Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพตามช่วงวัย - Coggle Diagram
หน่วยที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพตามช่วงวัย
การสร้างเสริมสุขภาพในช่วงวัยก่อนเรียน 3-5ปี
ความต้องการพลังงาน: เด็กวัยก่อนเรียน (1-5 ปี ) ตามวิธีของ Holiday และ Segar ความต้องการพลังงานต่อวัน = (น้ำหนักตัว 0-10 กก. x 100) +(น้ำหนักตัว 10-20 กก. X 50) + (น้ำหนักตัว >20 กก. x 20) Kcal
ปัญหาโภชนาการที่สำคัญของเด็กวัยนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากวัยเด็กยังมีอายุน้อยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในด้านอาหารได้ ห่วงเล่น จนไม่อยากกินอาหาร ดังนั้นหากขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองจะส่งผลให้เด็กมีปัญหาขาดสารอาหารได้
ความต้องการวิตามินและเกลือแร่: เด็กวัยก่อนเรียน (1-5 ปี ) เด็กที่มีอายุ1-5 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 400-500 ไมโครกรัมต่อวัน เนื่องจากการขาดวิตามินเอมักพบในเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียน และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กตาบอดได้ เด็กอายยุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวัน และเด็ก อายุ4-6 ปี ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน
ความต้องการโปรตีน: เด็กวัยก่อนเรียน (1-5 ปี ) เด็กวัยก่อนเรียนมีความต้องการโปรตีนสูงมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของร่างกาย และเซลล์สมอง และสร้างภูมิต้านทาน เด็กอายุ1-3 ปี มีความต้องการโปรตีน 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมหรือควรได้รับโปรตีนประมาณวันละ 18 กรัมต่อวัน อายุ4-5 ปี มีความต้องการโปรตีน 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนวันละ 22 กรัมต่อวัน
การสร้างเสริมสุขภาพในช่วงวัยทารก
ความต้องการพลังงานสำหรับทารก 0-12เดือน
ความต้องการคาร์โบไฮเดรตในเด็กวัยทารก อายุ 0-5 เดือน ได้รับคาร์โบไฮเดรตจากนมแม่เพียงอย่างเดียว ประมาณร้อยละ40 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน อายุ6-11 เดือน ปริมาณร้อยละ 45-65 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน
ความต้องการโปรตีนในเด็กวัยทารก อายุ6-11 เดือน มีความต้องการโปรตีน 1.9 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรือประมาณ 15 กรัม/ วัน ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมัน และในหนึ่งสัปดาห์ ควรรับประทานปลาน้ำลึกอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เนื่องจากมีโอเมกา-3 ซึ่งเป็นสารบำรุงสมอง
ความต้องการพลังงานต่อวัน = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม x 100 Kcal -ความต้องการพลังงานของทารกในช่วงอายุ 0-2 เดือน เท่ากับ 404 กิโลแคลอรี/วัน ความต้องการพลังงานของทารกในช่วงอายุ 3-5 เดือน เท่ากับ 550 กิโลแคลอรี/ วัน
ความต้องการไขมันในเด็กวัยทารก อายุ 0-5 เดือน ได้รับไขมันจากนมแม่เพียงอย่างเดียว ประมาณร้อยละ 50 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวันอายุ 6-11 เดือน ปริมาณร้อยละ 40 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน
ความต้องการวิตามินและเกลือแร่ในวัยทารก สารอาหารที่ทารกมักได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ (Problem nutrients) ได้แก่ เหล็ก สังกะสี แคลเซียม วิตามินบี6 และวิตามินเอ อาหารที่มีเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ เลือด อาหารที่มีสังกะสีสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยนางรม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ เต้าหู้ ผักใบเขียว อาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง อาหารที่มีวิตามินเอสูง ได้แก่ ตับ ไข่
การแบ่งช่วงวัย
วัยก่อนเรียน 3-5 ปี
วันเรียน 6-12 ปี
ทารก 0-12 เดือน
วันเรียน 6-12 ปี
วัยทารกแรกเกิด อายุ 0-28 วัน วัยทารกอายุมากกว่า 28 วัน ถึง 12 เดือน ร่างกายเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ด้านการเคลื่อนไหวสติปัญญา สังคม เดือนแรกเป็นช่วงวิกฤตเพราะทารกต้องปรับตัวในการมีชีวิตอยู่นอกครรภ์มารดา การส่งเสริมสุขภาพทำให้ทารกมีโอกาสพัฒนาถึงขีดสุด
จัดทำโดย นางสาวศิญาพร เถาวัลย์ราช รหัสนักศึกษา 611410009-8 นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3