Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาโรคเบื้องต้นในกลุ่มอาการที่พบบ่อย(ต่อ), 1422346291-pic9-o,…
การรักษาโรคเบื้องต้นในกลุ่มอาการที่พบบ่อย(ต่อ)
อาหารไม่ย่อย(dyspepsia)
มีอาการท้องอืดจะรู้สึกปวดท้องส่วนบน ทำให้แน่นท้อง มีลมในท้องต้องเรอบ่อย ๆ บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็ว หรืออาจมีอาการแน่นท้อง แม้กินอาหารเพียงเล็กน้อยและแสบบริเวณหน้าอก
สาเหตุ
โรคในระบบทางเดินอาหาร
โรคที่เกิดจากสิ่งภายนอก
โรคของทางเดินน้ำดี
โรคของตับอ่อน
โรคทางร่างกายอย่างอื่น ๆ
พฤติกรรมในการกิน
แผลในกระเพาะอาหาร(Peptic ulcer)
มีการทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะหรือลำไส้ส่วนต้น ต่อมาน้ำย่อยและน้ำกรดที่กระเพาะสร้างขึ้นจะย่อยทำลายซ้ำเพิ่มเติมบริเวณนั้นให้เป็นแผลใหญ่ขึ้น กลายเป็นแผลเรื้อรัง
สาเหตุ
เกิดจากความเสียสมดุลระหว่าง ปริมาณกรดที่หลั่งในกระเพาะอาหาร กับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้
การติดเชื้อเอชไพโลไร(H.pylori)
การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ บางอย่างอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ แต่บางอย่างอาจไม่มีความสัมพันธ์โดยตรง
การสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ สเตอรอยด์และกาเฟอีน
ผู้ที่มีเลือดกลุ่มโอ
ความเครียดทางอารมณ์
อาหารทุกชนิด ไม่เป็นสาเหตุโดยตรงของการเกิดแผลเพ็ปติก แต่ถ้ากินแล้วทำให้มีอาการกำเริบ
อาการ
ลักษณะการปวด อาจปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียด หรือมีความรู้สึกหิวข้าวก่อนเวลาอาหาร บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือเรอเปรี้ยวร่วมด้วย
ในผู้ป่วยที่มีแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นมักมีอาการปวดท้อง หลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง
มีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ตรงบริเวณกลางยอดอก หรือใต้ลิ้นปี่ บางคนอาจค่อนมาทางขวาหรือซ้ายก็ได้ เวลาที่ปวดมักจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร
การวินิจฉัย
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้
เอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม
อาการแทรกซ้อน
ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้เล็กส่วนต้น
เลือดออกเรื้อรัง ก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กได้
บางรายแผลอาจกินลึกจนเป็นรูทะลุเรียกว่า แผลเพ็ปติกทะลุ (Peptic perforation)
การรักษา
ให้ยาแก้อาการปวดท้อง และลดอาการอาเจียน
ถ้าตรวจพบว่ามีภาวะแผลเพ็ปติกทะลุ หรือ กระเพาะหรือลำไส้ตีบตัน จำเป็นต้องผ่าตัดด่วน
ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำให้สารน้ำ
ให้งดน้ำงดอาหาร
การรักษานอกจากให้ยาลดกรด บรรเทาอาการแล้ว ยังต้องให้ยารักษาแผลเพ็ปติกกลุ่มอื่น ๆซึ่งขึ้นกับสาเหตุของ การเกิดโรค
Peptic perforate
เป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ผู้ป่วยมักมีประวัติปวดท้องแบบโรคกระเพาะ เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
อาการ
กินยาหรือฉีดยาอะไรก็ไม่ได้ผล
อาการปวดมักลุกลามไปทั่วท้องอย่างรวดเร็ว และอาจรู้สึกปวดร้าวไปที่หัวไหล่ข้างเดียวหรือสองข้าง
ปวดเสียดแน่นที่ใต้ลิ้นปี่ ซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดปละรุนแรงอย่างไม่เคยปวดมาก่อนและปวดติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง(มักเป็นนานเกิน 6 ชม.)
ผู้ป่วยมักจะนอนนิ่ง ๆ หากขยับเขยื้อนจะรู้สึกปวดมากขึ้น
บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม
บางรายอาจมีอาการช็อก หรือกระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตตก
บางรายอาจมีไข้ขึ้น
ใช้เครื่องฟังตรวจที่หน้าท้อง จะได้ยินเสียงโกรกกรากลดน้อยกว่าปกติหรือแทบไม่ได้ยินเลย
อาการแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันการ มักทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบและโลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงตายได้
ชีพจรมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที
การรักษา
ถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือช็อก ควรให้สารน้ำ
มักวินิจฉัยด้วยการตรวจเอ็กซเรย์และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าเป็นโรคนี้จริงต้องผ่าตัดฉุกเฉินทุกราย
ควรให้งดน้ำหรืออาหารเพื่อเตรียมผ่าตัด
การให้ยาปฏิชีวนะ
อาการไม่ชัดเจน ลองให้ อะโทรพีน ไฮออสซีน ดูก่อน ถ้าปวดจากกระเพาะเกร็งมักจะหายปวดได้ แต่ถ้าไม่หายปวดภายใน 15 - 30 นาที ก็น่าจะสงสัยว่าเป็นกระเพาะทะลุ
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis)
สาเหตุ
เกิดภายหลังมีการแตกทะลุของอวัยวะในช่องท้อง หรือได้รับอุบัติเหตุที่ท้อง หรือเกิดขึ้นเองโดยไม่อาจหาสาเหตุที่แท้จริง
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดท้องรุนแรงตลอดเวลา ขยับเขยื้อนหรือกระเทือนจะรู้สึกเจ็บ
อาการปวดท้องมักจะเป็นติดต่อกันหลายชั่วโมงจนกระทั่งหลายวัน ร่วมกับมีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน หน้าท้องแข็งตึง (guarding, rigidity)
เมื่อกดหน้าท้องลึกๆ แล้วปล่อยมือทันทีให้ผนังหน้าท้องกระเด้งกลับทันที (rebound tenderness)ไม่ได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (bowel sound absent)
เป็นรุนแรงอาจเกิดภาวะช็อค คือ มีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น เป็นลมหมดสติได้
Infective peritonitis
Secondary ---> มีความผิดปกติในช่องท้อง เช่น Peptic perforate , rupture appendicitis
Tertiary ---> อาการระยะต่อมาของ Secondary stage , ภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด
Primary ---> เกิดขึ้นเอง
การรักษา
การให้ยาปฏิชีวนะ
ผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อสำรวจ หาสาเหตุ (Exploratory Laparotomy) และแก้ไข
พังผืดภายในช่องท้อง (Bowel Adhesion)
สาเหตุ
เกิดขึ้นตามหลังโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือโรคติดเชื้ออื่น ๆ ของอวัยวะในช่องท้อง หรือเกิดจากโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุรุนแรงภายในช่องท้อง
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่ที่มีพังผืดภายในช่องท้อง มักไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างไร แต่ก็มีบางรายที่เกิดปัญหาเนื่องจากพังผืดภายในช่องท้องเกิดไปอุดตันลำไส้
การรักษา
ผ่าตัดในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน
การอุดตันของลำไส้ (Gut/ Bowel obstruction)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ เองทำให้มีการบิดตัว (Volvulus) หรือ การมีพังผืดไปรัด
แบ่งเป็น 2 ส่วน
ลำไส้ใหญ่อุดตัน ( large bowel obstruction )
สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ volvulus , diverticulitis ,impact feces
สาเหตุ มากกว่า 80% เกิดจากมะเร็งลำไส้ใหญ่
ลำไส้เล็กอุดตัน ( small bowel obstruction )
การอุดตันที่ลำไส้เล็ก จะทำให้เกิดภาวะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายมาก เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ดูดซึมกลับไปใช้
สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ พังผืด ภาวะไส้เลื่อน เนื้องอก ภาวะลำไส้กลืนกัน
Dehydration
Hypovolemia
อาการและอาการแสดง
ผนังหน้าท้องบางอาจเห็นการบีบรัดตัวเป็นคลื่นที่หน้าท้อง ต่อมาปวดทั่วท้อง ปวดตลอดเวลา หน้าท้องแข็งเกร็ง กดเจ็บ
ปวดท้อง เป็นพักๆตามการบีบตัวของลำไส้ อาจคลื่นไส้ อาเจียน ในกรณีที่เป็นเฉียบพลัน
ในระยะท้ายจะมีอาการของภาวะน้ำในร่างกายน้อย (Hypovolemia) และ shock ได้
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการใส่ NG tube เพื่อระบายสิ่งที่ค้างอยู่ในกระเพาะและสำไส้
หากอาการไม่ดีขึ้นจะทำผ่าตัด Lysis adhesion, bowel resection and end to end anastomosis แล้วแต่อาการและตำแหน่งของการอุดตัน
การพยาบาล
ก่อนผ่าตัดจะเน้น การบรรเทาปวด การป้องกันภาวะเสียน้ำและเกลือแร่ และการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน
หลังผ่าตัดจะดูแลเช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ทั่วไป โดยเน้นการบรรเทาการปวดแผลผ่าตัด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
นางสาวทิพย์สุดา สนิทพจน์ รหัสนักศึกษา601410067-1