Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A Beautiful Mind, นางสาวศิริรัตน์ อ้นปรารมภ์ เลขที่ 77…
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A Beautiful Mind
ประวัติผู้ป่วย
ประวัติครอบครัว
ภรรยาของผู้ป่วยชื่อนางอลิเซีย (Mrs. Alicia) มีลูกด้วยกัน 1 คน
มีน้องสาว 1 คน บิดาเป็นวิศวกร มารดาเป็นครูสอนภาษา
สัมพันธภาพของผู้ป่วยและครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว
ไม่ค่อยเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟัง
ผู้ป่วยมีการหมกมุ่นกับตัวเลขมาก เกือบทำร้ายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยเข้าใจว่าตนเองทำงานเป็นสายลับ
ข้อมูลส่วบุคคล
ชื่อผู้ป่วย นายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (Mr. John Forbes Nash, Jr.)
อายุ 24 ปี เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
คาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้อง
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
ชนิดของโรคจิตเภท
โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง (Schizophrenia paranoid)
ผู้ป่วยมีอาการหวาดระแวง หลงผิด
โกรธง่าย ก้าวร้าว ชอบทะเลาะกับคนอื่น
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง
ด้านครอบครัว
พ่อแม่ขัดแย้งกัน เด็กเกิดความลังเลไม่แน่ใจ (ambivalence)
เลี้ยงลูกแบบปกป้องมากเกินไป overpossessive และ overcontrol
ต้องพึ่งผู้อื่นอยู่เสมอไม่สามารถช่วยตัวเองได้
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อม
เป็นคนเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อนสนิท
มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น
เข้าใจว่าเพื่อนชอบแกล้งเพราะตัวเองเก่งกว่า ฉลาดกว่า
ให้ความสนใจ และทำออกมาได้ดีแค่เรื่องที่ตัวเองสนใจเท่านั้น
ด้านจิตใจ
เกิดพยาธิสภาพในส่วนที่ทำหน้าที่ในการปรับตัว ควบคุมพฤติกรรม การตัดสินใจ
ไวต่อความเครียด
การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย
จากประสบการณ์ที่โดนเพื่อนแกล้งในอีด
อาการและอาการแสดง
เนื้อหาความคิดที่ผิดปกติ (Disorder of content)
Delusion of persecution
หลงผิดคิดว่าผู้อื่นจะมาปองร้าย
วิตกกังวล แววตาหวาดระแวง ก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
มองซ้ายขวาเกือบตลอดเวลา
บอกว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับรัสเซีย
เชื่อว่าตนเองเป็นสายลับของกระทรวงกลาโหม กำลังถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
วิ่งหนีออกมาจากที่ทำงานเพราะมีคนสะกดรอยตามและกำลังจะทำร้าย
หวาดกลัวเมื่อพบจิตแพทย์
Delusion of being controlled
หลงผิดคิดว่าการกระทำของตนถูกควบคุมโดยสิ่งอื่นภายนอก
มีคนมาสะกดรอยตามทำให้เขากลัวและกังวลอย่างมาก
บอกว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับรัสเซีย
กำลังถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
ความผิดปกติของการรับรู้ (Disorder of perception)
ประสาทหลอน (hallucination)
Visual hallucination
ประสาทหลอนทางการมองเห็น
มองซ้ายขวาเกือบตลอดเวลา
ผู้ป่วยเห็นภาพหลอน
เห็นเพื่อนที่ชื่อชาร์ลกับหลาน
เห็นกลุ่มคนสะกดรอยตามเขาไปถึงที่ทำงาน
ผู้ป่วยเห็นเพื่อนที่ชื่อชาร์ลก่อนที่ตนเองโดนจับตัวก่อนไปรักษา
Auditory hallucination
ประสาทหลอนทางการได้ยิน
ได้ยินเสียงคนคุยกัน
เสียงที่ต้วผู้ป่วยคุยกับเพื่อนที่ชื่อชาร์ล
เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาเรียกตัวไปช่วยถอดรหัสทางการทหาร
เสียงผู้ชายที่ชื่อจอร์นว่าเหมือนจะมายิงภรรยาตนเอง
Tactile Hallucination
ประสาทหลอนทางการสัมผัส
ได้รับสารรังสีที่ข้อมือเป็นเลขรหัสลับเมื่อได้เข้าทำงาน
เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วยพยายามหาเลขรหัสจนเลือดออก
ความผิดปกติของพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (Disorder of motor behavior)
เฉยเมยไร้ความรู้สึก
มีเหม่อลอยบ้างเล็กน้อย
ความผิดปกติของความคิด
รูปแบบความคิดผิดปกติ(Disorder of form)
ขาดการเชื่อมโยงเหตุผล
ไม่สามารถลำดับความคิดตาม
ขั้นตอนของเหตุการณ์
มักพูดไม่ตรงจุด อาจพูดซ้ำ ๆ
โดยไม่มีความหมาย
รูปแบบความคิดเมื่อผิดปกติมากขึ้น
incoherence
พดู ไม่ต่อเนื่องกัน ขาดเป็น
ช่วงๆ อาจพูดเป็นคำ ๆ
ฟังแล้วไม่เข้าใจว่ากำลังพูดเรื่องอะไร
รูปแบบความคิดผิดปกติอย่างอื่น
Blocking
ความคิดหยุดชะงักทันที
Perseveration
พูดหรือทำซ้ำ ๆ ติดต่อกัน โดยไม่มีความหมาย
Circumstantiality
พูดอ้อมค้อม ไม่ตรงจุด
Tangentantiality
พูดออกนอกเรื่อง
การรักษา
การใช้ยาในการรักษา
ระยะควบคุมอาการ
รักษาช่วงอาการกำเริบ
ใช้เวลา 3-4 วัน อาการประสาทหลอนต้องใช้เวลานานเป็นอาทิตย์ถึงจะสงบลง
ยาช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการสงบเร็วและนอนหลับได้ในตอนกลางคืน
ระยะให้ยาต่อเนื่อง
กินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการกำเริบซ้ำ
การรักษาด้วยไฟฟ้า
ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณศีรษะของผู้ป่วยในปริมาณน้อยๆ
การรักษาจะทำวันเว้นวัน ทำทั้งหมดประมาณ 10-12 ครั้ง
การดูแลรักษาด้านจิตใจและสังคม
การช่วยเหลือด้านจิตใจ
ให้คำแนะนำที่ผู้ป่วยสามารถนำไปปฏิบัติได้
การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว
ทำครอบครัวบำบัดหรือให้ความรู้ในเรื่องโรค
กลุ่มบำบัด
ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกว่ามีเพื่อน มีคนเข้าใจ ไม่โดดเดี่ยว
นิเวศน์บำบัด
การจัดสภาพแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยให้น่าอยู่
การพยาบาล
1.
พยาบาลต้องประเมินอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยว่าเกี่ยวข้องกับระบบรับสัมผัสใด ผู้ป่วยแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการรับรู้นั้น ๆ และอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเพื่อให้การพยาบาลที่ถูกต้อง
2.
ถ้าพยาบาลพบผู้ป่วยที่กำลังแสดงอาการประสาทหลอน พยาบาลควรบอกสิ่งที่เป็นจริง
(Present reality)กับผู้ป่วยในขณะนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้ความจริงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
3.
ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการหวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทำร้าย อย่าพยายามอธิบายว่าไม่จริง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่เข้าใจผู้ป่วย ควรรับฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดโดยไม่เสริมในอาการหลงผิดของผู้ป่วยและแสดงความเห็นอกเห็นใจในความกลัวของผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยสงบลงได้
4.
พยาบาลต้องแสดงการยอมรับอาการประสาทหลอนของผู้ป่วย ซึ่งทำได้โดยการรับฟังและไม่โต้แย้ง
5
. หลีกเลี่ยงการเข้าไปจับต้องตัวผู้ป่วยก่อนผู้ป่วยจะรู้ตัวเพราะผู้ป่วยมีแนวโน้มจะตีความหรือรับรู้ผิด
6.
จัดหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำโดยเฉพาะในเวลากลางวัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยคิดมาก ฟุ้งซ่าน แต่ก็ไม่ต้องถึงกับบังคับ
มากเกินไป
7.
ให้ผู้ป่วยแยกแยะว่าอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นนั้นเขารู้สึกอย่างไรอาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดหรือมีเหตุการณ์อะไรนำมาก่อนเพราะผู้ป่วยจะได้รู้จักป้องกันตนเองไม่ให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น
8.
การทำจิตบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและปัญหาของตนเองมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะแยกแยะสิ่งที่เป็น
และไม่ใช่ความจริง
พรบ. สุขภาพจิต ฉบับที่ 2 พ.ศ.2562
สังเกตอาการทางจิตของผู้ป่วย
หูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวงไร้เหตุผล พูดจาเพ้อเจ้อ พูดจาก้าวร้าว คิดว่าตนเองมีความสามารถพิเศษเหนือคนปกติ แต่งกายแปลกกว่าคนปกติ ร่วมกับมีแนวโน้มจะมีอันตรายทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม เช่น พยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง หรือ ทำร้ายผู้อื่น
1. กรณีไม่เร่งด่วน
ให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323
ภาวะเสี่ยงอาการทางจิตไม่ทุเลา
ส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
2. กรณีเร่งด่วน
มีภาวะอันตรายทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา
รีบโทรแจ้งสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และสายด่วนตำรวจ 191
สามารถแจ้งบุคคลหรือหน่วยงานต่อไปนี้
บุคลากรทางการแพทย์ ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มูลนิธิกู้ชีพกู้ภัย อบต. เทศบาล
พื่อให้เจ้าหน้าที่นำตัวเข้ารับการบำบัดรักษาตามกฎหมาย
สำหรับประชาชน ชุมชน และสังคม สามารถมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
ช่วยกันดูแล ติดตามให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง
เฝ้าระวัง สังเกตอาการ หากผิดปกติ หรืออาการกำเริบ ให้รีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่
ให้กำลังใจผู้ป่วย และสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนได้
ร่วมพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย จากการถูกเอาเปรียบจากสังคม
ส่งเสริมอาชีพ หางานอดิเรกให้ทำ เพื่อฝึกสมาธิ และให้ผู้ป่วยมีรายได้
นางสาวศิริรัตน์ อ้นปรารมภ์ เลขที่ 77 รหัส 613601083 ชั้นปีที่ 2 ห้อง A