Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
บทที่1 การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
1.1 ความหมายของวัฒนธรรม(Culture)
1.1.1 วัฒนธรรม (Culture) หมายถึงวิถีการดําเนินชีวิต (The Way of Life) ของคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
1.1.3 ลักษณะพื้นฐานที่สําคัญของวัฒนธรรม 6 ประการคือ
3 )วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ (Symbol)
4) วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญาทําหน้าที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
2) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (Culture is learned)
5) วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์นิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่างๆ
6) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
1) วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (Shared ideas)
1.1.2 สังคมวิทยาได้จําแนกวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture)หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์ เช่น ถ้วย ชาม รวมไปถึงศิลปกรรมของมนุษย์เช่น รูปปั้น ภาพวาด
2)วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม ความคิด ความเชื่อ
1.1.4 องค์ประกอบของวัฒนธรรม
2)องค์การหรือสมาคม (Organization) หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบเป็นองค์การหรือสมาคมมีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับ รวมทั้งระเบียบวิธีประพฤติปฏิบัติขององค์การหรือสมาคมนั้นๆ เช่น สถาบันทางสังคมต่างๆ
3)องค์พิธีหรือพิธีการ(Usage หรือCeremony) หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของพิธีหรือพิธีการต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต คือ การเกิดจนกระทั่งตาย เช่น พิธีรับขวัญเด็ก
1)องค์วัตถุ (Material) หมายถึง วัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มีรูปร่างสามารถจับต้องได้เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ภาพเขียน และการสร้างสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายต่างๆเช่น ภาษา
4)องค์มติหรือมโนทัศน์ (Concepts)วัฒนธรรมในด้านความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคําสอนทางศาสนา เช่น ความเชื่อในเรื่องบาปบุญ
1.1.5 ความสําคัญของวัฒนธรรม
3)ทําให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
4)ทําให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
2)การศึกษาวัฒนธรรมจะทําให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
5)ทําให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
1)วัฒนธรรมเป็นเครื่องกําหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม
6)ทําให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
7)ทําให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
1.2 คุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อหลักการในการดําเนินชีวิต
1.2.3 ประเภทของความเชื่อ
2) ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคล มี 2 ลักษณะคือ เกิดจากประสบการณ์ตรง และเกิดจากการแลกเปลี่ยนพบปะสังสรรค์
3) ความเชื่อแบบประเพณี
1) ความเชื่อในสิ่งปรากฏอยู่จริง น้ําทะเลมีรสเค็ม
4) ความเชื่อแบบเป็นทางการ เช่น ความเชื่อที่มีต่อหลักคําสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องการมีสติ
1.2.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ
1) ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ การรับรู้ และการเรียนรู้
2) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การขัดเกลาทางสังคม
3) ปัจจัยทางด้านบุคคล ได้แก่ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ
1.2.1 ความเชื่อ หมายถึง การยอมรับคําอธิบายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ที่บุคคลได้จากการรับรู้และเรียนรู้ร่วมกันในสังคม และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนตกผลึกเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น
1.2.5 ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีการดูแลสุขภาพ
1) ความเชื่อแบบอํานาจเหนือธรรมชาติและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค โดยมีความเชื่อที่ว่า ความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทําของผี
วิธีการดูแลสุขภาพแบบเหนือธรรมชาติ ส่วนใหญ่ใช้การประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก ให้การดูแลรักษาสุขภาพในการแพทย์แบบอํานาจเหนือธรรมชาติ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มหมอดู กลุ่มหมอสะเดาะเคราะห์ กลุ่มหมอธรรม และกลุ่มหมอตํารา
2) ความเชื่อแบบพื้นบ้านและวิธีการดูแลสุขภาพเช่น ความเจ็บป่วยที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วิธีการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน จะมีการทําพิธีตั้งขันข้าวหรือการตั้งคายซึ่งเป็นการไหว้ครูเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการรักษา ผู้ให้การดูแลรักษาสุขภาพในการแพทย์แบบพื้นบ้าน ได้แก่ หมอสมุนไพร หมอเป่า
3) ความเชื่อแบบการแพทย์แผนตะวันตกและวิธีการดูแลสุขภาพเช่นการเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรค
วิธีการดูแลสุขภาพแบบแพทย์ตะวันตก จะมีการวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วย ส่วนผู้ให้การดูแลรักษาในการแพทย์ตะวันตก จะประกอบไปด้วย ผู้ให้การรักษา คือ แพทย์หรือหมอที่ได้ผ่านการเรียนทางด้านแพทย์ศาสตร์มาโดยเฉพาะ ผู้ให้การดูแลด้านการพยาบาล
4) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านสถานการณ์ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบพื้นบ้าน
5) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความชรา เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับความชราและการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน
6) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตาย เช่น ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน
1.2.4 ค่านิยมทางสังคม
ความหมาย ค่านิยมทางสังคมคือสิ่งที่เราเชื่อว่าสําคัญหรือมีคุณค่าในชีวิต อันจะนําไปสู่การมีแบบแผนการกระทําหรือพฤติกรรม
ปัจจัยทางสังคมที่ทำให้เกิดค่านิยม
3) สถาบันศาสนา
4) สังคมวัยรุ่นและกลุ่มเพื่อน
2) โรงเรียน คือสถาบันทางสังคมที่มีส่วนในการสร้างค่านิยมอันถูกต้องให้แก่เด็กเป็นอย่างมาก
5) สื่อมวลชน ในปัจจุบันบุคคลได้รับความรู้และความคิดจากสื่อมวลชนเป็นอันมากในบางกรณี
1)ครอบครัว เป็นสถาบันสังคมอันดับแรกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมให้แก่บุคคล
6) องค์การของรัฐบาล รัฐย่อมมีส่วนในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมให้แก่สังคมตามปกติ
สรุปได้ว่า ค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมทางสังคมและวิถีชีวิตของบุคคลในสังคม
1.3 วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและการแสวงหาการรักษาของประชาชนในภูมิภาคต่างๆของโลก
1.3.1 แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ หมายถึง ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพที่เชื่อมโยงตั้งแต่การดูแลสุขภาพตัวเอง การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน ไปจนถึงการดูแลสุขภาพที่อาศัยความรู้วิทยาการหรือเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่
1.3.2 ประเภทของวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
1)วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะปกติ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การออกกําลังกาย การเข้าวัด ถือศีล
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เช่น การบริโภคอาหารปรุงสุก
2) วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะเจ็บป่วย
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
1.3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
กระบวนการที่ประกอบด้วยแนวคิดหลัก 5 ประการ โดย ใช้หลัก ASKED
Knowledge หมายถึง
องความรู้เหล่านี้สามารถศึกษาได้จาก ศาสตร์ต่าง ๆ เช่น การบริการข้ามวัฒนธรรม มานุษยวิทยา
องค์ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมยังรวมไปถึงลักษณะเฉพาะ ทางด้านร่างกาย ชีววิทยา และสรีรวิทยาที่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์
การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม คือ การแสวงหาความรู้พื้นฐานที่ เกี่ยวข้องกับโลกทัศน์
Encounter หมายถึง
ความสามารถในการเผชิญและจัดการกับวัฒนธรรมหมายถึง การที่ บุคลากรสุขภาพมีความสามารถในการจัดบริการที่เหมาะสม
การหาประสบการณ์โดยการเข้าไปอยู่ร่วม ในสังคมต่างวัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งสําคัญเพราะ ประสบการณ์ในลักษณะนี้จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
Skill หมายถึง
การมีทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรม คือ ความสามารถของบุคลากรสุขภาพในการเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและปัญหาของผู้รับบริการ
Desire หมายถึง
ความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม (cultural desire) ของบุคลากรทางสุขภาพ ที่ทําให้ ต้องการเข้าไปสู่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม
เป็นขั้นที่สูงที่สุดของสมรรถนะทางวัฒนธรรม
Awareness หมายถึง
การตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม หมายถึง กระบวนการรู้คิดของ บุคลากรสุขภาพที่เล็งเห็นถึงความสําคัญของ การให้คุณค่า ความเชื่อ วิถีชีวิต พฤติกรรม และวิธีการแก้ปัญหาของผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม
หากบุคลากรสุขภาพ (พยาบาล) ยังไม่เข้าใจ ลึกซึ้งในวัฒนธรรมตนเอง ก็มีโอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมการบริการ ที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม ได้
สามารถจัดแบ่งได้ตามประโยชน์และโทษดังนี้
2) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์ เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแผด
3) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่แน่ว่าให้คุณหรือโทษ เช่น สังคมแอฟริกันบางสังคมให้เด็กกินดินหรือโคลน
1)ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ เช่น การให้ทารกกินนมแม่นานถึง 2 ปี
4) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นสาเหตุโรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง
สรุปได้ว่าวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพคือ กระบวนการที่บุคคลได้กระทํากิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเพื่อนําไปสู่การมีสุขภาพที่ดี มีความผาสุก โดยนําเอาแบบแผนความเชื่อและพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้มาใช้
แนวทางการดูแลสุขภาพ
2)ระบบการดูแลสุขภาพภาคพื้นบ้าน ใช้อํานาจเหนือธรรมชาติ เช่น ไสยศาสตร์และประเภทที่ไม่ใช่อํานาจเหนือธรรมชาติ เช่น สมุนไพร
3)ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน เป็นส่วนของการดูแลสุขภาพภาคประชาชนซึ่งถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมาตามวัฒนธรรม
1)ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพ เป็นส่วนของการปฏิบัติการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ มีการจัดองค์กรที่เป็นทางการ