Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน - Coggle Diagram
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
การบาดเจ็บจากการคลอดของทารกที่พบได้บ่อย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก (Skull injuries)
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ
เกิดจากการคั่งของ
ของเหลวในระหว่างชั้นของหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ ก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ (suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตไม่แน่นอน
บทบาทการพยาบาล
สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นเพื่อคลายความวิตกกังวล
บันทึกอาการและการพยาบาล
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
เป็นการคั่งของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตชัดเจน
บทบาทการพยาบาล
สังเกต ลักษณะ ขนาด และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมอง
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด
สังเกตอาการซีด การเจาะหาค่า Hct และดูแลให้เลือดตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลเกี่ยวกับการหาค่า microbilirubin ถ้ามีภาวะตัวเหลือง
อธิบายมารดาและบิดาให้เข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นของทารกเพื่อลดความวิตกกังวล
ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
บทบาทการพยาบาล
ดูแลให้ทารกหายใจสะดวกและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
จัดให้นอนราบ ศีรษะตะแคงไปด้านใดหน้าหนึ่ง
ดูดสิ่งคัดหลั่งจากปากและจมูกให้หมด
กรณีที่ให้ออกซิเจน ควรสำรวจปริมาณออกซิเจนที่ทารกได้รับความไม่ควรเกิน 40% หรือตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำที่เพียงพอ
ให้ทารกอยู่ในตู้อบ (incubator)
เตรียมเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือทารกไว้ให้พร้อม
ตรวจสอบสัญญาณชีพ และบันทึกไว้ทุก 2- 4 ชั่วโมง
ดูแลฉีดวิตามินเค จำนวน 1 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันเลือดที่จะออกเพิ่ม
ประคับประคองจิตใจมารดาและบิดาเพื่อลดความวิตกกังวล
การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
กระดูกต้นแขนหัก กระดูกต้นแขนที่หักนั้นส่วนใหญ่จะหักที่ลำกระดูก
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าทารกจะไม่งอแขน เมื่อจับแขนขยับทารกจะร้องไห้เนื่องจากรู้สึกเจ็บ
กระดูกต้นขาหัก
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าทารกไม่ยกขา และสังเกตว่าทารกจะไม่เคลื่อนไหวขาข้างที่หัก
กระดูกไหปลาร้าหัก กระดูกไหปลาร้าหัก มักพบตรงกลางของลำกระดูก
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าแขนทั้งสองข้างของทารก เคลื่อนไหวไม่เท่ากัน
บทบาทการพยาบาลทารกที่มีอาการบาดเจ็บของกระดูก
ดูแลไม่ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว
จัดกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้เคลื่อนไหวร่างกายทารกบ่อย ๆ
ดูแลให้ได้รับความสุขสบาย และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่ม
ดูแลให้ทารกได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลความสุขสบายจากการขับถ่าย ป้องกันการระคายเคืองจากอุจจาระและปัสสาวะ
ดูแลให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจแก่ทารก
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
การบาดเจ็บของเส้นประสาท
การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า (facial nerve injury)
มีอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า โดยทั่วไปมักเป็นด้าน
เดียว ทำให้ใบหน้าด้านที่เป็นไม่มีการเคลื่อนไหว ทารกจะลืมตาได้เพียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
การพยาบาล
ดูแลไม่ให้ดวงตาของทารกได้รับอันตราย โดย ล้างตาทารกให้สะอาดเนื่องจากเปลือกตาปิดไม่สนิท หยอดตาทารกด้วยน้ำตาเทียมตามแผนการรักษา
ดูแลให้ทารกได้รับอาหารเหมาะสมตามความต้องการของทารก
ดูแลให้ทารกได้รับการตอบสนองด้านจิตใจ
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
การบาดเจ็บของเส้นประสาท Brachial
เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 5 และ 6 ได้รับอันตรายจะมีอัมพาตของแขน กล้ามเนื้อแขนข้างที่เป็นจะอ่อนแรง วางแนบลำตัว ศอกเหยียด แขนช่วงล่างหมุนเข้าด้านใน มือคว่ำ ทารกไม่สามารถวางแขนเหยียดออกจากไหล
แนวทางการรักษา
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
ทารกน้ำหนักตัวผิดปกติ ความผิดปกติเกี่ยวกับอายุครรภ์ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
ทารกคลอดก่อนกำหนด (Preterm baby) และน้ำหนักตัวน้อย (Low birth weight infant)
บทบาทการพยาบาลทารกแรกเกิดคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อย
ดูแลควบคุมอุณหภูมิร่างกายโดยการห่อตัวและให้อยู่ใต้ radiant warmer
ดูแลทางเดินหายใจ โดยทำทางเดินหายใจให้โล่ง จัดให้นอนตะแคงหน้า
ดูแลให้ได้รับนมมารดาหรือนมผสมตามแผนการรักษาที่เพียงพอ
ดูแลและแนะนำมารดาบิดาในการป้องกันการติดเชื้อ
ดูแลให้วิตามินเค 1 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่าย
ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่าอายุครรภ์ (Large for gestational age)
เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากไม่ได้รับน้ำตาลจากมารดาภายหลังคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ทารกได้รับนมมารดาภายหลังคลอด หรืออาจให้นมผสม
ป้องกันสาเหตุที่ส่งเสริมให้ทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ติดตามผลระดับน้ำตาลในเลือด
เฝ้าระวังสังเกตอาการทางคลินิกของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างใกล้ชิด ถ้าพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
ทารกคลอดเกินกำหนด (Postterm baby)
บทบาทการพยาบาลทารกแรกเกิดที่คลอดเกินกำหนด
ในระยะรอคลอดให้ติดตามผลการตรวจ EFM ทุก 1-2 ชั่วโมงและติดตามผลการประเมินปริมาณน้ำคร่ำ
ในระยะคลอด ดูแลป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากการคลอด เนื่องจากทารกมีขนาดตัวใหญ่อาจเกิดการคลอดติดไหล่ได้
ในระยะหลังคลอด ดูแลดูดสิ่งคัดหลั่งจากปากและจมูก เพื่อป้องกันการสูดสำลักขี้เทาในน้ำคร่ำ
ทารกที่มี APGAR score ปกติให้ดูแลเหมือนทารกแรกเกิดทั่วไปแต่ทารกที่มี APGAR score ต่ำกว่าปกติให้ดูแลให้เหมาะสมตามระดับของภาวะพร่องออกซิเจนแรกคลอด
ทารกแรกเกิดติดเชื้อ
โรคหัดเยอรมัน (Rubella)
แนวทางการรักษา
ทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะตั้งครรภ์ แม้ไม่มีอาการแสดงใด ๆ ควรได้รับการแยกจากทารกปกติ เพื่อสังเกตอาการและประเมินความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
เก็บเลือดทารกส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายทารกอย่างละเอียด
โรคสุกใส (Chickenpox)
แนวทางการรักษา
มารดาและทารกควรได้รับการแยกกันดูแลจนกระทั่งมารดามีการตกสะเก็ดของตุ่มสุกใสจนหมด
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อสุกใสภายใน 5 วันก่อนคลอดหรือ 2 วันหลังคลอด ควรได้รับ varicella-zoster immunoglobulin (VZIG) ทันทีที่คลอด
โรคหนองในแท้ (Gonorrhea)
แนวทางการรักษา
การติดเชื้อหนองในที่ตา นอกจากการป้ายตาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น 0.5%
erythromycin
ต้องเช็ดตาของทารกด้วย NSS หรือล้างตาทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าหนองจะแห้ง
โรคเริม (Herpes)
แนวทางการรักษา
ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเริม จะต้องถูกแยกจากทารกคนอื่น ๆ และดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม อย่างน้อย 7-10 วัน
การติดเชื้อเริมจากการคลอดทางช่องคลอด ดูแลให้ได้รับยา Acyclovir ตามแผนการรักษา
โรคเอดส์(AIDS)
แนวทางการรักษา
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV ให้หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผล
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ จะต้องได้รับยา NVP ชนิดน้ำขนาด
6 มิลลิกรัมทันทีหรือภายใน 8 -12 ชั่วโมงหลังคลอดร่วมกับ AZT 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังจากนั้นจะให้ยา AZT ต่อทุก 2 ชั่วโมง
ทารกจะต้องได้รับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV โดยการตรวจ เพื่อหา viral load ด้วยวิธี real time PCR assay
เมื่อทารกครบ 12 เดือน ควรตรวจหาภูมิต้านทานชนิด IgG และ IgM
โรคตับอักเสบบี
แนวทางการรักษา
ทารกแรกคลอดต้องดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารกออกมาให้มากที่สุด
ทารกสามารถดูดนมมารดาได้ทันทีหลังคลอดโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทารกได้รับวัคซีน
ดูแลให้ทารกแรกเกิดได้รับ Hepatitis B immune globulin (HBIG) เข้ากล้ามเนื้อโดยเร็วที่สุด
แนะนำให้มารดาพาทารกมาตรวจเลือดตามนัดเมื่ออายุ ๙ – ๑๒ เดือน เพื่อตรวจหา HBsAg และ Anti-HBs
ทารกแรกเกิดจากมารดาติดสารเสพติด
สุรา
มีอาการแสดงของการขาดแอลกอฮอล์และภาวะแทรกซ้อนหลังเกิด
ให้ทารกได้พักให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน
การดูแลให้ยาตามแผนการรักษา คือ Phenobarbital หรือ Diazepam
การดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำ สารอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
งดนมมารดา เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถขับออกมาทางน้ำนมได้
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพสม่ำเสมอ สังเกตภาวะหายใจลำบาก
บุหรี่
เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะคลอดก่อนกำหนด
มีโอกาสเกิดการเจริญเติบโตล่าช้ากว่าปกติจากการที่เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกายไม่ด
เฮโรอีน
เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากระบบประสาทถูกกดและจากภาวะชัก ทารกไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการถอนยาเฮโรอีน
เสียสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เนื่องจากมีอาการท้องเสียและอาเจียน
เสี่ยงต่อน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากดูดนมได้ไม่ดี
มีโอกาสเกิดสัมพันธภาพระหว่างมารดา บิดาและทารกไม่ดี เนื่องจากทารกมีอาการถอนยาและต้องถูกแยกจากมารดาและบิดาตั้งแต่แรกเกิด