Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่2 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ - Coggle Diagram
บทที่2 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
ระบบประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic nervous system)
ทำงานเพื่อให้สามารถ”ต่อสู้ หรือถอยหนี” เพิ่มการใช้พลังงาน ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก(Parasympathetic nervous system)
เปรียบเสมือนการชะลอหรือห้ามระบบ”เพื่อให้พักผ่อนหรือย่อยอาหาร” ได้แก่ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ หลอดลมตีบแคบลง กระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะบีบตัว เพิ่มการหลั่งกรดและน้ำย่อย
สารสื่อประสาท(neurotransmitters)และตัวรับ(Receptor)ในระบบประสาทอัตโนมัติ
สารสื่อประสาทในระบบประสามซิมพาเทติก เรียกว่า Adrenergic agents ได้แก่ Noradrenaline (NE)และจับกับตัวรับเฉพาะที่เรียกว่า Adrenegic receptor มีชนิดAlpha (α) และBete(β)
สารสื่อประสาทในระบบพาราซิมพาเทติก เรียกว่า Cholinegic agents ได้แก่ Acetylcholine (ACh)และจับกับตัวรับเฉพาะที่เรียกว่า Cholinergic receptor มีทั้งชนิด Muscarinic(M)และNicotinic receptor (N)
สารสื่อประสาทในระบบโซมาติก จะมีเส้นประสาทที่ไปยังกล้ามเนื้อลายซึ่งหลั่งAChออกฤทธิ์ที่Nicotinic receptor กล้ามเนื้อลาย
การแบ่งประเภทของ Adrenergic receptor
β1 พบที่หัวใจเมื่อถูกกระตุ้นจะเพิ่มแรงบีบตัว อัตราการเต้นของหัวใจ
β2 พบที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด หลอดลม ทางเดินปัสสาวะ และมดลูกเมื่อถูกกระตุ้นจะเกิดการคลายตัว และกล้ามเนื้อลายก่อให้เกิดการสลายไกลโคเจน
β3 พบที่เซลล์ไขมันเมื่อมีการกระตุ้นทำให้เกิดการสลายไขมัน
α1พบที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทางเดินปัสสาวะ และมดลูกทำให้เกิดตอบสนองแบบหดตัว ยกเว้นระบบทางเดินอาหารทำให้ยับยั้งการเคลื่อนไหว
α2 พบที่ปลายประสาทซิมพาเทติกที่เนื้อเยื่อต่างๆและในสมองการกระตุ้นจะยังยั้งการหลั่งของnorepinephrine (NE)
การแบ่งประเภทของ Cholinergic receptor
Nicotinic receptor พบที่ปมประสาท
Muscarinic receptor
M1 พบที่สมอง
M2 พบที่หัวใจและบางส่วนของperipheral neuron
M3 พบได้ตามต่อมมีท่อต่างๆกล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ
M4 พบที่ระบบประสาท
M5 พบที่ Dopamine neuron
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
ยาโคลิเนอร์จิก(Cholinergic Drugs)
Cholinergic agonist ออกฤทธิ์โดยตรง ได้แก่
Acetylcholine (Ach)และสารสังเคราะห์ choline ester
Ach จัดเป็นยาต้นแบบของยากลุ่มนี้แต่ไม่สามารถนำมารักษาเนื่องจากฤทธิ์ยากระจายมากและออกฤทธิ์สั้นเนื่องจากยาถูกทำลายอย่างรวดเร็ว จึงเกิดการสังเคราะห์ Choline ester อื่นๆมาใช้ เช่น Carbachol และ Bethanechol
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ Muscarinic และ Nicotinic receptor
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบไหลเวียนเลือด
ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ลดความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ
ระบบหายใจ
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดลมหดตัว ถ้าการกระตุ้นมีมากจะเกิดอาการคล้ายหืด(asthma)
ระะบบทางเดินปัสสาวะ
ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหดตัว
ระบบทางเดินอาหาร
เพิ่มการหลั่งสารคัดหลั่งคือ น้ำลายและกรดในกระเพาะอาหาร
ฤทธิ์ต่อตา
ทำให้ม่านตาหรี่ (miosis)
ระบบประสาทส่วนกลาง
มีบทบาทเกี่ยวกับการรับรู้ การเคลื่อนไหว ความอยากอาหาร ความปวด
การนำไปใช้ทางคลีนิค
ใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะBethanechol รักษาอาการปัสสาวะไม่ออกจากการผ่าตัด
ใช้รักษาต้อหิน(glaucoma) ยา pilocarpine ชนิดหยอดรักษาต้อหินเฉียบพลัน
ใช้รักษาอาการท้องอืด ไม่ถ่าย เช่น โรคกรดไหลย้อน
ข้อห้ามใช้
ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
ผู้ป่วยลำไส้อุดตัน นิ่วทางเดินปัสสาวะ
Anticholinesterase agents สารโคลิเนอร์จิกออกฤทธิ์ทางอ้อม
กลไกการออกฤทธิ์
การจับกับเอนไซม์ถ้าเป็นชั่วคราว จัดอยู่ในกลุ่ม”reversible”
สารที่จับกับเอนไซม์อย่างถาวร เรียกว่า “irreversible”ได้แก่ organophosphate compoundsซึ่งใช้เป็นยาฆ่าแมลง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ผลต่อ muscarinic receptor คล้ายกับ Cholinergic agonist ได้แก่ผลต่อกล้ามเนื้อเรียบและต่อมกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ ตา
ผลต่อ nicotinic receptor ผลต่อกล้ามเนื้อลาย การบีบตัวของใยกล้ามเนื้อ
การนำไปใช้ทางคลีนิค
ใช้ในการรักษาอาการลำไส้ กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว
ใช้ในการรักษาโรค Myasthenia gravis(MS)
ใช้ในการยุติฤทธิ์ของยาคลายกล้ามเนื้อ
รักษาAlzheimer’s diseaseยาช่วยปรับปรุงด้านความจำ ความเข้าใจ
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
Organophosphate หรือยาฆ่าแมลง เป็นยาที่จับกันเอนไซม์ถาวร(irreversible) เมื่อได้รับสารนี้จะเกิดอาการพิษ ได้แก่ รูม่านตาเล็ก หายใจลำบาก หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เหงื่อออกมาก ถ้าสารนี้เข้าสมองจะทำให้ ชัก หยุดหายใจ และหมดความรู้สึกได้
ยาต้านมัสคารินิค(Antimuscarinic Drugs)
ยาในกลุ่มนี้มีผลต่อ nicotinic เล็กน้อย จึงออกฤทธิ์ปิดกั้นที่ Muscarinic receptor ได้แก่ Atropine
กลไกการออกฤทธิ์
Atropine เป็น Muscarinic antagonist ออกฤทธิ์แย่งกับ Ach ในการจับ Muscarinic receptor แบบแข่งขัน ทำให้ยามีผลลด parasympathetic tone ในร่างกาย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบตา
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบ iris sphincter และ ciliary muscle ไม่สามารถหดตัวได้จึงทำให้ม่านตาขยาย ไม่สามารถควบคุมเลนส์ให้มองภาพได้ชัด
ระบบทางเดินอาหาร
ลดการบีบตัวของหลอดอาหารไปจนถึงลำไส้ใหญ่ เป็นการลดทั้งความแรงและลดการขับเคลื่อนของกระเพาะอาหาร
ระบบทางเดินหายใจ
มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ยัยั้งการหลั่งของสารคัดหลั่งที่จมูก ปาก และหลอดลม
กล้ามเนื้อเรียบอื่นๆ
ลดความตึงตัวและความแรงในการบีบตัวของท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ
ต่อมเหงื่อ
ทำให้ร่างกายขับเหงื่อได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกทางเหงือได้ อุณหภูมิของร่างกายจึงสูงเกิดไข้ เรียกว่า Atropine fever
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทำให้หัวใจเต้นเร็ว มีฤทธิ์โดยตรงทำให้หลอดเลือดขยายตัว โดยเฉพาะหลอดเลือดใต้ผิวหนัง
การนำไปใช้ทางคลีนิค
Antisecretory รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
ใช้เป็น Antispasmodics ยาลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในช่องท้อง
ใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป
ใช้ทางจักษุเเพทย์ทำให้รู้ม่านตาขยาย ใช้เป็นยาหยอดขยายม่านตาก่อนการตรวจตา
ใช้เป็นยาขยายหลอดลม
ใช้เป็นยาเตรียมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด
ใช้เป็นยารักษาโรคพาร์กินสัน รักษากลุ่มอาการที่เรียกว่า Extrapyramidal
รักษาภาวะล้มเหลวของระบบไหลเวียนโลหิต
ใช้เป็นยาป้องกันอาการเมาคลื่น เมารถ
-ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และวิงเวียนศรีษะ สาที่ใช้ ได้แก่ scopolamine
ใช้เป็นยาต้านพิษ ที่เกิดจาก organophosphate ยาที่ใช้ได้แก่ Atropine
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
เกิดจากฤทธิ์ anticholinergic อาหารรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดยาที่ใช้ อาการที่พบได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่ามัว ใจสั่น
ยากระตุ้นระบบประสามซิมพาเทติก(Adrenergic drugs)
กลุ่ม Catecholamines
ได้แก่ Epinephrine,Norepinephrine (NE),Dopamine (DA)และDobutamine
Epinephrine (Adrenaline)
กลไกการออกฤทธิ์
เป็นสาร agonist ออกฤทธิ์กระตุ้นได้ทั้ง α( α1และ α2)
และ β( β1และ β 2) receptor ถูกทำลายอย่างรวดเร็วโดย MAOและ COMTดังนั้นให้โดยการรับประทานไม่ได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบไหลเวียนเลือด
มีฤทธิ์แรงในการบีบหลอดเลือดและกระตุ้นหัวใจ เนื่องจากยามีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง
ระบบทางเดินอาหาร
มีผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหารคลายตัว
กล้ามเนื้อหูรูดบีบตัว
ระบบหายใจ
ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจคลายตัว หลอดลมขยายตัว
ผลต่อเมตาบอลิซึม
ภายในร่างกายทำให้ glucose และ lactose ในเลือดสูง
การนำไปใช้ทางคลีนิค
ภาวะหัวใจหยุดเต้น
เนื่องจากสาเหตุต่างๆเช่น Heart block,ventricular fibrillation ยา epinephrine เป็นยาที่ควรเลือกใช้ชนิดแรกแต่ไม่ใช่ในการรักษาภาวะช็อกจากหัวใจ จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ภาวะแอนาฟิเล็กซิส
เป็นปฏิกิริยาแพ้อย่างเฉียบพลัน ที่เกิดจากการแพ้ยา แพ้สารต่างๆ
ใช้เพื่อห้ามเลือด ประคบเฉพาะบริเวณเยื่อเมือก ลดอาการเลือดออก
ใช้ผสมยาชาเฉพาะที่ใช้ใน spinal block เพื่อช่วยให้ออกฤทธิ์นานขึ้น
Norepinephrine/Noradrenaline
ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับ epinephrine โดยกระตุ้นที่ α1และ β1 receptor แต่มีความชอบต่อ α receptor สูงกว่า ทำให้เพิ่มความต้านทานรวมของหลอดเลือดส่วนปลายได้มาก
ประโยชน์ทางคลีนิค รักษาความดันโลหิตต่ำรุนแรง ที่ไม่ตอบสนองยาอื่น เนื่องจากการทำงานประสาทซิทพาเทติกล้มเหลว
Dopamine;DA(Dopaminex,Dopmin,Intropin
Dopamine เป็ร Neurotransmitters ในสมอง เมื่อถูกเมตาโบไลท์จะได้ norepinephrine และ epinephrine ยาออกฤทธิ์ต่อ receptor เมื่อให้ยาต่างขนาดกัน
DAในเลือดต่ำ
กระตุ้น D1- receptor ทำให้เกิดvasodilation ของหลอดเลือดในไตและหลอดเลือดในหัวใจ
DAขนาดเลือดปานกลาง
กระตุ้น β1 receptor เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจเพียงเล็กน้อย ทำให้หล้ามเนื้อหัวใจไม่ต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น
DAในขนาดสูง
กระตุ้น α1 receptor ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิต
Dobutamine
มีฤทธิ์ α1และ β1 agonist ออกฤทธิ์กระตุ้น β1 receptor
ฤทธิ์ต่อ α receptor มีน้อย Dobutamineเป็นยาที่กระตุ้นการบีบของหัวใจ เพิ่มcardiac outputโดยมีผลเล็กน้อยต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เช่นเดียวกับ DA แต่Dobutamineไม่มีผลต่อ D1 receptor ที่ไต
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ระบบประสาท
วิตกกังวล ปวดศรีษะ อาการสั่นอาจเกิดcerebral hemorrhages
ระบบไหลเวียน
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปอดบวมน้ำ เจ็บหน้าอก
Tissue necrosis
โดยเฉพาะNorepinephrine ถ้าฉีดเข้าหลอดเลือดดำรั่วไปเนื้อเยื่อรอบๆจะเกิด vasoconstriction อย่างมากจนเนื้อตายได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบไหลเวียนเลือด
กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดให้หดตัว ผ่าน α1 receptor ได้แก่ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงผิวหนัง อวัยวะภายในไตและเยื่อเมือก
ผลต่อกล้ามเนื้อเรียบ
กระตุ้นผ่าน β2 receptor ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลายขยาย ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ทางเดินอาหาร และกล้ามเนื้อมดลูก
ผลกระตุ้นหัวใจ
กระตุ้นเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณไฟฟ้าที่ AV node โดยผ่าน β1- receptor
ผลต่อเมแทบอลิซึม ผลต่อตับ
เพิ่มการสลาย glycogen และสร้าง glucose
ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
ตับอ่อนลดการหลั่ง insulin ผ่าน α2 receptor
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้ตื่นตัวและลดความอยากอาหาร
ผลต่อตา
กระตุ้น α receptor ที่ radial muscle ของม่านตา ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว
Alpha-Adrenergic (α-agonist)
Alpha-1-agonist
Phenylephrine
เป็นยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อ α1-receptor ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหดตัวเพิ่มแรงต้านในหลอดเลือดและเพิ่มความดันโลหิต
Midodrine
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อ α1-receptor ทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่ม ออกฤทธิ์นาน3-4ชั่วโมง
Alpha-2-agonist
ออกฤทธิ์กระตุ้น α2-receptor ที่สมองและหลอดเลือดสามารถผ่านสมองใช้เป็นยาลดความดันโลหิต ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ทำให้ง่วง ซึมเศร้า ปากแห้ง ท้องผูก เบื่ออาหารและอาจเกิดอาการถอนยา คือ ถ้าหยุดยาเร็วอาจทำให้เกิดความดันสูงเฉียบพลัน
Beta-Adrenergic agonist
ยากลุ่มนี้อาจปบ่งเป็นกลุ่มที่มีความจำเพาะกับไม่จำเพาะต่อ β-receptor subtype ยาที่ไม่จำเพาะต่อ β-receptor เช่น Isoproterenol(Isoprenaline)ไม่มีใช้ทางคลีนิก
สำหรับยาที่จำเพาะต่อ β2-receptor แบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ ยากลุ่มนี้ใช้เป็นยาขยายหลอดลมสำหรับใช้แก้การเกิดหลอดลมตีบแคบมักใช้ในโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)
β2 Adrenergic agonist
ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น(Shot-Acting Beta Agonist,SABAs
ได้แก่ salbutamol & terbutaline ยาจำเพาะต่อ β2-receptor ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดลมคลายตัว ใช้รักษาอาการหลอดลมหดเกร็งเฉียบพลันและเพื่อขยายหลอดลม salbutamal ออกฤทธิ์เร็วภายใน15นาที ส่วนterbutaline ใช้เวลา1ชั่วโมง
ยายขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว(Long-acting beta agonist,LABAs
ได้แก่ Salmeterol & formoterol เป็นยาที่มีระยะเวลาออกฤทธิ์ยาวนานกว่า12ชั่วโมง
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
เกิดจากการกระตุ้น β-receptor ในผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่แล้วจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอาการได้แก่ใจสั่น อาการสั่น
อาการกระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว
β3 Adrenergic agonist
Mirabegron เป็นยาออกฤทธิ์จำเพาะต่อ β3-receptor มีผลให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะคลายตัวใช้ในการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
Indirect-acting and mixed-type Adrenergic agonist
Ephedrine & pseudoephedrine
ยา Ephedrine ไม่ได้ใช้ทางคลีนิคแล้ว ส่วนpseudoephedrine เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทใช้จำกัดในโรงพยาบาลยาทั้งสองตัวออกฤทธิ์ทางอ้อมโดยเพิ่มการปลดปล่อยสารcatecholamineและตัวยายังสามารถกระตุ้นที่ receptor ได้โดยตรง
Amphetamine
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางที่มีความแรงสูง ออกฤทธิ์โดยตรงและทางอ้อมสามารถให้โดยการรับประทานและฤทธิ์ยาอยู่ได้นาน
ประโยชน์ทางคลีนิคของยาในกลุ่มSympathomimetics
ภาวะหัวใจหยุดเต้น Epinephrine ใช้ในภาวะหัวใจหยุดเต้นมีผลเพิ่มความดันโลหิตและเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจ
ภาวะช็อก
ยาที่กระตุ้น β-Adrenergic receptor ทำให้กระตุ้นแรงบีบตัวและอัตราการเต้นของหัวใจ
ยาที่กระตุ้น β-Adrenergic receptor มีผลเพิ่มความดันโลหิต
Dopamine มีผลเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่ไต
Anaphylaxis ยาหลักที่ใช้ได้แก่epinephrine
Asthma&COPD ใช้เป็นยาขยายหลอดลม ยาในกลุ่ม β2-Adrenergic receptor เป็นยาหลักในการรักษาหอบหืด
Glaucoma ยากลุ่ม α2-agonist ช่วยลดความดันในลูกตา โดยลดการผลิตน้ำในตา
Antithypertensive ยากลุ่ม α2-Adrenergic เช่น clonidine ยาออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง
ลดการคั่งบวมของเนื้อเยื่อในจมูก
ยาปิดกั้นอะดรีเนอร์จิครีเซพเตอร์(Adrenocepter blocking drugs)
α-Adrenergic antagonists
Prazosin,Doxazosin
ยาที่มีใช้ในปัจจุบันคือ selective α1-antagonists ออกฤทธิ์จำเพาะต่อ α-receptor
ที่อยู่ภายในเซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบ ที่ผนังหลอดเลือด
ที่หัวใจและที่ต่อมลูกหมาก ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ลดความต้านทานของหลอดเลือดแดง ผนังหลอดเลือดขยาย ยากลุ่มนี้ไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาอันดับแรกในการลดความดันโลหิตแต่อาจใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
β-Adrenergic antagonists(β-blocker)
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งที่ β-receptor ทำให้ β-Adrenergic agonist ออกฤทธิ์ไม่ได้ แบ่งเป็นNonselective β-Adrenergic antagonists และSelective β-Adrenergic antagonists
Non-selective β-blocker
Propranolol
จัดเป็นยาต้านต้นแบบของ β-blockerยับยั้งทั้ง β1และ β2 receptor ถูกดูดซึมได้ดีมาก แต่มี first -pass metabolism สูง
ประโยชน์ในการรักษา
ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
ลดอาการใจสั่น
ลดอาการตื่นเต้นได้ง่าย
รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ
Selective β-blocker
MetaprololและAtenolol
เป็นselective β1-blockerใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก เป็นยาสำคัญใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า45ครั้ง/นาที
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ระบบหลอดเลือดหัวใจ
Propranolol ทำให้หัวใจเต้นช้า
ระบบหายใจ
การปิดกั้นตัวรับ β2อาจทำให้หลอดลมตีบแคบ ผู้ป่วยหอบหืดไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้
ระบบประสาท
อาจพบอาการปวดศรีษะ วิงเวียน นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า