Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนสั้น เรื่อง A beautiful mind, นางสาวนารีรัตน์ ตั้งใจธรรม 2A เลขที่43…
ภาพยนสั้น เรื่อง A beautiful mind
ประวัติทั่วไป
ข้อมูลส่วนตัว
ผู้ป่วยชื่อ นายจอหน์ ฟอบส์แนช จูเนียร (์Mr. John F0rbes Nash, Jr.)
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
อายุ 24 ปี
ประวัติส่วนตัว
มีภรรยาช-อื อลิเซีย และมีลูกด้วยกัน 1 คน
มีน้องสาว 1 คน
ความสัมพันธภาพในครอบครัว
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่นเกือบทํารา้ยภรรยาและลูก
ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกไม่อยากมีเพศสัมพันธกับภรรยา
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว ไม่ค่อยเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟัง
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่นและมีพฤติกรรมที่แปลกๆ
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยรุ่น
ผู้ป่วยเริ่มมีบุคลิกที่ดูเเตกต่างจากผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อเริ่มทำงาน
ชาร์ลส์ อยูกับเขาตลอดเเละเป็นเพื่อนคนเดียวที่สามารถพูดคุย
ผู้ป่วยหันมาสนใจทางด้านคณิตศาสตรเ์เละมุ่งมั่นในการเรียน
เรียนปริญญาเอก
เริ่มมีความคิดหมกมุ่นและมีพฤติกรรมแปลกๆเพิ่มมากขึ้น
พบว่า ชารล์ส์ เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตเขา
ให้กำลังใจและคอยอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยเสมอ
มีความโดดเด่นทางด้านการเรียนในระดับอัจฉริยะ
วัยเด็ก
ผู้ป่วยเรียนเก่ง
ชอบเก็บตัว
ไม่ชอบกิจกรรมนัทชนทนาการ แต่มีความสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์และทำการทดลองด้วยตัวเองตั้งแต่อายุ 12 ปี
ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน
อาการและอาการแสดงจากกรณีศึกษา
การแสดงอารมณ์ (Affect)
ผู้ป่วยมักมีสีหน้าเรียบเฉย แต่จะแสดงสีหน้า แววตา และท่าทีหวาดกลัวเมื่อพบจิตแพทย์
พื้นฐานอารมณ์ (Mood)
ผู้ป่วยบอกว่าเขาเป็นคนใจเย็น ไม่ชอบยุ่งกับใคร แต่การมีคนมาสะกดรอยตามทำให้เขากลัวและกังวลอย่างมาก
การตัดสินใจ (Judgment)
ตัดสินใจได้ค่อนข้างเหมาะสม แต่คิดช้า และมีท่าทีหวาดระแวงเกือบตลอดเวลา
การรับรู้ (Orientation)
รับรู้วัน เวลา และสถานที่ได้ แต่บอกว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับ ผู้ป่วยจึงไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเท่าที่ควร
การคิด (Thought)
ผู้ป่วยยังคงมีความเชื่อว่าตนเองเป็นสายลับ ถูกเรียกตัวให้ไปทำหน้าที่อย่างลับๆ และกำลังถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับ
ความจำ (Memory)
มีความจำเฉพาะหน้า (Immediate and Recall memory) ความจำระยะสั้น (Recent memory) และความจำระยะยาว (Remote memory) เป็นปกติ สามารถจำกลุ่มตัวเลขยากๆยาวๆได้เป็นอย่างดี
ลักษณะการพูด (Speech)
พูดตะกุกตะกักในบางครั้ง แต่เมื่อพูดถึงเรื่องการเป็นสายลับ การถูกสะกดรอยตามจะพูดรัว เร็ว
ลักษณะทั่วไป (General Appearance)
ปากแห้งเล็กน้อย
นั่งกุมมือและบีบมือตัวเองเกือบตลอดเวลา
สีหน้าวิตกกังวล แววตาหวาดระแวง ก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
การเคลื่อนไหว (Psychomotor Activity)
ผู้ป่วยเดินหลังค่อม มองซ้ายขวาเกือบตลอดเวลา
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ยารับประทาน
ยาเม็ด
การรักษาด้วยไฟฟ้า
นิเวศน์บำบัด
จิตบำบัด
ครอบครัวบำบัด
คาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้อง
โรคจิตเภท (Schyzophrenia)
อาการและอาการแสดง
อาการด้านบวก
ประสาทหลอน มองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้สึก หรือรับรสที่ไม่มีอยู่จริง มักเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่จริงซึ่งเกิดจากความคิดของผู้ป่วยเอง
หลงผิด เชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่มีอยู่จริง เช่น เชื่อว่ามีคนวางแผนฆ่าหรือวางแผนปองร้าย
ผิดปกติทางความคิด คิดหรือการประมวลข้อมูลที่ผิดไปจากปกติหรือไม่เป็นเหตุเป็นผล
ผิดปกติทางการเคลื่อนไหว มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างตื่นกลัวหรือทำท่าทางแปลก ๆ ออกมา
อาการด้านลบ
แสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์น้อยลง
เคลื่อนไหวน้อยและไม่ค่อยทำอะไร
พูดน้อยลง และอาจพูดด้วยเสียงโทนเดียว
ปลีกตัวออกจากสังคม
ไม่มีอารมณ์ร่วม หรืออาจมีการแสดงออกทางอารมณ์แบบแปลกๆ เช่น หัวเราะในสถานการณ์ที่ควรรู้สึกเศร้า
ไม่มีความสนใจหรือความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต ไม่ค่อยมีความสุข
มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน
มีปัญหาในการบรรลุเป้าหมายหรือแผนที่วางไว้
สาเหตุของจิตเภท
ความผิดปกติภายในสมอง และปริมาณสารเคมีในสมองบางชนิดผิดปกติ
การใช้ยาที่มีผลต่อจิตใจ หรือใช้ยาเสพติดที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการของโรค
ความเครียด อาจเกิดจากปัญหาด้านการเงิน ปัญหาความสัมพันธ์ การปลีกตัวจากสังคม การสูญเสียคนรักไป หรือปัญหาอื่น ๆ
ผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี และผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี
การรักษาจิตเภท
การใช้ยา
ยาคลอร์โปรมาซีน ยาฮาโลเพอริดอล ยาฟลูเพนทิซอล ยาซูโคลเพนทิซอล ยาซัลพิไรด์ ยาอะมิซัลไพรด์ ยาอะริพิพราโซล ยาโคลซาปีน ยาโอแลนซาปีน ยาควิไทอะปีน หรือยาริสเพอริโดน
ผลข้างเคียงได้ เช่น ปากแห้ง ผิวหนังแดง ท้องผูก ง่วงซึม เห็นภาพมัว หรือน้ำหนักตัวเพิ่มจนอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจตามมาได้ในระยะยาว เป็นต้น นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ อย่างโรคพาร์กินโซนิซึม หรือโรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง
บำบัดเพื่อเสริมทักษะทางสังคม
เน้นให้ผู้ป่วยจัดการกับความเครียดและอาการป่วย เพื่อช่วยให้มีทักษะด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถไปเรียน ไปทำงาน และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
บำบัดทางจิต
พูดคุยหรือให้ระบายความคิดและความรู้สึกออกมา โดยอาจถามถึงมุมมองความคิดในด้านต่าง ๆ หรือให้ผู้ป่วยเขียนบันทึกประจำวัน เพื่อช่วยเปลี่ยนวิธีพูด วิธีคิด การรู้สึก หรือพฤติกรรมของผู้ป่วย
บำบัดภายในครอบครัว
ให้ความรู้และการสนับสนุนแก่ครอบครัวของผู้ป่วยโรคจิตเภท ซึ่งพบว่าวิธีนี้ช่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลของผู้ป่วย และลดความรุนแรงของอาการได้
ส่งเสริมสุขภาพร่างกาย
ให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีขึ้น
โรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder)
อาการและอาการแสดง
ทางพฤติกรรม
ชอบปลีกตัวไปหลบอยู่คนเดียวบ่อยๆ เพราะกลัวการเผชิญหน้ากับผู้อื่น
ไม่กล้าทำอะไรด้วยตนเองโดยลำพัง จำเป็นต้องมีเพื่อนอยู่ข้างๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม
มนุษยสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ สานสัมพันธ์ไม่เก่ง และรักษาความเป็นเพื่อนกับผู้อื่นไว้ได้ยาก
ไม่กล้าแสดงออกขั้นรุนแรง บางรายอาจต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนที่จะไปเผชิญหน้ากับผู้คน โดยเชื่อว่า จะทำให้มีความกล้ามากขึ้น
อารมณ์และความคิด
หวาดกลัวทุกครั้งที่ต้องพูดคุยกับคนอื่น หรือพูดไม่ออกเมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่น
ทางร่างกาย
ไม่กล้าสบตา
หายใจหอบถี่และเร็ว
เสียงสั่น พูดตะกุกตะกัก
อยู่นิ่งไม่ได้
รู้สึกปั่นป่วนในท้อง บางรายถึงกับอาเจียน
ผลกระทบของโรคกลัวการเข้าสังคม
การเรียนและการงาน
ไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม หรือหน้าชั้นเรียน
ไม่มีความสุขกับการเรียนและการทำงาน
มีปัญหาในการติดต่อประสานงานกับหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน
ลังเลและกดดันเป็นพิเศษที่จะตัดสินใจ
มีปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเพื่อน หรือคนรัก ทำให้อาจคบหากับใครได้ไม่นาน ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ หรือสังคมใหม่ๆได้ ไม่กล้าเปิดใจรับใครเข้ามาในชีวิต และไม่กล้าแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น
การรักษา
รักษาด้วยจิตบำบัด
การบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy: CBT) เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการรับรู้ (ความคิด) และพฤติกรรมหรือการกระทำของผู้ป่วยเข้ากับอาการกลัวและวิตกกังวล
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถระบุสาเหตุของอาการกลัวได้ รวมถึงเรียนรู้วิธีแก้ไขปรับเปลี่ยนความคิด และการกระทำที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลหรือความกลัวขึ้นได้
รักษาด้วยยา
หากใช้การรักษาแบบจิตบำบัดแล้วไม่ได้ผล จิตแพทย์จะสั่งยาลดอาการซึมเศร้า (Antidepressants) และยาระงับความวิตกกังวล (Anti Anxiety)
ระดับความรุนแรงของยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย
สาเหตุ
ด้านครอบครัว
ครอบครัวตำหนิ
สภาพครอบครวัไม่เหมาะสมในการแก้ไขให้ดีขึ้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมรอบตัว
เป็นคนเก็บตัวไม่มีเพื่อนสนิท
ไม่มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ด้านพันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง
ด้านจิตใจ
ความสามารถในการปรับตัว
ความขัดแย้งในจิตใจ
ความเครียด
ประสบการณ์ในอดีต
โดนเพื่อนแกล้งเป็นประจำ
กฎหมาย พรบ.
หมวด 2 สิทธิผู้ป่วย
มาตรา 17
การบําบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตราบต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้ บําบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา 18
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า การกระทําต่อสมองหรือระบบประสาทหรือ การบําบัดรักษาด้วยวิธีอื่นใด ที่อาจเป็นผลทําให้ ร่างกายไม่อาจกลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างถาวรให้ กระทําได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
กรณีผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบําบัดรักษานั้น โดยผู้ป่วยได้รับทราบเหตุความจําเป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็ นอันตรายร้ายแรง หรืออาจเป็นผลทําให้ไม่สามารถแก้ไขให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิม และประโยชน์ของการบําบัดรักษา
กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความความจําเป็ นอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยหากมิได้ บําบัดรักษาจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วย ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบําบัดรักษา
หมวด
การบําบัดรักษาทางสุขภาพจิต ส่วนที่ 1 ผู้ป่วย
มาตรา 22
บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบําบัดรักษา
มีภาวะอันตราย
มีความจําเป็นต้องได้รับการบําบัดรักษา
มาตรา 3
“ความผิดปกติทางจิต” หมายความว่า อาการผิดปกติของจิตใจที่แสดงออกมาทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิด ความจํา สติปัญญา ประสาทการรับรู้ หรือการรู้ เวลา สถานที่ หรือบุคคล รวมทั้ง อาการผิดปกติของจิตใจที่เกิดจากสุราหรือสารอื่นที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
“ความจําเป็นต้องได้ รับการบําบัดรักษา” หมายความว่า สภาวะของผู้ป่วยซึ่งขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบําบัดรักษาและต้องได้ รับการบําบัดรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกัน หรือบรรเทามิให้ ความผิดปกติทางจิตทวีความรุนแรงหรือเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป้ว่ยหรือบุคคลอื่น
การบําบัดรักษา” หมายความรวมถึง การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยทางการแพทย์และทางสังคม
ยาที่ใช้รักษา
Clozapine
มักรักษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภทที่อาการไม่ดีขึ้น
ลดอัตราการทำร้ายตัวเอง
กลไกการออกฤทธิ์
เปลี่ยนแปลงการทำงานของสารเคมีในสมองหรือปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง
การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
คลื่นไส้ ท้องผุก
หัวใจเต้นเร็ว มีเหงื่อออกมาก
มองเห็นไม่ชัด
หากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณริมฝีปาก ลิ้น ตา ใบหน้า แขน ขา
ง่วงซึม กระสะบกระส่าย ไข้สูง
ประเด็นปัญหา
4.Hallucinations
เห็นภาพหลอน สร้างตัวตนบุคคลขึ้นมา การรับรู้ การมองเห็น การได้ยิน ผิดปกติ
5.Self-Harm
ทำร้ายตัวเอง ใช้ร่างกายของตัวเองระบายอารมณ์
3.Suspiciousness
มีความหวาดระแวงคิดว่า ตนเองถูกปองร้าย
6.Lack of insight
ไม่เข้าใจต่อโรคความรุนแรง ทำให้ไม่ให้ความร่วมมอในการรักษา
2.Reduced daily activities
กิจวัตรประจําวันเสื่อมถอยไม่ยอมทํากิจวัตรประจําวัน
7.Social-isolation
ด้านมนุยสัมพันธ์กับผู้อื่นมีปัญหา แยกตัวออกจากสังคม ไม่คบเพื่อน
1.Delusion of grandue
มีอาการหลงผิด คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่
การพยาบาลผู้ป่วยจิตเภท
พยาบาลต้องประเมินความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย
พยาบาลต้องยอมรับในความคิดหลงผิดของผู้ป่วย โดยพยาบาลไม่ควรโต้แย้ง หรือท้าทายว่าที่ผู้ป้วยเล่าให้ฟังนั้นไม่จริง และพยาบาลไม่ต้องปฏิบัติตามที่ผู้ป่วยเชื่อ และไม่ควรนำคำพูดของผู้ป้วยไปพูดล้อเล่น
3.พยาบาลต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อ
เป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้พูดถึงความคิดของเขาได้อย่างอิสระ และเพื่อได้รับฟังความคิดของผู้ป่วย
การเข้าไปเปลี่ยนความคิดของผู้ป่วยนั้นกระทำได้ค่อนข้างยาก แต่ถ้าผู้ป่วยมีความไว้วางใจและเชื่อถือในตัวพยาบาล การแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ด้วยการให้ความจริง( Present reality) ยังเป็นที่ยอมรับได้
สำหรับผู้ป่วยที่มีความคิดหลงผิดแบบระแวง พยาบาลควรปฏิบัติดังนี้
พยาบาลต้องไม่ทำให้ผู้ป่วยสงสัยในพฤติกรรมของพยาบาล เพราะผู้ป่วยจะระมัดระวังตัว
การเข้าไปสนทนากับผู้ป่วยต้องแนะนำตัว และบอกวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
หลีกเลี่ยงการเข้าไปจับต้องตัวผู้ป่วย และไม่ควรใช้ภาษาหรือกริยาที่ก่อให้เกิดความสงสัยหรือตีความได้ไม่ชัดเจน
นางสาวนารีรัตน์ ตั้งใจธรรม 2A เลขที่43 รหัส613601044