Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยแยกโรคระบบทางเดินหายใจ : กลุ่มอาการเหนื่อย ไข้, นางสาวโศภิษฐา…
การวินิจฉัยแยกโรคระบบทางเดินหายใจ : กลุ่มอาการเหนื่อย ไข้
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อาการไข้
ส่งตรวจ chest x-ray :ไม่พบ Infiltation ผล chest x-ray ไม่พบพยาธิสภาพของฝีในปอดและไม่พบ cardiomegaly
ส่งตรวจ Acid fast bacilli (AFB) : ผล Negative
ส่งตรวจ Electrocardiogram (EKG) : ผล EKG normal
ส่งตรวจ CBC : normal
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ส่งตรวจ CXR : พบความผิดปกติ
ส่งตรวจ EKG จากการที่ผู้ป่วยมีภาวะ CHF พบ PR และ HR ไม่เท่ากัน มี Total irregularity แสดงว่าผู้ป่วยมี Atrial Fibrillation
ส่งตรวจ Liver function test
ส่งตรวจ echocardiography
ส่งตรวจ Renal function
ส่งตรวจ CBC เพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง ในประวัติผู้ป่วยที่มีประวัติหายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
ปัจจัยที่กระตุ้น Exacerbation
ข้อมูลจากตำรา
ปัจจัยและสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดกำเริบขึ้น ได้แก่ สารระคายเคือง เช่น น้ำหอม กลิ่นสี ทินเน่อร์ น้ำยาหรือสารเคมี ละอองยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ฝุ่นก่อสร้าง ฝุ่นหิน ฝุ่นดิน ควันบุหรี่ ควันธูป ควันเทียน ควันไฟ ควันท่อไอเสียรถยนต์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น
สาเหตุอื่นๆ เช่น หืดที่ถูกกระตุ้นด้วยการออกกำลังกาย หืดที่ถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ หรือสารระคายเคืองจากการประกอบอาชีพ
ข้อมูลจากผู้ป่วย
ฝุ่น ควันไฟ จากการที่ผู้ป่วยชอบทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน โดยการไปตั้งแคมป์ในป่า
ผู้ป่วยชอบออกกำลังกายโดยการเล่นบาสเก็ตบอล
ปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพในผู้ป่วยรายนี้
ปัจจัยภายนอก ได้แก่
• สภาพทางภูมิศาสตร์และที่อยู่อาศัย ได้แก่ อุณหภูมิและอากาศที่มีลักษณะแตกต่างกันไปหลายพื้นที่ เช่น บางพื้นที่มีลักษณะอุณหภูมิที่ร้อนชื้น บางพื้นที่มีอากาศหนาวเย็นมาก ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคลโดยตรง สภาพภูมิอากาศบางแห่งเอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี และย่อมส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้น หรือแย่ลง
• สภาพสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เช่น การสูดอากาศหายใจที่มีแก๊สพิษ หรือสารพิษ ฝุ่น ควัน ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และเกิดการระคายเคืองของ ระบบหายใจ
ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความเครียดของผู้ป่วย
• เพราะความเครียดมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านบวก และลบ ทางด้านบวก เช่น ในระยะพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัยนั้นก็เป็นการก่อตวามเครียดแก่ร่างกาย ซึ่งสามารถเรียนรู้ และปรับพฤติกรรมของตนเองเพื่อที่จะให้ร่างกายนั้นอยู่ในสภาวะที่ดีซึ่งจากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยมีความเครียดและความกังวลในอาการหายใจหอบเหนื่อยของตนเอง ที่เวลาทำอะไรก็จะเหนื่อยง่าย จึงมีความจำเป็นต้องใช้ยาพ่นเพื่อให้ทางเดินหายใจสะดวกขึ้นอยู่เป็นประจำ
• การรับรู้ของผู้ป่วย จะมีพฤติกรรมเช่นใด ขึ้นอยู่กับรับรู้ของตนต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งในที่นี้ผู้ป่วยมีการรับรู้ต่ออาการป่วยของตนเอง และมีการปรับตัวต่อพฤติกรรมของตนเองในครั้งต่างๆ ร่วมกับมีการใช้ยาพ่น
ข้อมูลทั่วไปของ Scenario
ข้อมูลทั่วไป
ER รพ.ชุมชนแห่งหนึ่ง เวลา 20.00 น.
ชายไทยอายุ 19-20 ปี ให้ประวัติว่ามีไข้ต่ำๆ ไอแห้งๆ ไอมากเวลากลางคืน รู้สึกแน่นหน้าอกเวลาไอมา 2-3 วัน รู้สึกหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก 2 ชั่วโมงก่อนมา (นั่งรถเข็นมาเนื่องจากเดินไม่ไหว) มารดาพามาที่ ER ให้ประวัติว่าลูกชายแข็งแรงดีมาตลอด แต่ประมาณ 2 เดือนที่แล้ว มีอาการไอกลางคืน แต่ไม่เหนื่อยหอบ
ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชอบเล่นกีฬาคนในครอบครัวไม่มีใครสูบบุหรี่ กิน อาหารปกติ รสไม่จัด
น้ำหนักลด 2 kg/wk
5 ปี ที่แล้วบวมที่เท้าไม่แน่ใจว่าเกิดจากการเล่นกีฬา เพื่อนมองเป็นตัวถ่วง
แรกรับที่ ER
PR 112-116 ครั้งต่อนาที
RR 28-30 ครั้งต่อนาที
O2 Sat 95%
Temp 37.7 องศาเซลเซียส
อาการสำคัญ : 2 เดือนที่แล้วมีอาการไอกลางคืน แต่ ไม่เหนื่อยหอบ
ตรวจร่างกายตามระบบ
EYE : mild conjunctiva pale
Oral cavity : mild injected
Chest
: Supraclavicular retraction
: Wheezing both lung
CVS : Capillary refill 5
ประวัติครอบครัว : ตาและยายเป๋็น asthma heart DM HT
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
2 เดือนที่แล้วมีอาการไอกลางคืน แต่ไม่เหนื่อยหอบ มารดาบอกว่า ลูกแข็งแรง ไอมากๆ 2 เดือนที่ผ่านมา
2-3 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ต่ำๆ ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ อยู่เฉยๆ ก็ไอ ไอมากเวลากลางคืน รู้สึกแน่นหน้าอกเวลาไอ
2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล รู้สึกหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก เหงื่อออก (นั่งรถเข็นมาเนื่องจากเดินไม่ไหว)
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต :
7 ปีที่แล้ว หายใจเหนื่อย ไปโรงพยาบาลเป็นระยะๆ พ่นยาเป็นระยะๆ ปัจจุบันก็ยังพ่น มักพ่นตอนทำกิจกรรม ถ้าไม่พ่นก็จะหายใจไม่ออก มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย เวลาที่ไอเยอะๆ ก็จะหายใจไม่ออก
ประวัติตามระบบ
ระบบไหลเวียน
-ไข้
-ปอดได้ยินเสียง wheez
-แน่นหน้าอก
-ไอ
-เหนื่อยหอบ
ระบบหายใจ
ปอดได้ยินเสียง wheez
-เจ็บแน่นหน้าอก
-10 ปีที่แล้วบวมที่เท้า
การเก็บรวบรวมข้อมูล ระบุแหล่งที่มา
• เพื่อนบอกผู้ป่วยชอบออกกำลังกายโดยการเล่นบาสเก็ตบอล
• มารดาให้ประวัติว่าลูกชายเเข็งแรงดีมาตลอด แต่ประมาณ 2 เดือนที่เเล้วมีอาการไอกลางคืน แต่ไม่เหนื่อยหอบ
การวินิจฉัยโรคแยกโรคหอบหืดออกจากโรคทางเดินหายใจอย่างอื่น
Bronchitis : กรณีศึกษาไม่ได้เป็นเนื่องจากผู้ป่วย ไอ ไม่มีเสมหะ ซึ่งโรคนี้ในระยะแรกจะไอแห้งๆ และไอมีเสมหะปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ตรวจร่างกาย ไม่พบคอแดงและจากการสอบถามไม่มีประวัติเป็นหวัดมาก่อนหน้าที่จะมีอาการนี้ ผลการตรวจ CBC normal
Pulmonary TB
กรณีศึกษาไม่ได้เป็น เนื่องจาก ไม่ได้มีอาการไอออกมาเป็นเลือดสีเเดงๆหรือดำๆเเละผลตรวจร่างกาย Chest X-ray ไม่พบ infiltration เเละผลการตรวจ lab Acid fast bacilli (AFB) ให้ผล Negative
Pneumonia
จากกรณีศึกษาคาดว่าไม่ได้เป็นเนื่องจากผู้ป่วยประวัติการเจ็บป่วย ไม่มีไข้สูง ไอแต่ไม่มีเสมหะ ซึ่งส่วนใหญ่โรคนี้ติดเชื้อ Bacteria เกิดพยาธิสภาพที่ถุงลมปอดกลีบปอด กระจายเป็นหย่อมๆ จะทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ฟังปอด พบ เสียง Crepitation และ Rhonchi แต่กรณีศึกษาไม่ พบ และผลการตรวจCBC normal แสดงว่า ไม่มี การติดเชื้อในร่างกาย
COPD
สาเหตุที่ตัดโรคนี้ออกเนื่องจาก อาการของผู้ป่วยไม่สัมพันธ์กับ COPD เนื่องจากผู้ป่วยไอแห้งๆ ไอมากตอนกลางคืน หากเป็น COPD ต้องไอมีเสมหะสีขาวขุ่นเล็กน้อย ไอทุกช่วงเวลาในแต่ละวัน ส่วนอาการหอบเหนื่อย COPD จะต้องเป็นได้ทุกช่วงเวลา เพียงแค่ใช้แรง ก็สามารถอาการกำเริบได้แล้ว แต่ผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้เป็นตลอด และที่สำคัญคือ ผู้ป่วยอายุยังน้อยไม่ได้มีประวัติสูบบุหรีไม่ได้มีประวัติว่าเป็น COPD หรือได้รับการรักษาเกี่ยวกับ COPมาก่อน และตรวจร่างกายไม่พบอกถังเบียร์ Chest X-ray ได้ no infiltratiแสดงว่าไม่พบฝ้าขาวหรือการโป่งพองของถุงลมในปอด
CHF
กรณีศึกษาไม่ได้เป็นCHFเนื่องจากไม่พบอาการแสดงของโรคหัว ใจอัตราการเต้น ของหัวใจปกติไม่ มีเส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง ฟังปอดได้ยินเสียง Wheezing both lung ไม่ได้ยินเสียง Crepitation และ ผู้ผู้ป่วยไม่มีภาวะบวม ไม่มีน้ำหนักข้ึนเร็ว เช่น มากกว่า1 Kg ต่อวันหรือ 2 Kg ต่อสัปดาห์ ผลElectrocardiogram (EKG) Normal ผล Chest X-RAY ไม่พบCardiomegaly
MI
ตัดโรคนี้ออก เนื่องจาก อาการของผู้ป่วย ที่ไม่มีอาการเจ็บเค้นหน้าอก เหมือนมีอะไรมาทับไม่มีjugular vein ขึ้น ผลการตรวจCXRพบว่า normal ไม่มีัวใจโต ฟังเสียงปอดเป็นเสียงwheezing ไม่ใช่ crepitation
Anemia
สาเหตุที่ตัดโรคนี้ออก เนื่องจากผลตรวจ CBC normal ไม่สัมพันธ์กับโรค ร่วมกับอาการของโรคที่ยังไม่ค่อยชัดเจน ทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นanemia
Cirrhosis
ไม่เลือกโรคนี้ออกเพราะว่าผู้ป่วยในกรณีศึกษาดังกล่าวไม่ได้มีประวัติการดื่มสุรา ไม่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน) ไม่มีอาการรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวา และตรวจร่างกายไม่พบหลอดเลือดโป่งพอง , ฟังปอดไม่ได้ยินเสียงฟู่หรือ murmur นอกจากนี้ในเรื่องของผลตรวจทางห้องปฎิบัติการยังไม่ชัดเจนในเรื่องเลือดรวมถึงการทดสอบการทำงานของตับ (Bilirubin, Creatinine,Liver function tests) รวมไปถึงผลการตรวจชิ้นตับเพื่อยืนยันผล
Asthma
เลือกโรคนี้ เพราะจากข้อมูลในกรณีศึกษา พบว่าผู้ป่วยมีอาการ และอาการแสดงตรงกับตำราที่ค้นคว้ามา คือ
ข้อมูลจากตำรา
ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบเหนื่อยง่าย และหายใจมีเสียงดังวี้ด อาจมีไข้ จะมาด้วยหอบฉุกเฉิน และอาการรุนแรงถึงตาย
ข้อมูลผู้ป่วย : มีไข้ต่ำ ๆ ไอเเห้งๆ ไอมากเวลากลางคืน รู้สึกแน่นหน้าอกเวลาไอ มา 2-3 วัน รู้สึกหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก เหงื่อออก 2 ชั่วโมงก่อนมา (นั่งรถเข็นมาเนื่องจากเดินไม่ไหว) มารดาพามาที่ ER ให้ประวัติว่าลูกชายเเข็งแรงดีมาตลอด แต่ประมาณ 2 เดือนที่เเล้วมีอาการไอกลางคืน แต่ไม่เหนื่อยหอบ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
การรับรู้ความรุนแรงของโรคหอบหืด
-เพื่อนไม่ได้รับรู้ว่าโรคหอบหืดหากผู้ป่วยไม่ได้รับยาพ่นขยายหลอดลมจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่เพื่อนของผู้ป่วยก็ไม่ได้เห็นความสำคัญ ยังมีการแหย่ผู้ป่วยด้วยการแย่งยาพ่นขยายหลอดลมไปขณะที่ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย อีกทั้งยังไม่ให้การยอมรับผู้ป่วยในการให้ร่วมเล่นกีฬาบาสเก็ตบอลด้วยเพราะผู้ป่วยชอบการเล่นกีฬา
-เพื่อนไม่ได้รับรู้ว่าควันไฟเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบการไปตั้งแคมป์ในป่า ที่ต้องมีการจุดไฟ และควันไฟทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจในผู้ป่วย
ระบบสุขภาพที่สัมพันธ์กับการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ
ชุมชน : ครอบครัวที่มีคนป่วยโรคหืด
พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
• Care management ค้นหาปัญหา การวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหา
• เสริมสร้างพลังให้กลุ่มผู้ป่วยโรคหืด
• ประสานงาน (Collaboration) ประสานความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ
• ให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการหอบ
• พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหืด สอนและฝึกทักษะในการป้องกัน
การรับรู้ มุมมองของบุคคลอื่นและครอบครัวที่มีต่อผู้ป่วย asthma
การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกใน ระดับปานกลางกับการกำกับตนเองในการควบคุมโรคหืด
เด็กที่เป็นโรคหืดได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองด้านอารมณ์มากที่สุด การสนับสนุนทางสังคมเป็นการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับ ความช่วยเหลือ การสนับสนุน ที่ได้จากบุคคลใกล้ชิด ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์ ด้านการประเมิน ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านทรัพยากร (House, 1981) ใน เด็กวัยเรียนการได้รับการสนับสนุนทางสังคมมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง และ บุคคลใกล้ชิด เช่น ครู เพื่อน แพทย์ และพยาบาล เป็นต้น ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้จะช่วยประคับ ประคองจิตใจ และเป็นกำลังใจส่งผลให้เด็กวัยเรียนเกิด การกำกับตนเองในการควบคุมโรคหืด
ความรู้สึกต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วย asthma
ผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอาการ รุนแรงปานกลางและรุนแรงมากจะมีปัญหาทางด้านพฤติกรรมและความคิด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากได้รับความทุกข์ทรมาน และความไม่สุขสบายจากโรคที่เป็น ก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนทางด้านอารมณ์ โดย ผู้ป่วยมักจะรู้สึกว่าตนเองขี้โรค อ่อนแอ สู้เพื่อนๆ คนอื่นไม่ได้ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ถ้ามีมากๆ อาจถึงขึ้นทำให้ ท้อแท้ หมดหวังได้โดยอาจถูกจำกัดการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การออกกำลังกาย การเล่น ตลอดจนการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้เกิดความไม่ปกติสุขขึ้นในจิตใจ (แฮมเบอร์เลย์ และคณะ Hamberley,et al)
การดูแลตนเองของผู้ป่วยasthma
• รักษาสุขภาพจิตให้สดชื่นแจ่มใสพยายามอยู่ห่างจากผู้ที่ไม่สบาย
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกประเภท รวมทั้งผักและผลไม้
• ดูแลสุขภาพของฟันและช่องปากใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ
• ออกกำลังกายเป็นประจำ
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• หลีกเลี่ยงหรือกำจัดสิ่งที่แพ้ หรือกระตุ้นทำให้เกิดอาการ
• ควรกำจัดหรือลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้หรือสารกระตุ้นให้เกิดอาการ
วางแผนการรักษาผู้ป่วย asthma ตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพ
การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ญาติ และผู้ใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษา
o ธรรมชาติของโรค
o ปัจจัยหรือสิ่งกระตุ้น
o วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง
o การใช้เครื่อง peak flow meter
o การประเมินผลการควบคุมโรคหืด
o การจัดแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคหืด
o การจัดระบบให้มีการดูแลรักษาต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
o การรักษาผู้ป่วยโรคหืดในกรณีพิเศษ
o การประเมินระดับความรุนแรงของโรคหืด
วางแผนการพยาบาลผู้ป่วย asthma
ประเมินอาการโรคหืดกำเริบเฉียบพลันโดยใช้ SCAS เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของโรค ทุก 2-4 ชั่วโมง
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ และระดับความอิ่มตัวของออกซิเจน ทุก 2-4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์
จัดท่านอนศีรษะสูงประมาณ 30 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก ควรจัดท่านอนกึ่งนั่งเพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดีและมีการระบายอากาศที่ดี
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา รักษาระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนให้ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 95% ในกรณีที่เสมหะเหนียวข้น ควรใช้ออกซิเจนชนิดที่มีความชื้นสูง
สังเกตภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจ หอบมากขึ้น หายใจลำบาก หายใจหน้าอกบุ๋ม ระดับความรู้สึกตัวลดลง กระสับกระส่าย หากพบสิ่งผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษาได้แก่ยาขยายหลอดลมกลุ่ม SABA ซึ่งโดยทั่วไปนิยมให้ทางการสูดดมแบบฝอยละออง (aerosal therapy) ยาที่นิยมใช้ได้แก่ salbutamol ชนิด nebule
การเรียนรู้อะไรในการทำงานใบงานนี้
• การทำงานเป็นทีมของสมาชิกภายในกลุ่ม การแบ่งงาน การทำงานที่แปลกใหม่ไปจากเดิม
• ใช้เทคโนโลยีในการทำงานร่วมกัน
• การวินิจฉัยแยกโรค ควรจะซักประวัติอะไรเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจน
• การสื่อสาร สมาชิกทุกคนจะต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน
• คิดวิเคราะห์ที่มากกว่าเดิมในการรับสาร
คำแนะนำด้านสุขภาพ (Health education) การดูแลที่เหมาะสมของผู้ป่วยและครอบครัวในการป้องกันโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน มี 4 ด้าน ได้แก่
ด้านการป้องกันการกำเริบของโรคหืดโดยการหลีกเลี่ยงหรือควบคุมสิ่งกระตุ้น
ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยและการดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป
ด้านการปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์และการมาตรวจตามนัด
ด้านการจัดการและดูแลผู้ป่วยเมื่อมีอาการหอบ โดยครอบครัวสามารถประเมินการหายใจและสังเกตอาการเตือนของโรคหืดกำเริบเฉียบพลันได้อย่างถูกต้องได้แก่อาการไอ และความผิดปกติของการหายใจ ทำให้สามารถใช้ยาป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรคหืดได้เป็นการลดความรุนแรงของโรค สามารถใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมเพื่อควบคุมอาการหอบได้ถูกวิธี ทำให้การพ่นยาแก่ผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ ได้ยาครบถ้วน ซึ่งช่วยลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรคได้
นางสาวโศภิษฐา ทยาพัชร รุ่น 35 เลขที่ 61