Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อของเต้านม (Mastitis), นางสาวระวีวรรณ ใจศิริ เลขที่ 51 ห้อง ก…
การติดเชื้อของเต้านม (Mastitis)
การติดเชื้อของเต้านมส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus โดยผ่านเข้าไปทางหัวนมที่แตก หรือแยก หรือเข้าทางบาดแผลของเต้านม เชื้อจะเข้าไปตามหลอดน้ าเหลืองรอบท่อต่อมน้ านม หรือจากการดูดนมของทารกที่มีเชื้อในปากและจมูก
อาการและอาการแสดง
การติดเชื้อจะเริ่มด้วยมีอาการน าคือ มีการคัดตึงของเต้านมอย่างรุนแรง มีไข้สูงอย่างรวดเร็วอาจสูงถึง 38.3º - 40º ซ ปวดเต้านมตุบๆ กด
เจ็บ ต่อไปลักษณะทางคลินิกและอาการแสดงจะชัดเจน คือ
ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ อาจมีอาการหนาวสั่น
ปวดเต้านม มีอาการคั่งของน้ำนม น้ำนมออกน้อย
บริเวณเต้านมแดง ร้อน เต้านมแข็งตึงขยายใหญ่ กดเจ็บ
ถ้าเป็นฝี ผิวหนังจะใสเป็นมัน กดนุ่ม
อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต และเจ็บ
มีไข้สูง ชีพจรเร็ว
การป้องกันการติดเชื้อของเต้านม
ท าความสะอาดเต้านมและหัวนมทุกครั้ง หลังให้ทารกดูดนม และเปิดหัวนมให้สัมผัสอากาศภายนอกบางในแต่ละวัน
ขณะให้ทารกดูดนม ปากของทารกอยู่บนลานนม และควรกดปลายคางทารกให้อ้าปากก่อน แล้วจึงดึงหัวนมออก
ไม่ควรให้ทารกดูดนมข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป
ควรล้างมือทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอนามัยหรือก่อนสัมผัสเต้านมและหัวนม
หากเต้านมหรือหัวนมแห้งเกินไป อาจใช้น้ ามันทาบางๆ เช่น ลาโนลิน (Lanolin)
ถ้ามีเต้านมคัดตึงให้ปฏิบัติดังนี้
6.1 ให้ทารกดูดนมบ่อยขึ้น
6.2 บีบน้ านมออก ให้ลานนมอ่อนนุ่ม และนวดเต้านมเบาๆ ก่อนให้ทารกดูด
6.3 สวมเสื้อยกทรงที่พอเหมาะพยุงเต้านมไว้
6.4 อาบน้ าอุ่นจากฝักบัวหรืออาบน้ าอุ่นธรรมดา จะช่วยให้น้ านมไหลดี หรือวางกระเป๋าน้ าแข็งที่เต้านมจะช่วยให้สุขสบายขึ้น
ควรแนะน าการดูแลเต้านม และเทคนิคการให้นมทารกอย่างถูกต้องเหมาะสม ตั้งแต่ก่อนออกจากโรงพยาบาลการสังเกตอาการและได้รับการรักษาตั้งแต่แรกจะช่วยให้รักษาง่ายและหายเร็ว
ถ้ามีหัวนมแตกต้องรีบรักษา อาจใช้ที่ครอบหัวนม (nipple shield) ขณะให้ทารกดูดนม
การรักษาพยาบาล
ตรวจดูอาการและอาการแสดง ส่งเพาะเชื้อจากน้้ำนมและหัวนม บางครั้งอาจต้องเพาะเชื้อจากในปากของทารกด้วยและหาsensitivity เพื่อให้ยาปฏิชีวนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา ยาที่ให้ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์กว้าง เช่น Cephalosporins และ Vancomycin
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา เมื่อมีอาการปวดรุนแรง หรือใช้น้ าแข็งประคบและสวมเสื้อชั้นในช่วยพยุงไว้ตลอดเวลา ควรระมัดระวังไม่ให้คับจนเกินไป ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวด
ใช้ความร้อนประคบเต้านมข้างที่มีพยาธิสภาพจะช่วยลดการอักเสบและอาการบวมของเต้านม
มารดาอาจให้นมบุตรได้ ถ้าไม่มีการติดเชื้อที่รุนแรง หรือปวดมาก เพราะการที่น้ำนมถูกขับออกจะช่วยป้องกันการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมารดาจะมีอาการปวดคัดตึงเต้านมมาก มักจะไม่ให้บุตรดูดนม หากมารดาต้องการจะเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาต่อ ควรบีบน้ำนมทิ้งตามเวลาที่ให้นมหลังให้ยาปฏิชีวนะไปประมาณ 2-3 วัน มารดาจะมีอาการดีขึ้นจึงสามารถให้นมบุตรต่อได้
การอักเสบของเต้านมนี้ถ้าได้รับการรักษาโดยเร็วตั้งแต่เริ่มมีอาการปรากฏอาการจะดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง หากไม่รักษาจะทำให้เกิดเป็นฝีของเต้านม (Breast abscess) ได้ จำเป็นต้องได้รับการผ่าเอาหนองออก จึงควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
ประคบความร้อนหรือประคบความเย็น เมื่อมีอาการปวดมากและช่วยให้การอักเสบหายเร็วขึ้น
ให้งดการให้นมบุตร หากมารดาต้องการให้นมบุตรต่อ ควรบีบน้ำนมทิ้งด้วยมือตามเวลาที่ให้นม และไม่ควรนวดเต้านม
ให้การดูแลทางด้านจิตใจเพื่อลดความวิตกกังวลและให้กำลังใจ ส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างมารดาและทารกและครอบครัว
ท าความสะอาดแผลให้อย่างวันละ 2 ครั้ง หรือเมื่อผ้าปิดแผลเปียกชุ่มโดยใช้ก๊อซชุบน้ำเกลืออัดไว้ในแผล เพื่อให้แผลตื้นขึ้นจากก้นแผล และช่วยระบายหนองได้ดีขึ้น
นางสาวระวีวรรณ ใจศิริ เลขที่ 51 ห้อง ก รุ่น 48