Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้นเรื่อง A beautiful mind, นางสาวนภาพร บุญประสาร เลขที่ 34 ห้องฺ…
ภาพยนต์สั้นเรื่อง A beautiful mind
ประวัติทั่วไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยชื่อ นายจอหน์ ฟอบส์ แนช จูเนียร (์ Mr. John Forbes Nash, Jr.)
อายุ 24 ปี
เชื้อชาติ อเมริกัน สัญชาติ อเมริกัน
ประวัติครอบครัว
ภรรยาชื่่อ อลิเซีย และมีลูกด้วยกัน 1 คน
ผู้ป่วยเป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว มีน้องสาว 1 คน บิดาเป็นวิศวกร มารดาเป็นครูสอนภาษา
ความสัมพันภายในครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่นเกือบทําร้ายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกไม่อยากมีเพศสัมพันธุ์กับภรรยา
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่นและมีพฤติกรรมที่แปลกๆ
ประวัติการเจ็บป่วย
ผู้ป่วยปฏิเสธการเจ็บป่วยในอดีต ปฏิเสธการแพ้ยา/อาหาร และการใช้สารเสพติด
ผู้ป่วยกลัวถูกทำร้ายมาก แต่พยายามเก็บเป็นความลับไม่ให้ใครรู้เนื่องจากเขาทำงานเป็นสายลับ แม้กระทั่งภรรยาก็ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน จนกระทั่ง 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล เขาเห็นกลุ่มคนสะกดรอยตามเขาไปถึงที่ทำงาน เขารู้สึกกลัวมากจึงวิ่งหนีจนกระทั่งถูกนำส่งโรงพยาบาล
การคาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้อง
โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง ( Paranoid Schizophrenia)
ความหมาย
โรควิกลจริตชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เชื่อหรือยอมรับความจริง รวมทั้งมีอาการประสาทหลอนหรือพฤติกรรมแปลก ๆ หากไม่ได้รับการรักษาจะใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ เป็นกลุ่มโรคจิตเวชที่มีอาการหวาดระแวงรุนแรงมากที่สุด
อาการและอาการแสดง
ไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ ระแวดระวังผู้อื่นตลอดเวลา
คิดว่าคนอื่นจะทำร้ายหรือพูดถึงตนเองในทางเสียหาย
มีพฤติกรรมก้าวร้าว ประพฤติตัวไม่เป็นมิตรกับบุคคลรอบข้าง
อ่อนไหวและรับไม่ได้กับการถูกวิจารณ์
หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
ปล่อยวางและให้อภัยได้ยาก
มองโลกในแง่ร้าย
เข้าสังคมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนยาก
ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว
เคลือบแคลงสงสัยในเรื่องที่มีหลักฐานอธิบาย แต่เชื่อข่าวลือต่าง ๆ อย่างไม่มีเหตุผล
การพยาบาล
ยอมรับในพฤติกรรมหวาดระแวง ไม่โตแย้งต่อต้าน และประเมินระดับ ความรุนแรงของอาการ
สร้างความไว้วางใจในการติดต่อกับผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว (One to one relationship) โดยเน้นการสร้างความวางใจและความเชื่อถือ
ผู้ป่วยที่มีความหวาดระแวงในบางสิ่ง เช่น อาหารมียาพิษ มีคนจะลอบฆ่า พยาบาลต้องยอมรับ และจัดบรรยากาศให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยการให้ความจริงกับผู้ป่วยจะกระทำไดต้องแน่ใจว่า ผู้ป่วยรับได้ การให้เหตุผลเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยอาจไม่เชื่อถือ พยาบาลอาจจะต้องแสดงพฤติกรรมให้ผู้ป่วยแน่ใจด้วย เช่น ชิมอาหารให้ดู
ให้ผู้ป่วยมีกิจกรรม ลดเวลาที่ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ซึ่งอาจทำให้มีความคิดหมกมุ่นอยู่ในเรื่องเดิมๆ
ผู้ป่วยหวาดระแวง มักจะมีความโกรธ ก้าวร้าวควบคู่ไปด้วยเสมอ ควรใช้วิธีโอนอ่อน อดทนในสิ่งที่ผู้ป่วยแสดงออก และให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ระบายความก้าวร้าว
ผู้ป่วยหวาดระแวงจะมีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่แน่ใจในการพบปะคนหรือการเข้าร่วมกิจกรรมโดยออกมาในรูปแบบของการแยกตัวเอง รุกรานผู้อื่นก่อนเพื่อป้องกันตนเองหรือกล่าวหาผู้อื่น
โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder)
ความหมาย
การมีความเชื่อ หรือความคิดไม่ตรงกับความเป็นจริง เรียกว่า อาการหลงผิด (delusion) ไม่สามารถปลี่ยนความเชื่อถือได้ ความหลงผิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับตนเองเกิดขึ้นเพื่อช่ายให้ผู้นั้นสบายใจขึ้น แต่เป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เพราะไม่เป็นความจริงตามนั้น (out of reality)
ประเภท
Delusion of grandeur (Grandios delusion)
ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นคนสำคัญผิดธรรมดาหรือมีอำนาพิเศษ เช่น ตนเองเป็นพระเจ้า หรือมหาเศรษฐี จึงมักมีการกรีกร้อง ที่จะได้มา หรือมีการกระทำสิ่งนี้อยู่เสมอ พบในผู้ป่วย mania,โรคซิฟิลิสทางสมอง (General paralysis of insane) , SchizophreniaActivate Windows
bizarre delusion
เป็นความหลงผิดที่แปลกประหลาด เช่น
เชื่อว่าตนเองติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวได้
jealous delusion
เป็นความหลงผิดว่าคู่ครองนอกใจ
erotomanic delusion
เป็นความหลงผิดว่ามีคนมาหลงรักตนและมักเป็นคนที่มีสถานภาพสูงกว่า
Idea of being controlled
ผู้ป่วยคิดว่าอำนาจบางอย่างจากภายนอกสามารถ ควบคุม ความรู้สึก
ความคิด และการกระทำของตน
Idea of reference
ผู้ป่วยคิดไปเองว่ามีคนพูดจาเกี่ยวกับตนซึ่งมักเป็นทางร้าย
persecutory delusion
คิดไปเองว่าถูกปองร้าย เช่น คิดว่ามีคนตามมาฆ่าตลอดเวลา
somatic delusion
หลงคิดไปเองว่าตนป่วยเป็นโรคทางกายชนิดใดชนิดหนึ่ง
thought broadcasting
คิดว่าผู้อื่นสามารถล่วงรู้ความคิดของตน
thought insertion
เชื่อว่าความคิดที่มีอยู่ไม่ใช่ของตน แต่เป็นความคิดผู้อื่นใส่เข้ามาในสมองตน
thought withdrawal
เชื่อว่าความคิดของตนถูกดึงออกไปจากสมอง
loosening of association
ความคิดขาดการเชื่อมโยงของเหตุผล ไม่สามารถลำดับความคิด
ตามขั้นตอนของเหตุการณ์ได้ ดังนั้น เวลาฟังผู้ป่วยจึงไม่ค่อยเข้าใจ
หรือไม่รู้เรื่อง
incoherence
ผู้ป่วยพูดไม่ต่อเนื่อง ขาดเป็นห้วงๆ คำพูดไม่สัมพันธ์กันทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง
neologism
ผู้ป่วยคิดคำพูดขึ้นมาเองไม่มีใช้ในภาษาของเรา โดยจะมีความหมายเฉพาะผู้ป่วยคนเดียว
perseverative
ผู้ป่วยพูดซ้ำๆติดต่อกันโดยไม่มีความหมาย
circumstantiality
ผู้ป่วยตอบคำถามแบบอ้อมค้อมยืดยาวแต่จบลงตรงประเด็นที่ต้องการได้
tangentiality
ผู้ป่วยคล้ายจะตอบคำถามแต่ตอบออกนอกเรื่องไม่ตรงกับเรื่องราวที่ต้องการจะพูด ทำให้ไม่เข้าใจเรื่องที่ผู้ป่วยพูด
flight of idea
ผู้ป่วยมีความคิดหลายๆอย่างเกิดขึ้นรวดเร็ว แสดงออกโดยการพูดมากและเร็ว พูดเรื่องหนึ่งยังไม่ทันจบไปพูดอีกเรื่องหนึ่ง
การรักษา
เน้นที่สัมพันธภาพในการรักษา ความสัมพันธ์ที่ดีสามารถช่วยผู้ป่วยได้ โดยรับฟังด้วยความเข้าใจ ไม่โต้แย้งคัดค้านอาการหลงผิดว่าไม่จริง ในขณะเดียวกันก็ไม่สนับสนุนความเชื่อของผู้ป่วย
การรักษาด้วยยา ด้วยยารักษาโรคจิตโดยอยู่ในความดูแลของแพทย์
รับตัวรักษาในโรงพยาบาล หากอาการรุนแรง เช่น มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อใหผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจตามหลักการพยาบาลจิตเวช
รับฟังความคิดของผู้ป่วยโดยไม่ตัดสินหรือตำหนิผู้ป่วย
ไม่ได้เถียงกับผู้ป่วย หรือให้เหตุผลว่า ความเชื่อของผู้ป่วยนั้นผิด
จัดให้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้ติดต่อกับสิ่งที่เป็นจริง
การสนทนากับผู้ป่วยที่มีความหลงผิด ควรนำเทคนิคการสนทนา การให้คำปรึกษาต่างๆ มาใช้ เช่น การขอความกระจ่าง การสะท้อนความรู้สึก
การมุ่งประเด็น
แก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลของความคิดหลงผิด เช่น ความคับข้องใจ
ความวิตกกังวล ความกลัว ความเศร้า
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
ความหมาย
เป็นการรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกติ โดยไม่ได้มีสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงพูดคุยเป็นเรื่องราว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครพูด
ประเภท
auditory hallucination
มีหูแว่วได้ยินเสียงจากภายนอก อาจเป็นเสียงรูปแบบต่างๆหรือเสียง
คนคุยกัน
visual hallucination
มีภาพหลอนโดยอาจเห็นเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรืออย่างอื่น
olfactory hallucination
ได้กลิ่นแปลกๆ เช่น กลิ่นเหม็นไหม้
gustatory hallucination
รู้สึกว่าลิ้นได้รับรสแปลกๆ เช่น รสโลหะ
tactile hallucination
มีความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาไต่ตามตัว หรือรู้สึกแปลกๆตามผิวหนัง
การพยาบาล
เข้าใจและยอมรับในอาการของผู้ป่วย ไม่ตำหนิ หรือพูดเชิงขบขัน ว่าเป็ นอาการที่ไม่น่าเป็นไปได้
พยาบาลควรสอบถาม Content ของประสาทหลอนเพื่อประเมินอาการของผู้ป่วยและผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกผิด กลัวว้าเหว่ สูญเสียอัตมโนทัศน์ หรือมีความคิดที่จะทำร้ายตนเอง
สร้างสัมพันธภาพให้
ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจ ปลอดภัย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ ควรใช้เทคนิคการสนทนาที่จำเป็นดังนี้ การเสนอตัวช่วยเหลือ การให้ข้อเท็จจริง การตั้งข้อสังเกต
พยาบาลต้องประเมินอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยว่าเกี่ยวข้องกับระบบรับสัมผัสใด ผู้ป่วยแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการรับรู้นั้นๆ และอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
อาการสำคัญ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล หวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทำร้าย วิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวออกจาก
ที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานจึงนำส่งโรงพยาบาลจิตเวช
อาการและอาการแสดง
หวาดระเเวง
คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย
มีคนมาสะกดรอยตาม
ประสาทหลอน
หูแว่วได้ยินเสียงคนสั่งให้ทำตาม
คิดว่ามีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา
คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย
ควบคุมตนเองไม่ได้
ทำร้ายคนในครอบครัว
ทำร้ายตนเอง
ไม่ชอบเข้าสังคม
ไม่มีเพื่อน
ชอบอยู่คนเดียว
ด้านพฤติกรรม
เดินหลังค่อม
มองซ้าย-ขวา ตลอดเวลา
กระสับกระส่าย เดินไปเดินมา
พยายามโต้ตอบกับใครบางคน
เฉยเมยไร้ความรู้สึก
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง
ด้านครอบครัว
ครอบครัวตำหนิ
สภาพครอบครัวไม่เหมาะสม
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมรอบตัว
เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิท ไม่มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ด้านจิตใจ
ความขัดเเย้งภายในจิตใจ
ความเครียด
ความสามารถในการปรับตัว
ประสบการณ์ในอดีต
โดนเพื่อนแกล้งเป็นประจำ
ปัญหา
เห็นภาพหลอน
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่น
บกพร่องทางสังคม
ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
มีภาวะของสมองผิดปกติ
พระราชบัญญัติสุขภาพจิตและจิตเวช
กรมสุขภาพจิต เปิดเผยเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพจิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562
มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562
แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต โดยเพิ่มเติมการส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพจิต ควบคุมปัจจัยคุกคามด้านสุขภาพจิต ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยให้ได้รับการคุ้มครองจากการเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ในสื่อทุกประเภท ตลอดจนเพิ่มสิทธิให้ผู้ดูแลเพื่อสามารถให้ดูแลผู้ป่วย
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติม
สาระสำคัญตามพ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 ก็ยังมีผลในการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย และความปลอดภัยของสังคมอยู่
เป็นกฎหมายสำคัญที่ใช้ในการดูแลบุคคลที่มีความ
ผิดปกติทางจิตที่มีภาวะอันตราย และ/หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา
บุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรา 22 ใน พ.ร.บ. นี้ ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
มีภาวะอันตราย เช่น ผู้ที่มีอาการก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและผู้อื่น พกอาวุธ ทำลายข้าวของ เป็นต้น
มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา เช่น มีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น แต่ไม่ยินยอมเข้ารับการบำบัดรักษา
สายด่วนสุขภาพจิต 1323
การรักษา
การรักษาด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy)
การรักษาด้วยยา
ระยะให้ยาต่อเนื่อง
chlorpromazine 100-300
มก./วัน
ระยะควบคุมอาการ
chlorpromazine 300-500
มก./วัน
ในกรณีที่ผู้ป่วยวุ่นวายมาก
benzodiazepine
การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
การรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลจะช่วยลดความเครียดที่มีใจผู้ป่วยและครอบครัวลงได้ผู้ป่วยได้รับการดูแลภายจากบุคลากรด้านจติเวช ซึ่งจะช่วยในด้านอื่น ๆ
ผู้ป่วยได้รับการดูแลภายจากบุคลากรด้านจิตเวชซึ่งจะช่วยในด้านอื่นๆ
การรักษาด้านจิตสังคม
นิติเวศน์บำบัด(milieu therapy)
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อช่วยส่งเสริมขบวนการรักษา
การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว(family counseling or psychoeducation)
ให้ความรู้เรื่องโรค และสิ่งที่ญาติควรปฏิบัติต่อผู้ป่วย
กลุ่มบำบัด(group therapy)
เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วย โดยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกว่ามีเพื่อน มีคนเข้าใจ ไม่โดดเดี่ยว ฝึกทักษะทางสังคม เน้นการสนับสนุนให้กำลังใจ
จิตบำบัด (psychotherapy)
ช่วยผู้ป่วยค้นหาดูว่า ความเครียดหรือความกดดันอะไรที่เขามักทนไม่ได้
อ้างอิง
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2560).คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับแพทย์).สืบค้น 23 มิถุนายน 2563, จาก
http://mhtech.dmh.moph.go.th/fileupload/2020022638675188.pdf
สรญา แสงเย็นพันธ์. (2563). พฤติกรรมสุขภาพ. สืบค้น 23 มิถุนายน 2563, จาก
http://www.nupress.grad.nu.ac.th/behavior
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รู้ใช้ พรบ.สุขภาพจิต คุ้มครองสิทธิผู้ป่วย. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563, จาก
https://1th.me/WTsTD
สุจิรา จรัสศิลป์. อาการทางจิตเวช. สืบค้น 23 มิถุนายน 2563, จาก
http://med.swu.ac.th/psychiatry/images/stories/Education/Symptomatology.pdf
นิตยา ศรีจำนง. การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านความคิดและการรับรู้. สืบค้น 23 มิถุนายน 2563, จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/nitaya_si/pluginfile.php/18/block_html/content/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%204.2%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%9A.%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20Delusion..Hallucination..Illusion..Paranoid..Withdrawal.pdf
นางสาวนภาพร บุญประสาร เลขที่ 34 ห้องฺ B รหัส 613601142