Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle…
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาล และการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร การตีความ หมายถึง การถอดความหมายของข้อความ หรือศัพท์ต่างๆ ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ ต้องตีความตามตัวอักษรเท่านั้น ห้ามตีความเกินตัวบท และไม่สามารถนาจารีตประเพณี หรือกฏหมายใกล้เคียงมาปรับใช้เพื่อลงโทษ ผู้กระทำผิด
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ หมายถึง จะไม่มีผลในการเพิ่มโทษแก่บุคคล หากขณะกระทำยังไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังมีกฎหมายบัญญัติว่าการการกระทำอย่างเดียวกันนั้นจะเป็นความผิด ศาลหรือผู้พิพากษาจะนำกฎหมายใหม่มาใช้บังคับลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได้
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง คือ ในขณะที่กระทำผิด ต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
3.กระทำโดยเจตนา ประมาทหรือไม่เจตนา ความผิดทางอาญานอกจากมีการกระทำที่เป็นองค์ประกอบภายนอกแล้ว กฎหมายยังคำนึงถึงองค์ประกอบภายใน คือ จิตใจของผู้กระทำซึ่งในทางอาญาถือว่าผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะกระทำผิดเสมอจึงจะลงโทษ
4.เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็น
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
เหตุยกเว้นความรับผิด
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ กรณีที่บุคคลจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ตนเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากอันตราย จากการประทุษร้ายที่ใกล้ถึงตัว และกระทำไปพอสมควรแก่เหตุ
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำความผิดทางอาญาบางประเภท หากผู้เสียหายยินยอมให้กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เกิดจากการข่มขู่ รวมทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีประชาชน และความยินยอมเกิดขึ้นในขณะหรือก่อนที่กระทำความผิด กฎหมายถือว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด
เหตุลดหย่อนโทษ
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
2.กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของ ความรับผิดตามกฎหมายอาญา ที่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหา หรือจำเลยเหมือนเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้
5.อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป ระยะเวลาของอายุความแปรตามอัตราโทษตามความผิด
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานบุกรุกหรือหมิ่นประมาท กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
1.การกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึกและอยู่ภายใต้การบังคับของจิตใจ กล่าวคือ ผู้กระทำต้องรู้สึกตัวและรู้ว่าตนกำลังทำสิ่งใด
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
1.ความผิดต่อแผ่นดิน เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม
2.ความผิดต่อส่วนตัว เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และ กฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน
โทษทางอาญา
3.โทษกักขัง เป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง
4.โทษปรับ การเสียค่าปรับ คือ การชำระเงินต่อศาลตามจำนวนที่ศาลกำหนดไว้ในคำพิพากษา
2.โทษจำคุก เป็นโทษจำกัดเสรีภาพของนักโทษที่ถูกควบคุมไว้ในเรือนจำ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
5.โทษริบทรัพย์สิน
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด เว้นแต่ทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้ในครอบครองเป็นความผิด
ทรัพย์สินซึ่งเกี่ยวข้องกับสินบนของเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจ ให้รางวัลในการกระทำความผิด
1.โทษประหารชีวิต เป็นโทษสูงสุด สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์
ความหมายและวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญา
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิด และกำหนดโทษอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน
มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย รักษาโครงสร้างของสังคมให้มั่นคง คุ้มครองความปลอดภัย รักษาความสงบสุขให้แก่สมาชิกในชุมชน และป้องกัน ความเสียหายต่อสังคม
การทำงานเพื่อบริการสังคม
ผู้ที่ถูกลงโทษโดยการทำงานบริการสังคม จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือองค์การ
ผู้ที่จะทำงานบริการสังคมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางศีลธรรมวินัยหรือโครงการอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร
ละเว้นการคบหาสมาคมหรือประพฤติใดๆที่อาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกัน
ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด
ในคดีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 200,000 บาท และผู้กระทำผิดมีความประสงค์จะขอทำงาน เพื่อบริการสังคมหรือทำงานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ
ให้ผู้ดูแลรายงานเกี่ยวกับการทำงานให้ศาลทราบ
ผู้นั้นกระทำความผิดและต้องโทษปรับแต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
2.การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
เป็นเหตุให้อันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่ เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ มีสาเหตุ
2.ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง (Failure to use equipment in a responsible manner)
3.ความบกพร่องด้านการสื่อสาร (Failure to communication)
1.ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ (Failure to follow standard of care)
4.ความบกพร่องด้านการบันทึก (Failure to document)
5.ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ (Failure to assess and monitor)
6.ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย (Failure to act as patient advocate)
บทลงโทษตามกฎหมายอาญาในความผิดฐานประมาท
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ : ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส : ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย : ผู้กระทำจะได้รับโทษหนักขึ้น คือ จำคุกไม่ เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
3.การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย (Confidential disclosure)
เปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รู้ความลับผู้อื่นมาเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือจากการศึกษาอบรม
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5.ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
6.การทำให้หญิงแท้งลูก (Induced abortion)
การทำให้ตนเองแท้งลูก : ย่อมมีความผิดและได้รับ โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม : ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม : ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก : ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ (ปอ. มาตรา 304) เพราะความผิดยังไม่สำเร็จ คือ ยังไม่แท้งลูก
การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗
เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคาร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทาผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น
โดยความตายของผู้กระทำผิด
เมื่อคดีขาดอายุความ
เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
มาตรา 247 คดีที่จำเลยต้องประหารชีวิต ห้ามมิให้บังคับตามคาพิพากษา จนกว่าจะได้ปฏิบัติ ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอภัยโทษแล้ว
วิวัฒนาการของกฎหมาย
คณะกรรมการสภาการพยาบาลในสมัยนั้น ให้ปรับปรุงสาระสำคัญ ได้แก่
จำนวนกรรมการสภาการพยาบาล
การเลือกนายกสภาการพยาบาล ซึ่งเปลี่ยนจาก ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นกรรมการสภาการพยาบาลที่ต้องได้รับเลือกจากกรรมการสภาการพยาบาล
การกำหนดขอบเขตของการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์
การสอบขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการต่ออายุ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทุก 5 ปี
คำนิยามการพยาบาลและการผดุงครรภ์
และได้เสนอร่างกฎหมายผ่านรัฐสภา จนกระทั่ง “พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540” ได้ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 75ก วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 จวบจนถึงปัจจุบัน
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
นิติกรรม
ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต เช่น การให้โดยเสน่หา สัญญาการซื้อขาย
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต เช่น พินัยกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่มีค่าตอบแทน เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาซื้อขาย
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน เช่น การให้โดยเสน่หา สัญญายืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ย
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดผลโดยการแสดงเจตนาของบุคคลเพียงฝ่ายเดียว และมีผลผูกพันทางกฎหมาย
นิติกรรมหลายฝ่าย ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป และทุกฝ่ายตกลงยินยอมตามข้อตกลง
องค์ประกอบของนิติกรรม
1.ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน หมายถึง ผู้กระทำนิติกรรมต้องแสดงออกในฐานะเอกชน มิใช่เจ้าพนักงานของรัฐ
2.การกระทำโดยเจตนา เป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยใจสมัคร เพื่อให้บุคคลภายนอกรับรู้ถึงความต้องการหรือเจตนาของตนที่จะทำนิติกรรมตามกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง หรือการแสดงเจตนาโดยปริยาย
3.การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การกระทำที่กฎหมายให้อำนาจบุคคลกระทำได้ โดยชัดแจ้ง หรือกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าห้ามกระทำ หากนิติกรรมที่กระทำนั้นขัดต่อกฎหมาย ความสงบ เรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเป็นการกระทำที่พ้นวิสัยที่มนุษย์จะทำได้ ให้ถือเป็นโมฆะ
4.ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ หมายถึง ผลของการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่กรณีตามนิติกรรมนั้นๆ
หมายถึง การกระทำของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมาย มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการดาเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่ เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น
กฎหมายพาณิชย์
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ ที่ได้กระทำในเรื่องหุ้นส่วน บริษัท ประกันภัย ตั๋วเงิน
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆียกรรม หมายถึง การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำ แต่สามารถบอกล้างหรือ ปฏิเสธนิติกรรมโดยผู้เสียหายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มีผลให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มแรก เสมือนไม่ได้ทำนิติกรรมใด
โมฆะกรรม หมายถึง ความเสียเปล่าของนิติกรรมที่กระทำตั้งแต่ต้นจึงไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่กระทำนิติกรรมทำให้ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับตามกฎหมาย มีสาเหตุคือ
นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
การบังคับชำระหนี้
เป็นการชำระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้ หรืองดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพหนี้
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
ความเสียหายที่คำนวณราคาเป็นเงินได้ คือ ความเสียหายที่แน่นอนและไม่ไกลเกินเหตุ รวมถึงการคืนทรัพย์สิน หรือใช้ราคาค่าเสียหายของความเสียหายที่เกิดขึ้น
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณราคาเป็นตัวเงินได้ เช่น หมิ่นประมาท ความเศร้าเสียใจที่บุตรถูกรถชนตาย ค่าเสื่อมสุขภาพอนามัย ค่าทำขวัญ
กฎหมายแพ่ง
กำหนดสิทธิ หน้าที่ และ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนโดยทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกันสามารถต่อรองเพื่อตกลงกระทำการใดๆ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ความรับผิดจากการละเมิด
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยจงใจ หมายถึง การกระทำที่ตั้งใจหรือเจตนาโดยผิดกฎหมาย ไม่มีสิทธิหรือใช้สิทธิเกินขอบเขต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น การกระทำจงใจทางแพ่งมีความหมายแตกต่างจากการกระทำโดยเจตนาทางอาญา
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทำโดยมิได้จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังในระดับวิญญูชน ซึ่งอาจเทียบได้กับความระมัดระวังของบุคคลในอาชีพเดียวกัน ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
ความเสียหายแก่อนามัย
ความเสียหายแก่เสรีภาพ
ความเสียหายแก่ร่างกาย
ความเสียหายแก่ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ
ความเสียหายแก่ชีวิต
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การประทุษกรรม โดยผิดกฎหมายด้วยการฝ่าฝืนข้อห้าม หรือละเว้นการกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายบัญญัติให้กระทำ งดเว้นในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำ
ความรับผิดตามสัญญา
การกระทำของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ที่แสดงเจตนาด้วยใจสมัครถูกต้องตรงกันที่จะกระทำหรืองดเว้นการกระทำ และตกลงกันทุกข้อโดยไม่มีข้อสงสัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดผล ผูกพันโดยชอบตามกฎหมาย