Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา - Coggle Diagram
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา
ความหมายของยา
ยา หมายถึง สารหรือสารเคมีซึ่งฤทธิ์
ต่อสิ่งมีชีวิต โดยทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา หรือทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ ใช้ในการป้องกัน วินิจฉัย และบําบัดรักษาโรคต่าง ๆ ในคนและสัตว์
ความสำคัญของยา
ยาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาความเจ็บป่วย โดยทั้งการบำบัด บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน เช่น อาการไข้ปวด หรือคัน และโดยการกำจัดสาเหตุของโรค เช่น ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น แต่ทุกสิ่งในโลกย่อมมีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัวเอง จึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สุงสุด และมีโทษน้อยสุด
แหล่งที่มาของยา
ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ได้แก่ พวกสมุนไพร ซึ่งได้มาจาก
1.2 สัตว์ ได้จากอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ เช่น อินซูลินจากตับอ่อนของหมูและวัว
1.1 พืช ได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ตัวยารีเซอฟีนสกัดจากรากของต้นระย่อม ใช้ลดความดันเลือดสูง หรือมอร์ฟีน สกัดจากยางของฝิ่น ใช้เป็นยาระงับปวดหรือ ควินินสกัดจากเปลือกต้นซิงโคนาใช้รักษามาลาเรีย เป็นต้น
1.3 แร่ธาตุ เช่น คาโอลิน และกำมะถัน เป็นต้น
ยาสังเคราะห์
ยาแผนปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมี อาจเป็นยาสังเคราะห์เลียนแบบสารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ยาคลอแรมเฟนิคอล หรือเป็นอนุพันธ์ของสารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือยาสังเคราะห์ที่มิได้ปรากฎในธรรมชาติ เช่น ยาอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ สารสังเคราะห์หรือกึ่งสังเคราะห์เหล่านี้อาจมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาใกล้เคียง หรือแตกต่างจากสารที่ได้จากธรรมชาติก็ได้
วิถีทางการให้ยา
รูปแบบของยาเตรียม (Dosage forms)
ลักษณะของยาที่ผลิตขึ้นมาให้มีรูปแบบเหมาะสมกับการใช้งาน ผลิตได้ง่ายหรือมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น
ตำรับยาโดยทั่วไปประกอบด้วยตัวยา และสารปรุงแต่ยา โดยที่ตัวยาอาจเป็นสารออกฤทธิ์เพียงตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้
รูปแบบของยาที่ดีควรมีความบริสุทธิ์ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด มีความสม่ำเสมอของขนาดยา มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรค มีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และไม่เกิดพิษ มีความคงตัวดีและมีลักษณะชวนให้อยากใช้ยา
รูปแบบของยาเตรียม มี 3 ชนิด
1.รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของแข็ง (นิยมใช้มากที่สุด)(Solid dosage form)
1.1.ยาเม็ด (Tablet)
1.2. ยาแคปซูล ( Capsule)
1.3. ยาผง (Powder)
2.รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของเหลว(Liquid dosage form)
2.1. ยาน้ำแขวนละออง (Emulsion)
2.2.ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension)
3.รูปแบบของยาเตรียมที่เป็นกึ่งของแข็ง (Semisolid dosage form)
3.1. ครีม (Cream)
3.2.ยาขี้ผึ้ง (Ointment)
3.3. เพสท์ (Paste)
3.4. ยาเหน็บ (Suppositories)
วิถีทางในการให้ยา
(Routes of administration)
1.การให้ยาผ่านทางเดินอาหาร
1.1 การรับประทาน (Oral ingestion)
1.2 การอมใต้ลิ้น (Sublingual administration)
2.การให้ยาโดยไม่ผ่านทางเดินอาหาร
2.1 กาารให้ยาฉีด (Injection)
2.2 การให้ยาเฉพาะที่ (Topical application)
2.3 การให้ยาชนิดสูดดม (Inhalation)
วัตถุประสงค์ในการทำยาในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาในขนาดที่ถูกต้อง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค
2.ป้องกันการสลายตัวของยาตัวยาบางอย่างจะสลายตัวเมื่อถูกอากาศและความชื้นจึงทำในรูปยาเม็ดเคลือบน้ำตาลหรือฟิล์ม
กลบรสตัวยาที่ไม่น่ารับประทาน เช่น ยาแคปซูล
เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้สูงอายุที่กลืนยาเม็ด ยาแคปซูลไม่ได้ เช่น ยาน้ำผสม ยาน้าแขวนตะกอน เป็นต้น
เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ติดต่อกันนาน ไม่ต้องรับประทานยาบ่อยครั้ง เช่น ยาเม็ดชนิดออกฤทธิ์เนิ่นนาน
ต้องการใช้ยาภายนอก ใช้สำหรับผิวหนัง ยาขี้ผึ้ง ครีม หรือใช้เฉพาะที่ เช่น ยาตา ยาหู ยาจมูก เป็นต้น
ใช้ยาสอดเข้าช่องต่างๆของร่างกาย เช่น ยาเหน็บทวารหนัก และยาเหน็บช่องคลอด
ต้องการให้ยาเข้าสู่หลอดเลือด หรือเนื้อเยื่อของร่างกายโดยตรง ทำให้ออกฤทธิ์เร็ว เช่น ยาฉีด
ต้องการให้ตัวยาออกฤทธิ์โดยผ่านระบบสูดดม เช่น ยาสูดดม หรือยาแอโรโซลเป็นต้น
ต้องการให้ตัวยาออกฤทธิ์โดยระบบนำส่งผ่านผิวหนัง เพื่อให้ตัวยาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดช้าๆ
การบริหารยา (Administration)
-
ยาก่อนอาหาร
ควรรับประทานในช่วงท้องว่าง ก่อน15-30นาที
-ยาหลังอาหาร
ควรรับประทานหลังอาหารไม่เกิน30นาที
-ยาหลังอาหารทันที
ควรรับประทานหลังอาหารทันที
-ยาพร้อมอาหาร
ให้ทานอาหารครึ่งหนึ่งแล้วทานยา
-ยาก่อนนอนหรือหลังอาหารเย็น
รัปประทานก่อนนอนหรือหลังอาหารเย็น 15-30 นาที
-ยารับประทานเวลามีอาการ
ควรรับประทานเมื่อมีอาการเท่านั้น
หลักการใช้ยาในกลุ่มเสี่ยง
ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย การใช้ยาทุกครั้งจึงจ าเป็นต้องยึดหลักการใช้ยาที่ถูกต้อง 5 ประการ (5 Rights) ได้แก่ ใช้ยาถูกคน (Right patient) ใช้ยาถูกชนิด (Right drug) ใช้ยาถูกขนาด(Right dose) ใช้ยาถูกเวลา (Right time) และใช้ยาถูกวิธี (Right route)
ควรคำนึงถึงวิธีการบริหารยา (Route of drug administration) เพื่อให้ตัวยาสำคัญไปยังบริเวณที่ออกฤทธิ์ในขนาดที่ต้องการและเห็นผลในการรักษา โดยก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยน้อยที่สุด
โดยคำนึงถึงคุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของยา ตำแหน่งของยาที่จะออกฤทธิ์ วัตถุประสงค์ในการรักษา และสภาวะของผู้ป่วย
การเรียกชื่อยา
ชื่อสามัญ(Generic name) เป็นการเรียกชื่อยาที่สำคัญทางการเเพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นชื่อมาตรฐานในการสื่อสารกัน แทนการใช้ชื่อทางเคมีซึ่งมีการจดจำได้ยาก
ชื่อทางเคมี(Chemical name) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามระบบการอ่านชื่อทางวิทยาศาสตร์ โดยสามารถแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของยา แต่เป็นชื่อที่มีความหมายซับซ้อน จึงมักใช้เป็นชื่ออ้างอิงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
ชื่อทางการค้า(Trade name) เป็นชื่อที่บริาัทผู้ขายตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ยา โดยมักเป็นชื่อที่จดจำได้ง่าย และมีความน่าสนใจ ทั้งนี้มักจะมีสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วกำกับชื่อยาอีกด้วย