Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
บทที่ 1 การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
[3] วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและการแสวงหาการรักษาของประชาชนในภูมิภาคต่างๆของโลก
{3.2} ประเภทของวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
2) วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะเจ็บป่วย
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การดูแลการพักฟื้นของผู้ป่วยจากคนในครอบครัว การงดบริโภคอาหารแสลง การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค ได้แก่ ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน แบบพื้นบ้าน และแบบวิชาชีพ
1) วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะปกติ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เช่น การกินอาหารประเภทน้ำพริกผักจิ้มและอาหารจากธรรมชาติ การออกกำลังกาย การเข้าวัด ถือศีล ทำสมาธิ ทำบุญตักบาตร งดบริโภคสุราและสิ่งเสพติด
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารปรุงสุก การคว่ำกะลาหรือใส่ทรายอะเบทเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยุงลาย การรับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรค
{3.1} แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือพิการ
ฟื้นฟูสุขภาพให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ดูแลรักษาสุขภาพเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยเป็นโรค
{3.1} ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ใช้หลัก ASKED
A = Awareness กระบวนการรู้คิดของบุคลากรสุขภาพที่เล็งเห็นถึงความสําคัญของการให้คุณค่า ความเชื่อ วิถีชีวิต พฤติกรรม และวิธีการแก้ปัญหาของผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม
S = Skill ความสามารถของบุคลากรสุขภาพในการเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและปัญหาของผู้รับบริการ การมีความไวทางวัฒนธรรม (cultural sensitivity) รวมถึง การเรียนรู้วิธีประเมินความต่างทางวัฒนธรรม (cultural assessment) และการประเมินสุขภาพ
K = Knowledge การแสวงหาความรู้พื้นฐานที่ เกี่ยวข้องกับโลกทัศน์ (world view) ของบุคคลที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถเข้าใจโลก
E = Encounter การที่ บุคลากรสุขภาพมีความสามารถในการจัดบริการที่เหมาะสมสําหรับผู้รับบริการที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน
D = Desire • ความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม (cultural desire) ของบุคลากรทางสุขภาพ ที่ทําให้ ต้องการเข้าไปสู่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม
{3.4} ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์ เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแฝด
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ เช่น การให้ทารกกินนมแม่นานถึง 2 ปี หรือการห้ามหญิงหลังคลอดบริโภคน้ำดิบ
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่แน่ว่าให้คุณหรือโทษ เช่น สังคมแอฟริกันบางสังคมให้เด็กกินดินหรือโคลน
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นสาเหตุโรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง
{3.5} ระบบการดูแลสุขภาพตามวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพ
ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพ (Professional health sector) เป็นส่วนของการปฏิบัติการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ มีการจัดองค์กรที่เป็นทางการ
ระบบการดูแลสุขภาพภาคพื้นบ้าน (Folk sector of care) หรือการดูแลแบบทางเลือก เป็นการปฏิบัติการรักษาที่มิใช่รูปแบบของวิชาชีพ ไม่มีการจัดองค์กร ใช้อำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ไสยศาสตร์และประเภทที่ไม่ใช่อำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น สมุนไพร
ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน (Popular health sector) เป็นส่วนของการดูแลสุขภาพภาคประชาชนซึ่งถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมาตามวัฒนธรรม ความเชื่อที่เกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย
[1] ความหมายของวัฒนธรรม (Culture)
{1.1} องค์ประกอบของวัฒนธรรม
องค์การหรือสมาคม (Organization หรือ Association)
หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบเป็นองค์การหรือสมาคม
มีโครงสร้างซึ่งสามารถมองเห็นได้
องค์พิธีหรือพิธีการ (Usage หรือ Ceremony)
หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของพิธีหรือพิธีการต่างๆ
ที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต
องค์วัตถุ (Material) หมายถึง วัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มี
รูปร่างสามารถจับต้องได้
องค์มติหรือมโนทัศน์ (Concepts) หมายถึงวัฒนธรรมในด้านความคิด ความเชื่อ
และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคำสอนทางศาสนา
{1.2} ความสำคัญของวัฒนธรรม
การศึกษาวัฒนธรรมจะทำให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่
ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
ทำให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดำรงชีวิต
ทำให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม
ทำให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
ทำให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
{1.3} ลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของวัฒนธรรม
(นักมนุษยวิทยา)
วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ (Symbol)
วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (Shared ideas) และค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกำหนดมาตรฐานพฤติกรรม
วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์นิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่างๆ
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (Culture is learned)
วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญา
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
{1.4} ทางสังคมวิทยาได้จำแนกวัฒนธรรม
วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์
วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม
[2] คุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อหลักการในการดำเนินชีวิต
{2.1} ประเภทของความเชื่อ
2) ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคล
3) ความเชื่อแบบประเพณี
1) ความเชื่อในสิ่งปรากฏอยู่จริง
4) ความเชื่อแบบเป็นทางการ
{2.2} ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ
1) ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ การรับรู้ และการเรียนรู้
2) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การขัดเกลาทางสังคม การควบคุมทางสังคม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
3) ปัจจัยทางด้านบุคคล ได้แก่ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ
{2.3} ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีการดูแลสุขภาพ
2.3.2)) ความเชื่อแบบพื้นบ้านและวิธีการดูแลสุขภาพ
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารแสลงโรค
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการขาดสมดุลธาตุ
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อโรค
วิธีการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน ใช้การทำพิธีตั้งขันข้าวหรือการตั้งคายซึ่งเป็นการไหว้ครูเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการรักษา
2.3.3)) ความเชื่อแบบการแพทย์แผนตะวันตกและวิธีการดูแลสุขภาพ
ความเจ็บป่วยเกิดจากพฤติกรรม
ความเจ็บป่วยเกิดจากสิ่งแวดล้อมหรืออุบัติเหตุ
การเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรค ความเจ็บป่วยเกิดจากพันธุกรรม
ความเจ็บป่วยเกิดจากจิตใจ
วิธีการดูแลสุขภาพแบบแพทย์ตะวันตก ใช้วิธีการวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วย ส่วนผู้ให้การดูแลรักษาในการแพทย์ตะวันตก จะประกอบไปด้วย ผู้ให้การรักษา คือ แพทย์หรือหมอที่ได้ผ่านการเรียนทางด้านแพทย์ศาสตร์มาโดยเฉพาะ
2.3.1)) ความเชื่อแบบอำนาจเหนือธรรมชาติและวิธีการดูแลสุขภาพ
ความเจ็บป่วยเกิดจากเวทมนต์และคุณไสย
ความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของผี
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการละเมิดขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเคราะห์หรือโชคชะตา
วิธีการดูแลสุขภาพแบบเหนือธรรมชาติ = ใช้การประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก ครอบในการรักษา โดย กลุ่มหมอดู กลุ่มหมอสะเดาะเคราะห์ กลุ่มหมอธรรม และกลุ่มหมอตำรา
2.3.4)) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านสถานการณ์ชีวิต
1)) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ คนโบราณเชื่อว่าการตั้งครรภ์เป็นผลจากความสัมพันธ์ของมนุษย์กับดวงดาวในระบบจักรวาล
ความเชื่อเกี่ยวกับการคลอดบุตร ได้แก่ เรื่องความเป็นสิริมงคล ท่าทางในการคลอด
การดูแลสุขภาพในระยะหลังคลอด ได้แก่ การอยู่ไฟ การนาบหม้อหรือการทับหม้อเกลือ การประคบสมุนไพร การนวดหลังคลอด การเข้ากระโจมหรือการอบสมุนไพร การอาบสมุนไพร
การงดบริโภคอาหารแสลง การบำรุงร่างกาย
2)) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบแพทย์ตะวันตก
การดูแลสุขภาพแบบการแพทย์ตะวันตก มีหลักการดูแลคล้ายคลึงการแบบพื้นบ้าน
คือ มีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด โดยมีวัตถุประสงค์ให้มารดาและทารกสมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งผ่านทุกระยะของกระบวนการให้กำเนิดได้อย่างปลอดภัย
ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ตัวอ่อนหรือทารกได้ก่อกำเนิดขึ้นภายในมดลูก
2.3.5)) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความชรา
2)) ความเชื่อเกี่ยวกับความชราและการดูแลสุขภาพ
แบบการแพทย์แผนตะวันตก
การดูแลสุขภาพวัยชราแบบการแพทย์แผนตะวันตก ได้แก่ การดูแลด้านโภชนาการ การดูแลด้านฮอร์โมน การดูแลด้านการออกกำลังกาย การดูแลด้านการพักผ่อนนอนหลับ การดูแลด้านอุบัติเหตุ การดูแลด้านจิตใจ
ความเชื่อเกี่ยวกับความชรา กำหนดอายุตั้งแต่ 60 หรือ 65ปีขึ้นไป เป็นเกณฑ์เข้าสู่วัยชรา
1)) ความเชื่อเกี่ยวกับความชราและการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน
ภาวะหมดประจำเดือนในเพศหญิง
การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย
ความแปรปรวนของธาตุลม
การดูแลสุขภาพวัยชราแบบพื้นบ้าน ได้แก่ การใช้สมุนไพร เช่น สมุนไพรตำรับ
(ยาดอง ยาบำรุง) สมุนไพรเดี่ยว (โสม บัวหลวง กวาวเครือขาว ขี้เหล็ก) การดูแลอาหาร การดูแลด้านสุขภาพทางเพศ การดูแลสุขภาพโดยพึ่งพิงศาสนา
2.3.6)) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตาย
1)) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน
การดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน จะมุ่งเน้นการตอบสนองทางด้านจิตวิญญาณของผู้ตายและเครือญาติ
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณ กฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิดและชาติภพ
2)) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบแพทย์แผนตะวันตก
การดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการตายแบบแพทย์แผนตะวันตก มุ่งเน้นให้ระบบและอวัยวะต่าง ๆ สามารถทำงานต่อไปได้และยืดชีวิตผู้ป่วยให้ยาวนานมากที่สุด
จะพิจารณาจากการหยุดทำงานของหัวใจและการทำงานของแกนสมอง
{2.4} ค่านิยมทางสังคม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดค่านิยมทางสังคม
โรงเรียน คือ
สถาบันศาสนา
สังคมวัยรุ่นและกลุ่มเพื่อน
องค์การของรัฐบาล
สื่อมวลชน
ครอบครัว