Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 - Coggle Diagram
บทที่ 8
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย
การลุกลามของโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา
การกลับเป็นซ้ำ
ความพิการ
การสูญเสียภาพลักษณ์
การเป็นโรครุนแรงหรือรักษาไม่หาย
การเสียชีวิต
การแปลผลข้อมูลของผู้ป่วยและญาติซึ่งสัมพันธ์กับความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นความเชื่อและวัฒนธรรม
ผู้แจ้งข่าวร้าย :red_flag:
มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและญาติ และกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้รักษากับผู้ป่วย
แจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยหรือญาติเป็นหน้าที่สำคัญของแพทย์
ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการดำเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย :star:
ระยะปฏิเสธ (Denial)
รู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อผลการรักษา
อาจพูดในลักษณะ “ไม่จริงใช่ไหม” หรือ
“คุณหมอแน่ใจรึเปล่าว่าผลการตรวจถูกต้อง"
ระยะโกรธ (Anger)
อาจพูดในลักษณะ “ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” “ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมต้องเกิดกับเรา”
ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ
รู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ท าบางอย่างที่ค้างคา
ประเมินได้จากการพูด เช่น “อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน” “ฉันรู้ว่ามันร้ายแรง คงรักษาไม่หาย แต่ฉันอยาก....”
ระยะซึมเศร้า (Depression)
เริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่
เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ออกห่างจากสังคมรอบข้าง
มีการบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ระยะยอมรับ (Acceptance)
เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
มองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น
มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
สิ่งสำคัญภายหลังจากการแจ้งข่าวร้าย
การประชุมครอบครัว (Family meeting)
การให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ป่วยและ
ครอบครัว
เลือกแนวทางการดูแลผู้ป่วย
การให้ความร่วมมือและวางแผนร่วมกับทีมดูแล ไปสู่
การวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advanced care plan)
บันทึกการแสดงเจตนารมณ์ล่วงหน้าก่อนตาย (Advanced directive)
บทบาทพยาบาล
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
รยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ให้ความเคารพผู้ป่วย เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลการดำเนินโรค อาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบันและทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
เพื่อให้ผู้ป่วยรอดพ้นภาวะวิกฤต เพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้สูงขึ้นและตั้งเป้าให้ผู้ป่วยกลับไปดำรงชีวิตได้ดังเดิม
การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย หรือ palliative care
เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว
ประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้าน กายใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างละเอียด ครบถ้วนทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ หรือ ตายดี
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
มุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต
จะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต การตายของผู้ป่วยอาจทำให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
ทีมสุขภาพอาจเกิดภาวะหมดไฟ (burn out) ได้ง่ายเนื่องจากการรักษาที่ให้ผู้ป่วยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วย
ความคาดหวังของผูู้ป่วยและครอบครัว
หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้นจากภาวการณ์เจ็บป่วยที่รุนแรง
ความไม่แน่นอนของอาการ
ไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
Multidisciplinary team
ผูู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
ทรัพยากรมีจำกัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผูู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
“ABCD”
Attitude หมายถึง ทัศนคติของทีมสุขภาพอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
Behavior หมายถึง การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ควรปฏิบัติอย่างให้เกียรติ ทั้งวัจนะ และอวัจนะภาษา
Compassion หมายถึง มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน
Dialogue หมายถึง เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย มิใช่ตัวโรค
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
แบบผสมผสาน
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การสื่อสาร
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด ถ้าเป็นการแจ้งข่าวร้าย อาจจะใชC SPIKES protocol
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การใส้ใจประเมินอาการและจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)