Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน - Coggle Diagram
บทที่ 9 การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
ความหมาย
การบาดเจ็บที่เกิดกับทารกระหว่างคลอดจากแรงที่ กระทำกับทารกโดยตรง และไม่เกี่ยวกับโรคที่มารดาเป็นระหว่างการตั้งครรภ์
สาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจากทารก
ทารกมีส่วนนำผิดปกติ เช่น หน้า ไหล่ ก้น
ทารกมีขนาดตัวโตมากทำให้เกิดการคลอดยาก
อายุครรภ์ของทารกไม่ครบกำหนด หรือเกินกำหนด
การคลอดไหล่ยาก
ทารกมีความพิการแต่กำเนิด
ปัจจัยเสี่ยงจากการคลอด
การคลอดด้วยคีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศ
การใช้แรงดึงมากเกินไปในการช่วยคลอดทารก
ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา
ความผิดปกติที่มีมาก่อนการตั้งครรภ์ เช่น มารดามีภาวะเบาหวาน เชิงกรานแคบไม่ได้สัดส่วนกับทารก (cephalopelvic disproportion: CPD)
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะน้ำคร่ำน้อย
ระยะเวลาของการคลอด เช่น การคลอดเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงจากผู้ทำคลอด
ขาดความชำนาญหรือขาดการเอาใจใส่อย่างเพียงพอ
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1) การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก (Skull injuries)
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ (caput succedaneum) เ
กิดจากการคั่งของของเหลวในระหว่างชั้นของหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ (suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุ
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอดท่าศีรษะทำให้มีของเหลวไหลซึมออกมานอกหลอดเลือดในชั้นใต้เยื่อหุ้มหนังศีรษะ หรือมีสาเหตุมาจาการใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอ
การวินิจฉัย
จากการประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิด โดยการคลำศีรษะทารก จะพบก้อนบวมโน มีลักษณะนุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ชัดเจน ข้ามแนวรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะและพบทันทีภายหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
สังเกตพบได้ด้านข้างของศีรษะ ลักษณะการบวมของก้อนโนนี้จะมีความกว้างและมีขนาดโตประมาณไข่ห่าน ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกต
การพยาบาล
1.การซักประวัติ มารดามีประวัติคลอดยาก เบ่งคลอดนานหรือเบ่งคลอดก่อนปากมดลูก เปิดหมด มีประวัติการได้รับการช่วยคลอดโดยเครื่องดูดสุญญากาศ
การตรวจร่างกาย ประเมินลักษณะก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารก
3.สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
4.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
5.อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นเพื่อคลายความวิตกกังวล
6.บันทึกอาการและการพยาบาล
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ (cephalhematoma)
หรือบางทีเรียกว่าก้อนโนเลือดที่ศีรษะ เป็นการคั่งของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตชัดเจน
สาเหตุ
เกิดจากมารดามีระยะเวลาการคลอดยาวนาน ศีรษะทารกถูกกดจากช่องทางคลอดหรือการใช้เครื่องดูดสูญญากาศช่วยคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีอาการรุนแรง ก้อนโนเลือดมีขนาดใหญ่ จะเกิดภาวะระดับบิลลิรูบินในเลือดสูง (hyperbilirubinemia)
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติการเบ่งคลอดนานหรือการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศและจากการตรวจร่างกายทารกพบบริเวณศีรษะมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะแข็งหรือค่อนข้างตึง คลำขอบเขตได้ชัดเจน เมื่อใช้นิ้วกดจะไม่เป็นรอยบุ๋ม
อาการและอาการแสดง
อาการของภาวะก้อนโนเลือดที่ศีรษะ จะปรากฏให้เห็นชัดเจนหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว เนื่องจากเลือดจะค่อย ๆ ซึมออกมานอกหลอดเลือดด ลักษณะการบวมจะมีขอบเขตชัดเจนบนบริเวณกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก้อนโนเลือดจะค่อยๆหายไปเองได้ แต่อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยปกติจะค่อยๆหายเองภายใน 2 เดือน แต่ถ้ามีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วยและมี
ระดับบิลลิรูบินในเลือดสูงจำเป็นต้องได้รับการส่องไฟ (phototherapy)
การพยาบาล
1.การซักประวัติ ส่วนใหญ่ได้ประวัติว่ามารดาเบ่งคลอดนานหรือเบ่งคลอดก่อนปากมดลูกเปิดหมด มีประวัติการได้รับการช่วยคลอดโดยเครื่องดูดสุญญากาศ
การตรวจร่างกาย ประเมินลักษณะก้อนโนเลือดที่กระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ภายหลังเกิดหลายชั่วโมงอาจพบก้อนโตขึ้น ต่อมาอาจพบภาวะตัวและตาเหลืองร่วมด้วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทารกได้รับกรณีมีแผนการรักษา เช่น ระดับความเข้มข้นของเลือด การตรวจหาระดับบิลลิรูบิน
สังเกต ลักษณะ ขนาด และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมอง
5.ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด เพื่อป้องกันการกดทับที่จะกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
6.สังเกตอาการซีด การเจาะหาค่า Hct และดูแลให้เลือดตามแผนการรักษาของแพทย์
7.ดูแลเกี่ยวกับการหาค่า microbilirubin ถ้ามีภาวะตัวเหลือง ให้การพยาบาลทารกที่ได้รับการส่องไฟตามแผนการรักษาของแพทย
8.อธิบายมารดาและบิดาให้เข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นของทารกเพื่อลดความวิตกกังวล และแนะนำไม่ใช้ใช้ยาทา ยานวด ประคบหรือเจาะเอาเลือดออกเอง
ภาวะเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage)
เป็นภาวะที่เลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ อาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเหนือเยื่อหุ้มสมอ'ชั้นดูรา (epidural) ใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา (subdural) ใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นอะแรคนอยด์ (subarachnoid) ภายในเนื้อสมอง (intracerebral)ใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นอีเพนไดมัล (subependymal) ภายในห้องสมอง (intraventricular)
สาเหตุ
ทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานในขณะคลอดหรือเกิดภายหลังคลอด การได้รับอันตรายรุนแรงจาการคลอด
การวินิจฉัย
จากประวัติการคลอด เช่น เชิงกรานแม่เล็กกว่าปกติ ทารกอยู่ในท่าท้ายทอยหันหลัง (occiput posterior position: OPP)ท่าหน้า หรือท่าก้น ภาวะ CPD
อาการและอาการแสดง
ในรายที่มีอาการรุนแรงจะแสดงอาการเมื่อแรกคลอดทันที หรืออาจค่อยๆ แสดงอาการหรืออาจไม่แสดงอาการเลยในบางราย โดยมีอาการดังนี้ Reflex ลดน้อยลงหรือไม่มี โดยเฉพาะ moro reflex จะเสียไป กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี มีอาการอ่อนแรง มีภาวะซีด หรือมีอาการเขียว (cyanosis) ซึม ไม่ร้อง ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูดนม ร้องเสียงแหลม เป็นต้น
แนวทางการรักษา
้ ถ้ามีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจได้รับการรักษาโดยเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบรรเทา ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกถ้าตัวเย็น ดูแลให้ได้รับยาระงับการชัก และให้วิตามินเค
การพยาบาล
ดูแลให้ทารกหายใจสะดวกและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
กรณีที่ให้ออกซิเจน ควรสำรวจปริมาณออกซิเจนที่ทารกได้รับความไม่ควรเกิน 40% หรือตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำที่เพียงพอ
ให้ทารกอยู่ในตู้อบ (incubator) ที่มีการควบคุมอุณหภูมิตู้ไว้เ
เตรียมเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือทารกไว้ให้พร้อม ได้แก่ เครื่องดูดเสมหะ ลูกยางแดง ออกซิเจน laryngoscope endotracheal tube และเครื่องช่วยหายใจ
ตรวจสอบสัญญาณชีพ และบันทึกไว้ทุก 2- 4 ชั่วโมง ตามระดับความรุนแรงของอาการ
ป้องกันและไม่ให้ทารกได้รับอันตรายจากการชัก จัดวางเตียงของทารกไว้บริเวณที่พยาบาลสังเกตอาการทารกได้ง่าย
ดูแลให้ทารกได้พักผ่อน รบกวนทารกให้น้อยที่สุด
9.ประคับประคองจิตใจมารดาและบิดาเพื่อลดความวิตกกังวล
2) การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
กระดูกต้นแขนหัก
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น ผู้ทำคลอดดึงทารกออกมา แขนเหยียดหรือการคลอดท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าทารกจะไม่งอแขน เมื่อจับแขนขยับทารกจะร้องไห้เนื่องจากรู้สึกเจ็บ
อาการและอาการแสดง
ในรายที่มีกระดูกหักสมบูรณ์ (complete) อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะคลอด แขนข้างที่หักจะมีอาการบวมและทารกไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หักเนื่องจากรู้สึกเจ็บ
แนวทางการรักษา
ถ้าอาการไม่รุนแรงเป็นเพียงกระดูกแขนเดาะ จะรักษาโดยการตรึงแขนให้แนบกับลำตัวเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหว 1-2 สัปดาห์
กระดูกต้นขาหัก
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น ผู้ทำคลอดดึงขาทารกขณะที่ติดอยู่ที่ทางเข้าเชิงกราน (pelvic inlet)
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าทารกไม่ยกขา และสังเกตว่าทารกจะไม่เคลื่อนไหวขาข้างที่หัก
อาการและอาการแสดง
อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทารกคลอด เมื่อจับทารกเคลื่อนไหวหรือถูกบริเวณที่กระดูกต้นขาหักทารกจะร้องไห้เพราะรู้สึกเจ็บ
แนวทางการรักษา
ถ้ากระดูกไม่หักแยกจากกัน (incomplete) รักษาโดยการใส่เฝือกขายาว ประมาณ 3 -4 wks ถ้ากระดูกหักแยกจากกัน (complete) รักษาโดยการห้อยขาทั้งสองข้างไว้กับราวที่ขวาง
ปลายเตียง ขาเหยียดตรง ให้ก้นและสะโพกลอยจากพื้นเตียง ดึงขาไว้นาน 2-3 wks
กระดูกไหปลาร้าหัก
สาเหตุ
การคลอดทารกท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก ทารกตัวโตหรือคลอดท่าก้นที่แขนเหยียดซึ่งผู้ทำคลอดดึงแขนออกมา
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าแขนทั้งสองข้างของทารกเคลื่อนไหวไม่เท่ากัน โดยทารกจะยกแขนข้างที่ดีได้เท่านั้น
อาการและอาการแสดง
ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหักน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก อาจพบว่ามีอาการบวมห้อเลือด (ecchymosis) ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็ว มักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1 สัปดาห์ รักษาโดยให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหลปลาร้าหักอยู่นิ่ง ๆ
การพยาบาลทารกที่มีอาการบาดเจ็บของกระดูก
ดูแลไม่ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว
จัดกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้เคลื่อนไหวร่างกายทารกบ่อย ๆ
ดูแลให้ได้รับความสุขสบาย และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่ม
ดูแลให้ทารกได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลความสุขสบายจากการขับถ่าย ป้องกันการระคายเคืองจากอุจจาระและปัสสาวะ
ดูแลให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจแก่ทารก
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
3) การบาดเจ็บของเส้นประสาท
การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า (facial nerve injury)
สาเหตุ
การคลอดยาก การใช้คีมช่วยคลอดทำให้กดเยื่อประสาทสมองคู่ที่ 7 (facial nerveinjury) ที่ไปเลี้ยงใบหน้า
การตรวจร่างกาย
จากการสังเกตสีหน้าของทารกเวลานอน เวลาร้องไห้หรือแสดงสีหน้าท่าทาง
อาการและอาหารแสดง
มีอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า โดยทั่วไปมักเป็นด้านเดียว ทำให้ใบหน้าด้านที่เป็นไม่มีการเคลื่อนไหว ทารกจะลืมตาได้เพียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
แนวทางการรักษา
ถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน ถึงสัปดาห์ แต่ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
การพยาบาล
ดูแลไม่ให้ดวงตาของทารกได้รับอันตราย
2.ดูแลให้ทารกได้รับอาหารเหมาะสมตามความต้องการของทารก
3.ดูแลให้ทารกได้รับการตอบสนองด้านจิตใจ
4.ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
การบาดเจ็บของเส้นประสาท Brachial
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาท Brachial ถูกดึงหรือกด จะพบในทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้นหรือคลอดยากบริเวณแขนหรือไหล่จากการที่ดึงไหล่ออกไปจากศีรษะในระหว่างการคลอด
อาการและอาหารแสดง
เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 5 และ 6 ได้รับอันตรายจะ มีอัมพาตของแขน กล้ามเนื้อแขนข้างที่เป็นจะอ่อนแรงวางแนบลำตัว ศอกเหยียด แขนช่วงล่างหมุนเข้าด้านใน มือคว่ำ
การตรวจร่างกาย
ในรายที่เป็น Erb Duchen Paralysis ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex)พบว่า แขนข้างที่เป็นยกขึ้นไม่ได้หรือยกได้น้อย
แนวทางการรักษา
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว กายภาพบำบัด ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
การพยาบาล
ดูแลให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว โดยจัดแขนให้อยู่ในท่าตามแผนการรักษา ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด และให้มืออยู่ในท่าหงาย
ดูแลให้แขนที่ได้รับอันตรายได้ออกกำลัง
ดูแลความสุขสบายและการผ่อนคลายให้ทารกที่ต้องตรึงแขน
ดูแลตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจจากการที่ทารกถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
ช่วยให้มารดาและบิดามั่นใจในการดูแลทารก
ทารกแรกเกิดติดเชื้อ
โรคซิฟิลิส (Syphilis)
การพยาบาล
ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคซิฟิลิส พยาบาลจะต้องสังเกตภาวะ congenital
syphilis และส่ง cord blood for VDRL ติดตามผลเลือด
แยกทารกออกจากทารกคนอื่น ๆ
-ดูให้ยา Aqueous penicillin G 50,000 ยูนิต/กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๑๒ ชม.
โรคหัดเยอรมัน (Rubella)
การพยาบาล
ทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะตั้งครรภ์ แม้ไม่มีอาการ แสดงใด ๆ ควรได้รับการแยกจากทารกปกติ เพื่อสังเกตอาการและประเมินความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
เก็บเลือดทารกส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายทารกอย่าง
ละเอียด
โรคสุกใส (Chickenpox)
การพยาบาล
ควรได้รับการแยกกันดูแลจนกระทั่งมารดามีการตกสะเก็ดของตุ่มสุกใสจนหมด
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อควรได้รับการแยกจากทารกที่คลอดจากมารดาปกติด้วย
ควรได้รับ varicella-zoster immunoglobulin (VZIG) ทันทีที่คลอด
โรคหนองในแท้ (Gonorrhea)
การพยาบาล
การติดเชื้อหนองในที่ตา นอกจากการป้ายตาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น 0.5%erythromycin หรือ 1% tetracyclin ointment
ต้องเช็ดตาของทารกด้วย NSS หรือล้างตาทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าหนองจะแห้ง
โรคตับอักเสบบี
การพยาบาล
ต้องดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารกออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
สามารถดูดนมมารดาได้ทันทีหลังคลอดโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทารกได้รับวัคซีนก่อน เพราะจากการศึกษาพบว่าการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกไม่แตกต่างกัน
ดูแลให้ทารกแรกเกิดได้รับ Hepatitis B immune globulin (HBIG) เข้ากล้ามเนื้อโดยเร็วที่สุด
แนะนำให้มารดาพาทารกมาตรวจเลือดตามนัดเมื่ออายุ ๙ – ๑๒ เดือน เพื่อตรวจหาHBsAg และ Anti-HBs
โรคเริม (Herpes)
การพยาบาล
ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเริม จะต้องถูกแยกจากทารกคนอื่น ๆ และดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม อย่างน้อย 7-10 วัน
การติดเชื้อเริมจากการคลอดทางช่องคลอด ดูแลให้ได้รับยา Acyclovir ตามแผนการรักษา
โรคเอดส์(AIDS)
การพยาบาล
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV ให้หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะอาหารทารกโดยไม่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผล
การรักษาด้วยยา ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ จะต้องได้รับยา NVP ชนิดน้ำขนาด 6 มิลลิกรัมทันทีหรือภายใน 8 -12 ชั่วโมงหลังคลอดร่วมกับ AZT 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังจากนั้นจะให้ยาAZT ต่อทุก 2 ชั่วโมง
ทารกจะต้องได้รับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV โดยการตรวจ เพื่อหา viral load ด้วยวิธี real time PCR assay
บทบาทการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อ
ประเมินสัญญาณชีพ เพื่อประเมินความรุนแรงของการติดเชื้อ
ดูแลให้ได้รับนมมารดาและน้ำอย่างเพียงพอ
สังเกตอาการผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจ
ดูแลและแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของร่างกายทารก
แยกของใช้ของมารดากับทารกและมีการทำลายเชื้ออย่างเหมาะสม
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
แจ้งอาการและแนวทางการรักษาที่ทารกได้รับแก่มารดาบิดา
ทารกน้ำหนักตัวผิดปกติ
ทารกคลอดก่อนกำหนด
(Preterm baby) และน้ำหนักตัวน้อย (Low birth weight infant)
ความหมาย
ทารกที่เกิดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์เต็มหรือน้อยกว่า 259 วัน และมี
น้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม
ลักษณะของทารกคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักตัวน้อย
รูปร่างรวมทั้งแขนขามีขนาดเล็ก
ศีรษะจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว กะโหลกศีรษะนุ่ม
เปลือกตาบวมและนูนออกมา ตามักปิดตลอดเวลา
ไขเคลือบตัว (vernix caseosa) มีน้อยหรือไม่มีเลย
การพยาบาลทารก
ดูแลควบคุมอุณหภูมิร่างกายโดยการห่อตัวและให้อยู่ใต้ radiant warmer 36.5-37 องศาเซลเซียส
ดูแลทางเดินหายใจ โดยทำทางเดินหายใจให้โล่ง
ดูแลให้ได้รับนมมารดาหรือนมผสมตามแผนการรักษาที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ดูแลและแนะนำมารดาบิดาในการป้องกันการติดเชื้อ
ดูแลให้วิตามินเค 1 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่าย
ทารกครบกำหนดน้ำหนักมากกว่าอายุครรภ์
(Large for gestational age)
ความหมาย
ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า percentile ที่ 90 หรือมากกว่า 4,000 กรัมในทารกคลอดครบกำหนด
สาเหตุ
มักพบในมารดาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่มีระดับสูงจากภาวะเบาหวาน โดยกลูโคสจะผ่านรกมาสู่ทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
การพยาบาล
ดูแลให้ทารกได้รับนมมารดาภายหลังคลอด หรืออาจให้นมผสมในกรณีมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรือน้ำนมมารดายังไม่ไหล
ป้องกันสาเหตุที่ส่งเสริมให้ทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
3.ติดตามผลระดับน้ำตาลในเลือด
เฝ้าระวังสังเกตอาการทางคลินิกของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างใกล้ชิด ถ้าพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
ผลกระทบต่อทารก
ทารกพวกนี้มักจะคลอดยาก น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ภายหลังคลอด ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง (Hyperbilirubinemia) ภาวะเลือดข้น (Polycythemia)
ทารกคลอดเกินกำหนด (Postterm baby)
ความหมาย
ทารกที่เกิดเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์
ลักษณะ
มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ มีการสะสมไขมันใต้ผิวหนังลดลง ผมและเล็บจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ ผิวหนังแห้งแตก เหี่ยวย่น และหลุดลอก มีขี้เทาเคลือบติดตามตัว หน้าตาดูแก่กว่าเด็กทั่วไป
การพยาบาล
ในระยะรอคลอดให้ติดตามผลการตรวจ EFM ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในครรภ์มารด
ในระยะคลอด ดูแลป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากการคลอด เนื่องจากทารกมีขนาดตัวใหญ่อาจเกิดการคลอดติดไหล่ได้
ในระยะหลังคลอด ดูแลดูดสิ่งคัดหลั่งจากปากและจมูก เพื่อป้องกันการสูดสำลักขี้เทาในน้ำคร่ำ
ทารกที่มี APGAR score ปกติให้ดูแลเหมือนทารกแรกเกิดทั่วไป แต่ทารกที่มี APGAR score ต่ำกว่าปกติให้ดูแลให้เหมาะสมตามระดับของภาวะพร่องออกซิเจนแรกคลอด
ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด(Birth asphysia)
ความหมาย
ขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด เกิดจากภาวะที่การแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดหรือรกเสียไปทำให้ออกซิเจนในเลือดต่้า (hypoxemia) คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง (hypercapnia) ำให้อวัยวะต่างๆได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอเป็นเหตุให้เซลล์และอวัยวะต่าง ๆ สูญเสียหน้าที่หรือตาย
จำแนกตาม APGAR score ความรุนแรง
เล็กน้อย (Mild asphyxia) 5-7 คะแนน
ปานกลาง (Moderate asphyxia) 3-4 คะแนน
มาก (Severe asphyxia) 0-2 คะแนน
การพยาบาล
ดูแลให้ความอบอุ่นแก่ทารก ให้ทารกได้พักมากที่สุด เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
สังเกตอาการของการขาดออกซิเจน
เตรียมเครื่องมือช่วยทารกกรณีมีอาการชักเกร็งจากสมองถูกทำลาย
ถ้ามีอาการของการขาดออกซิเจนมากขึ้น ต้องเตรียมเครื่องช่วยหายใจ
. สังเกตและบันทึกระดับการรู้สติของทารก
ให้ยาตามแผนการรักษาพร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา.
อาการและอาการแสดง
อาการขณะตั้งครรภ์ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ และต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจในระยะแรกจะเร็วมากกว่า 160 ครั้งต่อนาที
ขณะคลอดพบขี้เทาในน้ำคร่ำ
ระยะแรกคลอด แรกคลอดทันทีทารกมีApgar score ต่ำกว่า 8 ในนาทีที่ 1
การกู้ชีพทารกแรกเกิด
A = (Airway)ให้ความอบอุ่น เช็ดตัวให้แห้งกระตุ้นทารกทารกหายใจ จัดท่าและดูดเสมหะ
B = ( Breathing) ช่วยการหายใจด้วยแรงดันบวก positive pressure ventilation (PPV)
C = (circulation) ทำการนวดทรวงอกเพื่อช่วยการไหลเวียนโลหิตพร้อมกับช่วยหายใจแรงดันบวก (PPV) หลังจาก 30 วินาที
D = (drug) ให้ยา epinephrine ขณะที่ช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก กดนวดทรวงอกไปด้วยถ้าอัตราการเต้นของหัวใจยังน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาทีจะต้องทำขั้นตอน C และ D ซ้ำ
ภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอด (Meconium aspiration syndrome)
ความหมาย
ภาวะหายใจลำบากที่เกิดจากการที่ทารกสูดสำลักขี้เทาซึ่งปนในน้ำคร่ำเข้าทางเดินหายใจ ปอด มีความสัมพันธ์กับการขาดออกซิเจนของทารกขณะอยู่ในมดลูก หรือขณะคลอด
สาเหตุ
เมื่อทารกได้รับออกซิเจนระหว่างที่อยู่ในครรภ์ไม่พอ จะทำให้ทารกถ่ายขี้เทาออกมา ซึ่งการถ่ายขี้เทา ออกมาเป็นเพราะว่ากล้ามเนื้อหูรูดที่ทวารหนักมีการคลายออก ร่วมกับมีการหายใจเข้าและการหายใจเข้า ระหว่างที่อยู่ในครรภ์ (ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำคร่ำ) จะทำให้ทารกหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าสู่ปอด แล้วอุดกั้นทางเดินหายใจ
ปัญหาจากการสูดสาลักขี้เทา
ขี้เทาเข้าไปอุดในท่อทางเดินหายใจและถุงลม ทำให้ทารกขาดออกซิเจนและอาจมีถุงลมฉีกขาดเกิด
ขี้เทาทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุในปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ (chemical inflammation)
ขี้เทายับยั้งการทำงานของสารลดแรงตึงผิว ทำให้ปอดแฟบ (Atelectasis)
การพยาบาล
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดูดเสมหะด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ ดูดเสมหะเท่าที่จำเป็น
2.ให้จัดท่านอนทารกให้ปอดขยายตัวได้มากที่สุดโดย
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
4.สังเกต ประเมิน ติดตามอาการแสดงของการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่ดี ได้แก่ หายใจเร็ว อกบุ๋ฒ ปีกจมูกบาน
ประเมินค่าออกซิเจนในเลือดอย่างต่อเนื่อง
ประเมิน ติดตามและบันทึกอัตราการหายใจ
ดูแลให้มีอุณหภูมิกายปกติ
ลดการรบกวนทารกโดยไม่จำเป็น
ทารกที่เกิดจากมารดาติดสารเสพติด
สารเสพติดที่มีการใช้มากที่สุดระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ เหล้า บุหรี่ ยาบ้า โคเคน เฮโรอีน และสารแอม
เฟตามีน
ผลกระทบของสารเสพติดต่อทารก
ทารกเจริญเติบโตช้า
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ หรือติดเชื้อตั้งแต่ก้าเนิด (congenital infection)
ทารกพิการแต่ก้าเนิด (congenital anomaly)
น้าหนักแรกคลอดต่้า (low birth weight)
ทารกแรกคลอดมีอาการของการขาดยา (neonatal abstinence syndrome, NAS)
โอกาสเกิด sudden infant death syndrome (SIDS) สูง
แอมเฟตามีนและอนุพันธ์
จะส่งผลให้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะสมองตายทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิความจำ และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาว
สุรา
Fetal Alcohol Syndrome (FAS) มีรายงานว่าจะพบในมารดาที่ดื่มสุรา 6 แก้วต่อวันใน ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หรือ 3 ออนซ์ต่อวันตลอดการตั้งครรภ์ โดยมีอาการดังนี้ การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ น้ำหนักตัวน้อย การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานไม่ดี การกลืนไม่ดี ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ ศีรษะเล็ก เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
เฮโรอีน
เมื่อทารกได้รับสารเสพติดติดต่อกันตลอดระยะของการตั้งครรภ์ ก็จะเกิดการติดสารเสพติดขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อน fetal distress , preterm , PPROM, พิการแต่ก้าเนิดIUGR ฯลฯ ทารกแรกเกิดอาจมีอาการที่แสดงถึงการขาดสารเสพติดหรือที่เรียกว่า อาการถอนยา neonatal abstinence syndrome, (NAS) ร้องเสียงแหลมร้องกวนมากกล้ามเนื้อเกร็ง เหงื่อออกตัวเย็น ไวต่อการกระตุ้น แขนขาสั่นทั้งตัว ชัก เสียชีวิต
บุหรี่
เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนเรื้อรัง จากหลอดเลือดหดรัดตัวร่วมกับมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากขึ้น การเจริญเติบโตช้า มีน้ำหนักน้อย ีสติปัญญาต่ำ คลอดก่อนกำหนด และเกิดภาวะหายใจลำบาก
การพยาบาล
ให้ทารกได้พักให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนการ
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา คือ Phenobarbital หรือ Diazepam ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการชัก
การดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำ สารอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา บันทึกสารน้ำเข้าออก
งดนมมารดา เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถขับออกมาทางน้ำนมได้
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพสม่ำเสมอ สังเกตภาวะหายใจลำบาก