Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 - Coggle Diagram
บทที่ 8
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
วิธีการดูแลที่มุ่งเน้น เป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว โดยเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ใน ระยะแรก ๆของโรครวมทั้งประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้าน กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างละเอียด
การดูแลรักษาของทีมแพทย์และพยาบาลที่ทำงานในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การมุ่งรักษาให้ผู้ป่วยหาย แต่ palliative care ไม่ได้มุ่งเน้นที่การหายจากตัวโรค
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ความไม่แน่นอนของอาการ
Multidisciplinary team
ทรัพยากรมีจำกัด
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
palliative care ในหอผู้ป่วยวิกฤตสำหรับทีมสุขภาพคือ “ABCD” ประกอบด้วย
Attitude
Behavior
Compassion
Dialogue
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มารวมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
แบบผสมผสาน
แพทย์เวชบำบัดวิกฤตมีความรู้ความสามารถในการดูแลแบบ palliative care
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การแจ้งข่าวร้าย
(Breaking a bad news)
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย
มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการ
รักษาและการดำเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยหรือญาติจึงเป็นหน้าที่สำคัญของแพทย์
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล
ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
อาจพูดในลักษณะ"ไม่จริงใช่ไหม”
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติและเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ
กิริยาอาจออกมาในลักษณะ
อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย
“ฉันรู้ว่ามันร้ายแรง คงรักษา
ไม่หาย แต่ฉันอยาก....”
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่
เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ออกห่างจากสังคมรอบข้าง
เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย
ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย
เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
พยาบาลมีบทบาทดังนี้
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธ
ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน
ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ไม่บีบบังคับให้ความโกรธลดลงในทันท
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรค
ให้ความหวังที่เป็นจริง
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง
ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
ความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง