Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาล, นางสาวมาลินี คำมา รหัส 6001211368…
บทที่ 4 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาล
พระราชบัญญัติวิชาชีพ
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หมายความว่า วิชาชีพเกี่ยวกับการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
หมายความว่า การปฏิบัติหน้าที่การพยาบาลต่อบุคคล ครอบครัว และชุมชน
หมวด ๑
สภาการพยาบาล
มาตรา ๖
ให้มีสภาการพยาบาล มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้สภาการพยาบาลเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๗
ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ส่งเสริมการศึกษา การบริการ การวิจัย และความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่น
ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการพยาบาล
เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ผดุงความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
มาตรา ๘
รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต
สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพ
รับรองหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันสอนวิชาชีพ
รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการฝึกอบรม
รับรองวิทยฐานะของสถาบัน
รับรองปริญญา
ออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตร
ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล
มาตรา ๙
เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ผลประโยชน์จากกิจกรรมอื่นของสภาการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๗
เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สภาการพยาบาล
ดอกผลของเงินและทรัพย์สินอื่น
มาตรา ๑๐
ให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสภาการพยาบาลและมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒ สมาชิก
มาตรา ๑๑
สมาชิกสามัญ
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
มีความรู้ในวิชาชีพการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์โดยได้รับปริญญา
ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย
ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
มาตรา ๑๒
ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการ
เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับเลือกเป็นกรรมการ
ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฎิบัติตนตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๑๓
ตาย
ลาออก
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๑ (๑)
หมวด ๓
คณะกรรมการ
มาตรา ๑๔
ให้มีคณะกรรมการสภาการพยาบาล
มาตรา ๑๕
คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกเป็นกรรมการที่ปรึกษาได้
มาตรา ๑๖
ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสภาการพยาบาล อุปนายก 2 คน
มาตรา ๑๗
การเลือกตั้งกรรมการให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๑๘
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา ๑๙
ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
อาจได้รับแต่งตั้งหรือรับเลือกตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองคราวติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๒๐
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๓
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘
ลาออก
มาตรา ๒๑
ตำแหน่งกรรมการว่างให้สมาชิกสามัญเลือกตั้งกรรมการขึ้นแทนภายในเก้าสิบวัน
มาตรา ๒๒
บริหารกิจการสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามวตัถุประสงค์ที่กำหนดตามมาตรา ๗
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรม คณะอนุกรรมการสอบสวนและคณะอนุกรรมการอื่น
ออกข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๒๓
นายกสภาการพยาบาล
(ก) ดำเนินกิจการของสภาให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือตามมติของ
คณะกรรมการ
(ข) เป็นผู้แทนในกิจการต่างๆ
(ค) เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ
อุปนายกคนที่หนึ่งเป็นผู้แทนเมื่อนายกสภาไม่อยู่
อุปนายกคนที่สองเป็นผู้แทนเมื่อนายกสภาและอุปนายกคนที่หนึ่งไม่อยู่
เลขาธิการ
ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่สภา
ควบคุมงานธุรการทั่วไป
รับผิดชอบในการดูแลรักษาทะเบียน
ควบคุม ดูแล ทรัพย์สินของสภา
เป็นเลขานุการคณะกรรมการ
รองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ
ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์
เหรัญญิก
ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการบัญชี การเงิน
งบประมาณของสภา
หมวด ๔
การดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๔
การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมครึ่งนึงจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียง
สมาชิกสามัญพ้นจากสมาชิกภาพถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการ
มาตรา ๒๕
สภานายกพิเศษจะเข้าฟังการประชุมช้ีแจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการ หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังคณะกรรมการในเรื่องใดๆ ก็ได้
มาตรา ๒๖
การออกข้อบังคับ
การกำหนดงบประมาณของสภาการพยาบาล
การให้สมาชิกสามัญพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม
การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม (๔) และ (๕)
หมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๒๗
การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง
การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่
นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษา
องค์การบริหารต่างๆ
ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ
บุคคลปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์
บุคคลซึ่งช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาล
มาตรา ๒๘
การขึ้นทะเบียน
การออกใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต
การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตร
มาตรา ๒๙
ผู้ประกอบวชิาชีพการพยาบาล
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๓๐
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งต้องได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาล
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสองต้องได้รับประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล
มาตรา ๓๑
ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญ แห่งสภาการพยาบาลและมีคุณสมบัติอื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๓๒
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต้องรักษาจริยธรรม
มาตรา ๓๓
บุคคลผู้ซึ่งได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพให้ทำเรื่องยื่นต่อสภา
มาตรา ๓๔
เมื่อสภาการพยาบาลได้รับเรื่องให้เลขาธิการ
เสนอเรื่องดังกล่าวต่อประธานอนุกรรมการจริยธรรม
มาตรา ๓๕
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมจากสมาชิกสามัญ
มาตรา ๓๖
ให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมแสวงหาข้อเท็จจริง
ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวน
ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
มาตรา ๓๗
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรุปผลการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวน
มาตรา ๓๘
ให้อนุกรรมการจริยธรรมและอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๙
ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
มาตรา ๔๐
เมื่อสอบสวนเสร็จให้เสนอสำนวนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๔๑
ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
ว่ากล่าวตักเตือน
ภาคทัณฑ์
พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินสองปี
เพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๔๒
ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งสภาการพยาบาลตามมาตรา ๔๑ ไปยังผู้ถูกกล่าวหา
มาตรา ๔๓
ภายใต้บังคับมาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใบอนุญาตทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่ามีสิทธิประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๔๔
ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๔๕
จะยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปี
หมวด ๕ ทวิ (๑)
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๕ ทวิ
สถานที่ประกอบการที่มีผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานอยู่
สถานที่ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่ามีการประกอบวิชาชีพ
สถานที่ที่ทำการสอนหรือเชื่อว่าทำการสอน
มาตรา ๔๕ ตรี
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๕ จัตวา
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวล
กฎหมายอาญา
มาตรา ๔๕ เบญจ
ให้ผู้รับผิดชอบหรือปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ตามมาตรา ๔๕ ทวิ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๖
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจา คุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
มาตรา ๔๗
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๔๘
ผู้ใดไม่ให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๘ ทวิ
ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๕ เบญจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๙
ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้ถือว่าเป็นสมาชิกสามัญ
มาตรา ๕๐
ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเภทและชั้นแล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๑
เลือกตั้งสมาชิกสามัญต้องเสร็ขภายใน 30 วัน
มาตรา ๕๒
ในระหว่างที่ยังไม่ได้ออกระเบียบหรือข้อบังคับ ให้นำกฎกระทรวงมาใช้ แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี
มาตราที่ไม่ได้ตีพิมพ์
มาตรา ๒๐
ตามมาตรา ๑๔ และ ๑๕ ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ
มาตรา ๒๑
ให้ใบอนุญาตมีผลต่อไปอีก 5 ปี
มาตรา ๒๒
ผู้ที่ได้รับอนุปริญญามีสิทธิขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๒๓
ให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมปี ๒๕๔๐
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ฉบับที่ ๑
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
การปฐมพยาบาล การปฏิบัติ และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต
การเจ็บป่วยวิกฤต
การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรง
อาจทำให้พิการ หรือเสียชีวิตได้
หมวด ๒
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ส่วนที่ ๑
การพยาบาล
ข้อ ๕
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ให้ทำการพยาบาลที่ไม่ซับซ้อน
ถ้ามีความซับซ้อนต้องทำร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
ข้อ ๖
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ให้ยาได้เฉพาะตามแผนการรักษา หรือการปฐมพยาบาล
ข้อ ๗
ห้ามให้ยา หรือสารละลายทางช่องรอบเยื่อบุไขสันหลัง หรือช่องไขสันหลัง
ห้ามไม่ให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำ เฉพาะที่สภาการพยาบาลประกาศ
ส่วนที่ ๒ การทำหัตถการ
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยการทำหัตถการตามขอบเขตที่กำหนด ดังนี้
การทำแผล การตกแต่งบาดแผล การเย็บแผล การตัดไหม การผ่าฝีในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย การถอดเล็บ และการจี้หูดหรือจี้ตาปลา
การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายออก โดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
การล้างตา
ส่วนที่ 3 การรักษาโรคเบื้องต้น
ข้อที่ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งให้กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาเบื้องต้น
ข้อที่ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ตามข้อ ๑๒ ถ้าจำเป็นต้องให้ใช้ยาได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลบังคับ
หมวด ๓ การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ข้อที่ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง จะให้ยาผู้ป่วยได้เฉพาะที่แพทย์ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาพยาบาลหรือเมื่อเป็นการปฐมพยาบาล
ข้อที่ ๑๗ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสอง จะทำการผดุงครรภ์ได้แค่เฉพาะรายที่มีครรภ์ปกติและคลอดอย่างปกติตลอดจนการพยาบาลมารดาและทารก
ข้อที่ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง จะต้องใช้ยาทำลายหรือป้องกันการติดเชื้อ หรือป้ายยตาทารกเมื่อคลอดแล้วทันที
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ฉบับที่ ๒
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๓"
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นตั้น
ข้อ ๓ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง หรือการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรองประกอบวิชาชีพการพยาบาลและได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาลให้กระทำการพยาบาลการคัดกรองผู้ป่วย การเจ็บป่วยทางตาฉุกเฉิน หรือการเจ็บป่วยวิกฤต และการฟื้นฟูสมรรถภาพการมองเห็น
ข้อ ๔ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้การผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรองประกอบวิชาชีพการพยาบาลและได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาลให้กระทำการพยาบาลโดยการกระทำหัตถการดังนี้
การวัดกำลังเลนส์แก้วตาเทียม
การเขี่ยสิ่งแปลกปลอมออกจากตา
การวัดค่าสายตาผิดปกติ (Refraction)
การขูดหาเชื้อจากแผลกระจกตา
การล้างท่อน้ำตา
การเจาะตากุ้งยิง
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ฉบับที่ ๓
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไข
ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
(๑) การตรวจวิเคราะห์หรือการวินิจฉัยโรค
(๒) การวางแผนบำบัดหรือรักษาโรค
(๓) การประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล
(๔) การบริจาคโลหิต
ข้อ ๔ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดต้องเป็นแนวปฏิบัติทางการพยาบาล (Clinical Nursing Practice Guideline (CNPG)) หรือเป็นแนวปฏิบัติทางเวชกรรม (Clinical Practice Guideline (CPG)) และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลไม่เป็นผู้ตรวจวิเคราะห์หรือวินิจฉัย เว้นแต่กรณีการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายที่ตนเองเป็นผู้ดูแลในลักษณะการตรวจ ณ จุดดูแลผู้รับบริการ (Point of care testing) ได้แก่ การตรวจระดับน้ าตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
ข้อ ๕ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือด ต้องเป็นการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดฝอยปลายนิ้ว หรือจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย
ข้อ ๖ การเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำส่วนกลาง ตามแผนการรักษาให้จัดเก็บจากสายสวนหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำส่วนกลาง ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้เปิดไว้แล้ว
ข้อบังคับการพยาบาล ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.๒๕๕๐
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ข้อ ๔ ผู้ประกอบวิชาชีพ ย่อมดํารงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรมและเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง
ข้อ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ย่อมประกอบวิชาชีพด้วยเจตนาดี โดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม หรือลัทธิการเมือง
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพ ย่อมไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
หมวด ๒ การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ส่วนที่ ๑ การปฏิบัติต่อผู้ป่วย หรือผู้ใช้บริการ
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของวิชาชีพตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด โดยไม่เรียกร้อง สินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่จูงใจ หรือชักชวนผู้ใดให้มาใช้บริการการพยาบาล หรือการผดุงครรภ์เพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่เรียกร้องขอรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับหรือส่งผู้ป่วย หรือผู้ใช้บริการเพื่อรับบริการทางการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการโดยสุภาพและปราศจากการบังคับขู่เข็ญ
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วย หรือผู้ใช้บริการ ให้หลงเข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของตน
ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นเท็จโดยเจตนา หรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริตเรื่องใดๆ อันเกี่ยวกับวิชาชีพตน
ส่วนที่ ๒ การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบวิชาชีพ พึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน
ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ทับถมให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งกัน
ส่วนที่ ๓ การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน
ข้อ ๒๒ พึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน
ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ทับถมให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมงาน
ส่วนที่ ๔ การศึกษาวิจัยและการทดลองต่อมนุษย์
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ทำการทดลองต่อมนุษย์ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลอง และต้องพร้อมที่จะป้องกันผู้ถูกทดลองจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองนั้นๆ
ข้อ ๒๙ ผู้ประกอบวิชาชีพ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมของการศึกษาวิจัย และการทดลองในมนุษย์ และจรรยาบรรณของนักวิจัย
หมวด ๓ การโฆษณาการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ข้อ ๓๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมีมิให้การประกอบวิชาชีพการพาบาลและการผดุงครรภ์ของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นทำนองโฆษณความรู้ ความสามารถ
นางสาวมาลินี คำมา รหัส 6001211368 เลขที่ 62 Section A