Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันปัญาหาสุขภาพมารดาหลังคลอด - Coggle Diagram
การป้องกันปัญาหาสุขภาพมารดาหลังคลอด
วัตถุประสงค์
เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจของมารดาในระยะหลังคลอด
เพื่อส่งเสริมการทำหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของร่างกายให้กลับสู่สภาพเดิมและป้องกันภาวะแทรก ซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ช่วยลดความไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นในระยะหลังคลอด
เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองและทารกให้มีประสิทธิภาพ
ช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจ
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดา – บิดาและทารก และสัมพันธภาพในครอบครัว
การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
1.1 การดูแลให้มดลูกหดรัดตัวดี
ดูแลและแนะนำการคลึงมดลูกเบา ๆ บริเวณยอดมดลูก เพื่อให้ก้อนเลือดและลิ่มเลือดออกทางช่องคลอด เป็นการลดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
สังเกตตำแหน่งของยอดมดลูกและวัดระดับความสูงของยอดมดลูก เพื่อดูการทำงานของยอดมดลูก จะลดระดับลงวันละ 1 นิ้วฟุตทุกวัน จนกระทั่ง 10-12 วันจะคลำมดลูกไม่ได้ทางหน้าท้อง
กระตุ้นให้บุตรดูดนมมารดา เพราะการดูดนมมารดาเป็นการกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลังให้หลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน กระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น
แนะนำและดูแลให้ปัสสาวะ ทุก 3 – 4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะเต็มเป็นการลดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
จัดท่านอนศีรษะสูง หรือนอนคว่ำใช้หมอนรองใต้ท้องน้อย เพื่อช่วยให้น้ำคาวปลาไหลออกสะดวก ลดการคั่งค้างของน้ำคาวปลาและเลือด
สังเกตและตรวจลักษณะปริมาณ สี กลิ่นของน้ำคาวปลา ซึ่งสามารถบอกประสิทธิภาพการทำงานของมดลูก ใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
1.2 การดูแลแผลฝีเย็บ และผนังช่องคลอด
ประเมินสภาพแผลฝีเย็บและแผลที่ผนังช่องคลอดอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ อาการบวม รอบฝีเย็บมีสีคล้ำขึ้นและค่อย ๆ ซีดลง
ดูแลชำระฝีเย็บด้วยความนุ่มนวล เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อที่ฝีเย็บและผนังช่องคลอดบอบซ้ำหรืออาการเลือดออกเพิ่มขึ้น
แนะนำให้มารดาขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดวันละ 50-100 ครั้ง เพื่อให้การไหลเวียนดี ช่วยให้แผลฝีเย็บหายเร็วขึ้น
แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทโปรตีน ผัก และผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงเพื่อส่งเสริมการหายของแผลฝีเย็บ
1.3 การประเมินสัญญาณชีพ
การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพเป็นข้อบ่งชี้ของภาวะแทรกซ้อน เช่น การตกเลือด หรือการติดเชื้อโดยในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดควรวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นถ้าอาการและสัญญาณชีพของมารดาหลังคลอดปกติคงที่อาจวัดทุก 12 ชั่วโมงก็ได้ โดยหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมงอุณหภูมิอาจเพิ่มขึ้นถึง 38 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกินนี้และควรจะกลับมาอยู่ในระดับปกติภายใน 24 ชั่วโมง
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดภายหลังคลอด
2.2 การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวดแผลฝีเย็บ
เปิดโอกาสให้มารดาระบายความรู้สึกเจ็บปวดฝีเย็บและผนังช่องคลอด เพื่อบรรเทาความรู้สึกตึงเครียดภายในลง
จัดให้มารดาพักผ่อนท่านอนตะแคงด้านตรงข้ามที่มีแผลฝีเย็บ หรือนอนคว่ำในสถานที่มีอากาศถ่ายเทดี หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ เพื่อลดการคั่งของน้ำเหลืองที่ฝีเย็บและผนังช่องคลอดความเจ็บปวดฝีเย็บและผนังช่องคลอดจะทุเลาลง
หลีกเลี่ยงการเสียดสีฝีเย็บ การกดทับแผลฝีเย็บและเนื้อเยื่อข้างเคียง ทำความสะอาดแผลฝีเย็บด้วยความนุ่มนวล หากจำเป็นต้องนั่ง จัดให้นั่งบนเบาะนุ่มแทนการใช้ห่วงยาง เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี แผลฝีเย็บและผนังช่องคลอดหายเร็วขึ้น อาการปวดฝีเย็บจะลดลง
ชำระฝีเย็บ เพื่อลดการหมักหมม ความเจ็บปวดฝีเย็บจะทุเลาลง
ประคบฝีเย็บด้วยความเย็น ประคบฝีเย็บด้วยกระเป๋าน้ำเย็นเป็นเวลา 15 นาทีใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการคลอดหรือแช่ก้นด้วยน้ำเย็น 30 – 60 นาที แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการบวม ทำให้ความเจ็บปวดฝีเย็บลดลง
ดูแลให้มารดาอาบน้ำอุ่น เพื่อช่วยให้การไหลเวียนดี อาการเจ็บปวดฝีเย็บและผนังช่องคลอดจะทุเลาลง
แนะนำให้มารดาขมิบก้น และฝีเย็บ วันละ 50-100 ครั้งเพื่อให้การไหลเวียนดี อาการปวดฝีเย็บจะลดลง
สอนเทคนิคการผ่อนคลายโดยการหายใจเป็นจังหวะเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเบี่ยงเบนความสนใจจากการเจ็บปวด
ดูแลพ่นยาชา ทาครีม หรือใส่เจลที่ฝีเย็บและผนังช่องคลอดหลังการชำระฝีเย็บ เพื่อให้การส่งกระแสความเจ็บปวดช้าลง อาการปวดแผลฝีเย็บจะลดลง
ให้รับประทาน ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาบรรเทาความเจ็บปวดฝีเย็บ
ถ้าพบก้อนเลือดใต้บาดแผลที่ฝีเย็บมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ ร่วมกับอาการปวดฝีเย็บรายงานแพทย์เพื่อรักษาในขั้นต่อไป ซึ่งอาจจะต้องผ่าตัด ควักก้อนเลือดใต้ผิวหนังออก เพื่อลดแรงดันภายในลง ความเจ็บปวดฝีเย็บจะทุเลา
2.1 การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวดมดลูก
จัดให้มารดานอนพักบนเตียงด้วยศีรษะสูง 30 – 40 องศา หรือนอนคว่ำโดยใช้หมอนประคองท้องน้อยประมาณ 5 นาที หรือนอนตะแคงงอตัวไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อท้องน้อย
แนะนำวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อกระบังลม และกล้ามเนื้อของระบบทางเดินหายใจด้วยการหายใจเข้าลึก ๆ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ ในขณะนอนราบ จนท้องโป่ง พร้อมกับนับ1,2 ในใจ ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆจนท้องแฟบ พร้อมกับนับ 1,2,3,4 ในใจ ในอัตราการหายใจ 9-12 ครั้ง/นาที เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องผ่อนคลาย
วางกระเป๋าน้ำเย็นบนท้องน้อยประมาณ 10 นาที ความเย็นจะทำให้ระดับกั้น (threshold) ของปลายประสาทรับความเจ็บปวดสูงขึ้น เป็นการลดความเร็วของการนำปลายประสาท
ประคบด้วยความร้อนแห้ง หรือวางกระเป๋าน้ำร้อนเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องผ่อนคลาย ทำให้อาการปวดลดลง แต่ไม่ควรให้ก่อน 8-12 ชั่วโมงเนื่องจากอาจจะทำให้ตกเลือดหลังคลอดได้
ประคองกล้ามเนื้อท้องน้อยด้วยหมอนหรือมือหรือผ้ารัดหน้าท้อง เพื่อให้มารดารู้สึกอบอุ่น มีวัสดุช่วยพยุงกล้ามเนื้อท้อง เป็นการลดความถ่วงและการดึงรั้งของกล้ามเนื้อท้องและมดลูกทำให้ความเจ็บปวดมดลูกลดลง
เปิดโอกาสให้มารดาระบายความรู้สึกเจ็บปวด ในบรรยากาศที่อบอุ่นและยอมรับ เพื่อบรรเทาความตึงเครียดภายในลง
ชี้แจงมารดาให้เข้าใจสาเหตุของมดลูกหดรัดตัวแรงหลังคลอดบุตร 24 ชั่วโมง และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระที่เกิดตามธรรมชาติในมารดาหลังคลอดปกติ และการชี้แจงว่าอาการปวดมักจะทุเลาลงตามลำดับคือ ไม่เกินวันที่ 3 หลังการคลอด ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลและสร้างความรู้สึกมั่นใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
คลึงมดลูกด้วยความนุ่มนวล เพื่อไล่ก้อนเลือดในโพรงมดลูก และจัดการให้กระเพาะปัสสาวะว่าง เพื่อลดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก น้ำคาวปลาไหลออกสะดวก อาการปวดมดลูก
จัดสภาพแวดล้อมให้ผ่อนคลาย เช่น ปิดไฟ จัดให้มีพัดลม หรือติดตั้งเครื่องปรับอากาศบนหอผู้ป่วยหลังคลอด เพื่อลดความตึงเครียดภายนอกลดลง
ถ้าปวดมดลูกมาก ให้ยา Paracetamol (500 มิลลิกรัม) จำนวน 2 เม็ด รับประทานทางปาก ก่อนการให้นมบุตรอย่างน้อย 30 นาที เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดมดลูกตามแผนการรักษาทุก 4 – 6 ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงการใช้ยาก่อนให้นมมารดา 30 นาที เป็นการป้องกันยาผ่านทางน้ำนม
แนะนำวิธีเบี่ยงเบนความสนใจความเจ็บปวด ด้วยการแสดงบทบาทมารดา เช่น การสัมผัสบุตรอย่างใกล้ชิด และการสร้างจินตนาการต่อบุตรทางบวก เพื่อให้จิตใจผ่อนคลาย
การดูแลเต้านม
3.1 การบรรเทาอาการคัดตึงเต้านม
อธิบายให้มารดาเข้าใจว่าเป็นอาการปกติจะหายไปภายใน 24-48 ชั่วโมง แนะนำให้บุตรดูดนมสลับกันทั้งสองข้าง
ประคบเต้านมด้วยความร้อนสลับกับความเย็นหรือวางกระเป๋าน้ำแข็งประมาณ 20 นาที เพื่อลดอาการปวด
สวมเสื้อยกทรงที่เหมาะสมกับขนาดเต้านมพยุงไว้
ถ้าปวดมากดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
3.2 การบรรเทาอาการหัวนมแตก
ดูแลรักษาความสะอาดของเต้านม
ใช้น้ำนมทาบริเวณหัวนมรอบๆแล้วปล่อยให้แห้งจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
งดให้บุตรดูดนมข้างที่แตก หากหัวนมแตกทั้งสองข้างให้บุตรดูดนมข้างที่เจ็บน้อยก่อน เพื่อป้องกันหัวนมแตกมากขึ้น
ถ้าในกรณีที่หัวนมแตกรุนแรงจำเป็นต้องใช้หัวนมปลอมครอบเพื่อลดอาการเจ็บปวดและหัวนมแตกมากขึ้น
ถ้ามีอาการปวดบริเวณที่แตกหลังให้นมบุตร พิจารณาให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
การดูแลแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา
แนะนำให้รักษาความสะอาดบริเวณแผลฝีเย็บ และอวัยวะสืบพันธุ์ โดยหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลา และเลือดที่ออกจากช่องคลอดภายใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ไม่ควรออกชุ่มผ้าอนามัยเกิน 2 ผืน
สอนให้มารดาระยะหลังคลอดขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอด (pubococcygeal muscle) ให้ขมิบวันละ 50 – 100 ครั้ง จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น การขมิบช่องคลอด ให้ขมิบค้างไว้ 5 วินาทีแล้วจึงคลาย
แนะนำให้มารดาระยะหลังคลอดรับประทานอาหารประเภทโปรตีน ผัก และผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก ๆ อาหารเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมการหายของแผลฝีเย็บ