Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind, อ้างอิง, นางสาวปุญญิศา ปรางอ่อน…
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind
คาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้อง
1.โรคจิตเภท(Schizophrenia)
อาการของโรคแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะเริ่มมีอาการ
จะค่อยเป็นค่อยไป
มักมีปัญหาในด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือด้านสัมพันธภาพ
เริ่มแรกส่วนใหญ่เก็บตัวมากขึ้น
ระยะนี้อาจนานเป็นเดือน ถึงเป็นปี
ระยะอาการกำเริบ
อาการในระยะกำเริบ
1) อาการหลงผิด(delusion)
ความผิดปกติของความคิด
ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เหตุผล
แบ่งตามลักษณะของอาการ
Erotomanic type
หลงผิดว่าบุคคลอื่นหลงรักตนหรือเป็นคู่รักของตน
2.Grandiose type
หลงผิดว่ามีความสามารถเกินความเป็นจริง มีคุณค่า มีอำนาจ มีความรู้สูง
Jealous type
หลงผิดว่าคู่ของตนนอกใจ
Persecutory type
หลงผิดว่าถูกปองร้าย
ถูกใส่ร้ายในทางใดทางหนึ่ง
Somatic type
หลงผิดว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือป่วยเป็นโรคบางอย่าง
2) อาการประสาทหลอน
(Hallucination)
สาเหตุ
ทางด้านร่างกาย
organic diseases
ป่วยทางกาย มีพยาธิสภาพที่สมอง
1 more item...
ทางด้านจิตใจ
(psychiatric disorders)
บุคคลมีความเครียดทางจิตใจ
กังวลมาก
รู้สึกถูกทอดทิ้งไม่สามารถหาทาออกได้
การรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมผิดไป
3.ยาและสารเคมีหลายชนิด
แบ่งเป็น
ประสาทหลอนทางการได้ยิน
(auditory hallucination)
การรับกลิ่น
(olfactory hallucination)
การรับสัมผัส
(tactile hallucination)
3) อาการด้านความคิด
ผู้ป่วยมักมีความคิดในลักษณะที่มีเหตุผลแปลกๆ ไม่เหมาะสม เข้าใจคนเดียว
ไม่สามารถรวบรวมความคิดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้ตลอด
พูดจาไม่ต่อเนื่องกัน
พูดเรื่องหนึ่งยังไม่ทันจบก็เปลี่ยนเรื่องทันที
การวางคำในตัวประโยคเองจะสับสนไปหมด ทำให้ฟังไม่เข้าใจเลย
4) อาการด้านพฤติกรรม
จากความหลงผิด ประสาทหลอน หรือเป็นจากความคิดแปลกๆ
พฤติกรรมในช่วงนี้จะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด
ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้
มีพฤติกรรมก้าวร้าว
5) อาการด้านลบ (negative symptoms)
ไม่กระตือรือร้น เฉื่อยชาลง
ผู้ป่วยอาจนั่งอยู่เฉยๆ
พูดน้อยหรือไม่ค่อยพูด หรือไม่สนใจคบหาสมาคมกับใคร
ไม่แสดงท่าทีหรือความรู้สึก
ระยะอาการหลงเหลือ
ส่วนใหญ่แล้วอาการต่างๆ ที่กำเริบจะเป็นอยู่ช่วงหนึ่ง เมื่อรักษาก็จะทุเลาลง
อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนจะหายไป
หรืออาจมีแต่ก็น้อย
พูดจาฟังรู้เรื่องขึ้น
อาการด้านลบมักพบบ่อยในระยะนี้
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่น
เป็นแล้วมักไม่หายขาด ส่วนใหญ่มีอาการกำเริบเป็นช่วง ๆ
2.โรคกลัวสังคม
(Social anxiety disorder)
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
อาการที่พบได้บ่อย
กลัวการพูดในที่สาธารณะ
กลัวการพบปะพูดคุยกับคนแปลกหน้า
มีความผิดปกติทางจิตอื่นร่วม
โรคซึมเศร้าและโรคแพนิก
ทำให้เสียหน้าที่การทำงานในด้านต่างๆ
แยกตัวเองจากสังคมและอาจมีความคิดฆ่าตัวตาย
การบำบัดรักษา
ใช้ยาและจิตบำบัดร่วมกัน
การทำจิตบำบัด
พฤติกรรมบำบัด (behavior therapy)
cognitive therapy
3.โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง (Schyzophrenia paranoid)
เพศหญิงเป็น Paranoia มากกว่าเพศชาย
สาเหตุ
เกิดจากปัจจัยทางจิตวิทยา
ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบิดามารดา
ไม่มั่นใจ และก้าวร้าว
พยายามป้องกันตัวเองจากการถูกทำให้เจ็บ
คนไม่เปิดเผย
ใช้กลไกป้องกันของจิตใจแบบปฏิเสธหรือโทษผู้อื่น
ลักษณะ
มักมีความหลงผิดว่าตนมีความสำคัญเป็นพิเศษ
มักแยกตัวจากสังคม
ไม่ไว้วางใจ
เชาวน์ปัญญา ตลอดจนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการงานปกติ
แบ่งเป็น 5 แบบ
Paranoid state, simple
หลงผิดว่าตนถูกควบคุมบังคับ ถูกปองร้าย
เกิดได้แบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง
2.Paranoia
ความหลงผิดค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และมีเหตุผล
ฝังแน่นไม่เปลี่ยนแปลง
อาการหลงผิดที่มักเกิด
Erotomanic Type
2.Persecutory Type
Somatic Type
3.Paraphrenia
มีอาการประสาทหลอน เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด และมักมีลักษณะเป็นหลายแบบ
Involutional paranoid state
4.Induced psychosis
เรื้อรัง และไม่มีลักษณะชัดเจน
เกิดในคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนอีกคนซึ่งมีความหลงผิดอยู่
ความหลงผิดของเขาทั้งสองจะคล้ายกัน
5.Other and unspecified
สภาวะระแวงแบบอื่นๆ ที่ไม่เข้าลักษณะ ๔ แบบที่กล่าวมา
4.โรคจิตหลงผิด
(Delusional disorder)
สาเหตุ
1.ทางด้านร่างกาย
ความผิดปกติที่เกิดจาก พันธุกรรม
การทำงานของ Neurotransmitter ในสมองผิดปกติ
การได้รับสารพิษ สารเคมีต่าง ๆ
การขาด ออกซิเจน
ความผิดปกติของอิเลคโตรไลท์ในร่างกาย
การทำงานของสมองส่วนกลางผิดปกติ
การเสื่อมจากความสูงอายุ
การได้รับอุบัติเหตุ
ทางด้านจิตใจ
วิตกกังวลในระดับสูงเรื้อองรัง
เปลี่ยนเป็นพยาธิสภาพทางความคิด
การใช้กลไกทางจิตป้องกันตนเองมากเกินไป
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ
ปัญหาที่พบ
1.เกิดปัญหาพฤติกรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ผู้ป่วยที่มีความคิดว่าตนเองเป็นเศรษฐี
ก็จะใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย
ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน
ผู้ป่วยที่มีความคิดว่ามีอำนาจภายนอกมาบังคับตนเอง
อาจจะรู้สึกคับข้องใจ ไม่สามารถทำอะไรได้ตามที่ตนต้องการ
ทำ ให้ขาดสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ไม่ยอมทำ อะไรเลย หรือบางรายถ้ามีความ คับข้องใจ อาจแยกตนเอง
มีความรู้สึกซึมเศร้าคิดฆ่าตัวตาย
การหมาย พ.ร.บ. เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติ สุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๑๕ ผู้ป่วยยอมมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) ได้ รับการบําบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ โดยคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มาตรา ๑๗ การบําบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทําไม่ได้
เว้นแต่เป็นความจําเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ ชิดของผู้บําบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา ๑๘ การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า การกระทําต่อสมองหรือระบบประสาทหรือ การบําบัดรักษาด้วยวิธีอื่นใด ที่อาจเป็นผลทําให้ ร่างกายไม่อาจกลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างถาวรให้กระทําได้
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) กรณีผู้ป่วยให้ ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบําบัดรักษานั้น
โดยผู้ป่วยได้ รับทราบเหตุผล ความจําเป็น ความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรืออาจเป็นผลทําให้ไม่สามารถ แก้ไขให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิม
ผู้ป่วยได้ รับทราบประโยชน์ของการบําบัดรักษา
(๒) กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความความจําเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยหากมิได้ บําบัดรักษาจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วย
ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของ คณะกรรมการสถานบําบัดรักษา
จากภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind
สามารถรักษาด้วยไฟฟ้าได้ ตามมาตราที่ ๑๘ (๒)
คุณจอห์นถือว่ามีความความจําเป็นต้องได้รับการรักษาตามพระราชบัญญัติ สุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๒๒ บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้อง ได้รับการบําบัดรักษา
(๑) มีภาวะอันตราย
(๒) มีความจําเป็นต้องได้รับการบําบัดรักษา
มาตรา ๒๑ การบําบัดรักษา
จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการอธิบายเหตุผลความจําเป็น ในการบําบัดรักษา รายละเอียดและประโยชน์ของการบําบัดรักษาและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย
เว้นแต่เป็นผู้ป่วยตามมาตรา ๒๒
ถ้าต้องรับผู้ป่วยไว้ในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบําบัดรักษา
ความยินยอมตามวรรคหนึ่ง ต้องทําเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อผู้ป่วยเป็สําคัญ
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ ความยินยอมรับการบําบัดรักษา
ให้ คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้ พิทักษ์ผู้อนุบาล หรือผู้ ซึ่ง ปกครองดูแลบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ให้ความยินยอมตามวรรคสองแทน
จากภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind
สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้
โดยคุณจอห์นเป็นผู้ป่วยตามมาตรา ๒๒
และคุณจอห์นถือว่าเป็นผู้ขาดความสามารถในการตัดสินใจ
จึงให้ภรรยาเป็นผู้ลงชื่อยินยอมในการรักษาได้
ประเด็นที่สงสัย
ผลข้างเคียงของการรักษา
2.ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ เนื่องจากถูกจำกัดบริเวณ
1.ผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
1.กลัวอาการข้างเคียงยา
จากการที่ภรรยาชวนมีเพศสัมพันธุ์แต่ผู้ป่วยปฏิเสธแล้วบอกว่าเกิดจากฤทธิ์ของยา
ความคิดหลงผิดกับภาพหลอนต่างกันอย่างไร
ความคิดหลงผิดDelusion
Disturbances in content of thought
2.Visual hallucination
Disorder of perception
ผู้ป่วยรายนี้สมควรได้รับ การรักษาที่โรงพยาบาลหรือควรได้รับการรักษาที่บ้านโดยคนในครอบครัว
ควรได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล
เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่นได้
เนื่องจากนายจอห์นมีอาการ Persecutory type
นายจอห์นมีประวัติเคยทำร้ายตนเองและภรรยาและลูก
ผู้ป่วยไม่รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
การรักษา
การใช้ยารักษา
ระยะให้ยาต่อเนื่อง
จำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาอีก
ระยะควบคุมอาการ
การรักษาเช่นนี้ได้ภายในสัปดาห์แรก บางรายแค่ 3-4 วันก็ดีขึ้น ส่วนอาการประสาทหลอนอาจใช้ระยะเวลาเป็นอาทิตย์
ยามีส่วนสำคัญมาก จะทำให้อาการของผู้ป่วยสงบลงโดยเร็ว โดยกลางคืนนอนหลับได้
การรักษาด้วยไฟฟ้า
Electroconvulsive therapy (ECT)
เพื่อกระตุ้นให้เกิดอาการชักแบบทั้งตัว (Generalized Seizure)
มี 2 ชนิด
การรักษาด้วยไฟฟ้าแบบ Unmodified
การรักษาด้วยไฟฟ้าโดยไม่ได้ใช้ยานำสลบ
2.การรักษาด้วยไฟฟ้าแบบModified
การรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยานeสลบ
ข้อบ่งชี้การรักษาด้วยไฟฟ้า
ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
ผู้ป่วยที่ทนต่อผลข้างเคียงของยาไม่ได้
ผู้ป่วยที่ต้องการผลรักษาที่รวดเร็ว
จากกรณีศึกษา
Schizophrenia
ข้อมูลสนับสนุน
1.ผู้ป่วยมีอาการหลงผิด (Delusion)
Persecutory type
ผู้ป่วยคิดว่ามีคนคอยตามทำร้ายเขาและครอบครัว
ผู้ป่วยคิดว่าจิตแพทย์เป็น สายลับรัสเซีย จึงไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา
2.ผู้ป่วยอาการประสาทหลอน (Hallucination)
หูแว่ว
(Auditory Hallucination)
ได้ยินเสียงคนคุยกัน
ได้ยินว่าวิลเลียมสั่งให้เขาถอดรหัสลับให้ได้
ได้ยินวิลเลียมสั่งให้ห้ามภรรยาไม่ให้โทรแจ้งโรงพยาบาล
เห็นภาพหลอน(Visual hallucination)
ชาร์ลมาปรากฏตัวอยู่กับเขาบ่อยๆในสถานการณ์ต่างๆ
ตั้งแต่เรียนปริญาเอก
3.ความผิดปกติของกระบวนการคิด แสดงออกออกโดยการสนทนา(Disorganized speech)
ผู้ป่วยมักจะพูดรัวและเร็วเมื่อพูดถึงการเป็นสายลับ
พูดตะกุกตะกักในบางครั้ง
4.แยกตัว
DSM-IV
Criteria A
มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป นาน 1 เดือน และต้องมีอย่างน้อย 1 อาการในข้อ 1, 2, หรือ 3
delusions
hallucinations
disorganized speech
grossly disorganized or catatonic
behavior
negative symptoms
จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้นาน 1 เดือน
delusions
hallucinations
disorganized speech
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
2.ขาดการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เนื่องจากหลงผิดคิด ว่ามีคนใส่ร้ายและพูดพาดพึงถึงตนเอง.
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ให้ผู้ป่วยเกิดความไวว้างใจตามหลักการพยาบาลจิตเวช
รับฟังความคิดของผู้ป่วยโดยไม่ตัดสินหรือตำหนิผู้ป่วย เพื่อให้ทราบถึงในสิ่งที่ผู้ป่วยคิดและนำไปประกอบในการวางแผนการรักษา
ไม่เถียง หรือบอกว่าความเชื่อของผู้ป่วยนั้นผิด ควรให้ข้อมูลตามความเป็นจริง
จัดให้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้พูดคุย
การสนทนากับผู้ป่วยที่มีความหลงผิดควรนำเทคนิคการสนทนา การให้คำปรึกษาต่าง ๆ มาใช้
1.การของความกระจ่าง (Clarification)
2.การสะท้อนความรู้สึก (Reflecting)
3.การมุ่งประเด็น (Focusing)
1 อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่นเนื่องจากมีอาการประสาทหลอน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการประสาทหลอนที่เกี่ยวข้องว่าเกิดจากระบบสัมผัสใด ผู้ป่วยแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการรับรู้นั้น อาการเกิดขึ้นช่วงเวลาใด
2.แสดงการยอมรับอาการประสาทหลอนของผู้ป่วยซึ่งทำได้โดยการรับฟังและไม่โต้แย้ง
3.ไม่ส่งเสริมและลดโอกาสในการเกิดอาการประสาทหลอนต่างๆ โดยการสนทนากับผู้ป่วยด้วยถ้อยคำที่ชัดเจน เรียกชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้อง และกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
4.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดถึงอาการประสาทหลอน และหาวิธีที่จะให้ผู้ป่วยเผชิญอาการประสาทหลอนของเขาอย่างเหมาะสม เช่น ใช้เสียงของเขาเองที่จะโต้ตอบกับเสียงที่เขาได้ยิน หรือรีบมาบอกพยาบาลถ้าเขาเห็นภาพบางอย่า งที่ไม่เป็นจริง
5.เตรียมญาติในการดูเเลเเละอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โดยให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆที่ญาติเผชิญอยู่ และให้คำเเนะเเก่ญาติผู้ป่วย
อ้างอิง
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.(2558).โรคจิตเภทโดยละเอียด.สืบค้น 23 มิถุนายน 63 จาก
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-0855
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.(2563). Schizophrenia spectrum and Other psychotic disorders.สืบค้น 23 มิถุนายน 63 จาก
https://med.mahidol.ac.th/psych/sites/default/files/public/pdf/Conference/Mastering-DSM-5/DSM-5%20Schizophrenia.pdf
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.(2551).พระราชบัญญัติ สุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑.สืบค้น 23 มิถุนายน 63 จาก
https://library2.parliament.go.th/giventake/content_law/law200251-37.pdf
มาโนช หล่อตระกูล.(2554).โรคจิตเภท (Schizophrenia).สืบค้น 23 มิถุนายน 63 จาก
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%20%28Schizophrenia%29.pdf
โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์.(2560).คู่มือการให้บริการประชาชน(Work Manual) คู่มือที่ 1 ชื่อคู่มือ การรักษาด้วยไฟฟ้า.สืบค้น 23 มิถุนายน 63 จาก
https://www.dmh.go.th/book/files/9A.pdf
นางสาวปุญญิศา ปรางอ่อน เลขที่ 53 ห้อง A รหัส 613601056