Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลทางสูติกรรม - Coggle Diagram
การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลทางสูติกรรม
ยาในระยะตั้งครรภ์
กรดวิตามินเอ
ประโยชน์
ต่อร่างกาย
ช่วยในการมองเห็น โดยเฉพาะการมองในเวลากลางคืน การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
ต่อทารกในครรภ์
ช่วยในการเจริญเติบโต และพัฒนาระบบต่างๆ ของทารก เช่นระบบ ประสาท หัวใจ ปอด ไต ตา ระบบสืบพันธุ์ กระดูก และระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วย
ความต้องการ
หญิงตั้งครรภ์ 3,300 IU/วัน
หญิงให้นมบุตร 4,000 IU/วัน
ผู้หญิงปกติ 2,600/วัน
ได้จาก
วิตามินเอจากสัตว์
วิตามินเอจากผักและผลไม้
แครอท ผลไม้สีเหลืองส้ม เช่น แคนตาลูบ ลูกพีซ แอพริคอท มะละกอมะม่วง ผักใบเขียวต่างๆ เช่น บร็อคโคลี่ กระหล่ำเขียว ผักโขม ผักบุ้ง
อันตรายที่เกิดจากวิตามินเอมากเกินไป
ภาวะตับทำงานผิดปกติ เนื่องจากวิตามินเอที่มากเกินจะถูกนำไปสะสมที่ตับ
ภาวะแร่ธาตุในกระดูกลดลง เกิดภาวะกระดูกพรุน
ภาวะแท้งบุตร หรือทารกพิการแต่กำเนิด ถ้าได้รับในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ระบบประสาทส่วนกลางไม่ทำงาน มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ วิงเวียน ตาพร่ามัว
ยา warfarin
ข้อปฏิบัติในการรับประทานยา
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดบาดแผลเลือดอาจออกไม่หยุด หากบาดแผลมีขนาดเล็กและไม่ลึกวิธีแก้ไขไม่ให้เลือดออกมาก คือ ใช้มือสะอาดกดไว้ให้แน่นตรงบาดแผล เลือดจะหยุดหรือออกน้อยลง หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบว่ารับประทานยาวาร์ฟารินอยู่
หากต้องทำหัตถการทางทันตกรรม ต้องบอกให้ทันตแพทย์ทราบว่ากำลังรับประทานยาวาร์ฟารินโดยเฉพาะในกรณีที่จะต้องทำการผ่าตัด ถอนฟัน หรือต้องรับประทานยาอย่างอื่นเพิ่ม
ลีกเลี่ยงกีฬาหรือกิจกรรมที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเลือดออกง่าย ควรใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม ควรใช้แผ่นกันลื่นบริเวณห้องน้ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
กรณีเข้ารับบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอื่นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทุกครั้งและห้ามรับการรักษาโดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่
หากลืมรับประทานยามีข้อปฏิบัติ
กรณีลืมรับประทานยาและยังไม่ถึง12 ชั่วโมงให้รับประทานยาทันทีในขนาดเท่าเดิม
กรณีลืมรับประทานยาและเลย12 ชั่วโมงไปแล้ว ให้ข้ามยาในมื้อนั้นไป แล้วรับประทานยามื้อต่อไปในขนาดเท่าเดิม
รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และควบคุมปริมาณอาหารชนิดพืช ผักใบเขียวที่รับประทานให้สม่ำเสมอ
ควรพกบัตรประจำตัวเมื่อได้รับยาวาร์ฟาริน (warfarin card) ติดตัวไว้เพื่อเป็นการดูแลตนเองและแสดงบัตรทุกครั้งที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล
ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ไม่เพิ่ม/ลด/หยุดยาเอง
การเก็บรักษายา เก็บให้พ้นแสงและความชื้นควรเก็บไว้ในภาชนะที่โรงพยาบาลจัดให้ และเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
อาการไม่พึงประสงค์
พบจ้ำเลือดตามผิวหนัง
อาเจียนหรือไอเป็นเลือด
อาการปวดท้อง ถ่ายดำ
ภาวะเลือดออก
ปัสสาวะเป็นเลือด
เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะได้รับยาวาร์ฟารินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันในระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกาย อันเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองตีบได้
อาการข้างเคียง
มือเท้าบวม
มีไข้
แน่นหน้าอก
คลื่นไส้ อาเจียน
หนังตา หน้า ลิมฝีปากบวม
ผิวและตาเหลือง
กลืนอาหารหรือหายใจลำบาก
ชา ปวดแสบร้อนผิวหนัง
ลมพิษ ผื่นแดงคัน
ออ่นเพลีย
ยาในระยะคลอด
ยายับยั้งการหัดรัดตัวของมดลูก
ยา MgSo4
เป็นเกลือแร่ที่ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกัน
อาการชัก ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ severe-preeclampsia โดยออกฤทธิ์ลดการหลั่งสาร acetylcholine ที่ปลายประสาททำให้ยับยั้งการส่งกระแสประสาทไปยังกล้ามเนื้อได้ และออกฤทธิ์กดการท างานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หลอดเลือดขยายตัว รู้สึกร้อน มีเหงื่อออก ลดความถี่และความแรงในการหดรัดตัวของมดลูกด้วย
แนวทางการให้ยา
loading dose: MgSo4 4-6 g ในสารน้ า 100 มล. ให้ทางหลอดเลือดด า 15-20 นาที หรือ ให้ 10% MgSo4 4 g โดยเจือจางจาก 50% MgSo4 4 g ( 1 amp = 1 g= 2 ml) 8 ml ผสมกับ sterile water 32 ml)
หลังจากนั้นให้ 50% MgSo4 1-2 g/hr โดยผสมในสารน้ า isotonic solution เช่น 5%D/N/2, NSS, LRI หรือฉีด 50% MgSo4 10 g (20 ml) เข้าทางกล้ามเนื้อสะโพก (gluteus maximus) ข้างละ 5 g (10 ml) และ 5 g IM ทุก 6 ชม. จนครบ 24 ชม.
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน หน้ามืด
หัวใจเต้นช้า หรือหัวใจเต้นเร็ว
อาการแพ้ยา เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม และคอบวม เป็นต้น
รู้สึกอุ่น คล้ายเข็มทิ่ม หรือมีอาการแดงบริเวณผิวหนัง
หลักการพยาบาลก่อนและหลังให้ยา MgSo4
ติดตามประเมินปริมาตรน้ าเข้า ออกจากร่างกาย โดยเฉพาะปัสสาวะต้องไม่น้อยกว่า 25-30 มล./ชม.
ควรให้ยา MgSo4 ในสารละลาย ร่วมกับการให้สารละลาย อีกในขวด (piggyback) เพื่อสามารถหยุด ให้ยาได้ทันทีเมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
ประเมินภาวะ hyperreflexia หรือ hyporeflexia จาก deep tendon reflex (patellar,brachial) โดย 0=reflex absent, +1 = hypoactive reflex, +2 = normal reflex, +3 = brisker than average reflex, +4 = hyperactive reflex or clonus
ติดตามระดับความเข้มข้นของ MgSo4 ในเลือดโดยระดับยาในขนาดของการรักษา ต้องอยู่ระดับ 4.0-8.0 mEq/L (กรณีระดับยาในเลือด 10.0 mEq/L ท าให้ไม่มี deep tendon reflex, ระดับยา 15 mEq/L จะกดการหายใจ (respiratory paralysis), และระดับยา25.0 mEq/L ท าให้หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)
ติดตามประเมินสัญญาณชีพทุก 30 นาที- 1 ชม. หรือทุก 2-4 ชม. ตามสภาพอาการของสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีหลังคลอด โดยอัตราการหายใจต้องไม่ต่ ากว่า 12 ครั้ง/นาที
กรณีได้รับยา MgSo4 เกินขนาดต้องให้ยา 10% calcium gluconate เพื่อต้านการออกฤทธิ์ของMgSo4
ยาบรรเทาความเจ็บปวด
ยา pethidine
หลักการพยาบาลหลังการให้ยา pethidine
เฝ้าระวังการกดหายใจในทารกซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ หลังฉีดยา pethidine 3-5ชั่วโมง
ติดตามประเมินสัญญาณชีพหลังฉีดยา 15 นาที, 30 นาที -1 ชั่วโมง
ประเมินอาการคลื่นไส้ อาเจียน และการกดการหายใจ
เป็นยาสังเคราะห์ในกลุ่ม opioid มีการใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บครรภ์ใน
ระยะคลอด โดยให้ในอัตรา 12.5-50 mg intravenous หรือ 50-100 mg intramuscular ทุก 2-4 ชั่วโมง โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ 5 นาที และอาจให้ยาร่วมกับ plasil (metoclopramide) 10 mg
เพื่อป้องกัน หรือบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก
ยา oxytocin
หลักในการใช้ยา
ควรเริ่มให้สารน้ าที่ไม่มี oxytocin ก่อน และให้สารน้ าที่มี oxytocin ในอัตราที่ช้าๆก่อน
ปรับอัตราการให้ยา oxytocin เพิ่มขึ้น ในอัตรา 1-2 milliunit/min ตามการตอบสนองของการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 30 นาที – 1 ชั่วโมง โดยอาจปรับเป็น 6 milliunit/min (36 ml/hr, 12drops/min), 8 milliunit/min (48 ml/hr, 16 drops/min) 10 milliunit/min (60 ml/hr, 20drops/min) ซึ่งต้องคิดคำนวณอัตราการให้ยาตามชนิดของชุดให้สารน้ำ
ควรให้คู่กับสารน้ าอีก 1 ขวด (piggy back) เพื่อสามารถหยุดให้ยาได้ทันที
ควรปรับอัตราการให้ยา oxytocin ลดลง หรือหยุดการให้ยา เมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูกนาน ถี่ หรือ แรง มากเกินไป (hypertonic contraction)
ต้องเจือจางยา oxytocin ในสารน้ า isotonic solution
ต้องติดตามประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และอัตราการเต้นของหัวใจทารกก่อนให้ยา Oxytocin หลังให้ยา และตลอดระยะเวลาที่ให้ยา โดยใช้เครื่อง electronic fetal monitoring หรือ ทุก 15นาที ในระยะที่ 1 ของการคลอด และทุก 5 นาที ในระยะที่ 2 ของการคลอด
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ oxytocin
abruptio placentae
amniotic fluid embolism
precipitated labour
postpartum hemorrhage จาก uterine atony
ruptured uterus
water intoxication จากฤทธิ์ antidiuretic effect
ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน
เป็นยาที่ใช้เพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกในระยะคลอด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชักนำการคลอด (induction of labor) หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการหดรัดตัวของมดลูก (augmentation of labor)