Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การอักเสบของหลอดเลือดดำ (Thrombophlebitis), นางสาวระวีวรรณ ใจศิริ เลขที่…
การอักเสบของหลอดเลือดดำ (Thrombophlebitis)
Phlebitis คือ การอักเสบของหลอดเลือด และ Thrombophlebitisคือการอักเสบของหลอดเลือดร่วมกับการมีเลือดแข็งตัว (Blood clots) มักจะเกิดความมาจากการติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูกแพร่กระจายเชื้อจากผนังมดลูกเข้าสู่ Ovarian veins และ Uterine veins
มักเกิดร่วมกับปัจจัยเหล่านี้ คือ
มีประวัติเคยเป็นหลอดเลือดดำอักเสบ
มีหลอดเลือดดำพองขอด (varicose veins)
อ้วนมาก
การขึ้นขาหยั่ง (Lithotomy) เป็นเวลานาน ขณะคลอด
การอักเสบของหลอดเลือดดำที่ขา (Femoral Thrombophlebitis)
จะเกิดกับ Femoral, Saphenous หรือ Popiteal veins
ทำให้การไหลเวียนเลือด
ที่ขาไม่ดี เนื่องจากการบวม ขาจะมีสีขาว
เรียกภาวะนี้ว่า "Milk leg" หรือ Phlegmasia alba dolens (White imflammation)
อาการและอาการแสดง
Femoral thrombophlebitis นี้ จะปรากฏอาการประมาณ 10 วันหลังคลอด ดังนี้
มีไข้สูง หนาวสั่น
ปวดเกร็ง, ผิวหนังแดงบริเวณขาที่เป็น
มีอาการบวม เนื่องจากหลอดเลือดดำอุดตัน ต่อมาผิวหนังจะตึงและบางใสเป็นสีขาว
Homan's sign ให้ผลบวก (จะปวดน่องมากเมื่อดันปลายเท้าเข้ามาลำตัว)
การรักษาพยาบาล
การเกิดหลอดเลือดด าอักเสบนี้สามารถป้องกันได้โดยปฏิบัติดังนี้
หลีกเลี่ยงการขึ้นขาหยั่งนานๆ ขณะที่คลอด และใช้ผ้ารองบนขาหยั่งเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักกดลงบนน่องโดยตรง
กระตุ้นให้มารดาหลังคลอดลุกขึ้นจากเตียงโดยเร็ว (Early ambulation) เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดที่ขาดีขึ้นและลดการเกิดการแข็งตัวของเลือดขึ้น
ถ้ามารดาหลังคลอดไม่สามารถลุกจากเตียงได้ ควรให้มารดาเริ่มบริหารส่วนขา ภายใน 8 ชั่วโมงหลังคลอด โดยการงอและเหยียดเข่าออก ยกขาแล้วหมุนเป็นวงกลม
รายที่มีหลอดเลือดดำพองขอด หรือเคยมีประวัติหลอดเลือดดำอักเสบในช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด ควรให้สวมถุงน่อง(Support stocking) ไว้เพื่อช่วยให้การไหลเวียนดีขึ้น และป้องกันการคั่งของเลือดบริเวณส่วนล่างของร่างกาย การสวมถุงน่องนี้ควรสวมก่อนลุกจากเตียง เพราะการลุกยืนและเดินก่อนสวมถุงน่องจะทำให้เกิดการคั่งของเลือดแล้ว ควรถอดถุงน่องนี้วันละ 2 ครั้ง และตรวจดูว่ามีการอักเสบของหลอดเลือดดำเกิดขึ้นหรือไม่
แนะนำให้มารดาหลังคลอดดูแลตนเองดังนี้
หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ ควรลุกเดินทุก 1/2-1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการคั่งของเลือดบริเวณขา
หลีกเลี่ยงการไขว่ห้าง เพราะจะเกิดแรงกดใต้เข่าทำให้การไหลเวียนเลือดบริเวณส่วนปลายลดลง
ขณะนั่งหรือนอน ควรยกปลายเท้าให้สูง เพื่อช่วยในการไหลเวียนกลับของเลือดจากส่วนปลายดีขึ้น
รายที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ
ให้นอนพักบนเตียง (bed rest) ยกขาข้างที่เป็นให้สูง
ใช้โครงเหล็ก (Cradle) ครอบบริเวณขาไว้ เพื่อลดแรงกดของผ้าห่มไม่ให้กดบริเวณขามากเกินไป
ส่องไฟ หรือประคบด้วยความร้อน จะช่วยให้มารดารู้สึกสบายขึ้น และการไหลเวียนเลือดที่ขาดีขึ้น การส่องไฟควรตั้งดวงไฟห่างจากขา 15-18 นิ้วฟุต ต้องระมัดระวังไม่ให้ร้อนจนเกินไป เพราะการรับความรู้สึกของขาลดลงเนื่องจากมีอาการบวม
ไม่ควรนวดบริเวณน่องเพราะอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันที่ปอดได้ (Palmonary Embolism)
ให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา (แพทย์อาจให้ Aspirin ทุก 4 ชม. เมื่อมีอาการปวด นอกจากนี้ Aspirinมีฤทธิ์เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างอ่อน (Mild anticoagulant) ด้วย )
รายที่ให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) โดยมากแพทย์จะให้พวกDicumarol หรือ Heparin ควรปฏิบัติดังนี้
ตรวจระดับความแข็งตัวของเลือด (Prothrombin หรือ Clotting time) ก่อนให้ยา
ประเมินน้ำคาวปลา บันทึกลักษณะ และปริมาณอย่างละเอียด ทุก 4 ชม. เนื่องจากมารดาที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะมีน้ าคาวปลามากกว่าปกติอาจต้องชั่งน้ำหนักของผ้าอนามัยก่อนและหลังใช้จะช่วยให้คาดคะเนปริมาณของน้ำคาวปลาได้ผลดี
ประเมินภาวะเลือดออกในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น การมีเลือดออกที่เหงือก หรือจากแผลฝีเย็บ หรือจุดเลือดออกบริเวณผิวหนัง ถ้ามีควรรายงานแพทย์ให้ทราบ
กระตุ้นให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 3,000-4,000 มิลลิลิตร เพื่อลดความหนืดของเลือด
ให้มารดางดให้นมบุตรขณะที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดพวก Dicumaral เพราะยาสามารถผ่านน้ำนมได้ และมารดาจะสามารถให้นมบุตรได้หลังจากหยุดยาประมาณ 10 วัน โดยให้มารดาบีบน้ำนมทิ้งตามเวลาที่ได้นมบุตร
กรณีที่ไม่ต้องการงดให้นมบุตร แพทย์อาจให้ Heparin แทนเนื่องจากยานี้ไม่สามารถผ่านทางน้ำนมได้ แต่ควรเตรียมยาต้านฤทธิ์พวก Protamine sulfate ไว้ให้พร้อมด้วย
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ดูแลความสุขสบายทั่วไปขณะนอนพักบนเตียง ความสะอาดของผ้าปูที่นอน และเสื้อผ้า และไม่ให้เปียกชื้นหากทำการประคบด้วยน้ำอุ่น
ดูแลด้านจิตใจ หากิจกรรมหรืองานอดิเรกมาให้ทำเพื่อให้มารดาเกิดความเพลิดเพลิน อธิบายให้เข้าใจถึงอาการที่เป็น แผนการรักษา เพื่อลดความวิตกกังวล
การอักเสบของหลอดเลือดดำในอุ้งเชิงกราน
(Pelvic thrombophlebitis)
การอักเสบของหลอดเลือดดำในอุ้งเชิงกรานจะเกิดช้ากว่า Femoral thrombophlebitis ประมาณวันที่ 14 หรือ 15 หลังคลอดมักจะเกิดกับ Ovarian, Uterine หรือ Hypogastric veins การอักเสบนี้จะเกิดเนื้อตายของหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดฝีในอุ้งเชิงกราน(Pelvic abscess) และอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด, ไต และลิ้นหัวใจ ได้
อาการและอาการแสดง
มารดามีไข้สูง หนาวสั่น
อ่อนเพลีย
การรักษาพยาบาล
ดูแลให้มารดาได้รับยาปฏิชีวนะ และยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษา
ให้มารดาพักผ่อนบนเตียง (Total bed rest)
ดูแลความสุขสบายทั่วไป และหากิจกรรมให้ทำ อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นซึ่งจะใช้เวลานาน 6-8 สัปดาห์
ดูแลทางด้านจิตใจ และเตรียมมารดากรณีที่ได้รับการเจาะเอาหนองออก (Colpotomy) หรือการผ่าตัด (Laparotomy)
นางสาวระวีวรรณ ใจศิริ เลขที่ 51 ห้อง ก รุ่น 48