Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปรัชญาการศึกษากลุ่มเสรีนิยม (Liberal View), 229 นายสุเมธ มุงคุณคำชาว -…
ปรัชญาการศึกษากลุ่มเสรีนิยม (Liberal View)
ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การจัดการศึกษาต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง จึงได้เชื่อว่า “แนวทางแห่งความมีอิสรเสรีที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง วัฒนธรรมและสังคม”
ความมุ่งหมายของการศึกษา
1) มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน
2) มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวเองเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข
3) มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจ และตามความสามารถของผู้เรียน
4) ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน
5) มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
6) มุ่งให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตเป็นหมู่คณะ และรู้จักปกครองตนเอง
บทบาทหน้าที่ความ สัมพันธ์ระหว่างผู้
สอนกับผู้เรียน
เชื่อว่าผู้สอนและผู้เรียนร่วมมือกันในการเรียนรู้ และเน้นการทำงานในรูปของประชาธิปไตย ความเสมอภาค และผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่สนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน พร้อมทั้งยังคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
วิธีสอน
มุ่งให้ผู้เรียนรวมกลุ่มทำกิจกรรม ใช้วิธีการสอนแบบ “แก้ปัญหา“ นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง เห็นความสำคัญของงานที่มีต่อตนเอง ต่อสังคม การสอนจึงเน้นในเรื่องการสาธิต การอภิปราย การค้นคว้า การรายงาน การประชุม การวางแผน ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความสามารถอย่างแท้จริง และได้รับประสบการณ์จริงด้วยตนเอง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ศักยภาพของผู้เรียน ระวังไม่ให้เด็กเรียนอ่อนเกิดปมด้อย
หลักสูตร
หลักสูตรแบบประสบการณ์หรือหลักสูตรแบบกิจกรรม เน้นการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หลักสูตรเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม เนื้อหาของหลักสูตรจะต้องไม่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า หลักสูตรที่ดีต้องมุ่งไปที่การเรียนรู้ทุกชนิดที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในทุกด้าน
ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) หมายถึง การบูรณะหรือการสร้างขึ้นใหม่ ปฏิรูปนิยมจึงมุ่งการปฏิรูปสังคม ขึ้นมาใหม่ เพราะถือว่าสังคมในปัจจุบันมีปัญหา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และศิลปวัฒนธรรมเป็นเหตุต้องแก้ปัญหาอยู่เรื่อย ๆ จึงต้องหาทางสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้นใหม่
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
1) มุ่งให้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาสังคม
2)มุ่งให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม เพื่อฝึกการทำงานร่วมกัน
3)มุ่งให้ผู้เรียนค้นหาวิธีการแก้ปัญหา เตรียมตัวเพื่ออนาคต
กระบวนการเรียนการสอน
เน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสนใจความต้องการของตนเอง สนองความสนใจด้วยการค้นคว้า การอภิปรายและแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสังคมวิธีการเรียนการสอนเป็นวิธีการแก้ปัญหาของสังคมโดยตรงอาศัยวิธีแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการแบบโครงการ วิธีการของปรัชญา และวิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีสอน
ควรสร้างบรรยากาศของการมีอิสระ มิใช่ด้วยการบังคับ เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา การจัดตารางสอนควรมีการยืดหยุ่น ศึกษาโดยการค้นคว้าและอภิปรายเป็นหลัก ให้ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับอนาคต การสอนของครูกับผู้เรียนจึงควรทำงานร่วมกัน วางแผน แก้ปัญหา เช่น วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการวางโครงการ หรือวิธีแก้ปัญหา
หลักสูตร
เน้นสังคมเป็นหลัก ผู้เรียนต้องเข้าใจสภาพของสังคมดีพอ และมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาสังคม เช่น ความยากจน การจราจร ยาเสพติดควรจัดการศึกษา อุตสาหกรรม สื่อสารมวลชน การขนส่ง การอนามัย และสาธารณสุข นิเวศน์วิทยา และวิชาทั่วไป เช่น วรรณคดี ดนตรี ศิลปะ ฟิสิกส์ เคมี สังคมวิทยาประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หลักสูตรในลัทธินี้ให้ความสำคัญแก่วิชาที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสังคมเป็นอย่างดี
229 นายสุเมธ มุงคุณคำชาว