Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความสำคัญกับการศึกษา - Coggle Diagram
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และความสำคัญกับการศึกษา
1.ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
คือ การพัฒนาบนหลักแนวคิดการพึ่งตนเองเพื่อให้เกิดความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ของคนส่วนใหญ่ โดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวและทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท แต่ให้ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา และการมีคุณธรรมเป็นกรอบในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"
พระราชดำรัสที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
คือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป”
ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า30 ปี เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ภายหลังเมื่อได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์
ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ*
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดย ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับสมดุล การใช้จ่าย กรออม อยู่ในระดับที่ไม่สร้างความ เดือดร้อนให้แก่ตนอง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเดือดร้อนให้แก่ตนอง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ความมีเหดุผล หมายถึง การตัดสิใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่กี่ยช้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น อย่าง
รอบคอบ
3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาคว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคดทั้งใกลั และไกล
การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีแนวทางดังนี้
ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในทางการค้าแบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิติหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตามหลักศาสนา
ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุมเฟือยในการใช้ชีวิต
2.ความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
แนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.การพัฒนาหลักสูตร
2.การจัดการเรียนการสอน
3.การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา 4.การจัดระบบบริหารจัดการสถานศึกษา
5.การให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของสถานศึกษา
6.การติดตามและประเมินผลการการจัดการศึกษา
การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน
จากงานวิจัย เรื่อง การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี
ด้านภูมิคุ้มกันในตนที่ดี ประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านภูมิคุ้มกันในตนที่ดี สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการวางแผนการสอน ด้านวิธีการสอนให้วิเคราะห์สถานการณ์และเตรียมความพร้อมของตน ตลอดจนเน้นด้านระเบียบวินัยสืบสานวัฒนธรรมไทย
ด้านความมีเหตุผล ประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนการสอน ด้านความมีโดยมีการวางแผนการสอนจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ และได้ชี้แจงแนวทางในการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ของรายวิชาจัดหาสื่อการสอนที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับเนื้อหามีการจัดกิจกรรมสนับสนุนที่ปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลของการทำความดี การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนใช้แบบทดสอบความรู้
ด้านความพอประมาณ การจัดการเรียนการสอนด้านความพอประมาณโดยมีการวางแผนการสอนที่ เน้นด้านทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันอย่างสมดุล เน้นวิธีการสอนโดยมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ใช้สื่อการสอนที่สามารถใช้และหาได้ง่ายโดยสามารถ นำกลับมาใช้ใหม่ (reuse) ส่วนการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนได้แจ้งสัดส่วนคะแนนอย่างสมดุล
*การบริหารและการจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.ด้านงบประมาณ การดำเนินงานต้องกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานโดยมุ่งที่ผู้เรียนเป็นหลัก บริหารจัดการงบประมาณ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมของทุกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ยึดหลักธรรมาภิบาลที่เน้น ความถูกต้องของระเบียบ กฎหมาย ความเป็นธรรมในการจัดสรรงบประมาณ
3.ด้านบุคลากร ส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมมีความพอประมาณในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟื้อและตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลฝึกให้มีการมองไปข้างหน้าและเตรียมตัวตัดสินใจพื้นฐานของเหตุผล
1.ด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เน้นการนำคุณธรรมนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต เช่น ซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ขยัน อดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกที่ดีต่อคนเองและสังคม ส่งเสริมการผลิตสื่อนวัตกรรมสอดคล้องกับวัสดุธรรมชาติของท้องถิ่น
4.ด้านการบริหารทั่วไป ส่งเสริมการบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามหลักการ บริหารงานที่เน้นความคุ้มค่าและผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก ยึดหลักความพอประมาณอย่างมีเหตุผลใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับสภาพสังคม พัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่และสภาพภูมิทัศน์ของสถานศึกษาให้สะอาด ร่มรื่น อยู่ในสภาพที่มั่นคงปลอดภัย
ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียงด้านต่าง ๆ
– ใช้เป็นรากฐานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
– รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร
– ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนตามโครงการต่าง ๆ
– ให้เป็นหลักปฏิบัติในการควบคุมจิตใจม่ให้หลงระเริงไปกับสิ่งฟุ้งเฟ้อตามกระแสทุนนิยมโลก
– ส่งเสริมให้เกิดความรักสามัคคีในกลุ่มและชนชาติ
– เกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
– ช่วยให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติตามท้องถิ่นต่าง ๆ
– เสริมสร้างความมั่นคงของชาติได้ตามนโยบายของรัฐ
– ประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพต่าง ๆ
– ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
การบริหารและการจัดการสถานศึกษา
คือ หมายถึงการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของผู้บริหารร่วมกับครูหรือบุคคลากรในโรงเรียน ร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น จะต้องมีการดำเนินการในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การวัดผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์ การสรรหาบุคคลมาทำการสอนในสถาบันการศึกษา ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้เรียกว่า
“ภาระกิทางการบริหารการศึกษา” หรือ “’งานบริหารการศึกษา” นั่นเอง
แนวทางการขับเคลื่อนด้านการศึกษา
การจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
สามารถดำเนินการได้ใน 2 ส่วนส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และส่วนที่เป็นการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งส่วนที่ 2 นี้ ประกอบด้วย การสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรและสาระเรียนรู้ในห้องเรียนและประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน