Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม(Culture)
วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เป็นเครื่องมือที่มนุษย์คิดค้นเพื่อช่วยให้สามารถดํารงชีวิตอยู่ต่อไปได้ในสังคมของตน
ในประเทศไทย คําว่า “วัฒนธรรม” ถูกนํามาใช้อย่างเป็นทางราชการครั้งแรก ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม5 อันเป็นของยุคการประกาศนโยบายสร้างชาติ หรือ รัฐนิยม6 โดยจอมพล ป.พิบูลสงครามซึ่งต้องการ “แก้ไข” วัฒนธรรม ให้เป็นเครื่องแสดงความเป็นอารยะของชาติไทย
โดยสรุป วัฒนธรรม (Culture) หมายถึงวิถีการดําเนินชีวิต (The Way of Life) ของคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ลักษณะพื้นฐานที่สําคัญของวัฒนธรรม
1)วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (Shared ideas) และค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกําหนดมาตรฐานพฤติกรรม
2)วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (Culture is learned) ซึ่งมนุษย์จะเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อยในสังคมจนกลายเป็น “มรดกสังคม”
3)วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ (Symbol) ซึ่งกล่าวว่าพฤติกรรมของมนุษย์มีต้นกําเนิดมาจากการใช้สัญลักษณ์ เช่น เงินตรา
4)วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญาทําหน้าที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
5)วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์นิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่างๆ
6)วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
1)องค์วัตถุ ทั้งที่เป็นเครื่องมือและสัญลักษณ์
หมายถึง วัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มีรูปร่างสามารถจับต้องได้
2)องค์การหรือสมาคม
หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบเป็นองค์การหรือสมาคม มีโครงสร้างซึ่งสามารถมองเห็นได้ มีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับ
3)องค์พิธีหรือพิธีการ
หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของพิธีหรือพิธีการต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต คือ การเกิดจนกระทั่งตาย
4)องค์มติหรือมโนทัศน์
หมายถึง วัฒนธรรมในด้านความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคําสอนทางศาสนา
คุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อหลักการในการดําเนินชีวิต
ประเภทของความเชื่อ
ความเชื่อในสิ่งปรากฏอยู่จริง เช่น เชื่อว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคล มี 2 ลักษณะ คือ เกิดจากประสบการณ์ตรง และเกิดจากการแลกเปลี่ยนพบปะสังสรรค์
ความเชื่อแบบประเพณี ในภาคเหนือเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับผีและอํานาจเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับป่า ภูเขาและลําน้ํ
ความเชื่อแบบเป็นทางการ เช่น ความเชื่อที่มีต่อหลักคําสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องการมีสติ ความไม่ประมาท การบําเพ็ญเพียร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ
ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ การรับรู้ และการเรียนรู้
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การขัดเกลาทางสังคม การควบคุมทางสังคม
ปัจจัยทางด้านบุคคล ได้แก่ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีการดูแลสุขภาพ
ความเชื่อแบบอํานาจเหนือธรรมชาติและวิธีการดูแลสุขภาพเช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค โดยมีความเชื่อที่ว่า ความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทําของผี
ความเชื่อแบบพื้นบ้านและวิธีการดูแลสุขภาพเช่น ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการขาดสมดุลธาตุ
ความเชื่อแบบการแพทย์แผนตะวันตกและวิธีการดูแลสุขภาพเช่นการเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรค ความเจ็บป่วยเกิดจากพันธุกรรม ความเจ็บป่วยเกิดจากพฤติกรรม ความเจ็บป่วยเกิดจากสิ่งแวดล้อมหรืออุบัติเหตุ
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านสถานการณ์ชีวิต
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบพื้นบ้าน
ระยะตั้งครรภ์
-ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ คนโบราณเชื่อว่าการตั้งครรภ์เป็นผลจากความสัมพันธ์ของมนุษย์กับดวงดาวในระบบจักรวาล
-การดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ จะเกี่ยวกับสุขภาพจิต สุขภาพกาย การดูแลทารกในครรภ์ การฝากครรภ์
ระยะคลอดบุตร
-ความเชื่อเกี่ยวกับการคลอดบุตร ได้แก่ เรื่องความเป็นสิริมงคล ท่าทางในการคลอด
-การดูแลสุขภาพในระยะคลอดบุตร ได้แก่ การจัดสถานที่และท่าทางในการคลอด การตรวจครรภ์ก่อนคลอด การคลอด การจัดการเกี่ยวกับรก การร่อนกระด้ง
ระยะหลังคลอด
-ความเชื่อเกี่ยวกับภาวะหลังคลอด ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องกรรม ความเชื่อเรื่องสมดุลธาตุ 4 ความเชื่อเรื่องมลทินของร่างกาย ความเชื่อเรื่องการบํารุงร่างกาย
-การดูแลสุขภาพในระยะหลังคลอด ได้แก่ การอยู่ไฟ
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบแพทย์ตะวันตก
ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ตัวอ่อนหรือทารกได้ก่อกําเนิดขึ้นภายในมดลูก
การดูแลสุขภาพแบบการแพทย์ตะวันตกมีหลักการดูแลคล้ายคลึงการแบบพื้นบ้าน คือ มีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความชรา
ความเชื่อเกี่ยวกับความชรา ปัจจัยชี้บ่งถึงความชรา
การดูแลสุขภาพวัยชราแบบพื้นบ้าน ได้แก่ การใช้สมุนไพร
ความเชื่อเกี่ยวกับความชราและการดูแลสุขภาพแบบการแพทย์แผนตะวันตก
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตาย
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณ กฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิดและชาติภพ
การดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน จะมุ่งเน้นการตอบสนองทางด้านจิตวิญญาณของผู้ตายและเครือญาติ
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบแพทย์แผนตะวันตก
จะพิจารณาจากการหยุดทํางานของหัวใจและการทํางานของแกนสมอง
-การดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการตายแบบแพทย์แผนตะวันตก มุ่งเน้นให้ระบบและอวัยวะต่าง ๆ สามารถทํางานต่อไปได้และยืดชีวิตผู้ป่วยให้ยาวนานมากที่สุด
ค่านิยมทางสังคม
ค่านิยมทางสังคมคือสิ่งที่เราเชื่อว่าสําคัญหรือมีคุณค่าในชีวิต อันจะนําไปสู่การมีแบบแผนการกระทําหรือพฤติกรรม น
ครอบครัว
เป็นสถาบันสังคมอันดับแรกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมให้แก่บุคคล
โรงเรียน
คือสถาบันทางสังคมที่มีส่วนในการสร้างค่านิยมอันถูกต้องให้แก่เด็กเป็นอย่างมากในการสั่งสอนเด็กให้เกิด ความคิด ความเชื่อ อันจะนําไปสู่แบบแผนการมีพฤติกรรมที่ดี
สถาบันศาสนา
บุคคลและหน่วยงานของศาสนาต่างๆ ก็มีส่วนช่วยในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมอันถูกต้องได้เป็นอย่างดี
สังคมวัยรุ่นและกลุ่มเพื่อน
การคบหาสมาคมกับเพื่อนในรุ่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนสนิท หรือการทํากิจกรรมอื่นๆในสังคมวัยรุ่น ผลที่ได้รับอันหนึ่งคือ การเรียนรู้และการยอมรับค่านิยมจากกิจกรรมเหล่านั้น
สื่อมวลชน
ในปัจจุบันบุคคลได้รับความรู้และความคิดจากสื่อมวลชนเป็นอันมากในบางกรณีบุคคลก็ยอมรับเอาความรู้ และความคิดเหล่านั้นไปยึดถือเป็นค่านิยมบางประการของตน
องค์การของรัฐบาล
รัฐย่อมมีส่วนในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมให้แก่สังคมตามปกติ
ความเชื่อ
หมายถึง การยอมรับคําอธิบายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ที่บุคคลได้จากการรับรู้และเรียนรู้ร่วมกันในสังคม และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนตกผลึกเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น
ความสําคัญของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นเครื่องกําหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม และเป็นเครื่องกําหนดชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
การศึกษาวัฒนธรรมจะทําให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
ทําให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
ทําให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดํารงชีวิต
ทําให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
ทําให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
ทําให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมทางวัตถุ
สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์ เช่น ถ้วย ชาม จาน ช้อน ส้อม ตึกรามบ้านช่องและถนนหนทางรวมไปถึงศิลปกรรมของมนุษย์เช่น รูปปั้น ภาพวาด
วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและการแสวงหาการรักษาของประชาชนในภูมิภาคต่างๆของโลก
แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ หมายถึง ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพที่เชื่อมโยงตั้งแต่การดูแลสุขภาพตัวเอง การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน ไปจนถึงการดูแลสุขภาพที่อาศัยความรู้วิทยาการหรือเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่
ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือพิการ
ดูแลรักษาสุขภาพเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยเป็นโรค
ฟื้นฟูสุขภาพให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ประเภทของวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะปกติ
หมายถึง แบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมที่มีกําหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตของคนในสังคม
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การกินอาหารประเภทน้ําพริกผักจิ้มและอาหารจากธรรมชาติ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เช่น การบริโภคอาหารปรุงสุก
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะเจ็บป่วย
หมายถึง การรับรู้ของบุคคลที่มีต่อความผิดปกติของร่างกาย
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค ในแต่ละสังคมต่างมีระบบการดูแลสุขภาพที่มีความเชื่อมโยงกัน 3 ประเภท ได้แก่ ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน แบบพื้นบ้าน และแบบวิชาชีพ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การดูแลการพักฟื้นของผู้ป่วยจากคนในครอบครัว การงดบริโภคอาหารแสลง
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
แนวคิดหลัก 5 ประการ โดย ใช้หลัก ASKED ดังนี้
A = Awareness,
S = Skill,
K = Knowledge,
E = Encounter,
D = Desire
Awareness
หมายถึง
-การตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม (cultural awareness) หมายถึง กระบวนการรู้คิดของ บุคลากรสุขภาพที่เล็งเห็นถึงความสําคัญของ การให้คุณค่า ความเชื่อ วิถีชีวิต พฤติกรรม และวิธีการแก้ปัญหาของผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม
-หากบุคลากรสุขภาพ (พยาบาล) ยังไม่เข้าใจ ลึกซึ้งในวัฒนธรรมตนเอง ก็มีโอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมการบริการ ที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม ได้
Skill
หมายถึง
•การมีทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรม (cultural skill) คือ ความสามารถของบุคลากรสุขภาพในการเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและปัญหาของผู้รับบริการ การมีความไวทางวัฒนธรรม
Knowledge
หมายถึง
•การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม (cultural knowledge) คือ การแสวงหาความรู้พื้นฐานที่ เกี่ยวข้องกับโลกทัศน์
Encounter
หมายถึง•ความสามารถในการเผชิญและจัดการกับวัฒนธรรม (cultural encounter) หมายถึง การที่ บุคลากรสุขภาพมีความสามารถในการจัดบริการที่เหมาะสมสําหรับผู้รับบริการที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน
Desire
หมายถึง•ความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม (cultural desire) ของบุคลากรทางสุขภาพ ที่ทําให้ ต้องการเข้าไปสู่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ
เช่น การให้ทารกกินนมแม่นานถึง 2 ปี
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์
เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแผด
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่แน่ว่าให้คุณหรือโทษ
เช่น สังคมแอฟริกันบางสังคมให้เด็กกินดินหรือโคลน
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ
เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นสาเหตุโรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง
นวทางการดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพของประชาชน
ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพ (Professional health sector)
เป็นส่วนของการปฏิบัติการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ มีการจัดองค์กรที่เป็นทางการ
ระบบการดูแลสุขภาพภาคพื้นบ้าน (Folk sector of care)
หรือการดูแลแบบทางเลือก เป็นการปฏิบัติการรักษาที่มิใช่รูปแบบของวิชาชีพ ไม่มีการจัดองค์กร ใช้อํานาจเหนือธรรมชาติ
ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน (Popular health sector)
เป็นส่วนของการดูแลสุขภาพภาคประชาชนซึ่งถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมาตามวัฒนธรรม ความเชื่อที่เกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย