Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาโรคเบื้องต้นในกลุ่มอาการที่พบบ่อย, โรคตับอ่อนอักเสบ, Appendix-2,…
การรักษาโรคเบื้องต้นในกลุ่มอาการที่พบบ่อย
Acute abdominal
อาการปวดท้องอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นค่อนข้างรวดเร็วหรือมักจะน้อยกว่า 24 ชม.
รูปแบบของความเจ็บป่วยในทางเดินอาหารส่วนล่าง
การเจ็บป่วยเฉียบพลัน มักประกอบด้วยกลุ่มอาการที่ลำไส้บีบรัดตัวมากกว่าปกติหรืออุดตัน
การเจ็บป่วยวิกฤต มักเกิดจากอุบัติเหตุ
การเจ็บป่วยเรื้อรัง มักประกอบด้วยกลุ่มอาการที่ลำไส้บีบรัดตัวน้อยกว่าปกติ
ชนิดของการปวดท้อง
Visceral pain มาจากการกระตุ้นอวัยวะภายใน อาการปวดจะอยู่ในแนวกลางตัว บอกตำแหน่งไม่ได้ชัดเจน
Somato-parietal pain การกระตุ้น parietal peritoneum เกิดจากการมีเนื้อเยื่อบาดเจ็บหรืออักเสบในตำแหน่งนั้นๆ จะระบุตำแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน
Refered pain เป็นการปวดที่ผิวหนังที่ไม่ได้อยู่ติดกับอวัยวะต้นกำเนิด
การประเมินอาการปวด
ตำแหน่ง
ความรุนแรง
ลักษณะของการปวด
มีอาการปวดเป็นๆ หายๆ ที่ความปวดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นอยู่สักครู่แล้วอาการดีขึ้นเอง
อาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ โดยอาการไม่ดีขึ้นเลย
อาการปวดเริ่มจากน้อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆช้าๆ และทุเลาเองช้าๆ
เป็นอาการปวดที่มากและเฉียบพลัน
ปัจจัยที่เพิ่มหรือลดความปวด
อาการในระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การตรวจร่างกาย
การตรวจหน้าท้อง
ฟัง Bowel sound
การเคาะ
ดูว่าหน้าท้องโป่งตึงหรือไม่ มีแผล หรือ รอยเลือดออกหรือไม่
การคลำหรือกด
การตรวจภายในช่องคลอด หรือทวารหนัก
การตรวจทั่วไป เพื่อประเมินอาการขาดน้ำ หรือเสียเลือด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการCBC, U/A, electrolyte, BUN, creatinine, Liver function test
การตรวจพิเศษ การตรวจทางรังสี (X-ray Abdomen) คลื่นความถี่สูง (Ultrasound) หรือ(Computerized tomography-CT)
การตรวจอื่นๆ เช่น Endoscopic retrograde cholangiography (ERCP)
การพยาบาล
เนื่องจากมีโรคมากมายที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง บทบาทของพยาบาล คือช่วยบรรเทาอาการปวดให้กับผู้ป่วย รวมทั้งการประเมินภาวะน้ำและเกลือแร่ รวมทั้งช่วยแพทย์ในการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดเพื่อให้ได้รับการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง
โรคในระบบทางเดินอาหารส่วนล่างที่ทำให้ปวดท้องที่พบบ่อยได้แก่ ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อุดตันและเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบ (appendicitis)
สาเหตุ เกิดจากการอุดตันของไส้ติ่ง
อาการและอาการแสดง ปวดท้องรอบๆสะดือเป็นพักๆ รู้สึกอยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก อาการปวดจะย้ายมาปวดที่ท้องน้อยด้านขวา หากอยู่นิ่งๆ หรือนอนตะแคงงอตัวจะทุเลาปวด คลื่นไส้อาเจียน ตรวจพบ มีไข้ต่ำๆ กดเจ็บท้องน้อยด้านขวา ที่ตำแหน่ง McBurney
การรักษา
ห้ามให้ยาแก้ปวด เพราะอาจบดบังอาการที่แท้จริง
ห้ามใช้ยาถ่ายหรือสวนอุจจาระ ไม่ควรตรวจโดยการกดหน้าท้องบ่อยๆ เพราะไส้ติ่งอาจแตกได้
ให้สารน้ำทางหลอดโลหิตดำ เพื่อรับการผ่าตัด
ผ่าตัดนำไส้ติ่งออก(appendectomy)
งดอาหารและน้ำ
ให้ยาปฏิชีวนะ
การพยาบาล
ดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดทั่วไป โดยเน้น การบรรเทาปวด และการป้องกันการแตกของไส้ติ่งในระยะก่อนผ่าตัด
ระยะหลังผ่าตัด จะเน้นการบรรเทาการปวดแผลผ่าตัด และป้องกันภาวะ แทรกซ้อนหลังผ่าตัด
ตับอ่อนอักเสบ (PANCREATITIS)
สาเหตุ
โรคนี้มักพบในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี และในคนที่ดื่มสุราจัด
การอักเสบมักเป็นผลมาจากการ "รั่ว" ของน้ำย่อย (เอนไซม์) ของตับอ่อน
เกิดร่วมกับโรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย (hypoparathyroidism) ,การได้รับบาดเจ็บที่ช่องท้อง
การใช้ยาบางชนิด
อาการ
ปวดท้องรุนแรงตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ซึ่งมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด
ปวดตลอดเวลา มักปวดร้าวไปที่หลังเวลานอนหงายหรือเคลื่อนไหว
ผู้ป่วยมักมีไข้
คลื่นไส้อาเจียนในรายที่เป็นรุนแรง
อาจมีอาการอ่อนเพลียมาก
มีจ้ำเขียวขึ้นที่หน้าท้อง หรือรอบ ๆ สะดือ
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (มือเท้าเกร็ง) และอาจมีภาวะช็อก (กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น)
การรักษา
ถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือช็อก ควรให้น้ำเกลือ
อาจต้องพิสูจน์โดยการเจาะเลือดตรวจหาระดับเอนไซม์อะมิเลส (amylase) และ ไลเปส (lipase)
ให้ยาแก้ปวด
ในระยะแรก ให้ผู้ป่วยงดกินอาหารและดื่มน้ำ ถ้าปวดท้องมาก ฉีดยาแก้ปวด
อาจต้องให้เลือดถ้าซีด
อาจต้องผ่าตัด
ทำการรักษาโดยให้น้ำเกลือและสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ถุงน้ำดีอักเสบ(Cholecystitis)
อาการ
รายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดบริเวณใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน
อาการแทรกซ้อน
ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
การรักษา
จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาล เพราะจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย
หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจนหายดีแล้ว ควรส่งผู้ป่วยไปหาศัลยแพทย์เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่
นิ่วในถุงน้ำดี
ปัจจัยเสี่ยง
คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มี cholesterol
อายุที่พบบ่อยอายุ 60 ขึ้นไป
เพศ หญิงพบมากกว่าชาย
เชื้อชาติ
การได้ฮอร์โมน estrogen จากการรับประทานหรือตั้งครรภ์
ได้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้ cholesterol ในน้ำดีสูง
ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีระดับ triglyceride สูง
การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป
Pathophysiology
นิ่วในถุงน้ำดีมี 3 ชนิด70% เกิดจากไขมัน20% เกลือแร่10% mixed
แบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรค 50-80% ของผู้ป่วยที่พบ เชื้อโรคที่พบบ่อย E.coli and Klebsiella (70%)
อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี
ไข้สูง และมีเหงื่อออก ไข้เรื้อรัง
ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเรื้อรังโดยมากมักจะสัมพันธ์กับอาหารมัน
รับประทานอาหารมันแล้วทำให้ท้องอืด ปวดมวนท้อง ,เรอเปรียว ,มีลมในท้อง ,อาหารไม่ย่อย
ตัวเหลืองตาเหลือง หรือที่เรียกดีซ่าน อุจจาระเป็นสีขาว
ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการอะไร บางรายมีอาการปวดเฉียบพลัน
ปวดท้องบนขวาปวดตลอดอาจจะปวดนานเป็นชั่วโมง
ปวดมักจะปวดอยู่บริเวณสะบัก
อาจจะปวดร้าวไปไหล่ขวา
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การวินิจฉัย
ส่งตรวจ ultrasound เช่น Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) เป็นการตรวจโดยการส่องกล้องเข้าในท่อน้ำดีเพื่อหาตำแหน่งของนิ่วในท่อน้ำดี
Labs: WBC, BMP, AST/ALT/Alk Phos, Bilirubin, UA
X-Ray ,US ,CT of Abd and plevis to detect other intra-abdominal problems
การรักษา
การให้สารน้ำ
การให้ยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน
ยาลดอาการปวด: มอร์ฟีน (Meperidine causes less sphincter of Oddi spasms or Morphine)
ยาปฏิชีวนะสำหรับcholecystitis or cholangitis
การผ่าตัด
นิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
นิ่วที่มีอาการต้องผ่าตัดเอานิ่วออกวิธีทีนิยมคือการเจาะที่หน้าท้องเป็นรูหลายรูแล้วใส่เครื่องมือเพื่อตัดเอาถุงน้ำดีออกมา วิธีนี้สะดวก เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเก่า และอยู่ในโรงพยาบาลไม่นาน
นิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดีอาจจะเอาออกโดยการทำ Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) และเอานิ่วออก
การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดผลที่ได้ยังไม่ดี
ให้ยาละลายนิ่ว เป็น bile acid ใช้ละลายนิ่วที่เป็น cholesterol ที่ก้อนไม่ใหญ่ ต้องใช้เวลานานในการละลาย ผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดท้องร่วง และตับมีการอักเสบเล็กน้อย
โดยการใช้คลื่นแสงกระแทกให้นิ่วแตก หลังการทำผู้ป่วยอาจจะปวดท้อง และอัตราผลสำเร็จต่ำ
นางสาวทิพย์สุดา สนิทพจน์ รหัสนักศึกษา 601410067-1