Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind, นางสาวกุลวดี ชอบชื่น เลขที่ 7 ห้อง B…
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 24 ปี
ปฏิเสธการแพ้ยา / แพ้อาหาร
ประวัติการเจ็บป่วย
2 ปีก่อนมาโรงพยาบาล
หลังเรียนจบถูกเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมเรียกตัวไปช่วยถอดรหัสทางการทหาร โดยทำงานเป็นสายลับ เขาทำงานอย่างลับๆ จนกระทั่งพบว่า มีคนสะกดรอยตามเขาและพยายามจะทำร้ายเขาตลอด เขากลัวมาก แต่พยายามเก็บเป็นความลับเพราะเขาเป็นสายลับ ไม่บอกใคร แม้กระทั่งภรรยา
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
หวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทำร้าย วิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวออกจากที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานจึงนำส่งโรงพยาบาลจิตเวช
เชื้อชาติ อเมริกัน สัญชาติ อเมริกัน
ประวัติครอบครัว
บิดา :
วิศวกร
มารดา :
ครูสอนภาษา
มีน้องสาว 1 คน
ภรรยาบอกว่า "ผู้ป่วยเก็บตัว ไม่ค่อยเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟัง"
จากการศึกษาผู้ป่วยเป็น
โรคจิตเภท (Schyzophrenia)
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย
อาการด้านพฤติกรรม
เดินหลังค่อม มองซ้ายขวาตลอดเวลา
ก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
จะพูดตะกุกตะกัก รัวและเร็ว เมื่อพูดถึงสายลับ
เกิดจาก อาการหลงผิด และ ประสาทหลอน
ทำร้ายภรรยาและลูก โดยไม่ได้ตั้งใจ
อาการหลงผิด
(Delusions)
หวาดระแวง
คิดว่ามีคนสะกดรอยตาม
กลัวคนจะมาทำร้าย
อาการด้านลบ (negative symptoms)
เหม่อลอย
มีสีหน้าเรียบเฉย พูดน้อย
ไม่ชอบยุ่งกับใคร
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
เห็นภาพหลอน คือ เห็นภาพเพื่อน หรือเห็นคนจะมาทำร้าย แต่ที่จริงไม่มี
หูแว่ว ได้ยินเสียงคนสั่งให้ทำตาม
อาการด้านความคิด
คิดว่าจิตเเพทย์ที่รักษาเป็นสายลับรัสเซียจึงไม่ให้ความร่วมมือ
ยังมีความเชื่อว่าตนเองเป็นสายลับกระทรวงกลาโหม
ทำร้ายตนเอง โดยจิกแขนตัวเองจนเลือดไหล เพื่อหารหัสที่ฝังบนข้อมือ
หมกหมุ่นกับบางเรื่องที่สนใจ
วินิจฉัยตาม DSM-5
C :
เริ่มเป็นมานานตั้งแต่วัยเรียน
C :
เริ่มเป็นมานานตั้งแต่วัยเรียน
B :
ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคม โดยหวาดระแวงโลกภายนอกตลอดเวลา เก็บตัวมาก
A :
มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เเละอาการด้านลบ
ควรได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือรักษาที่บ้านโดยคนในครอบครัว
ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล
เหตุผล
เพราะอาการของผู้ป่วยอยู่ในระดับที่รุนแรงไม่สามารถควบคุมได้
เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดจิตแพทย์
เพื่อได้รับการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ
เพื่อป้องกันผู้ป่วยทำร้ายตนเอง และทำร้ายบุคคลรอบๆตัว
การดูแลผู้ป่วยรายนี้
ดูแลให้ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ดูตอนกินยาทุกครั้งเพื่อให้ผู้ป่วยทิ้งยา
ดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะไม่สามารถรู้เลยว่าอาการจะกำเริบเมื่อใด
ดูแลให้ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช ตาม พรบ.สุขภาพจิต 2551 เพราะอาการรุนแรงมาก
สร้างสัมพันธภาพให้ผู้ป่วยไว้วางใจ เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกภายในใจ
หมั่นให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย พูดให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ
อาการหลงผิด
(Delusions)
อาการหลงผิด หมายถึง
การปักใจเชื่อในบางสิ่งบางอย่างอย่างฝังแน่น ไม่ว่าจะมีใครมาชี้แจงหรือมีหลักฐานคัดค้านที่เห็นชัดว่าสิ่งที่เขาเชื่อนั้นผิด
สาเหตุ
ด้าน
ร่างกาย
ความผิดปกติของพันธุกรรม
ความผิดปกติของสารสื่อประสาท
ด้าน
จิตใจ
ความวิตกกังวลระดับสูง
เผชิญภาวะเครียดและไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ใช้กลไกทางจิตป้องกันตนเองมากเกินไป
อาการที่พบ
หวาดระแวง
หลงผิดว่าเรื่องต่างๆรอบตัวเกี่ยวกับตนเอง
หลงผิดว่าตนเองเป็นเทพ เป็นเจ้า หรือคนสำคัญกลับชาติมาเกิด
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
อาการประสาทหลอน หมายถึง
การมีการรับรู้ทั้งๆ ที่ไม่มีสิ่งกระตุ้น ซึ่งเป็นได้กับการรับรู้ทั้งทางรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
สาเหตุ
ด้าน
ร่างกาย
เจ็บป่วยอย่างรุนแรง
พยาธิสภาพที่สมอง เช่น อุบัติเหตุ ติดเชื้อที่สมอง
พักผ่อนไม่เพียงพอ
การกระตุ้นความรู้สึกภาวะผิดปกติของสารเคมีในร่างกาย
การได้รับสารพิษอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำงานของสมอง
ด้าน
จิตใจ
ความเครียด
วิตกกังวลมากเกินไป
รู้สึกถูกทอดทิ้ง
อาการที่พบ
หูแว่ว ได้แก่ ได้ยินเสียงคนคุยกัน หรือได้ยินคนสั่งให้ทำตาม
เห็นภาพหลอน ได้แก่ เห็นคนที่คุ้นเคยมาพูดด้วย เห็นภาพแปลกๆ
รู้สึกว่ามีอะไรมาชอนไชตามผิวหนัง
คาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้อง
โรคจิตเภท (Schyzophrenia)
กลุ่มอาการหลัก
อาการหลักด้านบวก (positive symptoms)
หลงผิด (Delusions)
ประสาทหลอน (Hallucination)
อาการหลักด้านลบ (negative symptoms)
พูดน้อย
แยกตัวจากสังคม
อาการทางด้านอารมณ์ (affective
symptoms)
อารมณ์เศร้า
วิตกกังวล
อาการด้านพุทธิปัญญา (cognitive symptoms)
ความจำลดลง
ความสามารถในการวางแผนและแก้ปัญหาบกพร่อง
เกณฑ์การวินิจฉัย
DSM-5
A :
มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป และพบอาการในข้อ 1-3 อย่างน้อย 1 ข้อ
การพูดจาสับสน เนื่องจากไม่สามารถรวบรวมความคิดให้เป็นระบบได้ เช่น ตอบไม่ตรงคำถาม
พฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากเดิมมากหรือมีพฤติกรรมแบบ catatonic
อาการประสาทหลอน
อาการด้านลบ เช่น หน้าตาเฉยเมย พูดน้อย แยกตัวจากสังคม
อาการหลงผิด
B :
ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตในสังคม
C :
มีอาการโรคจิตอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีอาการในข้อ A อย่างน้อย 1 เดือน
D :
อาการไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางร่างกาย ยา หรือสารเสพติด
แนวทางการรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
(nonpharmacotherapy)
การรักษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม
การรักษาโดยใช้ยา (pharmacotherapy)
ยาต้านโรคจิตเภท มีทั้งยากลุ่มใหม่และกลุ่มเก่า
ระยะคงสภาพ
เป้าหมายเพื่อให้ได้รับยาอย่างต่อเนื่องและป้องกันการกำเริบของโรค
ระยะต่อเนื่อง
เป้าหมายเพื่อให้ได้รับยาต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค
รักษาระยะเฉียบพลัน
เป้าหมายเพื่อลดอาการทางจิต และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับผู้ป่วยหรือคนรอบข้าง
โรคจิตเภท หมายถึง
โรคที่มีความผิดปกติทางสมอง ทำให้ความคิด ภาษาการสื่อสาร อารมณ์ พฤติกรรมสังคม และการรับรู้ผิดแปลกไปจากความจริง
โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder)
โรคจิตหลงผิด หมายถึง
การมีความเชื่อ หรือความคิดไม่ตรงกับความเป็นจริง เรียกว่า อาการหลงผิด (delusion) ตั้งแต่ 1 เรื่องนานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
อาการที่พบบ่อย
ระแวงว่าตนถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกปองร้าย
:red_cross:ไม่พบว่ามีประสาทหลอน เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน
ประเภทของโรคจิตหลงผิด
เชื่อว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น มีความหยั่งรู้พิเศษ (Grandiose Type)
หลงผิดคิดว่าคู่ครองของตนนอกใจ (Jealous Type)
หลงผิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักตัวเอง โดยบุคคลนั้นมักเป็นผู้ที่มีความสำคัญหรือมีชื่อเสียง (Erotomanic Type)
ระแวงว่าตนเองถูกกลั่นแกล้ง สะกดรอย หมายเอาชีวิต (Persecutory Type)
หลงผิดเกี่ยวกับร่างกายของตนเอง เช่น บางส่วนของร่างกายผิดรูปร่าง หรือ อวัยวะไม่ทำงาน (Somatic Type)
สาเหตุ
ด้านจิตใจ
การเลี้ยงดู ที่ไม่ได้รับความอบอุ่น
มีความรู้สึกไวต่อท่าทีของผู้อื่น
ด้านสังคม
สังคมที่มีความเครียด กดดัน การแข่งขันสูง การเอารัดเอาเปรียบ ทำให้รู้สึกว่าถูกผู้อื่นคุกคาม
ด้านชีวภาพ
สัมพันธ์กับสมองส่วนที่ควบคุมความเป็นเหตุผลและอารมณ์ความรู้สึก
การบำบัดรักษา
เน้นการสร้างสัมพันธภาพ ความสัมพันธ์ที่ดีสามารถช่วยผู้ป่วยได้ โดยการรับฟังและเข้าใจ
รักษาด้วยยา ด้วยยารักษาโรคจิตโดยอยู่ในความดูแลของแพทย์
รักษาในโรงพยาบาล หากอาการรุนแรง เช่น มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น
โรคกลัวสังคม
(Social anxiety disorder)
โรคกลัวสังคม หมายถึง
การที่ผู้ป่วยมีอาการประหม่า รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด กังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่อาจมีผู้อื่นสังเกตจ้องมองตนเอง
อาการ
ประหม่าทุกครั้งที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกคนจ้องมอง
ไม่ใช่แค่ประหม่าครั้งแรกที่ทำ แต่ประหม่าทุกครั้งที่อยู่ในสถานกาณ์นั้นๆ จะมีอาการแสดง คือ
มือสั่น
เหงื่อออกมาก
ใจสั่น
สาเหตุ
เคยเจอสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ จนฝังใจ
ประสบการณ์ในวัยเด็ก
ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ผลกระทบ
สูญเสียหน้าที่การงาน
หลีกเลี่ยงผู้คน ไม่เข้าสังคม
การรักษา
ปรับเปลี่ยนที่ความคิดของผู้ป่วยเอง เพื่อประเมินตนเองให้น้อยลง
ให้คนรอบข้างให้กำลังใจ ไม่กดดันผู้ป่วย
กฎหมาย และ พรบ. ที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551
มาตรา 22
บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา
(1) มีภาวะอันตราย
(2) มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา
มาตรา 23
ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะ
ตามมาตรา 22
ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยไม่ชักช้า
มาตรา 21
การบำบัดรักษาจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการบำบัดรักษา รายละเอียดและประโยชน์ของการบำบัดรักษาและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย
เว้นแต่เป็นผู้ป่วยตามมาตรา 22
ถ้า
ต้องรับผู้ป่วยไว้ในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา
ความยินยอมตามวรรคหนึ่งต้องทำเป็นหนังสือ และ
ลงลายมือชื่อผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือ
ขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา ให้คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง
สาระสำคัญตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551
ก็ยังมีผลในการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย และความปลอดภัยของสังคมอยู่ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถช่วยกันสังเกตอาการทางจิตของผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดย
สังเกตจากลักษณะ
เห็นภาพหลอน
หวาดระแวงไร้เหตุผล
หูแว่ว
เพ้อเจ้อ
ทำร้ายผู้อื่น
การรักษา
การรักษา
ด้วยยา
Risperidone
ยารักษาอาการทางจิต ทำงานโดยปรับปริมาณของสารส่งผ่านประสาทในสมองที่ไม่สมดุล
Perphenazine
ยาระงับอาการทางจิตที่ออกฤทธิ์ช่วยปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง
Haloperidol
ยารักษาโรคทางจิตหรืออารมณ์ เช่น โรคจิตเภท ช่วยลดความวิตกกังวล
การฉีด Insulin
เพื่อจะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลเรื้อรัง
การรักษา
ด้วยไฟฟ้า
การรักษาด้วยไฟฟ้า หรือ Electroconvulsive Therapy (ECT) ใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความเข้มข้นต่ำผ่านสมองเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดอาการชัก ซึ่งจะส่งผลให้อาการทางจิตดีขึ้น
ข้อดี
:check:
คงสภาพไม่ให้อาการกำเริบซ้ำ
เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมีความจำเป็นต้องรักษาเร่งด่วยเพื่อควบคุมอาการให้สงบ
อาการทางจิตของผู้ป่วยทุเลาอย่างรวดเร็ว
ความแตกต่างของอาการหลงผิดกับอาการประสาทหลอน :question:
อาการหลงผิด
เป็นความผิดปกติในเนื้อหาของความคิด
อาการประสาทหลอน
เป็นการรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกติ โดยไม่ได้มีสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น หูแว่ว
ปัจจัยที่ผู้ป่วยไม่กินยาอย่างต่อเนื่อง :question:
ผู้ป่วยไม่ได้คิดว่าตนเองป่วย
กลัวผลข้างเคียงของยา
ผลกระทบของการไม่กินยาต่อเนื่อง
รักษาไม่หายขาด
ต้องพึ่งยาตลอดชีวิต
อาการกำเริบ และรุนแรงมากขึ้น
คิดว่าตนเองหายดีแล้ว
ครอบครัวจะมีส่วนดูแลอย่างไร :question:
คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย
คอยสังเกตอาการผู้ป่วยสม่ำเสมอ เพื่อให้การดูแลได้ทัน
ให้กำลังใจ รับฟังผู้ป่วย เพราะกำลังใจถือเป็นสิ่งสำคัญ
ดูแลให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ห้ามขาดยา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามนัดของจิตแพทย์
นางสาวกุลวดี ชอบชื่น เลขที่ 7 ห้อง B รหัสนักศึกษา 613601115