Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการดําเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ - Coggle…
หลักการดําเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ
การดําเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อของศาสนาพุทธ
พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา
เน้นการศึกษาทําความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง
หลักคําสอนในพุทธศาสนา
หลักปฏิบัติจริยธรรม
ความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน
หลักปฏิบัติศีลธรรม
หลักปฏิบัติศีลธรรม เป็นหลักคําสอนสําคัญของศาสนา ได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ คือ การไม่ทําความชั่วทั้งปวง การบําเพ็ญแต่ความดี การทําจิตให้สะอาดบริสุทธิ์
ศีล 5
ศีลข้อ 1
ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
ศีลข้อ 2
อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
ศีลข้อ 3
กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ศีลข้อ 4
มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
ศีลข้อ 5
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ศาสนาพุทธ
กฏไตรลักษณ์
หมายถึง กฏของธรรมชาติ
อนิจจัง คือความไม่เที่ยง ไม่คงตัว เสื่อมสลาย
ทุกขัง คือ ความทุกข์ ถูกบีบคั้น ไม่สมอยาก ตั้งอยู่ไม่ได้
อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง
นิพพาน
เป็นความดับสนิทของตัณหา ปล่อยวาง สลัดทิ้งโดยสิ้นเชิงซึ่งตัณหา
ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง สิ้นตัณหา
อสังขตธรรม เป็นการสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ
ความคลายกําหนัด กําจัดความเมา ความกระหาย ก่อนเสียชื่อ ความอาลัย
อายตนะ (สิ่ง) สิ่งนั้นมีอยู่ไม่ใช่ดิน น้ํา ลม ไฟ มิใช่โลกนี้-โลกหน้า มิใช่อาทิตย์-ดวงจันทร์ ในอายตนะไม่มีไป-มา ไม่มีตั้งอยู่ ไม่มีเกิด-ตาย เป็นอสังขตะ คือ ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์
ปฏิจจสมุปบาท
หมายถึง กระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ใช้ในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์หรือจางคลายจากทุกข์ตามควรแห่งฐานะตน เพื่อความสุขจากการพ้นทุกข์
อริยสัจ
หมายถึงคําสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประการหนึ่ง ว่าด้วย ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
เป็นความจริง 4 ประการที่ทําให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยบุคคลความจริงทั้ง 4 ประการ สรุปว่าอริยสัจ 4 เป็นเหตุและผลของการเกิดแห่งทุกข์และวิธีการดับทุกข์ คือการไปสู่นิพพาน
ศาสนา (Religion) หมายถึง ข้อผู้พันระหว่างชีวิตมนุษย์กับความจริงสูงสุดที่มนุษย์เชื่อเรื่องสําคัญในศาสนา 3 ประการ
ความจริงสูงสุดอันเป็นพื้นฐานหรือที่มาของหลักคําสอน
แก่นหรือสาระสําคัญของคําสอน
หลักศีลธรรมที่เป็นแม่แบบของจริยธรรมที่มนุษย์พึงปฏิบัติ เพื่อนําชีวิตไปตามแนวทางที่ประเสริฐ
พุทธศาสนากับการปฏิบัติการพยาบาล
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ของมนุษย์ เมื่อมนุษย์อยู่ในภาวะเจ็บป่วย มนุษย์ประสบความทุกข์ ผู้ให้การดูแล/พยาบาล/รักษา เข้าใจผู้ป่วยอยู่ในความทุกข์
ทุกข์ จาก อาการของโรค
ทุกข์ จาก ความวิตกกังวล
ทุกข์ จาก ภาวะเศรษฐกิจ
การปฏิบัติหน้าที่ในการดูแล เพื่อการบรรเทา/ดับทุกข์ ตามความสามารถและความเหมาะสม ผู้ป่วยต้องเข้าใจเรื่อง ความทุกข์ด้วยว่ามนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้
พุทธศาสน์กับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
การดูแลรักษาด้านร่างกาย
คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ที่เวฬุวนารามพระองค์ประชวรด้วยโรคลมที่เกิดในพระอุทร เมื่อพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก ได้ทราบจึงดําริว่า เมื่อพุทธองค์ประชวรแบบนี้ครั้งก่อนเคย
เสวยยาคูปรุงด้วยของสามอย่าง คือ งา ข้าวสาร และถั่วเขียว
จึงได้ปรุงยาคูสูตรนั้นถวายพระพุทธเจ้า เมื่อทรงเสวยไม่นานก็หายจากอาการประชวรและทรงพระสําราญ
การดูแลรักษาด้านจิตใจ
พระพุทธเจ้าทรงฟังพระมหาจุนทะสาธยาย โพชฌงค์ที่เวฬุวัน แล้วหายจากอาการประชวร
การดูแลรักษาด้านจิตวิญญาณ
ในพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้าทรงประชวรหนักที่เวฬุคาม เมืองเวสาลี เมื่อไกล้จะปรินิพพานทรงมีพระสติสัมปชัญญะไม่พรั่นพรึง
การดูแลรักษาด้านสังคม
อัครสาวกของพระพุทธเจ้า คือพระโมกคัลลานะ ดูแลรักษาพระสารีบุตร
พระพุทธเจ้ากับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ประกอบด้วยด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านจิตวิญญาณ และด้านสังคม
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองแนวทางพุทธศาสน์
หลัก 7 ประการของการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้าย
1. การให้ความรัก ความเข้าใจ
ผู้ป่วยใกล้ตายมักจะมีความกลัวหลายอย่าง เช่นกลัวถูกทอดทิ้ง
2. ช่วยให้เขายอมรับความตายที่จะมาถึง
การพูดให้เขายอมรับความตายที่จะมาถึงการพูดจาให้เขายอมรับความตายเป็นศิลปะ
3. ช่วยให้เขาจดจ่อในสิ่งที่ดีงาม
4. ช่วยให้เขาปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ
อาจหมายถึง การแบ่งมรดกความน้อยเนื้อต่ําใจคนใกล้ตัว ความโกรธแค้น ความรู้สึกถูกผิด ฯลฯ
5. ช่วยปล่อยว่างสิ่งต่าง ๆ
แม้บางคนอาจไม่มีสิ่งค้างคาใจที่เป็นกุศลแต่ก็ต้องปล่อยวางทุกสิ่งเช่นกัน ทั้งรูปธรรม นามธรรม แม้แต่ความรักก็ต้องปล่อยวาง
6. สร้างบรรยากาศที่เอื้อให้ใจสงบ
เช่นการนําพระพุทธรูปที่เขานับถือมาให้บูชา
7. กล่าวคําอําลา
หากเขาคิดว่าจะอยู่กับเราได้ไม่นาน ก็ควรกล่าวคําอําลา อาจพูดขอบคุณสิ่งดี ๆที่เขาทําให้กับทุกคน หรือแนะนําให้เขาปล่อยวาง
หลักการและแนวคิดในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ต้องดูแลผู้ป่วย และครอบครัวทุก ๆ ด้าน
ต้องเริ่มตั่งแต่แรกทั้งผู้ป่วยและครอบครัว
สิทธิของคนใกล้ตายต้องรับรู้ว่าตนเองเป็นอะไร ทําอะไร ได้แค่ไหนต้องมีการสื่อสารอย่างเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย ทางเลือกของการรักษาช่องทางที่คนไข้จะกลับมาหาเราหรือการให้การดูแลที่เหมาะสม
การใส่อุปกรณ์เอาออกเพื่อให้คนไข้เสียชีวิต
การทํางานเป็นทีม
การดําเนินของโรคทําให้เกิดเหตุการณ์ การเตรียมรับมือจะวางแผนจัดการอย่างไร
การบรรเทาความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
วัตถุประสงค์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ลดความทุกข์ทรมาน
ทํากิจวัตรสําคัญเท่าที่ทําได้
เป็นตัวของตัวเอง
อยู่อย่างมีคุณค่าในช่วงสุดท้ายของชีวิต
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อความตาย
ขั้นที่ 1 มนุษย์ปุถุชนทั่วไป
ท่านว่าเป็นปุถุชนที่ยังมิได้สดับคือยังไม่มีการศึกษาก็ระลึกถึงความตายด้วยความหวาดหวั่นพรั่นกลัว
ขั้นที่ 2 สูงขึ้นไป เป็นอริยสาวกผู้มีการศึกษา
ได้สดับแล้วก็ระลึกถึงความตายเป็นอนุสติ สําหรับเตือนใจไม่ให้ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติ
ขั้นที่ 3 คือให้รู้เท่าทันความตาย
ซึ่งมีคติเนื่องอยู่ในธรรมดาจะได้ชีวิตที่ปราศจากความทุกข์ ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกหวาดหวั่นพรั่นกลัวต่อความพลัดพราก
การพยาบาลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
การพยาบาลด้านร่างกาย
เมื่อคนใกล้ตายความอ่อนเพลียเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ แต่ไม่จําเป็นต้องให้การรักษาใด ๆ ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้พักผ่อนให้เต็มที่ การเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยพบว่าความเบื่ออาหารมีผลดีกว่าผลเสีย เพราะทําให้สารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้นจะทําให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายขึ้น
การพยาบาลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ
“จิตที่แจ่มใสจะอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์”เมื่อคนป่วยหนักใกล้ตายยิ่งต้องการประคับประคองใจอย่างมาก สิ่งที่คนใกล้ตายกลัวมากที่สุดคือ การถูกทอดทิ้ง การอยู่อย่างโดดเดี่ยว และสิ่งที่ต้องการ คือมีความต้องการใครสักคนอยู่เป็นเพื่อนข้าง ๆ
1
. กรรมอารมณ์
คือ อารมณ์ของกรรมที่บุคคลได้กระทําไว้แล้ว ดีก็ตามไม่ดีก็ตามเวลาใกล้จะดับจิตอารมณ์อันนั้นแหละจะมาปรากฏทางด้านจิตใจของผู้ใกล้จะตาย
2. กรรมนิมิต
คือเครื่องหมายของกรรมที่ตนได้กระทําไว้แล้ว ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตามในเวลาใกล้จะดับจิตกรรมดีและกรรมชั่วที่ได้กระทําไว้แล้วนั้นแหละ
3. คตินิมิต
หมายถึงเครื่องหมายของภพภูมิที่จะเกิด มาปรากฏให้เห็นในเวลาเมื่อใกล้จะตายถ้าจะไปเกิดในอบายภูมิมีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉานจะต้องเห็นเครื่องหมายที่จะไปเกิด
การนําผลการปฏิบัติศีล 5 มาเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพ
ศีลข้อ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี
งดเว้นจากการทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปตามความเชื่อและความศรัทธาของผู้ที่นิยมบริโภคอาหารเจ กล่าวว่า “กินผักกินไม้หยุดทําลายชีวิตสัตว์”
ศีลข้อ 2 อทินนาทานา เวรมณี
งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้การเป็นคนดีที่มีศีลธรรม ข้อปฏิบัติ คือ การไม่ต้องการอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน ส่งผลให้เกิดความเครียด ความอิจฉาริษยา ความเคียดก่อให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ศีลข้อ 3กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามสาเหตุของการเกิดโรคทางเพศสัมพันธุ์ที่ยังเป็นปัญหาสุขภาพของทั่วโลก คือ การติดเชื้อเอชไอวี และกลายเป็นผู้ป่วยเอดส์เสียชีวิตในที่สุด
ศีลข้อ 4 มุสาวาทา เวรมณี
งดเว้นจากการกล่าวเท็จการโกหก พูดไม่จริง เป็นสิ่งที่ทําให้ไม่ได้รับข้อเท็จจริง ดังตัวอย่าง ตนเป็นผู้ติดเชื้อแล้วไม่แจ้งความจริงกับภรรยาของตนเอง ทําให้ภรรยานนั้นไม่ได้ป้องกัน โอกาสที่ทําให้ติดเชื้อมีความเสี่ยงสูงมาก
ศีลข้อ 5 สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี
งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทศีลข้อนี้เมื่อดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอออล์