Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะสุดท้ายของชี…
บทที่ 8 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต
8.1 การแจ้งข่าวร้าย
(Breaking a bad news)
ข่าวร้าย
หมายถึง ข้อมูลที่ทําให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดําเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย เช่น การลุกลามของโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา การกลับเป็นซ้ำ ของโรค ความพิการ การสูญเสียภาพลักษณ์ของตัวเอง การเป็นโรครุนแรงหรือรักษาไม่หาย การเสียชีวิต
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ผู้ที่แจ้งข่าวร้าย ต้องได้รับ การฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการ ดําเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาตอบสนองภายหลังการรับรู้ข่าวร้าย
1. ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
2. ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ ความ โกรธอาจจะขยายไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์ รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน “ทําไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” “ไม่ยุติธรรมเลย ทําไมต้องเกิดกับเรา” ถ้าแพทย์หรือ ผู้เกี่ยวข้องไม่เข้าใจ ก็อาจจะโกรธตอบ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปดูแล
3. ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย อาจจะ รู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทําบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประเมินได้จากการพูด
4. ระยะซึมเศร้า (Depression)
เมื่อผ่านระยะปฏิเสธ เสียใจ หรือระยะต่อรองไปสักระยะ ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับ ความเข้มแข็งของแต่ ละบุคคล และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล การแสดงออกอาจมีหลายลักษณะ
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และ มองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดําเนินชีวิตต่อไปได้
บทบาทพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความ ต้องการการช่วยเหลือ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก ไม่บีบบังคับให้ความโกรธลดลงในทันที ควรให้ความเคารพผู้ป่วย เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการ ของผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดําเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรค การ ดําเนินโรค อาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบันและทํา ปัจจุบันให้ดีที่สุด
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย ซึ่งความหมายของชีวิตจะช่วยให้ ครอบครัวใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่าและมีความหมายในหนทางที่เป็นจริง และตระหนักว่าการมีชีวิตอยู่เพื่อใคร บางคน หรือเพื่ออะไรบางอย่าง
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วย ต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทําหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ ตาม หลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทางจิตใจ เผชิญกับสิ่งที่ไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
8.2 การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of Life Care in ICU)
การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย หรือ palliative care
คือ “วิธีการดูแลที่มุ่งเน้น เป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว โดยเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ใน ระยะแรก ๆ ของโรครวมทั้งประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้าน กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างละเอียด ครบถ้วนทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และทําให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ หรือ ตายดี”
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
1. Professional culture
บุคลากรของทีมสุขภาพที่ทํางานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มี ชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต การตายของผู้ป่วยอาจทําให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
2. ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลง อย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้นจากภาวการณ์เจ็บป่วยที่รุนแรง การที่ผู้ป่วยมีอาการทรุด ลงจากเดิม หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง เป็นสิ่งที่ทําให้ญาติเสียใจมาก และมีแนวโน้มที่จะไม่ต้องการการรักษาแบบ palliative care ต่างจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการดูแลแบบ palliative มาก่อนหน้านี้
3. ความไม่แน่นอนของอาการ
การรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง อาจส่งผลให้ผู้ป่วย ครอบครัว และทีมสุขภาพอาจเข้าใจว่าเมื่อแย่ลงก็จะสามารถกลับมาดีขึ้นเหมือนเดิมได้ ซึ่งอาจจะไม่เป็นความ จริงเสมอไป
4. Multidisciplinary team
ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขา มุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ อาจทําให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม ถ้าไม่มีแพทย์ท่านใดดูแล ผู้ป่วยเป็นองค์รวม มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยจะไม่ได้รับการดูแลแบบ palliative care
5. ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
เนื่องจากทีมสุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
6. ทรัพยากรมีจํากัด
เนื่องจากการเข้ารักษาในไอซียูมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ถ้าหาก ทีมสุขภาพมุ่งเน้นแต่การรักษาให้หายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทบทวนจุดมุ่งหมายในการรักษา หรือไม่มีการดูแล แบบ palliative care ร่วมด้วย ย่อมทําให้เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมีข้อมูลจากการศึกษาพบว่าค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพที่ใช้ในช่วงปีสุดท้ายของชีวิตคิดเป็นร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพที่ใช้ทั้งชีวิต ซึ่งค่าใช้จ่าย จํานวนมากเสียไปกับการรักษาที่ไม่ได้ผล
7. สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ไอซียูเป็นหอผู้ป่วยที่มีอัตราการตายสูง แต่สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มี เสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
1. ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
หลักการดูแลผู้ป่วยแบบ palliative care ในหอผู้ป่วยวิกฤตสําหรับทีมสุขภาพ คือ “ABCD”
1. Attitude
หมายถึง ทัศนคติของทีมสุขภาพอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงาน กล่าวคือ การดูแล ผู้ป่วยแบบ palliative care นี้ต้องระวังการนําประสบการณ์หรือทัศนคติของทีมผู้ดูแลมาใช้กับผู้ป่วยและญาติ และควรคํานึงเสมอว่าผู้ป่วยและญาติก็อาจจะมีทัศนคติหรือประสบการณ์ที่ต่างไปจากมุมมองของทีมสุขภาพ ได้ การดูแลผู้ป่วยควรพิจารณาเป็นรายบุคคล ไม่ใช้ประสบการณ์หรือทัศนคติของตนเองมาตัดสินญาติหรือ ผู้ป่วย
2. Behavior
หมายถึง การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ควรปฏิบัติอย่างให้เกียรติ ทั้งวัจนะ และ อวัจนะภาษาขณะพูดคุยหรือประชุมครอบครัว ควรให้ความสําคัญ สบตา หลีกเลี่ยงศัพท์ทางการแพทย์ ไม่ แสดงทีท่ารีบร้อน
3. Compassion
หมายถึง มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน พยายาม หาให้พบว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยนั้นกระทบผู้ป่วยและญาติอย่างไรบ้าง ทั้งทางกาย จิตใจ และเศรษฐกิจเมื่อ พบแล้วก็ควรพยายามแก้ไขให้ดีขึ้น
4. Dialogue
หมายถึง เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย มิใช่ตัวโรค พยายาม หาให้พบว่าสิ่งที่สําคัญของผู้ป่วยจริง ๆ คืออะไร และกระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติได้มีโอกาสสะท้อนความรู้สึกต่าง ๆ เพราะขณะนี้ ทุกคนกําลังจะพูดคุยเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วย การที่แพทย์รู้จักผู้ป่วย อาจส่งผลต่อการตัดสินใจบางอย่าง
2. การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
ข้อบ่งชี้ในการปรึกษา
ICU admission after hospital stay at least 10 days
-Multi-system/organ failure at least three systems
Diagnosis of active stage IV malignancy (metastatic disease)
-Status post cardiac arrest
Diagnosis of intracerebral hemorrhage requiring mechanical ventilation
-Terminal dementia
Surprise question "No"
3. แบบผสมผสาน
แพทย์เวชบําบัดวิกฤตมีความรู้ความสามารถในการดูแลแบบ palliative care ให้กับผู้ป่วยทุกคน และถ้าหากเมื่อใดก็ตามมีข้อบ่งชี้ในการปรึกษาและมีระบบให้คําปรึกษาในโรงพยาบาล ก็ควรให้ทีม palliative care เข้าดูแลร่วมด้วย
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
1.การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว เพื่อให้ครอบครัว ได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และมีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการ
หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียดความ เป็นตัวตนของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และมุ่งเน้นที่ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสําคัญ
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน รวมถึงฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูด จาก การศึกษาพบว่าการสนทนาที่แพทย์เป็นฝ่ายฟัง จะสร้างความพอใจให้กับญาติมากกว่าที่แพทย์เป็นฝ่ายพูด
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด ถ้าเป็นการแจ้งข่าวร้าย อาจจะใช้ SPIKES protocol บางครั้งแพทย์กังวลว่าการบอกความจริงจะเป็นการทําลายความหวังของญาติ เป็นการทําร้ายจิตใจญาติ แต่ใน อีกมุมหนึ่งถ้าหากญาติ ไม่ได้ข้อมูลที่ตรงจริงแล้ว การตัดสินใจการรักษาอาจออกมาในรูปแบบที่ส่งผลเสียกับ ผู้ป่วยได้
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียูรายละเอียดดังนี้
2. การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การใส่ใจประเมินอาการ และจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่ อาการไม่สุขสบายที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต คือ หอบเหนื่อย ปวด ภาวะสับสน เป็นต้น
3. การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
วางแผนการรักษาคือทักษะการสื่อสาร และการพยากรณ์โรค (prognostication) เนื่องจากผู้ป่วยและครอบครัวอาจมีความคาดหวังต่อตัวโรคซึ่งส่งผล ให้การตัดสินใจไม่เหมาะสม ดังนั้นแพทย์จะต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลโรคหรือสภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมถึงบอก ผลการรักษาที่น่าจะเป็นไปได้อย่างครบถ้วนตรงจริงแก่ผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีข้อมูล มากที่สุดที่ใช้ในการตัดสินใจการรักษาและตั้งเป้าหมายการรักษา
Surprise question
คือ การตั้งคําถามว่า “จะประหลาดใจหรือไม่ถ้าหากผู้ป่วยคนนี้จะเสียชีวิตในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า” ถ้าหากไม่ประหลาดใจ ผู้ป่วยรายนั้นก็ควรได้รับการดูแลแบบ palliative care
การประชุมครอบครัว (Family meeting)
เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายสําคัญเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี ระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดําเนินโรคและการ พยากรณ์โรค แนวทางของการดูแลผู้ป่วยในอนาคต รวมทั้งประเมินความต้องการด้านอื่นๆ ของผู้ป่วย และ ครอบครัวและวิธีการที่ครอบครัวใช้จัดการกับปัญหาด้านต่างๆที่เกิดขึ้น
เป้าหมายในการรักษา
มุ่งเน้นให้สุขสบาย อาจทําบางอย่างที่อยู่ในบริบทที่ไม่เกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วยเพิ่มขึ้น (comfort care)
ทําทุกอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิตให้นานที่สุดที่เป็นไปได้
ลองทําดูก่อน แล้วถ้าตอบสนองไม่ดี อาจพิจารณายุติการรักษาบางอย่าง (time-limited trail)
ข้อมูลที่ควรมีการบันทึกไว้:
วัน เวลา สถานที่
ผู้ป่วยเข้าร่วมในการประชุมหรือไม่
สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม ทั้งฝ่ายผู้ป่วยและทีมสุขภาพ
ผู้ป่วยมีพินัยกรรมชีวิต (advance directives) หรือมีการระบุ ผู้แทนสุขภาพ (proxy) มาก่อนหรือไม่
สมาชิกครอบครัวที่เข้าร่วมประชุม บุคคลใดคือผู้แทนสุขภาพ
ครอบครัวและผู้แทนทางสุขภาพ เข้าใจการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย
อะไรคือคุณค่าการดํารงชีวิตของผู้ป่วย ลักษณะตัวตนของผู้ป่วยเป็นคนอย่างไร ความคาดหวังของครอบครัว สิ่งที่ครอบครัวกังวล
เป้าหมายการรักษา
การวางแผนการรักษา
สรุป
รู้จักตัวตนของคนไข้ ไม่ใช่เฉพาะโรค เนื่องจากทั่วไป แพทย์จะรู้เพียงข้อมูลทางการเจ็บป่วยของ ผู้ป่วยแต่ไม่รู้ข้อมูลทางสังคม ไม่รู้ว่าผู้ป่วยเป็นคนอย่างไร ชอบทําอะไร ไม่ชอบทําอะไร มีนิสัยอย่างไร การที่ให้ ญาติได้เล่าตัวตนของผู้ป่วยเป็นการแสดงให้เห็นว่า เราให้ความสําคัญกับผู้ป่วยมาก และต้องการทราบเพื่อจะ ได้เสนอการรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยจริง ๆ
ทําการฟังอย่างตั้งใจ มีการทบทวนสาระสําคัญเป็นระยะ ๆ พยายามให้ญาติคิดถึงสิ่งที่ผู้ป่วย ต้องการและทําการทวนซ้ําเพื่อความถูกต้อง และเป็นการยืนยันว่าเรากําลังตั้งใจฟังอยู่ให้ญาติเล่าถึงความ เจ็บป่วยของผู้ป่วยครั้งนี้ จากที่ญาติเคยมีข้อมูลมาก่อน
หลังจากนั้นผู้นําการประชุมครอบครัวทําการเล่าอาการให้ฟัง และต้องย้ําว่าที่ผ่านมาเราได้พยายาม อย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลการตอบสนองไม่เป็นไปตามคาดหวัง
ในช่วงนี้ ญาติอาจจะพยายามต่อรอง เนื่องจากความรักที่มีต่อผู้ป่วย จึงต้องการให้แพทย์ทําการ รักษาต่อไป สิ่งที่ทําได้คือ รับฟังอย่างตั้งใจ และเริ่มอธิบายญาติเห็นถึงความทุกข์ทรมานของการรักษาที่ผ่านมา และระบุถึงความทุกข์ทรมานอย่างอื่นที่อาจจะตามมา
เตือนให้ญาติคํานึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วย ให้ทุก ๆ การตัดสินใจ เป็นการตัดสินใจที่สมมุติว่า ผู้ป่วยสามารถบอกเองได้ ผู้ป่วยน่าจะต้องการอย่างไร เนื่องจากหลายครั้ง ญาติตัดสินใจในบทบาทของลูก หรือ สามี/ภรรยา ทําให้การรักษานั้น ทําไปเพื่อตนเอง มิได้ทําเพื่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง
ถ้าหากมีการร้องไห้ ควรให้ญาติร้องโดยมิขัดจังหวะ
ผู้นําการประชุมครอบครัวควรทําการสะท้อนอารมณ์ของญาติเป็นระยะ ๆ เช่น หมอรับรู้ได้ว่าคุณ รักพ่อมาก ๆ เป็นต้น
เน้นย้ํากับญาติว่า แผนการรักษาทั้งหมดเป็นการตัดสินใจร่วมกันของทีมสุขภาพและครอบครัวโดย มีจุดมุ่งหมายเดียวคือเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสําหรับผู้ป่วย
4. การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทําการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องติดตามการเต้นหัวใจ เครื่องวัด ออกซิเจนปลายนิ้ว
ยุติการเจาะเลือด
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ควรทําการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent) เนื่องจากเป็นยาที่บดบังความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
ให้ยาที่มักจําเป็นต้องได้ เช่น มอร์ฟีน ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine ยาลดเสมหะ เป็นต้น
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลานี้
แพทย์ควรทําการเข้าเยี่ยมบ่อย ๆ เพื่อประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและเป็นการทําให้ญาติ มั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
การดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ภาพการจากไปของผู้ป่วยในเวลานี้จะเป็นภาพที่ ครอบครัวจะจดจําตลอดไป ดังนั้น การดูแลให้ทุกอย่างราบรื่นที่สุด จึงเป็นสิ่งสําคัญ
ทําความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย - ยุติการรักษาที่ไม่จําเป็น เช่น สารอาหารทางหลอดเลือด น้ําเกลือ ยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ
นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก เช่น สายให้อาหารทางจมูก
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
5. การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
ทําการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย ดังนั้นไม่ควรพูดคําบางคํา เช่น “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องร้องไห้” เป็น ต้น แต่ให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติรวมถึงอาจมีเอกสารคําแนะนําการดูแลร่างกายและ จิตใจผู้สูญเสีย และมีคําแนะนําว่าเมื่อไหร่ผู้สูญเสียจําเป็นต้องพบแพทย์หรือนักจิตบําบัดเพื่อปรึกษาปัญหา