Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลทางสูติกรรม, นางสาวศุภลักษณ์ สุทธิวงษ์ เลขที่ 96 -…
การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลทางสูติกรรม
การใช้ยาในระยะคลอด
ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
Bricanyl (Terbutaline)
เป็นยาที่ใช้ในการยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ให้ยา 0.25 mg. Subcutaneous q 4 hr. หรือเจือจางในสารละลาย isotonic solution ให้ทางหลอดเลือดดำในอัตรา 2.5-10 microgram/min และปรับขนาดยาได้สูงสุด 17.5-30 microgram/min หรือเริ่มให้ยาในขนาด 0.01-0.05 mg./min และปรับเพิ่มในอัตรา 0.01 mg./min. q 10-30 min. จนกระทั่งไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก หรือสูงสุดไม่เกิน 0.08 mg./min
กรณีให้ยาจนกระทั่งไม่มีการหดรัดตัวของมดลูกแล้ว จะต้องให้ยาในขนาดเดิมต่อไปประมาณ 1 hr. แล้วค่อยๆ ลดขนาดยาลง q 20 min. และให้ยาต่อไปอีก 12 hr. หรือตามแผนการรักษา
หลักการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับยา Bicanyl
obs.V/s q 1-4 hr. ตามสภาพอาการ
เฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิต ต่ำ น้ำท่วมปอด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
MgSo4
เป็นเกลือแร่ที่ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกัน อาการชัก ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ severe-prooclampsia โดยออกฤทธิ์ลดการหลั่ง สาร acetylcholine ที่ปลายประสาททําให้ยับยั้งการส่งกระแสประสาทไปยังกล้ามเนื้อได้ และออกฤทธิ์เกิดการทํางานของระบบประสาทส่วนกลาง ทําให้หลอดเลือดขยายตัว รู้สึกร้อน มีเหงื่อออก ลดความถี่และความรุนแรงในการหดรัดตัวของมดลูกได้
แนวทางในการให้ยา MgSo4
1.loading dose : MgSo4 4-6 g. ในสารน้ำ 100 ml. ให้ทางหลอดเลือดดํา 15-20 min. หรือให้10% MgSo4 4 g. โดยเจือจางจาก 50% MgSo4 4 g. (1 amp.=1 g.=2 ml.) 8 ml. ผสมกับ sterile water 32 ml.
2.หลังจากนั้นให้50% MgSo4 1-2 g/hr. โดยผสมในสารน้ำ isotonic solution เชน่ 5%D/N/2,NSS,LRI หรือฉีด 50% MgSo4 10 g. (20 ml.) เข้าทางกล้ามเนื้อสะโพก ข้างละ 5 g. และ 5 g. IM q 6 hr.จนครบ 24 hr.
หลักการพยาบาลก่อนและหลังให้ยา MgSo4
obs.V/S q 30 min.-1 hr. หรือ q 2-4 hr. ตามสภาพอาการของสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีหลังคลอด โดย RR ต้องไม่ต่ำกว่า 12 bpm
ประเมินภาวะ hyperreflexia หรือ hyporeflexia จาก deep tendon
reflex
ติดตามประเมินปริมาณน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย โดยเฉพาะปัสสาวะต้องไม่น้อยกว่า 25-30 ml./hr.
ควรให้ยา MgSo4 ในสารละลาย ร่วมกับการให้สารละลายอีกในขวด เพื่อสามารถหยุดให้ยาได้ทันทีเมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
ติดตามระดับความเข้มข้นของ MgSo4 ในเลือดโดยระดับยาในขนาดของการรักษาต้องอยู่ระดับ 4.0-8.0 mEq/L ถ้าระดับยามากเกินไปจะกดการหายใจทําให้หัวใจหยุดเต้น
กรณีได้รับยา MgSo4 เกินขนาดต้องให้ยา 10% calcium gluconate เพื่อต้านการออกฤทธิ์ของ MgSo4
ยาบรรเทาความเจ็บปวด
ketamine hydrochloride (Ketatar)
ขนาดที่ใช้0.25 mg./น้ำหนักตัว 1 kg. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ห้ามใช้ในมารดาที่มีความดันโลหิตสูงและมีประวัตชักมาก่อน ข้อเสียอาจทำให้มีอาการฝันร้ายและถ้าให้ในขนาดสูงๆ จะกดการหายใจของทารกในครรภ์
Pethidine
เป็นยาสังเคราะห์ในกลุ่ม Opioid มีการใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บครรภ์ในระยะคลอด โดยให้ในอัตรา 12.5- 50 mg intravenous หรือ 50-100 mg intramuscular ทุก 2-4 hr. โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังฉีดเข้าทางหลอดเลือดดํา 5 นาที และอาจให้ยาร่วมกับ plasil 10 mg. เพื่อป้องกัน หรือบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
หลักการพยาบาลหลังการให้ยา
เฝ้าระวังการกดการหายใจในทารกซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดยาpethidine 3-5 hr.
ติดตามประเมินสัญญาณชีพหลังฉีดยา 15 min,30 min-1 hr.
ประเมินอาการคลื่นไส้อาเจียน และการกดการหายใจ
ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก
Oxytocin
เป็นยาที่ใช้เพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกในระยะคลอดเพื่อชักนำการคลอดหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการหดรัดตัวของมดลูก
หลักในการใช้ยา
เจือจาง Oxytocin ในสารน้ำ Isotonic solution ในอัตราส่วนที่กําหนดตามมาตรฐานการใช้ยาของแต่ละโรงพยาบาล
ควรให้คู่กับสารน้ำอีก 1 ขวด เพื่อสามารถหยุดให้ยาได้ทันที กรณีมีการหดรัดตัวของมดลูกถี่ นาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจทารกที่เสี่ยงต่อการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอได้
ปรับอัตราการให้ยา Oxytocin เพิ่มขึ้น ในอัตรา 1-2 milliunit/min ตามการตอบสนองของการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 30 นาที - 1 hr.
ควรเริ่มให้สารน้ำที่ไม่มีOxytocin ก่อน และให้สารน้ำที่มีOxytocin ในอัตราที่ช้าๆก่อน เช่น 4 milliunit/min โดยใช้เครื่องควบคุมการให้สารน้ำ
ควรปรับอัตราการให้ยา Oxytocin ลดลงหรือหยุดการให้ยา เมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูกนาน ถี่ หรือแรงมากเกินไป
ต้องติดตามประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และอัตราการเต้นของหัวใจทารกก่อนให้ยา Oxytocin หลังให้ยา และตลอดระยะเวลาที่ให้ยา โดยใช้เครื่อง EFM หรือทุก 15 min ในระยะที่ 1 ของการคลอดและทุก 5 min ในระยะที่ 2 ของการคลอด
หลักการพยาบาล
เฝ้าระวังการหดรัดตัวของมดลูก
ติดตามและประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
ภาวะแทรกซ้อน
ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน
รกลอกตัวก่อนกําหนด ตกเลือดหลังคลอด และภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นในเส้นเลือด
มดลูกหดรัดตัวไม่คลาย (Tetanic Contraction)
ในระยะหลังคลอดควรให้ยาต่อ
พลอสตาแกลนดิน
methyl ergometrine mateate (metthergin) เข้าหลอดเลือดดําหรือกล้ามเนื้อหลังการคลอดรกเพื่อป้องกันก่อนการตกเลือดช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ใช้เพื่อการชักนําการคลอดมี2 ชนิด PGF2 และ PSE2
วิธีการให้
เหน็บทางช่องคลอด
ทางปาก
ทางกล้ามเนื้อให้ขนาด 500 mcg.
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อซ้ำได้ทุก 10-15 min.
ทางหลอดเลือดดําโดยผสม 500 mcg. กับน้ำเกลือ 250 ml. ให้ทางหลอดเลือดดําใน 20-30 min
ข้อห้าม
โรคหัวใจขาดเลือด
โรคตับ
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
ผลข้างเคียง
มดลูกแตก การฉีกขาดของช่องทางคลอด
ทําให้เกิด cervical Cramp และรกค้าง
อาเจียน ท้องเสีย
การใช้ยาในระยะตั้งครรภ์
Warfarin
ผู้ป่วยที่ใช้ยาวอร์ฟารินเป็นข้อห้ามในการตั้งครรภ์เนื่องจากยาวอร์ฟารินสามารถผ่านรกและมีผลกับทารกในครรภ์มีteratogenic effect และทําให้เกิดเลือดออกในทารกได้
หากเกิดการตั้งครรภ์และได้รับยาวอร์ฟาริน ตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ ทารกจะมีโอกาสเกิด warfarin embryopathy ซึ่งมีลักษณะ ได้แก่ nasal hypoplasia, stippled epiphys
กรดวิตามินเอ
แอคคิวเทน หรือ โรแอคคิวเทน เป็นอนุพันธุ์ของกรดวิตามินเอเข้มข้น เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม X ซึ่งห้ามใช้อ ย่างเด็ดขาดขณะตั้งครรภ์
ยาดังกล่าวมีผลต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้สูงถึงร้อยละ30โดยเฉพาะการใช้ยาในช่วงที่เด็กทารกกําลังสร้างอวัยวะต่างๆในร่างกาย คือ ในช่วง 7 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์โดยอวัยวะที่มีผล คือ พบความผิดปกติของระบบประสาท สมองและหัวใจได้มากกว่าคนปกติที่ไม่ได้ใช้ยาถึง 25 เท่า นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของใบหน้าและตา ปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหูผิดรูป รูหูไม่พัฒนาหรือตีบตัน จนกระทั่ง ไม่มีใบหูเลย นอกจากนี้การใช้ยาหลังระยะเวลาดังกล่าวยังพบความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของระบบแขนขาและระบบขับถ่าย-สืบพันธุ์ของทารกในครรภ์ได้
ผลที่เกิดจากการได้รับวิตามินเอมากเกิน
ภาวะตับทํางานผิดปกติเนื่องจากวิตามินเอที่มากเกินจะถูกนําไปสะสมที่ตับ
ภาวะแร่ธาตุในกระดูกลดลง เกิดภาวะกระดูกพรุน
ภาวะแท้งบุตร หรือทารกพิการแต่กําเนิด ถ้าได้รับในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ระบบประสาทส่วนกลางไม่ทํางาน มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ วิงเวียน ตาพร่ามัว
ภาวะตับทํางานผิดปกติเนื่องจากวิตามินเอที่มากเกินจะถูกนําไปสะสมที่ตับวิตามินเอช่วยในการเจริญเติบโต และพัฒนาระบบต่างๆ ของทารกเช่น ระบบประสาท หัวใจ ปอด ไต ตา ระบบสืบพันธุ์ กระดูกและระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย รวมถึงทําให้แผลหญิงตั้งครรภ์หายได้เร็วและป้องกันการติดเชื้อในช่วงหลังคลอด
ตาม RDA ซึ่งกําหนดโดยองค์การอาหารและยา ได้กําหนดความต้องการวิตามินเอของ
-หญิงตั้งครรภ์3,300 IU/วัน
-หญิงให้นมบุตร 4,000 IU/วัน
ถ้าได้รับวิตามินเอในปริมาณมากเกินไปจะเกิดผลเสียตามมาโดยทั่วไปถือว่าปริมาณที่มากกว่า 25,000 IU/วัน ถือว่ามากเกิน
นางสาวศุภลักษณ์ สุทธิวงษ์ เลขที่ 96