Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
การส่งเสริมสุขอนามัย
สุขอนามัย
หมายถึง หลักการและความรู้ของการคงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและการป้องกันโรค
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะเจ็บป่วยจะไม่มีความสุขทางด้านกายและจิตใจ การดูแลสุขอนามัยเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และเป็นสิ่งที่พยาบาลควรตระหนักถึง เนื่องจากความสุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขภาพใจกายที่สามารถอดทนต่อความเจ็บป่วยได้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
อายุ
ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยที่แตกต่างกัน
เพศ
มีความต้องการดูแลสุขภาพในส่วนบุคคลที่ต่างกันเช่นเพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอต้องการความนุ่มนวลละเอียดอ่อน
ภาวะสุขภาพ
เมื่อมีการเจ็บป่วยที่แรงหรือเรื้อรังหรือ
ป่วยทางสุขภาพจิตทำให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลงหรือไม่ได้ปกติ
การศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษามักจะศึกษาค้นคว้าและ
มีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ
บุคคลที่มีฐานะดีย่อมมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพร่างกายและให้เวลากับการดูแลสุขค่ะอนามัยส่วนบุคคลมากขึ้น
อาชีพ
บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้ความเข้าใจมากกว่า
ถิ่นที่อยู่
เช่นการดำเนินชีวิตในเมืองและชนบทจะมีวิถีชีวิตต่างกัน
ส่งผลให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลต่างกัน
ภาวะเจ็บป่วย
ส่งผลในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลดลง
สิ่งแวดล้อม
ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น บุคคลที่อาศัยอยู่ในที่อากาศร้อนก็จะอาบน้ำบ่อยครั้งเพราะมีเหงื่อและกลิ่นตัวที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ
มีผลต่อการดูแลตนเองเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล
ความชอบ
เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมดูแลจากครอบครัวโรงเรียนและปลูกฝังจนเป็นนิสัย
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด(Early morning care)
พยาบาลจะดูแลผู้ป่วย ช่วยเหลือเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ การให้กระบอกปัสสาวะ หรือหม้อะนอน
การทำความสะอาดร่างกาย เช่น การเช็ดหน้า ล้างมือ ความสะอาดปากและฟัน เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นในช่วงเช้า
การพยาบาลตอนเช้า Morning( care/ A.M care)
หลังผู้ป่วยรับประทานอาหารเสร็จสิ้น การพยาบาลเพื่อดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลประจำวันเช่น การนวด การดูแลเล็บมือเล็บเท้าเส้นผมและทรงผม การเปลี่ยนเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน จัดท่านอน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมภายในห้องตลอดจนการรักษาพยาบาลอื่นๆตามความต้องการของผู้ป่วยและแผนการรักษา
การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็นAfternoon( care/ P.M. care)
ดูแลทำความสะอาดปากและฟัน ล้างมือล้างหน้า หวีผมสระผม
ให้บริการหม้อนอนหรือกระบอกเป๋าสวตลอดจนการรักษาพยาบาลอื่นๆ
การพยาบาลตอนก่อนนอน Evening( care/ Hour of sleep care/ H.S. care)
ให้การดูแลเรื่องการให้หม้อนอน ล้างมือล้างหน้า ทำความสะอาดปากฟัน นวดหลัง จัดท่านอนให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างสุขสบายผ่อนคลายและเตรียมตัวเข้านอน
การพยาบาลเมื่อจำเป็นหรือเมื่อผู้ป่วยต้องการAsneeded( care/ P.r.N. care)
พยาบาลให้การพยาบาลตามความต้องการของผู้ปุวยตลอด24ชั่วโมง
การดูแลความสะอาดร่างกาย
การดูแลความสะอาดผิวหนัง/การอาบน้ำ
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ
พยาบาลต้องประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยก่อนพาไปอาบน้ำที่ห้องน้ำ ต้องเฝ้าระวังใกล้ๆไม่ควรใส่กลอนประตู ควรเรียกผู้ป่วยเป็นครั้งคราวเพื่อตรวจสอบว่าให้ผู้ป่วยปลอดภัยความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยอยู่ในระดับ 0
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน
เป็นการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่สามารถอาบน้ำเช็ดตัวได้ครบทุกส่วน พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนโดยการนั่งข้างเตียงหรือบนเตียง การประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยอยู่ในระดับ1-2
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์
เป็นการทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำเช็ดตัวให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งหมด ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยในระดับ 3-4
จุดประสงค์การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียง
กำจัดสิ่งสกปรกที่สะสมบริเวณผิวหนังและส่งเสริมความมั่นใจ
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายสดชื่นและผ่อนคลาย
ประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายและการส่งเสริมการออกกำลังกาย
สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและป้องกันแผลกดทับ
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
จุดประสงค์
ปากและฟันสะอาดมีความชุมชื่น
กำจัดสิ่งสกปรกลมหายใจสดชื่นป้องกันฟันผุ
ลดการอักเสบของเหงือกและกระพุ้งแก้ม
สังเกตเหงือกกระพุ้งแก้มลิ้นมีแผลหรือการติดเชื้อหรือเลือดออกหรือฝ้าในช่องปาก
หลักการทำความสะอาดปากและฟัน
แปรงฟันทุกซี่ทุกด้านนรน 5 นาที เพื่อขจัดคาบหินปูน และเศษอาหารในเวลาเช้าหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน
ผู้ป่วยมีปัญหาในช่องปาก มีแผล ปากแห้ง ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำทางปากได้ ต้องทำความสะอาดปากและฟันทุก 2 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวพยาบาลต้องทำความสะอาดปากและฟันให้เป็นพิเศษใช้สำลีเช็ดทำความสะอาด
การดูแลความสะอาดเล็บ
จุดประสงค์
ให้เล็บสะอาดและสุขสบาย
ป้องกันการเกิดแลบขบ
การดูแลทำความสะอาดเล็บ เล็บเป็นโครงสร้างจากโปรตีนซึ่งจะงอกยาวตามเวลา จึงต้องตัดให้สั้นตามความเหมาะสมกับการใช้งานนอกจากการทำความสะอาดเล็บและตัดให้เรียบร้อยยังเป็นการช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดีด้วย
การดูแลความสะอาดของตา
การทำความสะอาดตา ผู้ป่วยบางรายอาจมีขี้ตามากกว่าปกติ
ขี้ตาอาจแห้งติดหนังตาหรือขนตา จึงจำเป็นต้องกำจัดออกไปวันละ2-3ครั้ง
จุดประสงค์
กำจัดขี้ตาทำให้ดวงตาสะอาด
ความสุขสบายของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
การดูแลทำความสะอาดหู
การเช็ดทำความสะอาดช่องหูหลังอาบน้ำควรใช้ไม้พันสำลีเช็ดทำความสะอาดในช่องหูทั้งสองข้าง
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู
ทำความสะอาดใบหูและหลังหู
การดูแลทำความสะอาดของจมูก
การทำความสะอาดจมูกเป็นการทำความสะอาดรูจมูกและรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อจมูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่คาสายไว้
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งสกปรกภายในจมูก
ป้องกันสารคัดหลั่งแห้งยึดขนจมูกกับสายที่คาไว้
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรูจมูกจะสายที่คาไว้
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ เป็นการทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะรวมทั้งการทำเพื่อแก้ปัญหาของเส้นผมและหนังศีรษะ หมายถึง การสระผมให้ผู้ป่วยบนเตียง
จุดประสงค์
ขจัดความสกปรกและสารที่ใส่บนผมและหนังศีรษะเพื่อตรวจรักษา
ความสุขสบายและสดชื่นของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้ชายและผู้หญิง ช่วยลดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลระดับพื้นฐาน การหมักหมม เปียกแฉะตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เกิดการระคายเคือง การอักเสบ การติดเชื้อ แล้วยังอาจเกิดแผลกดทับ โดยการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอทำให้ผู้ป่วยสุขสบายและมีคุณภาพชีวิตดีและมีความสุข
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งขับถ่ายสิ่งสกปรกและกลิ่นไม่พึงประสงค์
ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่สวนสายไว้
เสริเสริมสร้างความสุขสบายให้ผู้ป่วย
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การประเมินผู้ป่วย (Health assessment)
ประเมินระดับความสารถในการดูแลตนเอง
ประเมินความชอบ ความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ปุวย
ประเมินผิวหนังช่องปาก เส้นผมและหนังศรีษะ ตา หู จมูก
ประเมินปัญหาและความเสี่ยงของการรักษาและอาการผิดปกติที่อาจ เกิดขึ้นระหว่างการดูแล
การวินิจฉัยทางการพยาบาลNursing( diagnosis)
ไม่สนใจดูแลความสะอาดร่างกายด้วยตนเองเนื่องจากมีความเครียด
มีความทนในการท ากิจกรรมลดลงเนื่องจากเหนื่อยง่ายจากการเป็นโรคใดๆ
การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่องงเนื่องจากเป็นอัมพาต
พร่องความสามารถในการดูแลความสะอาดร่างกาย
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
กำหนดวัตถุประสงค์าและเกณฑ์การประเมิน
เลือกิจกรรมการดูแล เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล(Implementation)
ปฏิบัติการดูแลความสะอาดร่างกาย การอาบน้ำ การนวดหลัง การทำความ ปากและฟัน เส้นผมและหนังศรีษะ และอวัยวะสืบพันธุ์
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
*การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
ความหมายของการพักผ่อนและการนอนหลับ
การพักผ่อน
หมายถึง การพักกิจกรรมการทำงานของร่างกายหรือการพักการทำงานของอวัยวะต่างๆโดยการนั่งเฉยๆชั่วขณะหนึ่งแต่ทำกิจกรรมเบาๆ เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้อวัยวะได้ผ่อนคลายความตึงเครียดลดความกังวล
การพักผ่อนของผู้ปุวยในโรงพยาบาล
Absolute bed rest เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง ไม่ ร่างกายออกแรงในกิจกรรมใด ท่ีจะทำให้รู้สึกเหนื่อย ห้ามลุกออกจากเตียง พยาบาลจะต้องเป็นผู้จัดกิจกรรมให้ เช่น การบริการหม้อนอนถ่ายอุจจาระบนเตียง
Bed rest เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง สามารถทา กิจกรรมประจำวันได้ตามความสามารถของผู้ป่วย เช่น ไปห้องน้าด้วยตนเอง เป็นต้น
การนอนหลับ
เป็นกระบวนการทางสรีรวิทยาพื้นฐานที่สอดประสานกับจังหวะการทำงานของร่างกายด้านอื่นๆโดยมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไปในทางผ่อนคลาย ได้แก่ ระดับการรู้สติลดลง มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง อวัยวะทุกส่วนทำงานลดลง รวมทั้งสภาวะจิตใจ และมีการเอนกายลงในท่าสงบนิ่งและหลับตา เป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว ปลุกให้ตื่นได้โดยมีการกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่เหมาะสม
ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
ส่งเสริมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อข้ึนใหม่ ช่วยส่งเสริมการหายของแผลรวมถึงมีการช่วย สะสมพลังงานไว้ใช้ในวันต่อไป
สงวนพลังงาน พลังงานท่ีใช้ของร่างกายและสมองจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงตื่น
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ เนื่องจากการนอนหลับในระยะ (Rapid eye movement sleep: REM) จะมีการทางานของระบบประสาทเต็มท่ี มีการกระตุ้นให้ความจาระยะสั้น เป็นความจาระยะยาวได้
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในร่างกายจะทำให้ระยะเวลาในการนอนหลับลึกเพิ่มมากขึ้น
อัตราการเผาผลาญลดลง จึงทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง
ผลกระทบจากการนอนหลับ
ผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์ได้ง่าย อาจมีอาการเซื่องซึมและหงุดหงิด โมโหง่าย เกิดความสับสนและความสามารถในการ ควบคุมตนเองจาก สิ่งเร้าลดลง
ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้
เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลง สมาธิไม่ดี และแก้ไขปัญหาได้ช้า
ผลกระทบทางสังคม
บุคคลที่นอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลทางสังคม ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลง ความมั่นใจในการทางานลดลง
ผลกระทบต่อร่างกาย
ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลง เช่น อาการเมื่อยล้าคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากน้ีการแปรปรวนการนอนหลับยังทำให้อุณหภูมิและภูมิต้านทานของร่างกายต่ากว่าปกติ โดยพบว่าการทำงานของเม็ดเลือดขาวและการหลั่งฮอร์โมนเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตลดลง ผลกระทบท่ีรุนแรงต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มข้ึน
วงจรการนอนหลับ
ช่วงหลับธรรมดา
(Non-rapid eye movement sleep: NREM)
ระยะที่ 1 (เร่ิมมีความง่วง) เป็นช่วงเริ่มหลับท่ีเปลี่ยนจากการตื่นไปสู่การนอน
ระยะที่ 2 (หลับตื่น) การหลับในช่วงต้น เป็นสภาพท่ีไม่ได้ยินเสียงรบกวน จากภายนอก เป็นระยะแรกที่มีการหลับอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน
ระยะท่ี 3 (หลับปานกลาง) ทั้งคลื่นสมองและชีพจรจะเต้นช้าลง ความมีสติ รู้ตัวจะหายไป การเคลื่อนไหวของตาจะหยุดลง แม้ได้รับส่ิงเร้าจากภายนอกก็จะไม่ตื่นโดยง่าย
ระยะที่ 4 (หลับลึก) เป็นช่วงหลับสนิทของการนอน
ช่วงหลับฝัน
(Rapid eye movement sleep: REM)
ช่วงที่กล้ามเน้ือต่างๆของร่างกายแทบจะหยุดการทำงาน แต่ระบบการทำงานของหัวใจ กระบังลมทำงานเพื่อการหายใจ กล้ามเน้ือตา และกล้ามเนื้อเรียบ ร่างกายจะได้พักผ่อนแต่สมองยังทำงานอยู่ ระยะนี้ช่วยจัดระบบความจำทำให้จำเรื่องบางเรื่องได้นานข้ึน ระยะนี้นี่เองเป็นระยะท่ีคนเราจะฝัน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น [การนอนหลับจะลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ
เพศ เพศชายมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการนอนหลับได้เร็วได้มากกว่าเพศหญิง เพศหญิงมีความไวต่อการกระตุ้นด้วยเสียงมากกว่าเพศชาย
ความไม่สุขสบาย
ร่างกายมีความเจ็บปวด
การใส่สายยางและท่อระบายต่างๆเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกายประกอบกับผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม
อาการคลื่นไส้อาเจียน ความวิตกกังวล
ภาวะไข้หลังผ่าตัด
ความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลเกิดจากสิ่งที่คุกคามต่อสวัสดิภาพของร่างกายและจิตใจเช่น ความไม่คุ้นเคยต่อการนอนโรงพยาบาล ความต้องการความช่วยเหลือพึ่งพาจากผู้อื่นส่งผลให้เกิดภาวะเครียด เกิดความขัดแย้งในใจ
ปัจจัยภายนอก
เสียง มีความสัมพันธ์ทางลบกับการนอนหลับทำให้ระยะเวลาการเริ่มต้นการนอนหลับนานขึ้น เวลานอนหลับน้อยลง ตื่นบ่อยขึ้น ทำให้คุณภาพการนอนหลับไม่ดี
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่ายเพิ่มขึ้นและตื่นบ่อยขึ้น
แสง การเปิดไฟเป็นการรบกวนการนอนหลับและทำให้การรับรู้ความแตกต่างของเวลากลางวันกลางคืนลดลง การสัมผัสแสงตลอดเวลาทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย
ความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัดไม่สุขสบาย จะส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับ
กิจกรรมการรักษาพยาบาล กิจกรรมที่ผู้ป่วยได้รับตามเวลา ได้แก่ การทำถัตการต่างๆ การพลิกตะแคงตัว การให้ยากินและฉีด การตรวจวัดชีพจรเป็นปัจจัยรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยได้
อาหาร การรับประทานอาหารที่มีสารทริพโทเเฟ็นส่งเสริมการนอนหลับส่วนเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนจะมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของร่างกาย
ยา เช่น ยาบาบิทูเรต โดยยาจะไปออกฤทธิ์โดยยาจะไปออกฤทธิ์รบกวนการนอนหลับในระยะ REM เกิดฝันร้ายและภาพหลอน
การประเมินคุณภาพการนอนหลับและการนอนหลับที่ผิดปกติ
Insomnia
การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นช่วงสั้นๆ 3-5 วัน มีสาเหตุจากปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาตึงเครียดในชีวิต อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม
การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ สาเหตุเดียวกับการนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราวแต่มีเวลานานมากกว่า
การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเกิดขึ้นนานกว่าหนึ่งเดือนขึ้นไป
โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวล
โรคทางอายุรกรรม เช่น โรคสมองเสื่อม วัยทอง โรคหอบหืด
อาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยารักษาโรคบางชนิด
เรื่องของการนอนหลับโดยตรง เช่น อาการขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างหลับ
Hypersomnia
เป็นการนอนหลับมากหรือง่วงนอนมากกว่าปกติซึ่งจะแสดงออกในแง่การนอนหลับในที่ไม่ควรหลับ เช่น หลับขณะขับรถยนต์ หลับในห้องประชุม
Parasomnia
ความผิดปกติของการตื่น
อาการสับสน ละเมอเดิน ฝันร้าย
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจะหลับมาตื่นหรือจะตื่นมาหลับ
ได้แก่ อาการขากระตุกขณะกำลังหลับ ละเมอพูด ศรีษะโขกกำแพง
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดมีการกรอกตา
ได้แก่ ภาวะฝันร้าย ภาวะผีอำ
อื่นๆ
ได้แก่ การนอนกัดฟัน การปัสสาวะรดที่นอนขณะหลับ การกรน การไหลตาย
ผลที่เกิดจากการนอนหลับผิดปกติ
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด NREM ได้แก่ เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เวียนศีรษะ ทนต่อความเจ็บปวดได้ลดลง กล้ามเนื้อคออ่อนแรง ภูมิต้านทานลดลง ระดับความรู้สึกตัวบกพร่อง
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด REM ได้แก่ ความคิดบกพร่อง การรับรู้บกพร่อง ประสาทหลอน
ผลในภาพรวมจะทาให้การทางานของร่างกายขาดประสิทธิภาพจากร่างกาย อ่อนล้า และขาดสมาธิ
การส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับ
การจัดสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมของที่พักต้องสะอาดสวยงามและน่าอยู่
ความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องใช้ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ
อุณหภูมิ มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างพอดี มีความชื้นที่เหมาะสม
เสียง ไม่เสียงดังจนเกินไป
กลิ่น มีทั้งกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นควรจัดการให้ดี
แสง แสงสว่างต้องไม่มืดสลัวหรือสว่างจ้าเกินไป
ความเป็นส่วนตัวและมิดชิดปลอดภัย
ความอบอุ่นและความประทับใจ ในบุคลิกภาพของพยาบาล
การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย
Dorsal position (supine position) เป็นท่านอนหงายราบ ขาชิดติดกัน เป็นท่านอนท่ีจัดข้ึนเพื่อความสุขสบาย สาหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
Fowler’s position เป็นท่านอนราบศีรษะสูง 30-90 องศา เป็น
ท่านอนท่ีสุขสบายและเพื่อการรักษา ท่าน้ีลักษณะคล้ายท่านั่งบนเตียง สะดวกสพหรับให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบนเตียง เช่น นั่งพักผ่อน เปลี่ยนอิริยาบถ ท่าน้ีช่วยให้ ผู้ป่วยท่ีมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก ทำให้การหายใจสะดวกข้ึน
Prone position เป็นท่านอนคว่ำ เป็นท่านอนที่สุขสบาย สำหรับ ผู้ป่วยท่ีไม่รู้สึกตัว
แต่มีการหายใจปกติ ท่าน้ีจะช่วยให้น้ำลายเสมหะไหลออก และลิ้นผู้ป่วยห้อยลงจึงไม่ปิดกั้นทางเดินหายใจ
Lateral position เป็นท่านอนตะแคง จัดเพื่อความสุขสบายของ ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือเคลื่อนไหวด้วยตนเองไม่ได้ ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับด้านหลัง ผลเสีย คือ การจัดท่าน้ีจะทำให้ข้อสะโพก ข้อหัวไหล่ที่อยู่ด้านบนจะห้อยลงและ หมุนเข้าด้านใน ถ้าไม่หนุน support ด้วยหมอน หรือผ้าอาจทำให้เอ็นของข้อนั้นยืดได้
Sitting position เป็นท่านั่งที่สุขสบายสาหรับผู้ป่วยได้แพักผ่อนได้อย่างมีความสุข เพื่อความปลอดภัย และความสุขสบายควรมีที่เท้าแขน
การทำเตียง
หมายถึง การเปลี่ยนเครื่องผ้าที่ใช้กับเครื่องนอนให้สะอาดเรียบร้อย
การทำเตียงมี 4 ชนิดคือ
การทำเตียงว่าง
เป็นการทำเตียงที่ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยเพื่อเตรียมรับผู้ป่วยใหม่ หรือทำเตียงที่ผู้ป่วยสามารถลงเดินช่วยเหลือตัวเองได้
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้
เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่สามารถลุกเดินได้ไม่จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา อาจเป็นผู้ป่วยที่แข็งแรงช่วยเหลือตัวเองได้ดีหรือต้องพึ่งผู้อื่นในบางส่วนสามารถนั่งได้เป็นเวลานาน
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงไม่ได้
เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถได้จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
การทำเตียงรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ
เป็นการทำเตียงหลังจากส่งผู้ป่วยไปรับการผ่าตัดหรือการตรวจและได้รับยาสลบ