Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นที่สงสัย A Beautiful Mind - Coggle Diagram
ประเด็นที่สงสัย
A Beautiful Mind
ความคิดหลงผิดกับภาพหลอนต่างกันอย่างไร
ความคิดหลงผิด
ผู้ป่วยจะมีอาการหลงผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกันตลอดเวลา
เป็นอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมีความเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงเเต่ไม่สามมารถลบความเชื่อนั้นออกจากความทรงจำได้
อาการหลงผิด คือ การปักใจเชื่อในบางสิ่งบางอย่างอย่างฝังแน่น ไม่ว่าจะมีใครมาชี้แจงหรือมีหลักฐานคัดค้านที่เห็นชัดว่าสิ่งที่เขาเชื่อนั้นผิด เขาก็ยังฝังใจเชื่อเช่นนั้น
ภาพหลอน
เกิดการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่ตามจริงแล้วไม่มีสิ่งที่รับรู้นั้นเกิดขึ้น
อาการประสาทหลอนเกิดขึ้นได้กับการรับรู้ทั้งในด้าน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
ครอบครัวจะมีส่วนช่วยในการรักษาผู้ป่วยอย่างไรบ้าง
ช่วยเรื่องการรับประทานยา ในเเต่ละวัน เเละตามเวลา
พยายามพาผู้ป่วย ออกจากเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ
คอยสังเกตอาการที่ผิดปกติเมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติต้องให้ความสำคัญ
สนับสนุนเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยในการทำกิจวัตรปรพจำวันต่างๆ
เมื่อผู้ป่วยหูเเว่ว ให้บอกผู้ป่วยว่าเป็นเสียงที่ไม่รู้จักอย่าไปสนใจ
ครอบครัวต้องยอมรับผู้ป่วย
สื่อสารกับผู้ป่วยอย่างนุ่มนวลไม่ตำหนิผู้ป่วย
ทำไมผู้ป่วยไม่กินยาอย่างต่อเนื่อง
เพราะอาการข้างเคียงจากยาทำให้
มีความคิดที่เชื่องช้า เหม่อลอย ทำให้ไม่สามารถทำงานได้
สมรรถภาพทางเพศเสื่อมถอย
ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยภรรยาดูเเลลูกได้
ทำไมถึงเก็บตัวอยู่คนเดียวเเละคิดว่าเพื่อนไม่ชอบเกิดจากอะไร
ในวันเด็ก
มักมีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนเนื่องจากรู้สึกว่าเพื่อนชอบแกล้งเขาเพราะเห็นว่าเขาเก่งกว่า ฉลาดกว่า
ผู้ป่วยเป็นเด็กเรียนเก่ง ชอบทำอะไรด้วยตนเอง
ในช่วงวัยรุ่น
ผู้ป่วยเริ่มมีบุคลิกที่ดูแตกต่างจากผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด
ผู้ป่วยจะเริ่มมีความคิดหมกมุ่น
โรคที่คิดว่จะเป็น
โรคจิคเภท(Schizophremia)
สาเหตุ
ทฤษฎี
ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors)
ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetic factor)
ปัจจัยด้านระบบสารชีวเคมีในสมอง (Biochemical factor)
Dopamine เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ไม่อยู่ในการควบคุมจากอำนาจของจิตใจ ช่วยในการตัดสินใจ การใช้เหตุผล การรู้จักตนเอง
Serotonin เป็นสารสื่อประสกที่ทำหน้ที่เกี่ยวข้องกับ วงจรของการหลับและตื่น การควบคุมความรู้สึกอยากอาหาร การรับรู้ความเจ็บปวดของบุค
Norepinephrine เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด การแสดงอารมณ์เมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่าง ๆ
GABA (Gamma Amino Butyric Acid)
เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ในการยับยั้งการตอบสนองของระบบประสาทที่มากเกินไป ทำให้เกิดภาวะสมดุล
Acetylcholine เป็นสารสื่อประสกที่ทำหน้ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และความจำ
ความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด (Congenital Abnormal)
ความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย(Hormonal factor)
การสะสมของสารพิษภายในร่างกาย (Toxic Substance Alcoholism) จากการที่ร่างกายได้รับสารเคมีหรือสารเสพติด
ความเจ็บป่วยหรือโรคทางสมอง เช่น สมองอักเสบเยื่อหุ้มสมองอักเสบชิฟิลิสขึ้นสมอง มาลาเรียขึ้นสมอง เนื้องอกในสมอง การเสื่อมของเซลล์สมอง พยาธิตัวตีดในสมอง หรือแม้แต่การได้รับอันตรายที่ศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น
ปัจจัยทางด้นจิตใจ (Psychological factors)
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุจากภายในของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคทางจิต
ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผลมาจากการเลี้ยงดู ความคิด ความเชื่อที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และประมวลมาเป็นแบบแผนของบุคลิกภาพ หรือพฤติกรรมที่ใช้ในการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ของชีวิต
3.ปัจจัยทางด้านสังคม (Social factors) ปัจจัยที่เป็นสาเหตุจาก
ลักษณะสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
การอบรมเลี้ยงดูและความรักใครในครอบครัว
การศึกษา
ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม
การเมือง
ศาสนา
กรณีศึกษา
ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors)
สารสื่อประสาท Dopamine
สารสื่อประสาท Serotonin
สารสื่อประสาท Norepinephrine
ปัจจัยทางด้านจิตใจ (Psychological factors)
ผู้ป่วยกดดันจากการคิดทฤษฎีไม่ได้ สาเหตุมาจากการทำงานของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ไม่สมดุลกัน Ego สูญเสียหน้าที่ในการจัดการ ไม่สามารถทำงานประสมประสานระหว่าง Id กับ Superego ได้อย่างสมดุล ทำให้เกิดความวิตกกังวล และปัญหาต่าง ๆ
3.ปัจจัยทางด้านสังคม (Social factors)
การศึกษา ผู้ป่วยต้องมีการแข่งขันกันสูงในการชิงทุนเรียนต่อ ย่อมทำให้เกิดภาวะเครียดและส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต
เศรษฐกิจและสังคม ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านการเงินหรือความยากจน ส่งผลต่อความเครียด
การพยาบาล
1.ในการสนทนากับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติหรือมีความหลงผิด
สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจตามหลักการพยาบาลจิตเวช
รับฟังความคิดของผู้ป่วยโดยไม่ตัดสินหรือตาหนิผู้ป่วย
ไม่เถียงกับผู้ป่วย หรือให้เหตุผลว่าความเชื่อของผู้ป่วยนั้นผิด
แก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลของความคิดหลงผิด เช่น ความคับข้องใจ ความวิตกกังวล ความกลัว ความเศร้า
ในการสนทนากับผู้ป่วยหวาดระแวง
ยอมรับในพฤติกรรมหวาดระแวง ไม่โต้แย้ง ต่อต้าน และประเมินระดับความรุนแรงของอาการ
สร้างความไว้วางใจในการติดต่อกับผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว (One to one relationship) โดยเน้นการสร้างความวางใจและความเชื่อถือ
ให้ผู้ป่วยมีกิจกรรม ลดเวลาที่ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ซึ่งอาจทาให้มีความคิดหมกมุ่นอยู่ในเรื่องเดิมๆ
ผู้ป่วยหวาดระแวง มักจะมีความโกรธ ก้าวร้าวควบคู่ไปด้วยเสมอ ควรใช้วิธีโอนอ่อนผ่อนปรนอดทนในสิ่งที่ผู้ป่วยแสดงออก
3.ในการสนทนากับผู้ป่วยที่มีประสาทหลอน
เข้าใจและยอมรับในอาการของผู้ป่วย ไม่ตำหนิ หรือพูดเชิงขบขันว่าเป็นอาการที่ไม่น่าเป็นไปได้
ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้และยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ และการเกิดอาการประสาทหลอน
จัดให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้วิธีการเผชิญความวิตกกังวลขณะที่อยู่ ในสถานการณ์นั้นเพื่อป้องกันการเกิดอาการประสาทหลอน
การรักษา
การรักษาด้านจิตสังคม
จิตบำบัดรายบุคคล (Individual psychotherapy)
พฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy)
ครอบครัวบำบัด (Family therapy)
กลุ่มบำบัด (Group therapy)
การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy)
ECT 1 course (5 times per week/ 10 weeks)
การรักษาด้วยยา
Thorezine 30 mg IM q 6 hrs prn
Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn
ชนิด
ชนิดหวาดระเเวง (Paranoid type)
ชนิดวุ้นวาย (Disorganized typr)
ชนิดคาทาโทนิค (Catatonic typr)
ชนิดจำแนกไม่ได้ (Undifferentiated typr)
ชนิดเรื้อรังที่มีอาการหลงเหลือ (Residual typr)
ชนิดพฤติกรรมเสื่อมถอย (Simple Schizophrenia)
ชนิดอื่น ๆ (Other Schizophrenia)
ชนิดที่ไม่สามารถระบุได้ (Unspecified Schizophrenia)
อาการ
กรณีศึกษา
1.อาการด้านบวก (positive symptom)
หลงผิดคิดว่าตนเองมีอำนาจ มีความสามารถ เป็นบุคคลสำคัญ ผู้ป่วยหลงผิดคิดว่าตนเองเป็นสายลับ
หลงผิดว่าตนเองถูกปองร้ายหรือกลั่นแกล้ง
ไม่สามารถลำดับความคิดตามขั้นตอนได้ผู้ป่วยมีอาการแสดงขณะทำการสอนหนังสือ
หูแว่ว ผู้ป่วยได้ยินเสียงบอกให้กระทำการต่างๆ เช่น บอกให้ห้ามภรรยาตอนที่ภรรยาโทรไปแจ้งโรงพยาบาลในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ
เห็นภาพหลอน ผู้ป่วยมองเห็นผู้ชายสวมหมวกสีดำตาม และเห็นนภาพเพื่อนของเขาและหลานสาวทั้งที่ไม่มีอยู่จริง
2.อาการด้านลบ (negative symptom)
การแสดงออกทางด้านอารมณ์ลดลงมาก เช่นสีหน้าเรียบเฉย ขาดการแสดงออกทางอารมณ์
การเปลี่ยนแปลงค้นความคิดการรับรู้
ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับความคิด ได้แก่ สมาธิแย่ลง การตีความสิ่งต่างๆบกพร่อง
ผู้ป่วยมีสมาธิลดลงทำให้ไม่สามารถคิดค้นทฤษฎีใหม่ๆได้
ทฤษฎี
1.อาการด้านบวก (positive symptom)
ประสาทหลอน (hallucination) ที่พบบ่อยคือหูแว่ว เห็นภาพหลอน
ความผิดปกติของการพูด (disorganized speech) ผู้ป่วยจะพูดไม่ค่อยเข้าใจเช่น คำพูดไม่ต่อเนื่องกัน
ความผิดปกติของพฤติกรรม (disorganized behavior)
อาการหลงผิด(delusion) ได้แก่ หลงผิดว่าตนเองถูกปอง
การเปลี่ยนแปลงค้นความคิดการรับรู้ (cognitive change)
ผู้ป่วยจะมีสมาธิแย่ลง มีปัญหาความจำ ตีความไม่ได้ คิดเป็นหตุเป็นผลไม่ได้
อาการด้านลบ (negative symptom)
อาการผิดปกติที่ขาดหรือบกพร่องไปจากคนทั่วไปเช่น เฉยเมยไม่แสดงอารมณ์ (affective flattening) พูดน้อยหรือไม่พูด (alogia)
ไม่มีแรงจูงใจหรือเฉื่อยชาลง
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
ผู้ป่วยอาจรู้สึกทุกข์ทรมาน ไม่สบายใจ (dysphoria)
มีภาวะซึมเศร้า (depression) หมดกำลังใจจากอาการของโรคที่เกิดขึ้น
ผลกระทบอะไรบ้างที่เกิดกับผู้ป่วย
ความสามารถในการทำงาน เเละกิจวัตรประจำวันบกพร่อง
ไม่เป็นที่หน้าเชื่อถือ
สัมพันธภาพภายในครอบครัวลดลง
ความคิดเชื่องช้า
ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยยา ควรได้รับยาชนิดใด
Diazepam
Benzodiazepine
การออกฤทธิ์
ทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท GABA ลดอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ
ผลข้างเคียง
ง่วงซึม อ่อนเพลียกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเดินเซ
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ระวังการพลัดตกหกล้ม จากการวิงเวียน (Dizziness)
เขียนวัน เวลา จำนวน ชนิดของยาใส่การ์ด หรือติดไว้ในที่ที่มองเห็นง่าย หากผู้ป่วยต้องเป็นผู้ที่จัดยารับประทานเอง เพราะผู้ป่วยอาจมีอาการหลงลืมง่าย
ผู้ป่วยที่มีอาการมือสั้น หยิบจับสิ่งของลำบาก ควรดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน เลี่ยงการถือของร้อน
สังเกตและบันทึกความรุนแรงของอาการ
Thorezine
สำหรับยาที่ใช้รักษาอาการทางบวก เป็นยากลุ่ม dopamine antagonist
ยาที่ใช้รักษาอาการทางลบเป็นยากลุ่ม serotonin - dopamine antagonist (SDAs)
การออกฤทธิ์
ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการจับของโดปามีนทำให้โดปามีนลดลง
เหตุผลการใช้ยา
การที่โดปามีนลดลงมีผลให้ความคิดและอารมณ์ของผู้ป่วยดีขึ้น
ผลข้างเคียง
ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ในส่วน nigrostriatal ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (motor activity) และความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) เมื่อ dopamine receptor ถูกยับยั้งจะทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อยู่นิ่งไม่ได้ เคลื่อนไหวตลอดเวลา เดินตัวแข็งที่อ มือสั่น
การพยาบาล
สังเกตอาการข้างเคียงของยา เช่น มึนงง ง่วงนอน เป็นลมเวลาลุกยืน ตาพร่า
ผู้ป่วยที่มีอาการปากแห้ง คอแห้ง แนะนำให้จิบน้ำหรืออมลูกกวาดเพื่อให้ชุ่มคอ
ผู้ป่วยที่มีอาการง่วงนอน ต้องปรับเวลาให้ยาเป็นตอนเย็น และก่อนนอน ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ดี และกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางวัน
ผู้ป่วยที่มีอาการตาพร่า แนะนำให้ใช้แว่นกันแดด เวลาอยู่ในที่มีสว่างมาก และบอกสาเหตุที่มองเห็นไม่ชัดให้ทราบว่าเกิดจากผลข้างเคียงของยา
ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตลดต่ำเวลายืน (orthostatic hypotention) เมื่อลุกขึ้นยืนจะหน้ามืด ให้ค่อยๆ เปลี่ยนอิริยาบถ การลุกนั่ง ยืน ควรใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ1 นาที
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ) สุขภาพจิต 2551
โดยเน้นการบำบัดรักษาผู้ป่วยเป็นหลัก เป็นกฎหมายสำคัญที่ใช้ดูเเลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีภาวะอันตราย หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา
18
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy, ECT)
ให้กระทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องรับทราบถึงเหตุผลความจำเป็น ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน ประโยชน์ของการบำบัด แต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้าต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา
23
ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือมีภาวะอันตรายหรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจโดยเร็ว
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพจิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562
การส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมปัจจัยคุกคามด้านสุขภาพจิต การฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยจากการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อทุกประเภท