Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนตร์ A Beautiful Mind, ชื่อนางสาวชนิสรา กรณ์ชนาธิป เลขที่18…
ภาพยนตร์ A Beautiful Mind
ประวัติทั่วไป
ประวัติครอบครัว
มีน้องสาว 1 คน
มีภรรยาชื่อ อลิเซีย และมีลูกด้วยกัน 1 คน
ความสัมพันธภาพในครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว
ผู้ป่วยมีความคิดหมกมุ่นและเกือบทำร้ายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกอยากมีเพศสัมพันธกับภรรยา
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่แปลกๆ
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์
อายุ 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง
ด้านครอบครัว
ครอบครัวตำหนิ
สภาพครอบครัวไม่เหมาะสมในการแก้ไขให้ดีขึ้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมรอบตัว
เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิท
ไม่มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ด้านจิตใจ
ความคัดแย้งภายในจิตใจ
ความเครียด
ความสามารถในการปรับตัว
ประสบการณ์ในอดีต
โดนเพื่อนแกล้งเป็นประจำ
อาการและอาการแสดง
ประสาทหลอน
หูแว่ว ได้ยินเสียงคนสั่งให้ทำตาม
คิดว่ามีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา
คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย
ควบคุมตนเองไม่ได้
ทำร้ายตนเอง
ทำร้ายบุคคลรอบตัว
หวาดระแวง
คิดว่าจะมีคนทำร้าย
คิดว่ามีคนสะกดรอยตาม
ไม่ชอบเข้าสังคม
ชอบอยู่คนเดียว
ไม่มีเพื่อน
ด้านพฤติกรรม
เดินหลังค่อม
มองซ้าย ขวา ตลอดเวลา
กระสับกระส่าย เดินไปเดินมา
พยายามโต้ตอบกับใครบ้างคน
เฉยเมย ไร้ความรู้สึก
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยรุ่น
ผู้ป่วยหันมาสนใจทางด้านคณิตศาสตร์และมุ่งมั่นในการเรียน
ผู้ป่วยเริ่มมีบุคลิกที่ดูแตกต่างจากผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด
เริ่มทำงาน
ชาร์ลอยู่กับเขาตลอดและเป็นเพื่อนคนเดียวที่สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่อง
เรียนปริญญาเอก
เริ่มมีความคิดหมกมุ่นและพฤติกรรมแปลกๆเพิ่มมากขึ้น
พบว่าชาร์ลเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตของผู้ป่วย
ให้กำลังใจและคอยอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยเสมอ
มีความโดดเด่นทางด้านการเรียนในระดับอัจฉริยะ
วัยเด็ก
ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหาในหารปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน
เรียนเก่ง
ชอบเก็บตัว
ไม่ชอบกิจกรรมนันทนาการแต่มีความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์และทำการทดลองด้วยตนเองตั้งแต่อายุ12ปี
ความหมายโรคจิตเภท “Schizophrenia”
การวินิจฉัยโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันแบบ DSM-5 ได้ให้ความหมายของโรคจิตเภทว่า หมายถึง กลุ่มอาการของความผิดปกติที่มีลักษณะอาการของความเจ็บป่วยทางจิตและการทำหน้าที่ต่างๆลดลง ซึ่งประกอบด้วยอาการแสดงทางบวก ได้แก่ อาการหลงผิด ประสาทหลอน พูดจาสับสน พฤติกรรมวุ่นวาย เป็นต้น และอาการแสดงทางลบ ได้แก่ อารมณ์เฉยเมย สีหน้าเรียบเฉย ขาดความกระตือรือร้น เฉยช้า เก็บตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม การงานหรือกิจกรรมทางสังคม ทำให้มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน (American Psychiatric Association, 2015)
การวินิจฉัยโรคขององค์กรอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แบบ ICD-10ได้ให้ความหมายโรคจิตเภทว่า เป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านบุคลิกภาพ ความคิด และการรับรู้การแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม แต่สภาพความรู้สึกตัวและความสามารถทางสติปัญญายังคงปกติแม้ว่าจะมีการสูญเสียของการรับรู้ไปบ้างเมื่อเจ็บป่วยเป็นระยะเวลานาน โดยที่ไม่มีสำเหตุมาจากโรคทางกาย โรคของสมอง พิษจากยา หรือสารเสพติด ที่จะเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว (World Health Organization, 2016)
ปัญหาปัจจุบันของผู้ป่วย
โรคจติเภท (schizophrenia)
อาการเชิงบวก
หลงผิด (Delusion)
ผู้ป่วยอยู่ในประเภท Persecutory Type ระเเวงว่าตนเองถูกทำร้าย
ประเภทของอาการหลงผิด
หลงผิดคิดว่าคู่ครองของตนนอกใจ (Jealous Type)
ระแวงว่าตนเองถูกทำร้าย สะกดรอยตามหมายเอาชีวิต (Persecutory Type)
เชื่อว่าตนเองมีความสามารถมากกว่าผู้อื่นมีความหยั่งรู้พิเศษ (Grandiose Type)
หลงผิดเกี่ยวกับร่างกายของตนเอง เช่น บางส่วนของร่างกายผิดรูปร่างหรืออวัยวะไม่ทำงาน (Somatic Type)
หลงผิดคิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักตัวเองโดยบุคคลนั้นมักเป็นผู้ที่มีความสำคัญหรือมีชื่อเสียง (Erotomanic Type)
เป็นความเชื่อหรือความคิดของผู้ป่วยที่ผิดไปจากความเป็นจริง เป็นความเชื่อที่ฝังแน่น ไม่ว่าจะมีหลักฐานหรือเหตุผลมำาหักล้าง ผู้ป่วยก็ยังคงไม่เปลี่ยนความเชื่อของตน ความหลงผิดที่พบในได้ในผู้ป่วยโรคจิตเภท
อาการประสาทหลอน(Hallucination)
ผู้ป่วยรับรู้บางสิ่งที่ชัดเจนมากซึ่งไม่มีอยู่จริง
เป็นอาการที่มีการรับรู้ผิดปกติโดยที่ไม่มีสิ่งกระตุ้น ซึ่งเป็นได้กับ
การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส อาการประสาทหลอนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคจิตเภท
อาการเชิงลบ
ไม่สนใจในสิ่งแวดล้อมและแม้แต่สุขอนามัยส่วนบุคคลและการดูแลตนเอง
การคิดและการเคลื่อนไหวช้าลง
แยกตัวออกจากสังคม
การแสดงออกทางสีหน้าที่ราบเรียบ
การทำร้ายตนเองและผู้อื่น
สาเหตุคือเห็นภาพหลอนว่าวิมเลียมนั้นจะทำร้ายตนเองและภรรยากับลูก
1.ประเมินการรับรู้ อาการประสาทหลอนและตอบสนองอย่างไรเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา
4.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
2.แสดงอาการยอมรับอาการประสาทหลอน ไม่โต้แย้ง รับฟังและบอกความจริงให้ผู้ป่วยทราบ
3.ให้ผู้ป่วยได้เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อให้ผู้ป่วยเบี่ยงเบนจากอาการประสาทหลอน
การรักษา
เหตุใดต้องรักษาด้วยยา ยาอะไรที่เหมาะสมและมีผลข้างเคียงอย่างไร
Chlorpromazine (คลอร์โปรมาซีน)เป็นยารักษาโรคจติเภท (schizophrenia)
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ มีอาการกระสับกระส่าย ท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม ปากแห้ง รูม่านตาขยาย อาการสั่รรัวหรือกระตุก คลื่นไส้ น้ำมูกไหล
เพราะในตอนแรกที่รักษาด้วยยาแล้วแต่จอนซ์ไม่ตอบสนองต่อยาและยังเห็นภาพหลอนจึงรักษาด้วยECTร่วมด้วย
แนวทางการรักษา
การรักษาด้วยยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองทางความคิด
และพฤติกรรมที่ขาดสมดุลให้กลับมาสมดุลจึงจะทำให้ความคิด
และพฤติกรรมกลับมาเป็นปกติ
ตรงตามความเป็นจริงมากขึ้น
ดังนั้นการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การดูแลรักษาด้านจิตใจ และสังคม
ความเข้าใจ การยอมรับจากคนในครอบครัว และผู้ที่เกี่ยวข้องจะเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้อย่างมาก
คนใกล้ตัวช่วยดูแลการรับประทานยาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีความเข้าใจว่าตนเอง
ไม่ป่วยจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรับประทานยา
การฟื้นฟูทักษะ การฝึกดูแลตัวเอง การเข้าสังคม และการฝึกอาชีพที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจในตัวเองของผู้ป่วย เพิ่มรายได้ลดการเป็นภาระต่อผู้ใกล้ชิดและสังคมได้
กฎหมาย พรบ.ที่ควรมีจากในCase
พระราชบัญญัตสุขภาพจิต (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์และฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อนำบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่ามีลักษณะตามมาตรา ๒๒ ไปรับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไปหรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินเนื่องจากบุคคลนั้นมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง”
มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การดำเนินการตาม (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจร้องขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้ปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินให้ความช่วยเหลือก็ได้ ทั้งนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด”
ชื่อนางสาวชนิสรา กรณ์ชนาธิป เลขที่18 รหัสนักศึกษา 613601019
อ้างอิง
นฤมล จินตพัฒนากิจ. (ม.ม.ป). อาการผิดปกติทางจิตเวช. สืบค้นเมื่อวัน 23 มิถุนายน 2563, จากfile:///C:/Users/ACER/Downloads/Documents/ect4-610319.pdf
พิมพ์วลัญช์ อายุวัฒน์,ภาสินี โทอินทร์ และ ปรานต์ศศิ เหล่ารัตน์ศร. (2561). โรคจิตเภท (Schizophrenia). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563,จาก
https://administer.pi.ac.th/uploads/eresearcher/upload_doc/2018/academic/1531378592828010009140.pdf
มาโนช หล่อตระกูล. (2554). โรคจิตเภท (Schizophrenia). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563,จาก
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%20(Schizophrenia).pdf
เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี,อนงค์นุช ศาโศรก ,ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์,ชุรีภรณ์ เสียงลํ ้า และ วีร์ เมฆวิลัย. (2560). คู่มือการดูแลผู้ป่ วยโรคจิตเภท สําหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ(ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข). สืบค้นเมื่อวันที่ 23มิถุนายน2563,จากfile:///C:/Users/ACER/Downloads/Documents/202002061595902378.pdf วรลักษณา ธีราโมกข์. (ม.ม.ป). โรคจิตเภท (Schizophrenia). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563,จาก
https://www.manarom.com/blog/schizophrenia.html
ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล. (ม.ม.ป). รู้จักโรคจิตเภท. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563, จาก
https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-02.pdf
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๖๒. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563, จาก
https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law136-160462-210.pdf