Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU -…
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจไม่เพียงพอ มีบทบาทสำคัญในการรักษาประคับประคองผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลวหรือระบบไหลเวียนล้มเหลว
เป็นการช่วยหายใจแบบแรงดันบวก “positive mechanical ventilator”
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure) ในบางภาวะร่างกายมีความจำเป็นในการใช้ออกซิเจนในปริมาณสูง
ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ
ผู้ป่วยที่มีการเสียเลือด
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure) ผู้ป่วยที่มีภาวะล้มเหลวของการระบายอากาศ
ผู้ป่วยที่ซึมมาก
ผู้ป่วยโรคหืด
ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue) เช่น ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทส่วนปลาย
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ ในภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูง
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasive positive ventilator; NPPV
Invasive positive ventilator; IPPV
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ (Mode of ventilator)
Control mandatory ventilation (CMV) หรือ Assist/control (A/C) ventilation
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
Spontaneous ventilation
Continuous positive airway pressure (CPAP)
Pressure support ventilator (PSV)
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด การใช้เครื่องช่วยหายใจจะทำให้เลือดดำไหลกลับหัวใจลดลง
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonary volutrauma)
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma)
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia; VAP)
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
ระบบทางเดินอาหาร พบได้บ่อย ได้แก่ การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
ผลต่อภาวะโภชนาการ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ
ประคับประคองด้านจิตใจโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย
แจ้งให้ทราบทุกครั้งเมื่อต้องให้การพยาบาล
ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุด
การดูแลด้านร่างกาย
1) ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน รายงานแพทย์ทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
2) การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
3) การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
4) การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด
5) การป้องกันภาวะปอดแฟบ
6) การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
1) โรคหรือสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหายหรือทุเลาลง
2) มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ ค่า PaO2>60 มม.ปรอท FiO2 ไม่เกิน 0.4
3) ค่า PEEP น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
4) ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทำตามคำสั่ง
5) สัญญาณชีพปกติ อุณหภูมิ<38 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของหัวใจ <100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ< 30 ครั้ง/นาที ระดับความดันซิสโตลิก 90-160 มม.ปรอท
6) ค่า Spontaneous tidal volume เมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว มากกว่า 5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
8) ใช้ยาระงับประสาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการควบคุมความกระวนกระวายของผู้ป่วย
7) ความสามารถในการหายใจเองของผู้ป่วย
9) ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจหรือหลอดเลือด ถ้ามีต้องอยู่ในระดับต่ำหรือมีแนวโน้มว่าจะลดลงได้เรื่อย ๆ
10) สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยหายใจเองทาง T piece หรือหายใจเองสลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพักๆ
การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
Pressure support ventilation (PSV)
Continuous Positive Airway Pressure (CPAP)
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าศีรษะสูงหรือท่านั่ง หากไม่มีข้อห้ามเพื่อส่งเสริมการขยายตัวของปอด
ดูดเสมหะเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ส่งเสริมให้อากาศผ่านเข้าออกอย่างมีประสิทธิภาพ
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆ เพื่อลดความกลัว ให้ผู้ป่วยร่วมมือและให้กำลังใจผู้ป่วย
ควรเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
เริ่มทำการหย่าเครื่องช่วยหายใจเมื่อประเมินสภาพผู้ป่วยว่าพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
วัดสัญญาณชีพและความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว (Oxygen saturation) ก่อน ขณะการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทุก 5-10 นาที
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย T piece 10 ลิตร/นาที ต่อไปได้ ให้ต่อท่อช่วยหายใจเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ setting ก่อนหน้าที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15-30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การป้องกันการติดเชื้อ (Infection)
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line
ตรวจสอบข้อต่อต่าง ๆ ให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการหัก งอ ของสาย arterial line
การป้องกันการเลื่อนหลุด
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform) และบันทึกตำแหน่งของสายยาง
จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที ตามความจำเป็น และรายงานแพทย์ เมื่อค่าที่ได้มีความผิดปกติ
ในกรณีที่แพทย์ถอดสายยางออกแล้วควรกดตำแหน่งแผลไว้นาน อย่างน้อย 10 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุด
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต (common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
1.1 Epinephrine หรือ Adrenaline 1 mg/ml/ampule (1: 1,000)
1.2 Amiodarone (Cordarone®)
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
2.1 Atropine
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
3.1 Adenosine
3.2 Digoxin (Lanoxin ®)
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
4.1 Dopamine (Inopin®)
4.2 Dobutamine
4.3 Norepinephrine (Levophed®) กลุ่ม Adrenergic agonist
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
5.1 Nicardipine
5.2 Sodium Nitroprusside
5.3 Nitroglycerin (NTG)