Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
การส่งเสริมสุขอนามัย
เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง การคงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและการป้องกันโรค โดยการดูแลความสะอาดส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง ผม เล็บ ปาก ฟัน ตา หู จมูก และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
การดูแลสุขภาพของตนเองเป็นสิ่งที่มนุษย์ปฏิบัติกันมาช้านาน การทำความสะอาดร่างกายตนเองเป็นพฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ทุกๆวัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการอยู่รวมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
อายุ ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน นอกจากนี้อายุยังเป็นตัวกำหนดกายวิภาคและสรีระของร่างกายแต่ละคน
เพศ ความแตกต่างของเพศจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน เช่น เพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ แลไวต่อความรู้สึกกว่าเพศชาย
ภาวะสุขภาพ เมื่อมีการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือเรื้อรัง ทำให้ขาดความสนใจ หรือละเลยการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
การศึกษา บุคคลที่มีการศึกษา มักจะศึกษาค้นคว้า และมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทราบถึงประโยชน์ และโทษของการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
เศรษฐกิจ บุคคลที่มีฐานะดี ย่อมมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผม ปาก ฟัน และให้เวลากับดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมากขึ้น
อาชีพ บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญของการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ถิ่นที่อยู่ การดำเนินชีวิตภายใต้ถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน เช่น การดำเนินชีิตในเขตเมืองและเขตชนบท
ภาวะเจ็บป่วย ในภาวะการเจ็บป่วย อาจส่งผลในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง เช่น โรคหัวใจ ระยะที่ร่างกายอ่อนเพลียทำให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลงจึงต้องการการดูแลทดแทนจากผู้อื่น
สิ่งแวดล้อม ในฤดูร้อนอุณหภูมิจะสูงทำให้คนเรามีเหงื่อไคลและกลิ่นตัวที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ และวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล จะเป็นผลต่อการดูแลตนเองเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ห้ามสระผมขณะมีไข้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยมากขึ้น
ความชอบ เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคลลที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลมาจากครอบครัว โรงเรียน และปลูกฝังจนเป็นอุปนิสัยในการดูแลตนเองด้านความสะอาดร่างกาย และความชอบของแต่ละบุคคล อาจไม่เหมือนกัน
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคลลของผู้ป่วย เป็นบทบาทอิสระของพยาบาลที่สามารถพิจารณากระทำได้ทันทีโดยไม่ต้องมีคำสั่งของแพทย์เมื่อผู้ป่วยเข้านอนรักษาโรงพยาบาลจนถึงจำหน่ายกลับบ้าน
การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามือ (Early morning care) เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลเวรดึก ที่ให้การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด เมื่อผู้ป่วยตื่นนอนแล้วพยาบาลจะดูแลช่วยเหลือเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ การให้กระบอกปัสสาวะ การทำความสะอาดร่างกาย เช่น การเช็ดหน้า ล้างมือ ความสะอาดปากและฟัน
การพยาบาลตอนเช้า (Morning care/ A.M care) เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้าที่จะให้การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อย เป็นการพยาบาลเพื่อดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลประจำวัน
การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น (Afternoon care/P.M care) เป็นหน้าที่พยาบาลเวรเช้า หากทำกิจกรรมภายในช่วงก่อนเวลา 16.00 น. หากทำในช่วงเวลาตอนเย็น จะเป็นหน้าที่ของเวรบ่ายในการดูแลทำความสะอาดปากและฟัน การล้างมือ ล้างหน้า เป็นต้น
การพยาบาลตอนก่อนนอน (Evening care /Hour of sleep care/ H.S. care) เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรบ่าย เป็นการพยาบาลที่ให้การดูแลเรื่องการให้กระบอกปัสสาวะ การล้างมือ ทำความสะอาดปากฟัน
การพยาบาลเมื่อจำเป็นหรือเมื่อผู้ป่วยต้องการ (As needed care / P.r.N.care) พยาบาลให้การพยาบาลตามความต้องการของผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ถ้าผู้ป่วยปัสสาวะรดที่นอนเปียกทั้งตัว พยาบาลจะช่วยเช็ดตัว ทำความสะอาด
การดูแลความสะอาดร่างกาย
พยาบาลต้องเป็นผูให้การดูแลความสะอาดของร่างกายของผู้ป่วย โดยมีหลักการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย การดูแลความสะอาดของผิวหนัง/ การอาบน้ำ การดูแลความสะอาดของปากและฟัน หู ตา จมูก เล็บ เส้นผมและหนังศีรษะ อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายและหญิง
การทำความสะอาดของผิวหนัง/การอาบน้ำ (Bathing)
ผิวหนังที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆของร่างกายมีพื้นที่มากที่สุด ผิวหนังที่ปกติของผู้ที่มีสุขภาพดีนั้นต้องไม่ฉีกขาดป้องกันการติดเชื้อและจุุลินทรีย์บนผิวหนังไม่สามารถทำอันตรายได้ พยาบาลควรสังเกตผิวหนังขณะอาบน้ำเช็ดตัวผู้ป่วยว่าเป็นอย่างไร มีตุ่ม ผื่น รอยช้ำ แล้วบันทึกรายละเอียดสิ่งที่ได้สังเกตให้ครบถ้วน การอาบน้ำ เป็นการขจัดของเสียที่ร่างกายขับออกมา เช่น คราบเหงื่อ น้ำมัน และสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง และแบคทีเรีย ออกจากร่างกาย ซึ่งนอกจากจะทำให้ผิวหนังสะอาดแล้วยังช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือด ทำให้สดชื่น และรู้สึกผ่อนคลาย
ชนิดการอาบน้ำ แบ่งตามสภาวะของผู้ป่วย มีดังนี้
อาบน้ำที่ห้องน้ำ (Bathing in bath room/shower) เป็นการช่วยเหลือพาผู้ป่วยไปทำความสะอาดร่างกายในห้องน้ำ พยาบาลต้องประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยก่อนพาไปอาบน้ำที่ห้องน้ำ และต้องระวังผู้ป่วยพลัดตกหกล้มโดยอยู่ใกล้ๆ ห้องน้ำ
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน (Partial bath) เป็นการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่สามารถอาาบน้ำเช็ดตัวได้ครบทุกส่วน พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถเช็ดเองได้ เช่น บริเวณหลัง
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์ (Complete bed bath) เป็นการทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำเช็ดตัวให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งหมด ซึ่งต้องนอนบนเตียง หรือนอนติดเตียง ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกรณีที่ เช่น การผ่าตัดใหญ่วันแรก กระดูกเชิงกรานหัก
จุดประสงค์
ของการอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเพื่อ
กำจัดสิ่งสกปรก ที่สะสมผิวหนังและส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง
ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย สดชื่นและผ่อนคลาย
ประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายและส่งเสริมการออกกำลังกายของข้อต่างๆ
สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและป้องกันแผลกดทับ
การนวดหลัง (Back rub or back massage)
เป็นศิลปะที่ใช้การสัมผัสด้วยมือที่นุ่มนวลมีจังหวะ มีความหนักเบาและยังเป็นการสื่อสารติดต่ออย่างหนึ่งในการพยาบาลผู้ป่วย มีหลักการนวดหลัง ดังนี้
จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ไม่นวดบริเวณที่มีการอักเสบ มีแผล กระดูกหัก ผู้ป่วยโรคหัวใจ ภาวะมีไข้ โรคผิวหนัง
ไม่นวดแรงเกินไปจนผู้ป่วยเจ็บ
นวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
เลือกใช้แป้งหรือโลชั่นหรือครีม เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้เวลานวดประมาณ 5-10 นาที
จุดประสงค์
ของการนวดหลัง เพื่อ
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
ป้องกันแผลกดทับ
ให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความตึงตัว
กระตุ้นผิวหนังและต่อมเหงื่อให้ทำงานดีขึ้น
สังเกตความผิดปกติของผิวหนังบริเวณหลัง
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
เป็นความสะอาดพื้นฐานทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น ผู้ป่วยมีความมั่นใจในการสื่อสารด้วยวาจา และเมื่อสุขภาพของฟันแข็งแรงการเคี้ยวอาหารก็จะรับรู้ถึงความอร่อย ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
วัตถุประสงค์
ของการดูแลความสะอาดปากและฟัน เพื่อ
ปากและฟันสะอาด มีความชุ่มชื่น
กำจัดกลิ่นปาก ลมหายใจสดชื่น ป้องกันฟันผุ
ลดการอักเสบของเหงือก กระพุ้งแก้ม
สังเกตฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น มีแผล หรือการติดเชื้อ หรือเลือดออกหรือฝ้าในช่องปาก
การดูแลความสะอาดของเล็บ
เล็บเป็นโครงสร้างจากโปรตีน ซึ่งจะงอกยาวตามเวลา จึงต้องทำการตัดให้สั้นตามเหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากการทำความสะอาดเล็บและตัดให้เรียบร้อยยังเป็นการช่วยเสริมบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย
จุดประสงค์
ของการดูแลความสะอาดของเล็บ เพื่อ
ให้เล็บสะอาด และสุขสบาย
ป้องกันการเกิดเล็บขบ
การดูแลความสะอาดของตา
เป็นการทำความสะอาด รวมทั้งการกระทำ เพื่อแก้ปัญหาด้านอนามัยของตา ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการทำความสะอาดที่มีขี้ตา และการดูแลอนามัยของตาในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
การทำความสะอาดตา
ผู้ป่วยบางรายอาจมีขี้ตามากกว่าปกติ ขี้ตาอาจแห้งติดหนังตาหรือขนตา ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกไปวันละ 2-3 ครั้ง
จุดประสงค์
ของการดูแลความสะอาดของตา เพื่อ
กำจัดขี้ตา ทำให้ดวงตาสะอาด
ความสุขสบายของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
การดูแลทำความสะอาดของหู
เป็นอวัยวะรับรู้สึกที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว โดยปกติคนทั่วไปจะดูแลหูเฉพาะด้านนอกให้สะอาดปราศจากขี้ไคลบริเวณหลังใบหู หลังสระผมมักจะมีน้ำเปียกในช่องหูใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ เช็ดให้แห้ง การเช็ดทำความสะอาดช่องหูหลังอาบน้ำควรใช้ไม้พันสำลีเช็ดทำความสะอาดในช่องหูทั้ง 2 ข้าง สำหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยฟังต้องดูแลเป็นพิเศษ การหยิบใช้หรือเช็ดทำความสะอาดส่วนประกอบของเครื่องช่วยฟังการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ การปรับเสียงต้องระมัดระวัง
จุดประสงค์
ของการดูแลทำความสะอาดของหู เพื่อ
กำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู
ทำความสะอาดใบหูและหลังใบหู
การทำความสะอาดของจมูก
เป็นการทำความสะอาดรูจมูกและรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อจมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่คาสายไว้ เช่น สายยางให้อาหาร(nasogastric tube:NG tube) สายออกซิเจน เป็นต้น
จุดประสงค์
ของการทำความสะอาดของจมูก เพื่อ
กำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งสกปรกภายในจมูก
ป้องกันสารคัดหลั่งแห้งยึดขนจมูกกับสายที่คาไว้
ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ด้านในรูจมูกจากสายที่คาไว้
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
เป็นการทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะรวมทั้งการกระทำเพื่อแก้ปัญหาของเส้นผมและหนังศีรษะซึ่งในที่นี้หมายถึง การสระผมให้ผู้ป่วยบนเตียง
จุดประสงค์
ของการดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ เพื่อ
ขจัดความสกปรกละสารที่ใส่บนผม และหนังศีรษะเพื่อการตรวจรักษา
ความสุขสบาบและสดชื่นของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วยและรู้สึกมีความมั่นใจ
การทำความอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
1. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้ชาย(Perineak care of male)
เป็นการทำความสะอาดอวัยวสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียง เช่น ขาหนีบ ฝีเย็บ และบริเวณทวารหนัก ปกติจะชำระให้วัยละ 1-2 ครั้ง และหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เรียกสั้นๆว่า P-care หรือ flushing
2. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิง(Perineal care of female)
เป็นการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียง เช่น ขาหนีบ ฝีเย็ย และบริเวณทวารหนัก ปกติจะชำระให้วันละ 1-2 ครั้ง และหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เรียกสั้นๆว่า P-care หรือ flushing
จุดประสงค์
เพื่อ
กำจัดสิ่งขับถถ่าย สิ่งสกปรก และกลิ่นไม่พึงประสงค์
ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนปัสสาวะคาไว้
เสริมสร้างความสุขสบายให้กับผู้ป่วย
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
1. การประเมินผู้ป่วย(Health assessment) ได้แก่
ประเมินระดับความสามารถในการดูแลตนเอง
ประเมินความชอบบ ความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ป่วย
ประเมินผิวหนัง ช่องปาก เส้นผมและหนังศีรษะ ตา หู จมูก
ประเมนิปัญหาและความเสี่ยงของการรักษาและอากรผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดูแล
2. การวินิจฉัยทางการพยาบาล(Nursing diagnosis)
ไม่สนใจดูแลความสะอาดร่างกายด้วยตนเองเนื่องจากมีความเครียด
มีความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากเหนื่อยง่ายจากการเป็นโรค
มีการเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่องเนื่องจากเป็นอัมพาต
พร่องความสามารถในการดูแลความสะอาดร่างกาย
3. การวางแผนการพยาบาล(Planning)
กำหนดวัตถุประสงค์ และเกณฑ์การประเมิน
เลือกกิจกรรมการดูแล เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหาความต้องการของผู้ป่วย
4. การปฏิบัติการพยาบาล(Implementation)
ปฏิบัติการดูแลความสะอาดร่างกาย การอาบน้ำ การนวดหลัง การทำความสะอาดปากและฟัน เส้นผมและหนังศีรษะ และอวัยวะสืบพันธุ์
5. การประเมินผลการพยาบาล(Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
ความหมายของการพักผ่อนและการนอนหลับ
การพักผ่อน(Rest)
หมายถึง การพักกิจกรรมการทำงานของร่างกาย หรือการพักการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยนั่งเฉยๆ ชั่วขณะหนึ่ง อาจทำกิจกรรมเบา ๆ นันทนาการ เปลี่ยนอิริยาบท หรือชมวิว
การพักผ่อนของผู้ป่วยในโรงพยาบาล แบ่งออกเป็น
Absolute bed rest เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง ไม่ให้ร่างกายออกแรงในกิจกรรมใด ๆ ที่จะทำให้รู้สึกเหนื่อย ห้ามลุกออกจากเตียง การทำกิจกรรมการพยาบาล พยาบาลจะต้องเป็นผู้จัดกิจกรรมให้ เช่น การบริการหม้อนอนถ่ายอุจจาระบนเตียง บริการอาบน้ำบนเตียง
Bed rest เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามความสามารถของผู้ป่วย เช่น ไปห้องน้ำด้วยตนเอง เป็นต้น
การนอนหลับ
เป็นกระบวนการทางสรีรวิทยาพื้นฐานที่สอดประสานกับจังหวะการทำงานของร่างกายด้านอื่นๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆของร่างกายไปในทางผ่อนคลาย ได้แก่ ระดับการรู้สติลดลง มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง อวัยวะทุกส่นทำงานลดลง รวมทั้งสภาวะจิตใจ และมีการเอนกายลงในท่าสงบนิ่งและหลับตา
ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
ส่งเสริมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยมีการสร้างและสะสมพลังงานในขณะหลับ เวลาที่หลับสนิทในช่วงแรกในสามส่วนของการหลับทั้งคืนนั้น ร่างกายจะสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มมากขึ้นและเกิดการเผาผลาญกรดไขมันให้เป็นพลังงาน เซลล์กระดูกและเม็ดเลือดแกงมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ ช่วยส่งเสริมการหายของแผลรวมถึงมีการช่วยสะสมพลังงานไว้ใช้ในวันต่อไป ขณะนอนหลับพบว่ามีการลดลงของฮอร์โมนคอร์ติซอล
สงวนพลังงาน พลังงานที่ใช้ของร่างกายและสมองจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงตื่น ขณะอยู่เฉย โดยประมาณการลดพลังงานร้อยละ 15 ช่วงการนอนหลับระยะนี้จะมีการสงวนพลังงาน
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ เนื่องจากการนอนหลับในระยะ(Rapid eye movement sleep:REM) จมีการทำงานของระบบประสาทเต็มที่ มีการกระตุ้นให้ความจำระยะสั้นเป็นความจำระยะยาวได้ มีการปรับตัวต่อความเครียดได้ดี สดชื่นพร้อมที่จะเรียนรู้ในแต่ละวัน
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอยู่ใต้สมองส่วนไฮโปลาธาลามัสและต่อมใต้สมองส่วนหน้าทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในร่างกาย จะทำให้ระยะเวลาในการนอนหลับลึกเพิ่มมากขึ้น อัตราการเผาผลาญลดลงจึงทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง
ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
1.ผลกระทบต่อร่างกาย
ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น อาการเมื่อยล้าคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปวดศีรษะ วิงเวียนเหมือนบ้านหมุน ความทนต่อความเจ็บปวดลดลง กล้ามเนื้อคออ่อนแรง ความคิดและการรับรู้บกพร่อง เหนื่อยล้า เฉี่อยช้า การพูดเสียไป ตัดสินใจได้ช้าและรู้สึกว่าตนเองมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้ง่าย
2.ผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ง่าย อาจมีอาการเชื่องซึมและหงุดหงิด โมโหง่าย เกิดความสับสนและความสามารถในการควบคุมตนเองจากสิ่งเร้าลดลง มีอาการหวาดระแวงและหูแว่ว ไม่สามารถยังยั้งพฤติกรรมความก้าวร้าวของตนเองได้
3. ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้
เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดง สมาธิไม่ดี และแก้ไขปัญหาได้ช้า
4. ผลกระทบทางสังคม
บุคคลที่นอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลทางสังคม ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลง ความมั่นใจในการทำงานลดลง และมีการใช้ระบบบริการทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
วงจรการนอนหลับ
1. ช่วงหลับธรรมดา (Non-rapid eye movement sleep: NREM)
เป็นช่วงการหลับที่จะลึกลงไปเรื่อยๆ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่หลับตื้นไปจนถึงหลับลึก
ระยะที่ 1 เริ่มมีความง่วง เป็นช่วงเริ่มหลับที่เปลี่ยนจากการตื่นไปสู่การนอน ในคนทั่วไปใช้เวลา 30 วินาที-7 นาที เป็นสภาพที่แม้จะได้รับการกระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็จะตื่น
ระยะที่ 2 หลับตื้น การหลับในช่วงต้น เป็นสภาพที่ไม่ได้ยินเสียงรบกวนจากภายนอก เป็นระยะแรกที่มีการหลับอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน ระยะนี้จะถูกปลุกให้ตื่นได้โดยง่าย
ระยะที่ 3 หลับปานกลาง ทั้งคลื่นสมองและชีพจรจะเต้นช้าลง ความมีสติรู้ตัวจะหายไป การเคลื่อนไหวของตาจะหยุดลง แม้ได้รับสิ่งเร้าจากภายนอกก็จะไม่ตื่นโดยง่าย ขั้นนี้จะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
ระยะที่ 4 หลับลึก เป็นช่วงหลับสนิทของการนอน ใช้เวลา 30-50 นาที หากว่าร่างกายนอนหลับโดยปราศจากระยะที่ 4 นี้ อาจมีการนอนละเมอหรือฝันร้ายได้ ระยะนี้อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิตลดลง อัตราการเต้นของหัวใจลอลง 60 ครั้ง/นาที growth hormone จะมีการหลั่งในระยะนี้
2. ช่วงหลับฝัน (Repid eye movement sleep: REM)
เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อต่างๆของร่างกายแทบจะหยุดการทำงานกันหมด แต่ระบบการทำงานของหัวใจ กระบังลมเพื่อการหายใจ กล้ามเนื้อตา และกล้ามเนื้อเรียบ เช่น หลอดเลือดและลำไส้ โดยในช่วงนี้ตาจะกลอกไปซ้ายขวาอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะได้พักผ่อน แต่สมองยังตื่นตัวอยู่ ระยะนี้ช่วยจัดระบบความจำ ทำให้ความจำเรื่องบางเรื่องได้นานขึ้น ระยะนี้นี่เองเป็นระยะที่คนเราจะฝัน แต่ก็จะตื่นง่าย
ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน ดังนี้
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่
อายุ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง โดยมีผลต่อวงจรการนอนหลับ ตั้งแต่วัยทารกถึงวัยสูงอายุ
เพศ โดยธรรมชาติแล้วเพศชายจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการนอนหลับได้เร็วและมากกว่าเพศหญิง 10-20 ปี
2. ความไม่สุขสบาย มีสาเหตุแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ได้แก่
ความเจ็บปวด พบว่าความเจ็บปวดเป็นปัจจัยกวนการนอนหลับด้านร่างกายมากที่สุด
การใส่สายยางและท่อระบายต่างๆ จากสายยางและท่อระบายต่างๆ เช่น สายน้ำเกลือ สายสวนปัสสาวะ สายให้ออกซิเจน เป็นต้น
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม ท่านอนมีผลต่อคุณภาพการนอนหลับ การถูกพันธนาการด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ และการพลิกตัวเป็นปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับของผู้ป่วย
อาการคลื่นไส้ อาเจียน มักพบหลังจากได้รับยาระงับรู้สึกทั่วร่างกาย หรือการได้รับยาชาเฉพาะที่ โดยมักพบในผู้ป่วยหลังผ่าตัด นอกจากนี้ความวิตกกังวลสูงและความปวดอาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จะส่งผลกระทบต่อการนอนหลับได้
ภาวะไข้หลังผ่าตัด การมีอุณหภูมิร่างกายสูงหลังผ่าตัดเป็นปฏิกิริยา การตอบสนองของร่างกาย จะมีไข้ต่ำๆ หลังการผ่าตัด 3-4 วัน ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย และนอนไม่หลับได้
3. ความวิตกกังวล
เป็นปัจจัยรบกวนคุณภาพของการนอนหลับ อยู่ในระดับ 3.03 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ความวิตกกังวลมักเกิดจากสิ่งที่คุกคามต่อสวัสดิภาพของร่างกายและจิตใจ ได้แก่ ความไม่คุ้นเคยต่อการนอนโรงพยาบาล การสูญเสียบททบาทหน้าที่ทางครอบครัวและสังคม การไม่สามารถช่วยเหลือตนได้เหมือนปกติ การต้องการความช่วยเหลือพึ่งพาจากผู้อื่นส่งผลให้เกิดภาวะเครียด
ปัจจัยภายนอก ดังนี้
1. เสียง
เป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนอนในโรงพยาบาล แหล่งของเสียงรบกวนพบบ่อยที่สุด ได้แก่ เสียงที่เกิดจากกิจกรรมการพยาบาลดูแลผู้ป่วยของพยาบาลทั้งทางตรงและทางอ้อม เสียงอุปกรณ์การแพทย์
2. อุณหภูมิ
จะทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่ายเพิ่มขึ้น และตื่นบ่อยขึ้น
3. แสง
ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับ โดยส่งผลต่อระยะการเริ่มต้นของการนอนหลับ
4. ความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
การเปลี่ยนที่นอนเกิดความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่ เช่น ขนาดของเตียงนอน ผู้ป่วยพลิกตัวกลัวตกเตียง ความแข็งของที่นอนและหมอน และการหุ้มด้วยผ้ายางหรือพลาสติกกันเปื้อนสิ่งสกปรกทำให้ร้อนและเหงื่อออกมาก
5. กิจกรรมการรักษาพยาบาล
ได้แก่ การทำหัตถการต่างๆ การพลิกตะแคงตัว การให้ยากินและฉีด การให้อาหาร และการตรวจวัดสัญญาณชีพ เป็นปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยได้
6. อาหาร
การรับประทานอาหารที่มีสารทริพโทแฟ็น ซึ่งมีอยู่ในนมจะส่งเสริมการนอนหลับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา โคล่า ช็อคโกแลต เป็นต้น จะมีฤทธิ์กระตุ้นและคงไว้ในร่างกาย 3-5 ชั่วโมง
การประเมินคุณภาพการนอนหลับและการนอนหลับที่ผิดปกติ
1. Insomnia
เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่พบบ่อยที่สุด มี 3 ลักษณะ คือ
- การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว (Transient insomnia)
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นช่วงเวลาสั้นๆ 3-5 วัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาตึงเครียดในชีวิต อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม เช่น เสียงดัง การเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก
- การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น (shot term insomnia)
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีสาเหตุเดียวกับการนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราวแต่มีเวลานานกว่า
- การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง (Chronic insomnia)
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป
2. Hypersomnia
เป็นการนอนหลับมาก หรือง่วงนอนมากกว่าปกติ ซึ่งจะแสดงออก ในแง่การนอนหลับในที่ไม่ควรหลับ เช่น ขณะขับรถยนต์ หรือรอรถติดไฟแดง หลับในห้องประชุม หลับขณะรับประทานอาหาร
3. Parasomnia
เป็นพฤติกรรมที่ควรเกิดขณะตื่นแต่กลับเกิดขณะหลับเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
ความผิดปกติของการตื่น ได้แก่ อาการสับสน ละเมอเดิน
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่น หรือจากตื่นมาหลับ ได้แก่ อาการขากระตุกขณะกำลังหลับ ละเมอูด ศีรษะโขกกำแพง
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตา ได้แก่ ภาวะฝันร้าย ภาวะผีอำ
กลุ่มอื่นๆ ได้แก่ การนอนกัดฟัน การปัสสาวะรดที่นอนขณะหลับ การกรน การไหลตาย
การจัดการสิ่งแวดล้อม
ความสุขสบายและความปลอดภัยจะเกิดขึ้นได้จำเป็ฯต้องมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ทั้งในบ้านเรือน ที่พักอาศัย และในโรงพยาบาลเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามและน่าอยู่อาศัยสภาพแวดล้อมของที่พักต้องสะอาด สวยงาม และน่าอยู่ ข้าวของมีการจัดเก็บเข้าที่อย่างเป็นระเบียบ สามารถหยิบใช้ได้สะดวก
ความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องใช้ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ จัดให้มีของใช้เฉพาะที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น เตียง ตู้ข้างเตียง เก้าอี้ เหยือกน้ำ แก้วน้ำ กระโถนบ้วนปาก หม้อนอน
อุณหภูมิ มีความเหมาะสมของอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส มีการถ่ายเทระบายอากาศดี มีแสงสว่างส่องเพียงพอ
เสียง แหล่งกำเนิดเสียงจากภายนอกห้อง หรือเกิดจากผู้ให้บริการหรือจากญาติที่มาเยี่ยมไข้ ส่วนในห้องอาจเกิดจากอุปกรณ์ภายในห้อง หรือเครื่องอำนวยความสะดวก เช่น ทีวี วีดีโอ
กลิ่น แบ่งออกเป็น ดังนี้
กลิ่นหอม อาจคิดว่าเป็นเฉพาะน้ำหอมเท่านั้น แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว น้ำหอมไม่ได้เป็นกลิ่นที่พึงประสงค์ของทุกคน บางคนบอกว่ากลิ่นรุนแรง ทำให้เวียงศีรษะ กลิ่นที่เหมาะสำหรับการสร้างความสุข คือ กลิ่นสะอาด และสดชื่น
กลิ่นเหม็น ได้แก่ กลิ่นที่ส่งออกมาจากสิ่งขับถ่ายภายในร่างกายของคน เช่น เหงื่อ อุจจาระ ปัสสาวะ หนอง เลือด และอาเจียน เป็นต้น
แสงสว่าง สภาพแวดล้อมที่ดีต้องไม่มืดสลัวหรือสว่างจัาจนเกินไป แสงสว่างที่ดีที่สุดควรเป็นแสงธรรมชาติ ภายในห้องผู้ป่วยควรให้แสงสว่างผ่านเข้าไป เพื่อป้องกันความอับชื้น และยังช่วยทำลายเชื้อโรค
ความเป็นส่วนตัว และมิดชิดอย่างปลอดภัย สภาพหอผู้ป่วยสามัญของโรงพยาบาล ส่วนมากมีลักษณะเป็นห้องโถง เตียงจัดเป็นแถวติดต่อกัน ซึ่งแต่ละเตียงจะมีม่านกั้น ดังนั้นการให้การรักษาพยาบาลที่ต้องเปิดเผยต้องกั้นม่านทุกครั้ง
ความอบอุ่น และความประทับใจในบุคลิกภาพของพยาบาล ซึ่งบุคลิกภาพของพยาบาลที่พึงประสงค์ และสร้างความพึงพอใจในการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย
Dorsal position (supine position) เป็นท่านอนหงายราบ ขาชิดติดกัน ใช้ในการตรวจร่างกายทั่วไป เป็นท่านอนที่จัดขึ้นเพื่อความสุขสบาย สำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรืออ่อนเพลียไม่มีแรง
Fowler's position เป็นท่านอนราบศีรษะสูง 30-90 องศา เป็นท่านอนที่สุขสบายและเพื่อการรักษา ท่านี้ลักษณะคล้ายท่านั่งบนเตียง สะดวกสำหรับให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบนเตียง เช่น บ้วนปาก แปรงฟัน หรือนั่งพักผ่อน
Prone position เป็นท่านอนคว่ำ เป็นท่านอนที่สุขสบาย สำหรับผู้ป่วย ที่ไม่รู้สึกตัว แต่มีการหายใจปกติ ท่านี้จะช่วยให้น้ำลาย เสมหะไหลออก และลิ้นผู้ป่วยห้อยลงจึงไม่ปิดกั้นทางเดินหายใจ และช่วยป้องกันแผลกดทับด้านหลัง
Lateral position เป็นท่านอนตะแคง จัดเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วย ที่ช่วยเหลือเคลื่อนไหวด้วยตนเองไม่ได้ ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับด้านหลัง และใช้เปลี่ยนอิริยาบถ ผลเสีย คือ การจัดท่านี้จะทำให้ข้อสะโพก ข้อหัวไหล่ที่อยู่ด้านบนจะห้อยลงและหมุนเข้าด้านใน
Sitting position เป็นท่านั่งที่สุขสบายสำหรับผู้ป่วยได้เปลี่ยนอิริยาบถ และพักผ่อนได้อย่างมีความสุข เพื่อความปลอดภัย และความสุขสบายควรมีที่เท้าแขน
การทำเตียง
การเปลี่ยนเครื่องผ้าที่ใช้กับเครื่องนอนให้สะอาด เรียบร้อย การทำเตียง มี 4 ชนิด คือ
1. การทำเตียงว่าง(Close bed)
เป็นการทำเตียงที่ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วย เพื่อเตรียมรับผู้ใหม่
จุดประสงค์
จัดสิ่งแวดล้อมสะอาดให้ส่งเสริมความสุขสบาย ให้หอผู้ป่วยเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามน่าอยู่พักอาศัย
จัดเตรียมความพร้อมเตรียมรับผู้ป่วยใหม่
2. การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้(Open/unoccupied bed)
เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่สามารถลุกจากเตียงได้ ไม่จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา อาจเป็นผู้ป่วยที่แข็งแรง ช่วยเหลือตนเองได้ดี หรือต้องพึ่งผู้อื่นในบางส่วน หรือสามารถนั่งได้เป็นเวลานาน
จุดประสงค์
ให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย
ให้เตียงและสิ่งแวดล้อมสะอาด เรียบร้อย สวยงาม
3. การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงไม่ได้(Occupied bed)
เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือได้ต้องพึ่งผู้อื่นในการทำกิจกรรม
จุดประสงค์
ให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย
ให้เตียงและสิ่งแวดล้อมสะอาด เรียบร้อย สวยงาม
4. การทำเตียงรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้ป่วยได้รับยาสลบ(Surgical/ether/anesthetic bed)
เป็นการทำเตียงหลังจากส่งผู้ป่วยไปรับการผ่าตัดหรือการตรวจและได้รับยาสลบ
จุดประสงค์
เตรียมรับผู้ป่วยหลังจากไปรับการผ่าตัด หรือการตรวจพิเศษ
เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยสำลักหรือลิ้นตก และเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะอันตราย