Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind, โรคจิตเภท (Schyzophrenia),…
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind
ประวัติทั่วไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยชื่อ นายจอหน์ ฟอบส์แนช จูเนียร์ (์Mr. John F0rbes Nash, Jr.)
อายุ 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
ประวัติครอบครัว
มีภรรยาชื่อ อลิเซีย และมีลูกด้วยกัน 1 คน
มีน้องสาว1คน
ความสัมพันธภาพในครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว
ด้านครอบครัว
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่นเกือบทําร้ายภรรยาและลูก
สาเหต
ด้านพันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง
ด้านครอบครัว
ครอบครัวตําหนิ
สภาพครอบครัวไม่เหมาะสมในการแก้ไขให้ดีขึ้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมรอบตัว
เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิท
ไม่มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ด้านจิตใจ
ความขัดแยง้ภายในจิตใจ
ความเครียด
ความสามารถในการปรับตัว
ประสบการณ์ในอดีต
โดนเพื่อนแกล้งเป็นประจํา
อาการและอาการแสดง
หวาดระแวง
คิดวา่จะมีคนทําร้าย
มีคนสะกดรอยตาม
ประสาทหลอน
หูแว่ว ได้ยินเสียงคนสั่งให้ทำตาม
คิดวา่ มีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา
คิดวา่ จะมีคนมาทําร้าย
ควบคุมตนเองไม่ได้
ทําร้ายตนเอง
ทําร้ายบุคคลรอบตัว
ไม่ชอบเข้าสังคม
ไม่มีเพื่อน
ชอบอยู่คนเดียว
ด้านพฤติกรรม
เดินหลังค่อม
มองซ้าย ขวา ตลอดเวลา
กระสับกระส่าย เดินไปเดินมา
พยายามโต้ตอบกับใครบางคน
เฉยเมย ไร้ความรู้สึก
คาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้อง
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
คือ เป็นความผิดปกติทางการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น และการรับรส โดยไม่มีสิ่งเร้าจริงๆ เกิดขึ้นหรือมากระตุ้นแต่อย่างใด แต่ผู้ป่วยกลับรับรู้ได้เอง
ประสาทหลอนทางการเห็น (Visual hallucination) ผู้ป่วยมองเห็นภาพต่างๆ ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น เห็นคนกำลังมาจะทำร้ายตน
ประสาทหลอนทางการได้ยิน (Auditory hallucination) เช่น ผู้ป่วยได้ยินเสียงคนพูด หัวเราะ หรือด่าตน โดยที่ไม่มีสถานการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น
ประสาทหลอนทางการรับกลิ่น (Olfactory hallucination) เช่น ผู้ป่วยได้กลิ่นแปลกๆ โดยที่ผู้อื่นไม่ได้กลิ่นนั้นๆ
ประสาทหลอนทางการรับรส (Gustatory hallucination) ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนได้รับรสแปลกๆ เกิดขึ้น เช่น มีรสหวาน หรือรสขมที่ลิ้น
ประสาทหลอนทางการสัมผัส (Tactile hallucination) ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างมาไต่ตอมตามผิวหนัง รู้สึกคันผิวหนัง โดยที่ไม่มีสิ่งเร้าจริง
อื่นๆ
อาจมีสาเหตุมาจากการขาดยา
หวาดระแวง (Paranoia)
คือภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้เคลือบแคลงสงสัยหรือระแวงผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีคนจ้องทำร้ายอยู่ตลอดเวลา คิดว่าคนรอบข้างไม่ชอบตนเอง หรือไม่ไว้ใจผู้อื่น อาการเหล่านี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาการหลงผิด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือเข้าสังคมได้ยาก
ปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เสี่ยงเกิดอาการหวาดระแวงได้ ดังนี้
ปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคบุคลิกภาพแปรปรวนบางชนิด
โรคจิตหลงผิด (Delusional Disorder) คือภาวะที่มีความเชื่อหรือความคิดผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงเท่านั้น ไม่ได้มีอาการป่วยทางจิตอื่น ๆ แต่อย่างใด ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการหลงผิดแตกต่างกันไป เช่น คิดว่าตนเองป่วยทั้งที่ไม่ได้ป่วย คิดว่ามีคนคอยปองร้าย แอบตามคนดังเพราะเชื่อว่าตนกับอีกฝ่ายรักกัน เป็นต้น
โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) คือโรควิกลจริตชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เชื่อหรือยอมรับความจริง รวมทั้งมีอาการประสาทหลอนหรือพฤติกรรมแปลก ๆ หากไม่ได้รับการรักษาจะใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ เป็นกลุ่มโรคจิตเวชที่มีอาการหวาดระแวงรุนแรงมากที่สุด
โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorder) ผู้ป่วยจะไม่ไว้ใจบุคคลรอบข้างง่าย ๆ เพราะคิดว่าคนอื่นหวังผลประโยชน์จากตน อีกทั้งกังวลว่าจะมีคนทำร้ายหรือหักหลังอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการหวาดระแวงในระดับอ่อนที่สุดและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ หลายคนมักมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น และหายเป็นปกติเมื่ออายุ 50 ปี
ปัญหาสุขภาพกายผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจมีอาการหวาดระแวงร่วมด้วย เช่น โรคสมองเสื่อม
สิ่งแวดล้อมภายนอก ผลการศึกษาบางชิ้นเผยให้เห็นว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ห่างไกลจากผู้คนหรือชอบแยกตัวออกจากสังคม มีแนวโน้มเกิดอาการหวาดระแวงมากขึ้น นอกจากนี้ การรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับการฆาตกรรม การแบ่งแยกดินแดน หรือการใช้ความรุนแรงก็ส่งผลให้รู้สึกวิตกกังวลและระแวงผู้คนรอบตัวได้เช่นกัน
ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่พบเจอ ผู้ที่เคยประสบเหตุการณ์เสี่ยงตาย ต้องอยู่เพียงลำพัง หรือเผชิญสถานการ์ที่รู้สึกกดดันและเครียดนั้นมักเกิดความรู้สึกในแง่ลบกับตัวเอง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการหวาดระแวงได้
ภาวะพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนน้อยมักกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย หวาดระแวง หรือมีอาการหลอนได้ โดยมักรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลขึ้นมาในตอนกลางดึก
พันธุกรรม คาดว่าอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหวาดระแวงได้
อาจมีสาเหตุมาจากการขาดยา
ควบคุมตนเองไม่ได้
ผู้ป่วยทางจิตเวชบางรายอาจแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมาได้อาจมีสาเหตุมาจากการขาดยา หรือในบางรายมีปัญหาทางด้านอารมณ์บางอย่าง เช่น อารมณ์หงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้า หากมีอาการมาก ๆ อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงอาจทำให้หงุดหงิด และยับยั้งชั่งใจได้ยาก จึงแสดงออกในรูปแบบของพฤติกรรมความรุนแรง
อาการของจิตเภท
อาการด้านบวก
ประสาทหลอน
ผู้ป่วยอาจมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้สึก หรือรับรสที่ไม่มีอยู่จริง แต่มักเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่จริงซึ่งเกิดจากความคิดของผู้ป่วยเอง โดยอาการที่พบได้บ่อย คือ อาการหลอนทางการได้ยิน
ได้ยินผู้อื่นส่งเสียงพากย์สิ่งที่ตนเองกำลังกระทำอยู่ คิดว่าเสียงนั้นคุยกับตนเอง หรือได้ยินว่าเสียงนั้นกำลังพูดสิ่งที่ตนเองคิด
มักเป็นคำหยาบ คำพูดที่รุนแรงหรือไม่รื่นหู
คำสั่งที่ให้ทำตาม
หลงผิด
ผู้ป่วยอาจเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่มีอยู่จริง
เชื่อว่ามีคนวางแผนฆ่าหรือวางแผนปองร้าย
เชื่อว่ากำลังจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้น
เกิดความผิดปกติทางความคิด
อาจได้ยินสิ่งที่ตนเองคิดราวกับสิ่งนั้นถูกพูดออกมาดัง ๆ
คิดอีกเรื่องหนึ่งแล้วไปคิดอีกเรื่องหนึ่งโดยที่ทั้งสองเรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องกัน
คิดคำศัพท์ใหม่ขึ้นมาเอง
เชื่อว่าคนอื่นกำลังได้ยินหรืออ่านความคิดของตน
มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว
ผู้ป่วยอาจมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างตื่นกลัวหรือทำท่าทางแปลก ๆ ออกมา
อาการด้านการรับรู้
ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการจดจ่อ การทำความเข้าใจข้อมูล การตัดสินใจ ความจำ และการจัดการสิ่งต่าง ๆ
อาการด้านลบ
พูดน้อยลง และอาจพูดด้วยเสียงโทนเดียว
แสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์น้อยลง
เคลื่อนไหวน้อยและไม่ค่อยทำอะไร
ปลีกตัวออกจากสังคม
ไม่มีอารมณ์ร่วม หรืออาจมีการแสดงออกทางอารมณ์แบบแปลก ๆ เช่น หัวเราะในสถานการณ์ที่ควรรู้สึกเศร้า เป็นต้น
ไม่มีความสนใจหรือความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต ไม่ค่อยมีความสุข
มีปัญหาในการบรรลุเป้าหมายหรือแผนที่วางไว้
มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน
โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง (Schyzophrenia paranoid)
โรควิกลจริตชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เชื่อหรือยอมรับความจริง รวมทั้งมีอาการประสาทหลอนหรือพฤติกรรมแปลก ๆ หากไม่ได้รับการรักษาจะใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ เป็นกลุ่มโรคจิตเวชที่มีอาการหวาดระแวงรุนแรงมากที่สุด
อาการ
ไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ ระแวดระวังผู้อื่นตลอดเวลา
คิดว่าคนอื่นจะทำร้ายหรือพูดถึงตนเองในทางเสียหาย
มีพฤติกรรมก้าวร้าว ประพฤติตัวไม่เป็นมิตรกับบุคคลรอบข้าง
อ่อนไหวและรับไม่ได้กับการถูกวิจารณ์
หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
ปล่อยวางและให้อภัยได้ยาก
มองโลกในแง่ร้าย
ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว
เข้าสังคมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนยาก
เคลือบแคลงสงสัยในเรื่องที่มีหลักฐานอธิบาย แต่เชื่อข่าวลือต่าง ๆ อย่างไม่มีเหตุผล
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ระยะให้ยาต่อเนื่อง
chlorpromazine 100-300
มก./วัน
ระยะควบคุมอาการ
chlorpromazine 300-500
มก./วัน
การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
การรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลจะช่วยลดความเครียดที่มีใจผู้ป่วยและครอบครัวลงได้ผู้ป่วยได้รับการดูแลภายจากบุคลากรด้านจติเวชซึ่งจะช่วยในด้านอื่น ๆ
ผู้ป่วยได้รับการดูแลภายจากบุคลากรด้านจิตเวชซึ่งจะช่วยในด้านอื่นๆ
การรักษาด้านจิตสังคม
นิติเวศน์บำบัด(milieu therapy)
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อช่วยส่งเสริมขบวนการรักษา
การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว(family counseling or psychoeducation)
ให้ความรู้เรื่องโรค และสิ่งที่ญาติควรปฏิบัติต่อผู้ป่วย
กลุ่มบำบัด(group therapy)
เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วย โดยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกว่ามีเพื่อน มีคนเข้าใจ ไม่โดดเดี่ยว ฝึกทักษะทางสังคม เน้นการสนับสนุนให้กำลังใจ
จิตบำบัด (psychotherapy)
ช่วยผู้ป่วยค้นหาดูว่า ความเครียดหรือความกดดันอะไรที่เขามักทนไม่ได้
การรักษาด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy)
ประเด็นที่สงสัย
พัฒนาการในวัยเด็กส่งผลหรือไม่
คิดว่าประสบการณ์ในวัยมีส่วนส่งผลให้ผู้ป่วยมีบุคลิกภาพแบบนี้ เนื่องจากตั้งแต่วัยเด็ก ผู้ป่วยมีการเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียวไม่มีค่อยมีเพื่อนฟรือเพื่อนสนิท พอโตขึ้นก็เริมให้ความสนใจในวิชาคณืตศาสตร์ สนใจมากจนเกินไป จนไม่สนใจเรื่องการใช้ชีวิตทั่วๆ ไป จนทำให้พฤติกรรมของเขาค่อยๆเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง ไม่สนใขสิ่งรอบตัว
ผู้ป่วยรายนี้สมควรได้รับการรกัษาที่โรงพยาบาลหรือควรได้รับการรักษาที่บ้านโดยคนในครอบครัว
คิดว่าควรเข้ารับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลอย่างใกล้ชิดเพราะผู้ป่วยมีอาการกำเริบที่เป็นอันตรายต่อบุคคลรอบข้างและเคยจะทำร้ายภรรยาที่เป็นบุคคลใกล้ชิด และอีกอย่างผู้ป่วยหยุดยารับประทานยาไม่ต่อเนื่องซึ่งทำให้อาการแย่ลงและมีอาการกำเริบได้ตลอด จึงสมควรที่จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่องควบคุมอาการและควบคุมการกินยาให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ครอบครัวจะมีส่วนช่วยในการรักษาผู้ป่วยอย่างไรบ้าง
อาการที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายพระราชบัญญัติ
มาตรา ๑๗ การบําบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่เป็ นความจําเป นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเองบุคคลอื่อหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้อ งอยู่ภายใต้การดแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา ๒๓ ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิตคือมีภาวะอันตรายหรือมีความจําเป็นต้องได้รับ การบําบัดรักษาให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตํารวจโดยเร็ว
มาตรา ๒๔ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตํารวจได้รับแจ้งหรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต ให้ดําเนินการนําตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาล เพื่อรับการตรวจ วินิจ ฉัย โดยการนำตัวบุคคลดังกล่าวไปสถานพยาบาลจะไม่สามารถผูก มัดร่างกายของบุคคลนั้นได้ เว้นแต่ความจําเป นเพื่อป้องกันการเกิด อันตรายต่อบุคคคลนั้นเองบุคคลอื่นหรือ
ทรัพย์สินของผู้อื่น
โรคจิตเภท (Schyzophrenia)
การรักษาจิตเภท
การใช้ยา
ยาคลอร์โปรมาซีน ยาฮาโลเพอริดอล ยาฟลูเพนทิซอล เป็นต้นเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปากแห้ง ผิวหนังแดง ท้องผูก ง่วงซึม เห็นภาพมัว หรือน้ำหนักตัวเพิ่มจนอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจตามมาได้ในระยะยาว
การบำบัดเพื่อเสริมทักษะทางสังคม เป็นวิธีการรักษาที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยจัดการกับความเครียดและอาการป่วย เพื่อช่วยให้มีทักษะด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถไปเรียน ไปทำงาน และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
การบำบัดทางจิต แพทย์อาจรักษาผู้ป่วยด้วยการพูดคุยหรือให้ระบายความคิดและความรู้สึกออกมา โดยอาจถามถึงมุมมองความคิดในด้านต่าง ๆ
การบำบัดภายในครอบครัว เป็นการให้ความรู้และการสนับสนุนแก่ครอบครัวของผู้ป่วยโรคจิตเภท ซึ่งพบว่าวิธีนี้ช่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลของผู้ป่วย และลดความรุนแรงของอาการได้
การส่งเสริมสุขภาพร่างกาย อาจสนุบสนุนให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีขึ้น
ารบำบัดด้วยศิลปะ อาจใช้งานศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มีอาการ Schizophrenia ด้านลบ
ารช่วยเหลือจากหน่วยงานทางสังคมและชุมชน
ารรักษาทางเลือก เช่น การรับประทานวิตามิน การรับประทานอาหารเสริมอย่างน้ำมันปลาหรือยาไกลซีน และการวางแผนการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม
สาเหต
ปัจจัยด้านพนัธุกรรม (Genetic factors)
ปัจจัยด้านชีวเคมีของสมอง (Biological factors)
ระดับDopamine ในสมอง
ปัจจัยด้านจิตใจ (Psychological factors)
เป็นความผดิปกติจากพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลในวัยเด็กโดยเฉพาะในขวบปีแรก มีผลใหเ้กิดพยาธิสภาพส่วนที่ทำหน้าที่ในการปรับตัวการควบคุมพฤติกรรม และการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น นอกจากน้ีผทู้ี่มีโอกาสเป็นโรคจิตเภทง่ายจะมีบุคลิกภาพชนิด schizoid เป็นคนเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่มีเพื่อน พดู น้อยไม่ไว้ใจคน ระแวงขาดน้ำใจ ประหม่าง่ายเวลาพบคนอื่น และอารมณ์แปรปรวนง่ายกว่าธรรมดา
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factors)
การเลี้ยงดู และสังคม
นางสาวธันยาภัทร ชาวนาฟาง เลขที่31 ห้อง2 รหัสนักศึกษา 613601139