Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต…
บทที่ 8 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
ระยะโกรธ (Anger)
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ระยะซึมเศร้า (Depression)
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
บทบาทพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว
2.รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบัน
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้องสิทธิ ประโชน์ ศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
“ABCD”
Attitude
การดูแลผู้ป่วยควรพิจารณาเป็นรายบุคคล ไม่ใช้ประสบการณ์หรือทัศนคติของตนเองมาตัดสินญาติหรือผู้ป่วย
Behavior
ปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ควรปฏิบัติอย่างให้เกียรติ
Compassion
มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน
Dialogue
บทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยและกระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติได้มีโอกาสสะท้อนความรู้สึกต่างๆ
การปรึกษาทีม palliative care
ทีม palliative care เป็นทีมที่ชำนาญมีความรู้
สามารถลดอัตราการครองเตียงในไอซียูได้
ลดการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
สามารถลดการเกิดปัญหาระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวได้
5.ลดการเกิด “ICU strain” หรือ ความเครียดที่เกิดจากการทำงานในไอซียู
เปนประโยชน์ต่อการดูแลต่อเนื่องหลังจากออกจากไอซียู
แบบผสมผสาน
ในการปรึกษาและมีระบบให้คำปรึกษาในโรงพยาบาล ก็ควรให้ทีม palliative care เข้าดูแลร่วมด้วย
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทำการประชุมครอบครัว เพื่อให้ครอบครัว ได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และมีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค มุ่งเน้นที่ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสำคัญ
ปล่อยให้มีช่วงเงียบเพื่อให้ญาติได้ทบทวน
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซีย
Family meetingควรทำอย่างช้าที่วันที่ 3 และวันที่ 5
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การใส่ใจประเมินอาการ
จัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
มุ่งเน้นให้สุขสบาย อาจทำบางอย่างที่อยู่ในบริบทที่ไม่เกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วยเพิ่มขึ้น(comfort care)
ทำทุกอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิตให้นานที่สุดที่เป็นไปได้
ลองทำดูก่อน แล้วถ้าตอบสนองไม่ดี อาจพิจารณายุติการรักษาบางอย่าง (time-limited trail)
สิ่งสำคัญก่อนทำการประชุมครอบครัว
รู้จักตัวตนของคนไข้ ไม่ใช้เฉพาะโรค เพื่อจะ
ได้เสนอการรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยจริง ๆ
ทำการฟังอย่างตั้งใจ มีการทบทวนสาระสำคัญเป็นระยะ ๆ
หลังจากนั้นผู้นำการประชุมครอบครัวทำการเล่าอาการให้ฟัง และต้องย้ำว่าที่ผ่านมาเราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลการตอบสนองไม่เป็นไปตามคาดหวัง
รับฟังอย่างตั้งใจ และเริ่มอธิบายญาติเห็นถึงความทุกข์ทรมานของการรักษาที่ผ่านมา และระบุถึงความทุกข์ทรมานอย่างอื่นพี่อาจจะตามมา
เตือนให้ญาติคำนึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วย ให้ทุกๆการตัดสินใจ
ถ้าหากมีการร้องไห้ควรให้ญาติร้องโดยมิขัดจังหวะ
ผู้นำการประชุมครอบครัวควรทำการสะท้อนอารมณ์ของญาติเป็นระยะ
เน้นย้ำกับญาติวว่าแผนการรักษาทั้งหมด เป็นการตัดสินใจร่วมกันของทีมสุขภาพและครอบครัวโดย มีจุดมุ่งหมายเดียวคือเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
การเตรียมตัวผู้ป่วย
ปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่างๆ
ยุติการเจาะเลือด
ปดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น
นำสายต่างๆที่ไม่จำเป็นออก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
คุมอาการไม่สุขสบายต่างๆ
ยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้ เช่น มอร์ฟีน
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่างๆที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลานี้
แพทย์ควรทำการเข้าเยี่ยมบ่อยๆ เพื่่อประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและเป็นการทำให้ญาติ มั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติรวมถึงอาจมีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและ จิตใจผู้สูญเสีย และมีคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ผู้สูญเสียจำเป็นต้องพบแพทย์หรือนักจิตบำบัดเพื่อปรึกษาปัญหา