Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ใช้ในระบบประสาทอัติโนมัต - Coggle Diagram
ยาที่ใช้ในระบบประสาทอัติโนมัต
การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชจลศาสตร์
เกี่ยวของกับการเป็นไปของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกาย
การดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย
อัตราและปริมาณยาที่เข้าสู่กระแสเลือด
Bioavailabilityคืออัตราส่วนของยาที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงที่ถูกนำเข้าสู่กระแสเลือด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมยา
ปัจจัยเกี่ยวกับตัวยา
ขนาดโมเลกุลของยา
วิธีการผลิตยา และรูปแบบยา
ขนาดยาที่ให้
คุณสมบัติในการละลายในไขมัน ยาหรือสารที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในไขมันจะถูกดูดซึมได้ดี
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วย
การบริหารยา
การให้ยาผ่านทางเดินอาหาร
ยามีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน จะดูดซึมได้ดีที่เป็นกรดPHต่ำ
ยามีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อน จะดูดซึมได้ดีที่เป็นด่างPHสูง
ข้อเสีย การเกิด first pass effect คือการเกิดการทำลายที่ตับเมื่อยาผ่านportal vein เข้าสู่ตับและถูกเปลี่ยนแปลง
การให้ยาดูดซึมผ่านหลอดเลือดฝอยบริเวณใต้ลิ้น
การให้ยาดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินหายใจ
การให้ยาโดยการฉีดใต้ผิวหนังSC กล้ามเนื้อIM หลอดเลือดดำIV
การดูดซึมผ่านผิวหนัง
การให้ยาแบบบเหน็บทวารหนักหรือช่องคลอด
การกระจายตัวของยา
โมเลกุลของยาจะต้องเป็นอิสระ
การกระจายตัวของยาขึ้นอยู่กับ
คุณสมบัติการละลายในไขมันยาที่ละลายในไขมันได้ดีจะสามารถกระจายตัวได้เร็ว
ปริมาณการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะนั้นๆ
การจับตัวของยากับโปรตีนในพลาสม่า ถ้ายาจับกับโปรตีนพลาสม่ามากจะทำให้การกระจายตัวของยาไม่ดีและไม่ออกฤทธิ์แต่ถ้ายาจับกับโปรตีนพลาสม่าได้น้อยยาจะกระจายตัวได้ดีและออกฤทธิ์เร็วขึ้น
การสะสมของยาที่ส่วนอื่นๆ
การแปลสภาพยาหรือการเปลี่ยนแปลงของยา
มีความสำคัญ2ประการ
กระตุ้นการออกฤทธิ์ยา
สิ้นสุดการออกฤทธิ์ยา
เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงยาtext
enzyme NADPH-cytochrom P450 reductase
ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงยา
Phase I reaction เอนไซม์จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมียา
Phase II reaction ยาที่ไม่มีความเป็นpolar มากพอที่จะถูกขับออกทางไตจะต้องถูกทำให้ละลายน้ำได้ดีขึ้นโดยการรวมตัวconjugation กับendogenous compound
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงยา
พันธุกรรม
สิ่งแวดล้อม
อายุ เด็กและผู้สูงอายุจะมีฤทธิ์ไวต่อพิษของยามากกว่าผู้ใหญ่
ปฏิกิริยาระหว่างยาในระหว่สงการเกิด metabolism
ยาบางชนิดมีคุณสมบัติเหนี่ยวนำเอนไซม์ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงยาและทำลายยาชนิดอื่นอย่างรวดเร็ว
ยาบางชนิดมีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์ ทำให้ยาชนิดอื่นแปรสภาพได้ช้าทำให้ยาอื่นที่ให้ร่วมด้วยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์นานขึ้น
การขับถ่ายยา
ร่างกายสามารถกำจัดยาออกได้ทางไต ตับ น้ำดีและปอด นอกจากนี้ยาอาจถูกขับออกทางน้ำนมและเหงื่อ
คำสำคัญทางเภสัชจลนศาสตร์
Half life ค่าครึ่งชีวิต คือเวลาที่ใช้ในการทำให้ยาหรือความเข้มข้นของยาลดลงเหลือ50%
Loading dose ขนาดยาที่ให้ครั้งแรกเพื่อให้ถึงระดับยาที่ต้องการในพลาสม่า
Duration of action เวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ที่ต้องการจนถึงหมดฤทธิ์ที่ต้องการ
การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชพลศาสตร์
เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ยา โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับการจับยากับ receptor
กลไกและการออกฤทธิ์ยา
ออกฤทธิ์โดยไม่จับreceptor
Chemical action เช่นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
Physical action เช่นยาระบาย
ออกฤทธิ์โดยจับreceptor
ตัวรับ พบได้ที่ผนังเซลล์ โดยมีคุณสมบัติจดจำและจับกับสารทีมีลักษณะโครงสร้างจำเพาะเจาะจง
Agonist ยาที่จับกับreceptor แล้วสามารถทำให้เกิดฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
Antagonist ยาที่จับกับreceptor แล้วสามารถลดหรือบดบังฤทธิ์ของagonistในการจับreceptor
Partial agonist ยาที่จับกับreceptorแล้วออกฤทธิ์เพียงบางส่วน
คำสำคัญทางเภสัชพลศาสตร์
Affinity ความสามารถของยาในการเข้าจับreceptor
Efficacy ความสามารถของยาที่ทำให้เกิดฤทธิ์สุงสุด
Potency ความแรงของฤทธิ์ยา
ระดับความปลอดภัยของยา
ยาที่มีค่าTI ต่ำจะมีความปลอดภัยต่ำ
ยาที่มีค่าTI สูงจะมีความปลอดภัยในการใช้สูง
กาแปรผันของการตอบสนองของยา
Idiosyncrasy การตอบสนองที่แตกต่างจากปกติทางพันธุกรรม
Hyporeactivity การตอบสนองต่อยาที่น้อยกว่า
Hyperactivity การตอบสนองต่อยามากกว่าปกติ
Hypersensitivity การแพ้ยาจากร่างกายมีแอนติบอดีที่ต่อต้านต่อโครงสร้างทางโมเลกุล
Tolerance การดื้อหรือทนฤทธิ์ต่อยา
Tachyphylaxis การดื้อยาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วเมื่อได้รับยาเพียง2-3ครั้ง
Placebo effect ฤทธิ์หลอก