Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด,…
บทที่ 8 กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจของมารดาในระยะหลังคลอด
ระยะที่ 1 (Taking-in phase)
ระยะนี้อาจใช้เวลา 1-2 วัน
ระยะที่ 2 (Taking-hold phase)
ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 10 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 หลังคลอด
ระยะที่ 3 (Letting-go phase)
ภายหลังคลอดไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์
ความผิดปกติทางจิตของมารดาหลังคลอด สามารถจำแนกตามความรุนแรงได้ 3 ลักษณะ คือ
1. อารมณ์เศร้าหลังคลอด
(Postpartum blues or Transient situational disterbance)
2. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
(Postpartum depression) หรือ โรคประสาทหลังคลอด (Postpartum Neurosis)
3. โรคจิตหลังคลอด
(Postpartum Psychosis)
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues or Transient situational disturbance)
อาการและอาการแสดง
มักเกิดอาการในวันที่ 3-4 หลังคลอด อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ จะมีอาการร้องไห้ง่ายไม่มีเหตุผล มารดาจะมีอารมณ์เศร้า เหงาหว้าเหว่ สับสนเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ อยากร้องไห้ เมื่อร้องแล้วจะรู้สึกสบายขึ้น มีความรู้สึกกลัว เงียบขรึม อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ กระวนอาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ และหายไปได้เองใน 2-3 สัปดาห์ ถ้าได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสมอาการอาจคงอยู่และมีกระวาย รู้สึกท้อแท้ อธิบายไม่ได้ และนอนไม่หลับความรุนแรงขึ้น
สาเหตุ ไม่ทราบแน่นอน แต่มีสาเหตุส่งเสริมดังนี้
จากการคลอด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งทางกายและจิตสังคมหลายประการ เกินกว่าที่มารดาจะรับได้ในเวลารวดเร็ว
ความเครียดทางกาย (Biological stress) ได้แก่
2.1 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายจากการคลอด
2.2 การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ (Endocrine change)
ความเครียดทางจิตใจ (Psychological stress)
ความตึงเครียดจากสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and Environment stress)
โรคประสาทหลังคลอด หรือ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Neurosis or Postpartum depression)
ระยะที่ 1
เกิดในระยะแรกหลังคลอดวันที่ 3-10 โดยมีอาการเศร้าโศก ฝันน่ากลัวและมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย เนื่องจากมีความรู้สึกเสียใจ สูญเสีย มักเกิดจากความตื่นเต้นต่อการคลอด
ระยะที่ 2
เกิดขึ้นในช่วง 1-3 เดือน ภายหลังคลอด โดยมารดาพยายามที่จะน าทารกรวมเข้าเป็นสมาชิกในครอบครัวและพยายามตอบสนองความต้องการของทารก ในขณะเดียวกันมารดาต้องมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และบทบาทหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้น ช่วงเวลานี้มารดามักมีอาการอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากการเลี้ยงดูทารกท าให้เกิดอาการหงุดหงิดอย่างมาก
ระยะที่3
ระยะนี้อาจเกิดได้ในระยะเวลา 1 ปี หลังคลอด มารดาจะพยายามปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา แต่ยังเกิดความรู้สึกสองฝักสองฝ่ายต่อบทบาทการเป็นมารดา คือ ความรู้สึกหนึ่งก็อยากทำหน้าที่มารดาให้ดีที่สุด แต่มารดามีความอ่อนเพลียเหนื่อยล้า เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้นทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนไม่คงที่ และมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเอาใจใส่ดูแลจากบุคคลรอบข้าง ทำให้เกิดความน้อยใจอย่างมาก
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นยังไม่ทราบแน่นอนนัก เชื่อว่าการคลอดบุตรไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญอย่างเดียว แต่มีปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ บุคลิกภาพของมารดาภาวะจิตสังคม และความตรึงเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และปัจจัยส่งเสริมหลายประการนั้น
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
สาเหตุ
การเกิดโรคจิตหลังคลอดจะคล้ายคลึงกับสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แต่มีสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การมีลักษณะเฉพาะตัวของมารดาเอง เช่น มารดาที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคจิตได้ง่ายอยู่แล้ว มารดาที่มีประวัติว่าญาติเป็นโรคจิตอยู่แล้ว มารดาที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนอยู่ก่อนแล้ว เช่น บุคลิกภาพแบบเก็บตัวหรือบุคลิกภาพแบบย้ำคิดย้ำทำ
อาการ
อาการของโรคจิตหลังคลอดมักพบได้เร็ว และมีอาการรุนแรงทันที มักเริ่มเป็นระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอด มารดาจะมีอาการนำมาก่อน ได้แก่ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ หวาดวิตก มีความกังวลอย่างมาก
การรักษาโรคจิตและโรคประสาทหลังคลอด
1. การรักษาทางกาย (Physical therapy)
1.1 การใช้ยา (Pharmaco therapy)
มารดาที่มีอาการโรคจิตหลังคลอดจะได้รับยาพวก Major Transquilizer หรือที่เรียกว่า Antipsychotic drug เช่น
Largactil
มารดาที่มีอาการโรคประสาทหลังคลอดจะได้รับยาพวก Minor Transquilizer หรือที่เรียกว่า Antianxiety drug
ถ้ามารดามีอาการเศร้าเด่นชัด มารดาจะได้รับยา Antidepressant เช่น Valiume
1.2 การช็อคไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy, E.C.T. หรือ Electric Shock therapy, E.S.T.
)สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงหรือใช้ยารักษาไม่ได้ผล
2. การรักษาโดยใช้จิตบำบัด (Psychotherapy)
2.1 จิตบำบัดรายบุคคล (Individual therapy)
2.2 จิตบำบัดกลุ่ม (Group therapy)
2.3 จิตบำบัดครอบครัว (Family therapy)
2.4 จิตบำบัดระหว่างคู่สมรส (Marital therap
3. การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม (Environment therapy)
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อมนี้ มุ่งเน้นไปที่บุคคลใกล้ชิดกับมารดาหลังคลอด ได้แก่ สามีและญาติพี่น้อง โดยให้บุคคลเหล่านี้เข้าใจถึงความผิดปกติทางจิตใจของมารดาหลังคลอดให้ทราบแนวทางการรักษา แนวทางในการ ดูแลมาราดหลังคลอดและเข้าใจถึงความสำคัญของบุคคลใกล้ชิดที่มีผลต่อการรักษาของมารดาหลังคลอด ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะต้องมีความเข้าใจและเห็นใจ ให้กำลังใจและ ความอบอุ่นมั่นใจแก่มารดาหลังคลอด โดยแนะนำให้สามีและญาติหมั่นมาเยี่ยมมารดาหลังคลอดขณะอยู่ในโรงพยาบาลคอยอยู่เป็นเพื่อน และให้กำลังใจ ขณะเดียวกันญาติพี่น้องควรคอยช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตร และแบ่งเบาภาระงานบ้านของแม่บ้านชั่วคราว เพื่อให้มารดาได้มีเวลาพักผ่อนบ้าง ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรแยกบุตรจากมารดา แม้ว่ามารดาจะไม่ได้เลี้ยงดูบุตรเอง แต่ควรให้มารดาได้มองเห็นบุตรเสมอ ซึ่งจะทำให้สัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกยังคงอยู่
นางสาวสุพิชชา พรมโชติ เลขที่ 70
ห้อง ก ชั้นปีที่ 4