Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้นเรื่อง "A Beautiful mind", นางสาวกวิสรา อนันตวงศ์…
ภาพยนต์สั้นเรื่อง "A Beautiful mind"
คาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้อง
โรคกลัวสังคม(Social anxiety disorder)
เป็นความรู้สึกวิตกกังวลที่ต้องเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนเยอะ กลัวว่าตนเองจะถูกปฏิเสธหรืทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ ทำให้หลีกหนีการเข้าสังคม
โรคจิตเภท (Schyzophrenia)
เป็นความผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มักเกิดในช่วงวัยรุ่น เป็นแล้วมักไม่หายขาดส่วนใหญ่มีอาการกำเริบเป็นช่วง ๆ ช่วงแรกๆที่กำเริบจะเป็นอาการด้านบวก เช่น ประสาทหลอน หลงผิด ในระยะหลังจะมีกลุ่มอาการด้านลบ เช่น พูดน้อย เฉื่อยชา แยกตนเอง
อาการและอาการแสดง
อาการด้านบวก
อาการประสาทหลอน
อาการหลงผิด
ความผิดปกติของความคิด
ความผิดปกติของพฤติกรรม
อาการด้านลบ
พูดน้อย หรือไม่พูด
อารมณ์เฉยเมย
ขาดความสนใจในกิจกรรมทุกชนิด
ขาดความสุข
ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
อาการด้านความคิด
ไม่สามารถคิดเป็นเหตุผล
สมาธิแย่ลง
การตีความสิ่งต่าง ๆ และการตอบสนองบกพร่อง
อาการด้านอารมณ์
เป็นอาการที่พบร่วมได้บ่อย ซึมเศร้า รู้สึกผิด วิตกกังวล หงุดหงิด ก้าวร้าว ครื้นเครง
อาการอื่น ๆ
ไม่ตระหนักว่าตนเองเปลี่ยนไป มีความผิดปกติทางความคิดเกี่ยวกับสังคม
ชนิดของโรคจิตเภท
ชนิดหวาดระแวง(Paranoid type) มีอาการหลงผิด ผู้ป่วยไม่มีอาการ การที่พูดไม่ต่อเนื่องกัน พฤติกรรมนิ่งเฉยเมยไร้อารมณ์แบบเรียบเฉยหรือไม่เหมาะสม
ชนิดวุ่นวาย (Disorganized type)
ชนิดคาทาโทเนีย (Catatonic) มีอาการอย่างน้อย 2 อย่าง
ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย นิ่งเฉย
การเคลื่อนไหวมากผิดปกติ ไม่มีจุดมุ่งหมาย
ต่อต้านคำสั่งทุกสิ่งอย่าง
เคลื่อนไหวด้วยท่าทางแปลก ๆ ทำอะไรซ้ำๆ
พูดเลียนแบบ ทำเลียนแบบ
ชนิดมีอาการหลงเหลือ(Residual type) ผู้ป่วยไม่มีอาการเด่นชัดของชนิดอื่น ๆ เคยเป็นโรคจิตเภทอย่างน้อย 1 ครั้ง มีอาการต่อเนื่อง
การรักษา
การรักษาด้วยไฟฟ้า
นิเวศบำบัด
จิตบำบัด
ครอบครัวบำบัด
การรักษาด้วยยา
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แน้่ชัด แต่อาจเกิดจากปัจจัยร่วมกัน
ปัจจัยด้านชีวภาพ
ประสาทสรีรวิทยา
พันธุกรรม
ระบบสารเคมีในสมอง เชื่อว่าการทำงานของ Dopamine มากไป
กายวิภาคของสมอง
ปริมาณเนื้อสมองน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะ Cortical gray matter และ ventricle โตกว่าปกติ
ปัญหาทางด้านจิตใจ
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ทฤษฎีจิตสังคม
ทฤาฎีการเรียนรู้
ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม
ครอบครัวที่ใช้อารมณ์ต่อกันสูง
โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง(Schyzophrenia paranoid)
เป็นกระบวนการคิดที่เชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากความวิตกกังวลหรือความกลัวอย่างหนัก มักถึงจุดที่เกิดความไร้เหตุผลและอาการหลงผิด การคิดหวาดระแวงตรงแบบรวมความเชื่อว่าถูกปองร้าย (persecutory belief)
โรคจิตหลงผิด(Delusional disorder)
การมีความเชื่อ หรือความคิดไม่ตรงกับความเป็นจริงโดยอาการหลงผิดที่พบบ่อยที่สุดคือ ระแวงว่าตนถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกปองร้าย ผูกเรื่องเชื่อมโยงไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีประสาทหลอน เช่น หูแว่ว ผู้ป่วยมักจะยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติ
ประเด็นที่สงสัย
ผลกระทบอะไรบ้างที่เกิดกับผู้ป่วยรายนี้
เห็นภาพหลอน
มีการหลงผิด เชื่อในสิ่งที่ตนเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องจริง
ครอบครัวมีปัญหา
ผู้ป่วยรายนี้สมควรได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือควรได้รับการรักษาที่บ้านโดยคนในครอบครัว
ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจาก อาการที่ผู้ป่วยเป็นนั้นเป็นมีระยะเวลายาวนานจนกระทั่งอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจนอาการของผู้ป่วยรุนแรง ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้ อันตรายที่สุดคือการทำร้ายตนเองหรือคนรอบข้าง
ทำไมถึงเก็บตัวอยู่คนเดียวและคิดว่าเพื่อนไม่ชอบ เกิดจากอะไร
เกิดจากการฝังใจตั้งแต่วัยเด็กว่าไม่มีใครชอบตน และด้วยความที่ผู้ป่วยเรียนเก่งและหมกมุ่นอยู่แต่กับเรื่องที่ตนเองสนใจ ทำให้ผู้อื่นมองว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่แปลและแตกต่างไปจากบุคคลอื่น
ความคิดหลงผิดกับภาพหลอนต่างกันอย่างไร
ความคิดหลงผิด คือ คือการปักใจเชื่อในบางสิ่งบางอย่างอย่างฝังแน่น ไม่ว่าจะมีใครมาชี้แจงหรือมีหลักฐานคัดค้านที่เห็นชัดว่าสิ่งที่บุคคลเชื่อนั้นผิด ส่วนภาพหลอน คือ การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่ตามจริงแล้วไม่มีสิ่งที่รับรู้นั้นเกิดขึ้น อาการประสาทหลอนเกิดขึ้นได้กับการรับรู้ทั้งในด้าน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
ทำไมถึงคิดว่าตนเองทำงานให้กับกระทรวงหน่วยงานราชการลับ
เพราะผู้ป่วยนั้นเก่ง มีความสามารถจึงมีคนต้องการให้เข้าไปทำงานช่วยเหลือในการถอดรหัสต่างๆ รวมทั้งผู้ป่วยเองมีความสนใจและต้องการที่จะค้นพบเกณฑ์หรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง มาอธิบายในสิ่งที่ตนสงสัยให้ได้ ตนจึงเข้าใจว่าการทำงานของตนนั้นเป็นความลับและเป็นการทำเพื่อประเทศชาติมาโดยตลอด
ครอบครัวจะมีส่วนชวยในการรักษาผู้ป่วยอย่างไรบ้าง
ควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ดูแลให้ได้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และคอยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโลกของความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร
กฎหมาย พรบ.ที่ควรมี
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพจิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562
มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต โดยเพิ่มเติมการส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพจิต ควบคุมปัจจัยคุกคามด้านสุขภาพจิต ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยให้ได้รับการคุ้มครองจากการเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ในสื่อทุกประเภท ตลอดจนเพิ่มสิทธิให้ผู้ดูแลเพื่อสามารถให้ดูแลผู้ป่วย อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมไทยอย่างมีความสุข
ประวัติทั่วไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยชื่อ นายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (Mr.John Forbes Nash, Jr.)
อายุ 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
ประวัติครอบครัว
มีภรรยาชื่อ อลิเซีย และมีลูกด้วยกัน 1 คน
มีน้องสาว 1 คน
สัมพันธภาพในครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว
ผู้ป่วยมีความคิดหมกมุ่นเกือบทำร้ายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกอยากมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา
ผู้ป่วยมีความคิดหมกมุ่นและมีพฤติกรรมที่แปลก ๆ
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง
ด้านครอบครัว
ครอบครัวตำหนิ
สภาพครอบครัวไม่เหมาะสมในการแก้ไขให้ดีขึ้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมรอบตัว
เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิท
ไม่มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ด้านจิตใจ
ความขัดแย้งภายในจิตใจ
ความเครียด
ความสามารถในการปรับตัว
ประสบการณ์ในอดีต
โดนเพื่อนแกล้งเป็นประจำ
อาการและอาการแสดง
หวาดระแวง
คิดว่ามีคนจะทำร้าย
มีคนสะกดรอยตาม
ประสาทหลอน
หูแว่ว ได้ยินเสียงคนสั่งให้ทำตาม
คิดว่ามีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา
คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย
ควบคุมตนเองไม่ได้
ทำร้ายตนเอง
ทำร้ายบุคคลรอบตัว
ไม่ชอบเข้าสังคม
ไม่มีเพื่อน
ชอบอยู่คนเดียว
ด้านพฤติกรรม
เดินหลังค่อม
มองซ้าย ขวา ตลอดเวลา
กระสับกระส่าย เดินไปเดินมา
พยายามโต้ตอบกับใครบางคน
เฉยเมย ไร้ความรู้สึก
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยเด็ก
ชอบเก็บตัว
ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหาในการปรับตัวเข้าหาเพื่อน
เรียนเก่ง
ไม่ชอบกิจกรรมนันทนาการแต่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และทำการทดลองด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 12 ปี
วัยรุ่น
ผู้ป่วยหันมาสนใจทางด้านคณิตศาสตร์และมุ่งมั่นในการเรียน
เรียนปริญญาเอก
เริ่มมีความคิดหมกมุ่นและมีพฤติกรรมแปลกๆเพิ่มมากขึ้น
มีความโดดเด่นทางด้านการเรียนในระดับอัจฉริยะ
พบว่าชาร์ลเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตเขา
ให้กำลังใจและคอยอยู่เป็นเพื่อผู้ป่วยเสมอ
ผู้ป่วยเริ่มมีบุคลิกที่ดูแตกต่างจากบุคคลอื่นอย่างเห็นได้ชัด
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ยารับประทาน
ยาเม็ด
การรักษาด้วยไฟฟ้า
คิดว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร
โรคจิตเภท
นางสาวกวิสรา อนันตวงศ์ รหัส 613601003
ห้อง A เลขที่ 3