมติก เพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้และทำให้มีการขับอุจจาระออกมาปน กับน้ำค่อนข้างมาก (watery evacuation) ใช้เป็นยาที่ต้องการให้มีการระบายออกอย่างรวดเร็วได้แก่ ยา magmesium sulfate, milk of magnesium (MOM)
กลุ่มยาที่ทำให้มีการเพิ่มของกากใย (Bulk forming laxatives) ได้แก่ psyllium, methylcelluloseยากลุ่ม bulk forming laxatives ถือเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงสุด
กลุ่มยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Emollient laxatives)ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการลดความตึงผิวของก้อน อุจจาระ ทำให้น้ำและไขมันรวมตัวกันเป็นผลทำให้อุจจาระนุ่มลงได้และขับถ่ายออกได้สะดวกมากขึ้นแต่ไม่ มีผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้แก่ยา docusate salts
กลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นและทำให้ระคายเคือง (Stimulant laxatives, Chemical stimulants)ยาใน กลุ่มนี้ไม่นิยมใช้เป็นยาตัวแรกในการรักษาอาการท้องผูก และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 7 วันเนื่องจากยาอาจ ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียเกลือแร่และน้ำ ยาไปมีผลเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เนื่องจากยาไปก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อลำไส้ทำให้เกิดการขับถ่ายออกมามากได้แก่ bisacodyl, cascara, castor oil (น้ำมัน ละหุ่ง) จะออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็วประมาณ 3 ชั่วโมง
กลุ่มยาสวนทวารหนัก นิยมใช้ในกรณีทำความสะอาดลำไส้ก่อนผ่าตัดหรือก่อนคลอดได้แก่ น้ำสบู่ SSE (soap susemema)
ยาต้านภาวะท้องเดิน (Antidiarrheal Agents)
ยาที่มีฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ที่มีใช้กันในท้องตลอดได้แก่ ยาอนุพันธุ์ของ opioid ได้แก่diphenoxylateและ loperamideผลเนื่องจากการกระตุ้นรีเซปเตอร์ (receptor) ในทางเดินอาหารทำให้ลำไส้มีการบีบตัวลดลงและมีการหลั่งสารคัดหลั่งออกมาลดลง รวมไปถึงการช่วยให้เกิดการดูดซึมกลับของน้ำและเกลือมากขึ้น
สารที่มีฤทธิ์ดูดซึมน้ำ จะทำให้น้ำดูดซึมเข้าสู่ตัวยาทำให้อุจจาระเป็นก้อนมากขึ้น ได้แก่ polycarbophil, psyllium
ยาประเภทดูดซับ เป็นยาที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดท้องเดิน แต่ยาสามารถดูดซับเอายาตัวอื่นด้วยดังนั้นจึงห้ามให้ยาในกลุ่มนี้ร่วมกับยาตัวอื่นได้แก่ ผงถ่าน(activated charcoal)
ยารักษาแผลเปปติก (Anti-Peptic Ulcer Agents)
กลุ่มยาที่ยับยั้งการหลั่งกรด (Antisecretory)
กลุ่มยาปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร (Cytoprotective drug)
Antacids
กลุ่มยากำจัดเชื้อ (Eradication)
ยาต้านการอาเจียนและช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Antiemetic and Emetic Agents)
Metoclopramide (Plasil®) มีฤทธิ์ต้านโดปามีนและมีส่วนกระตุ้น cholinergic system บางส่วนในทางเดินอาหารด้วย
Domperidone (Motilium®) มีฤทธิ์ต้านโดปามีนที่ส่วนของ peripheral ไม่เข้าในสมองส่วนกลาง ให้ผล เช่นเดียวกับ metoclopramide แต่ผลข้างเคียงน้อยกว่า
Erythromycin ออกฤทธิ์กระตุ้น motilin receptor ซึ่งทำให้ทางเดินอาหารส่วนบนเกิดการเคลื่อนตัวดี ขึ้น
Cisaprideกระตุ้นการหลั่ง acetylcholine ที่ myenteric plexus ทำให้ทางเดินอาหารส่วนบนและ รวมถึงลำไส้ใหญ่บีบตัวดีขึ้น
Ondansetron (Zofran®) เป็นยาต้านอาเจียนที่ทำงานโดยผ่านทางปิดกั้นตัวรับ serotonin receptor (5-HT3 receptor blockers) ที่มีฤทธิ์แรง
ยาในระบบทางเดินหายใจ
ยาสูตรผสมแก้หวัด
ดีคลอเจน ทิฟฟี่ นูตา โคล อาปากัวร์
ยาขับเสมหะ (expectorant)
แอมโมเนียคลอไรด์ (ammonium chloride) กัวเฟเนซิน (guafenesin) มิสท์ สกิลล์ แอมมอน (Mist Scill Ammon)
ยาลดอาการคัดจมูก (Decongestant)
Nasolin และ Sulidine
ยาละลายเสมหะ (mucolytic)
เช่น Bisolvon ) แอมบร อกซอล (ambroxal เช่น Mucosolvan ) คาร์โบซีสเทอีน (carbocysteine เช่น Flemex ) อะเซทิลซีสเทอีน (acetylcysteine เช่น Fluimucil )
ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก (Anti-histamine)
1.1. ยาแก้แพ้ แบบที่ทานแล้วง่วง
คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine maliate, CPM) และ บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine)
1.2. ยาแก้แพ้ แบบที่ทานแล้วไม่ง่วง (non-sedative antihistamine)
เซเทอริซีน (cetirizine) ลอราทาดีน (loratadine) ฟีโซเฟนาดีน (fexofenadine)
ยาระงับการไอ หรือยาแก้ไอ
เดกซ์โตรเมโทรแฟน (dextromethorphan เช่น Terco-D ) โคเดอีน (codeine เช่นRopect Codipront ทานแล้วคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ง่วง จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์) และ ไดเฟนไฮดรา มีน (diphenhydramine เช่น Benadryl ทานแล้วง่วง)
นางสาว จตุรพร ภูสีดวง