Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผู้ป่วยในการหายใจ และทำหน้าที่ในการจ่ายอากาศให้กับผู้ป่วย โดยใช้แรงดันบวก positive Mechanical ventilator
Tidal volume (VT)
= เป็นค่าสมมุติปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าออกจากปอดใน 1 ครั้ง โดยคำนวณจาก wt 1 kg x ค่าปกติ 6-8 ml ซึ่งจะให้เริ่มในค่าที่ต่ำสุดก่อนเสมอ
Respiratory rate (RR)
= อัตราการหายใจให้กับผู้ป่วย ค่าปกติ 12-20/min
Minute volume (MV)
= ปริมาตรลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที คำนวณจาก RR x VT
Peak flow (PF)
= อัตราการไหลของอากาศเข้าสู่ปอดใน 1 นาที
Inspiratory time: Expiratory time (I:E)
= ระยะเวลาหายใจเข้า:ระยะเวลาหายใจออก ในคนปกติเข้าจะสั้นแต่ออกจะยาว
และจะขึ้นอยู่กับโรคของผู้ป่วย
Sensitivity
= แรงที่ผู้ป่วยใช้ในการกระตุ้นเครื่อง
Fraction of InspiredOxygen (Fio2)
= ความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศที่เครื่องปล่อยเข้าผู้ป่วย จะปรับได้ตั้งแต่ 21-100%
Positive End Expiratory Pressure (PEEP)
= ค่าความดันบวกที่ค้างอยู่หลังจากหายใจออก ช่วยลดการเกิดปอดแฟบ
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยที่ภาวะพร่องออกซิเจน ร่างกายไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้
ผู้ป่วยที่มีการระบายอากาศล้มเหลว
ผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจไม่มีแรง เช่นผู้ป่วยที่ได้รับยาคลายกล้ามเนื้อ
ผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนผิดปกติ การใส่เครื่องจะทำให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasivepositive ventilator
ไม่มีการใส่ท่อให้ผู้ป่วย จะเป็นแบบmask ครอบ คล้าย ๆ กับ mask with bag จะให้ในผู้ป่วยที่ปฏิเสธการใส่ท่อ และในผู้ป่วยที่อาการ sleep apnea
ข้อเสีย ได้รับปริมาตรอากาศไม่ถึงร้อย มีการ loss ของอากาศออกไป
Invasivepositive ventilator
เป็นการใส่ท่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับอากาศแบบแบบเต็มร้อย ไม่มีอากาศ loss ออกไปได้
ประเภทของเครื่องช่วยหายใจ
(Mode of ventilator)
Control mandatory ventilation (CMV) เป็นโหมดแบบ Assist/control (A/C) ventilation
จะนิยมใช้แบบนี้ เพราะว่าเป็นเครื่องที่มีโหมดที่ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงกระตุ้นเครื่อง และผู้ป่วยจะออกแรงกระตุ้นเครื่องเอง รวมไว้ใน CMV แล้วCMV ถูกควบคุมด้วย ปริมาตรกำหนดรอบ และความดันกำหนดรอบ ปริมาตรจะตัวดูที่ VT ส่วนความดันจะดูที่ Pi (pressure control)
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
เป็นเครื่องที่จะช่วยผู้ป่วยหายใจเป็นครั้ง ๆ เวลาที่ผู้ป่วยไม่หายใจเครื่องจะเป็นคนทำให้ แต่เมื่อผู้ป่วยมีแรงที่จะหายใจเองผู้ป่วยจะต้องใช้แรงในการดึงอากาศจากในเครื่องมาด้วยตนเองในการหายใจ
Spontaneous ventilation
เป็นเครื่องที่จะให้ผู้ป่วยหยใจด้วยตนเองหมดเลย จะเหลือแค่ Peep
Continuous positive airway pressure
(CPAP)
มีความดันบวกทั้งหายใจเข้าและหายใจออกค้างไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยใช้แรงในการหายใจน้อยลง
Pressure support ventilator
(PSV)
เป็นแรงที่ช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยไม่สามารถออกแรงกระตุ้นเครื่องตามค่าที่กำหนดไว้ ซึงเครื่อง PSV จะเป็นคนทำให้ถึงเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้หายใจ
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
การที่ใส่Peep ให้ผู้ป่วยเยอะจะทำให้ blood pressure drop เลือดกลับเข้าสู่หัวใจลดลง
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonary volutrauma)
จะเจอในการตั้งค่า VT ที่สูงเกินไป
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma)
เป็นผลมาจาก Peep การค้างความดันบวกในช่วงหายใจออก
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
จากการใส่ cuff inflation ที่ป้องกันการสำลักน้ำลายหรือของเหลวจากกระเพาะอาหารเข้าสู่
ปอด ค่า cuff 20-25 mmHg หากสูงขึ้นก็จะทำให้ทางเดินหายใจบาดเจ็บ
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
,
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
การได้รับ O2 ที่สูงเกินไป
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ
ผู้ป่วยจะรู้สึกวิตกกังวลเนื่องจากตนเองใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจ อีกทั้งไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดได้ เราจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อน จัดสิ่งแวดล้อม ความสุขสบายทั่วไป
การดูแลด้านร่างกาย
ประเมินสัญญาณชีพของผู้ป่วย q 1 hr
ดูแลท่อหลอดลม ช่องปาก โดยดูตำแหน่งท่อจะต้องอยู่เหนือ carina 1 นิ้ว และบันทึกเลขที่markที่ปากผู้ป่วย เผื่อมีการเคลื่อนของท่อ หากมีก็จะต้องรายงานแพทย์
หมั่นตรวจ cuff ให้อยู่ในค่าปกติ หากไปถึงก็ต้องเติมลม
ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการดูดเสมหะ ป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ดูแลให้เครื่องช่วยให้ใจอยู่ในระบบปิด
ติดตามค่า ABG เพื่อทำการปรับตั้งเครื่องช่วยหายใจให้เหมาะสม
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ก่อนหย่า
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อน ค่าPaO2 ค่าFiO2
ค่า peep สัญญาณชีพปกติ ความสามารถในการหายใจเองของผู้ป่วย ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจ
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จะให้ผู้ป่วยหายใจเองทาง T piece หรือหายใจเองสลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพัก ๆ เป็นการให้ O2 กับผู้ป่วยอย่างเดียว
ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ โหมด SIMV PSV CPAP เป็นโหมดที่ให้ผู้ป่วยได้เริ่มกำหนดอัตราการหายใจด้วยตนเอง
ขณะหย่า
เริ่มในตอนเช้า อธิบายการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เพื่อลดความกลัว ดูดเสมหะในปากและท่อเครื่องช่วยหายใจ วัดสํญญาณชีพ q 1 hr
วิธีในการถอดท่อช่วยหายใจ
จัดท่าศีรษะ สูง
ดูดเสมหะในปากและในท่อ
เอาลมใน cuff ออกให้หมด
ให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจ ค่อย ๆ ดึงท่อออก ดูดเสมหะอีกครั้ง
ให้ O2 mask with collugate
วัดสัญญาณชีพ แรก ๆ ทุก 15 นาที จากนั้นไปเรื่อย ๆ ถึง 1 hr
หลังหย่า
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ตามเพื่อพิจารณาให้ O2 suppprt ส่วนใหญ่แพทย์จะพิจารณา O2 cannula 3-6 L/min
วัดสัญญาณชีพ ทุก 30 นาที
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด
(central line monitor)
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง (intra-arterial monitoring)
การใส่สายยางเข้าไปในเส้นเลือดแดง (arterial line; A-line) และนำมาต่อกับเครื่องวัด (manometer) เป็นการวัดความดันของหลอดเลือดแดงโดยตรง
ข้อบ่งชี้
ความดันโลหิตต่ำ เช่น ช็อก
ได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก
จำเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก เช่น ผู้ป่วยถูกไฟไหม
ตำแหน่งที่วัด
Redial artery นิยมมากที่สุดเนื่องจากอยู่ตื้น สามารถแทงได้ง่าย
Brachial artery
Femoral artery
Dorsalis pedis
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง (arterial line)
ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
จัดตำแหน่ง transducer บริเวณ 4th intercostal space ตัดกับ mid anterior-posterior line และทำ transducer ให้เท่ากับความดันบรรยากาศ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ การเกิดเนื้อจาย Air embolization ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ
การป้องกันการติดเชื้อ (Infection)
ใช้ sterile technique ดูแลให้เป็นระบบปิด เปลี่ยนชุดของ transducer และชุดการให้สารน้ำทุก 3 วัน
ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศ
ค้างในสาย ดูแลป้องกันการหัก งอ ของสายarterial line จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venouspressures; CVP
)
เป็นการวัดความดันของเลือดดำส่วนกลาง หรือแรงดันเลือดของหัวใจห้องบนขวา (right atrium pressure) ใส่โพล่ Superior Vena Cava ที่ปลายนิดเดียว ค่าปกติจะอยู่ 6-12 cm H2O
ส่วนประกอบคล้าย A-line ความแม่นยำทำเหมือน A-line และทำ transducer ให้เท่ากับความดันบรรยากาศ
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต (common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ Adrenaline
ออกฤทธิ์กระตุ้น Alpha adrenergic receptor และ beta adrenergic receptor
ทำให้หลอดเลือดดำส่วนปลายหดตัว
ใช้เป็นยาตัวแรกในการทำ CPR ใช้ใน Cycle 2
ผลข้างเคียง Tachycadia
ยาต้อง dirute 10 cc
Amiodarone
อยู่ antiarrhythmic drugs ใช้รักษาภาวะ tachyarrhythmia
ผลข้างเคียง vasodilatation และ hypotension Bradycardia ได้
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
anticholinergic drug ทำงานโดยการไปยับยั้งการทำงานของ valgus nerve ที่หัวใจ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ heart rate
เริ่มให้ 0.6 mg ก่อน ถ้าไม่ได้ผลให้ดับเบิลไป
ผลข้างเคียง Tachycardia
ยานี้ต้อง dirute 10 cc ฉีดช้า ๆ
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
ยับยั้งการนำไฟฟ้าผ่าน AV node
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia
ยานี้ไม่ต้องdirute แต่ จะต้องใช้ syring 2 อัน อันที่ 1 คือยา อันที่ 2 คือ NSS ฉีดเร็ว ๆ เพราะหมดฤทธิ์เร็ว
ผลข้างเคียง หน้าแดง แต่จะหายได้เมื่อหยุดให้ยา
Digoxin
เพิ่ม vagal tone ทําให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น
ยานี้ต้อง dirute 20 cc ฉีดช้า ๆ และต้องดูอัตราการเต้นของหัวใจด้วย
HR < 60 ครั้ง/นาที จะไม่ให้ยาตัวนี้
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
Dopamine
ออกฤทธิ์กระตุ้น Adrenergic และ Dopaminergic receptors
ขนาดต่ำ กระตุ้น dopaminergic receptors
ขนาดปานกลาง ยาจับกับ beta 1 receptors
ขนาดสูง มีผลต่อ alpha1adrenergic receptors
ผลข้างเคียง เนื้อตาย หากมีการรั่วของยา หัวใจเต้นผิดจังหวะ
สามารถเพิ่มลดยาได้ แต่ยาลดยาผู้ป่วยทันที เพราะจะทำให้เกิดการโยโย่ของยา ฉะนั้นจะต้องค่อย ๆ ลดยาให้ถึงขนาดยาที่ต่ำสุดก่อน
Dobutamine
กลุ่ม Adrenergic agonist ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ Beta-1 และAlpha-1 Adrenergicreceptors ที่หัวใจ
ยาตัวนี้ส่งผลต่อ HR น้อยกว่า Dopamine และยาตัวนี้ยังเป็นตัวเลือกแรกในการรักษาก่อน หากไม่ได้ผลก็จะใช้ Dopamine
ผลข้างเคียง เนื้อตายจากการรั่วของยา
Norepinephrine
ยาออกฤทธิ์กระตุ้น beta1 และ alpha adrenergic receptors ส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
เป็นยาที่นิยมใช้ และดีกว่าสองอันแรก
ยานี้จะต้องเจือจางใน D5W เท่านั้น
ผลข้างเคียง ยาจะทำให้เนื้อตายรุนแรงและเร็วกว่าสองตัวแรก
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Nicardipine
กลุ่ม Calcium channel blocker ออกฤทธิ์ยับยั้งแคลเซียมเข้าเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ
รักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
เราจะปรับขนาดยาตามคำสั่งหมอ
ผลข้างเคียง ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิต ฉะนั้นจะต้อง ติดตามค่า BP
Sodium Nitroprusside
ยาขยายหลอดเลือดแดงและดำ โดย free nitroso group (NO)
ยานี้ให้ drip แบบ IV การปรับจะขึ้นอยู่กับ Bp
หลังจาก BP ดีขึ้นจากการให้ยาแล้ว ให้หยุดการให้ยาทันที เพราะต้องระวังการพิษของ Cyanide
Nitroglycerin (NTG)
ยาขยายหลอดเลือดโดยการหลั่ง nitric oxide (NO) เข้าสู่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด
รักษาใน ผ้ป่วยที่มีอาการ Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
แบบฉีด ต้อง IV drip ผสมใน D5W
ผลข้างเคียง Hypotension Flushing
ประเมินสัญญาณชีพ monitor EKG