Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่7.2การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเด็กวัยเรียน, นางสาวศศิภา แก้วอาษา…
บทที่7.2การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเด็กวัยเรียน
เด็กวัยเรียน
เด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านสติปัญญา จิตใจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน แบ่งออกเป็น2ช่วง คือ
วัยเรียนตอนต้น อายุ 6-9 ปี
วัยเรียนตอนปลาย 10-12 ปี
พัฒนาการเด็กวัยเรียน
การเจริญเติบโตด้านร่างกายจะช้าและคงที่
การทำงานของกล้ามเนื้อและสมองและทักษะการรู้คิดมีความชัดเจนและขยายมากขึ้น
ด้านจิตใจ มีอารมณ์ต่างๆ
ด้านสังคม การสร้างสัมพันธภาพ
ด้านสติปัญญา ภาษา ศีลธรรมจรรยธรรม
ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพฤติกรรมเสี่ยงในเด็กวัยเรียนด้านร่างกาย
ปัญหาสุขภาพในช่องปาก
ปัญหาภาวะโภชนาการ มีทั้งภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์และเกินเกณฑ์
ปัญหาโรคติดเชื้อและพาราสิต ที่ โรคไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย หิด เหา กลาก เกลื้อน และพยาธิ เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพฤติกรรมเสี่ยงในเด็กวัยเรียนด้านจิตวิญญาณ
ปัญหาที่สัมพันธ์กับพัฒนาการด้านภาษา ปัญหาด้านการพูดจะพบตั้งแต่ก่อนวัยเรียน และจะพบเชื่อมต่อมาจนถึงเด็กเข้าเรียน เด็กจะอ่านไม่ชัดเจน พบได้เมื่อเริ่มเข้าเรียนชั้นประถม 1 หรือ 2 ซึ่งจะพบไม่บ่อยเมื่อขึ้นชั้นประถม 3
ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพฤติกรรมเสี่ยงในเด็กวัยเรียนด้านจิตใจ
การไม่อยากไปโรงเรียน สาเหตุเช่น ขาดความมั่นใจในตนเอง เด็กมีการพึ่งผู้ปกครองมากปัญหาการเรียน เพื่อนกลั่นแกล้ง ไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม หรือความสัมพันธ์ของเด็กกับครูไม่ดี เป็นต้น
ปัญหาการเรียน จากปัญหาสุขภาพ ความผิดปกติทางสมอง การอดอาหารกลางวัน การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคม ปัญหาในครอบครัว
ปัญหาปัสสาวะรดที่นอน สาเหตุเกิดจากพันธุกรรมและภาวะด้านจิตใจ โรคเบาหวาน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพฤติกรรมเสี่ยงในเด็กวัยเรียนด้านสังคม
การลักขโมย เพราะยังไม่เข้าใจเรื่องการเป็นเจ้าของ หรือมาจากครอบครัวที่ไม่เน้นเรื่องความเป็นส่วนตัว พบได้ในอายุ 6-7 ปี
ปัญหาเด็กขาดการดูแลหลังเลิกเรียน เด็กถูกทิ้งให้อยู่บ้านคนเดียว หรือพี่น้องวัยเดียวกัน ทำให้เด็กรู้สึกเหงา ว้าเหว่ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หรือคบเพื่อนไม่ดีชักจูงไปทำในเรื่องผิดกฎหมาย
การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับวัยรุ่น
วัยรุ่น(AldolescenceTeenagers) อายุระหว่าง 13-20 ปี
มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ
ระยะเปลี่ยนผ่านจากเด็กเป็นผู้ใหญ่
ระยะของวัยรุ่น แบ่งเป็น3ระยะ
วัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-14 ปี
วัยรุ่นตอนกลาง อายุ 14-16 ปี
วัยรุ่นตอนปลาย อายุ 17-20 ปี
พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นด้านร่างกาย
เด็กหญิง อายุ 10-12 ปี สูงขึ้นเฉลี่ย ปีละ 8 เซนติเมตร
เด็กชาย อายุ 13-16 ปี สูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 10 เซนติเมตร
อายุ 15 ปี น้ำหนักเป็น 15 เท่าของแรกเกิด คือ ประมาณ 50 กิโลกรัม
ช่วงแรก ขาจะยาว มือใหญ่ เท้าหนา ต่อมาสะโพก หน้าอก และไหล่ขยายขึ้น
สุดท้ายลำตัวและประสาทไขสันหลังยาวขึ้นสูงเท่าผู้ใหญ่ เด็กหญิงอายุ 17 ปี เด็กชายอายุ21ปี
พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
วัยรุ่นอายุ 12-18 ปี อยู่ในขั้นพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง
สับสนในบทบาท (ไม่เข้าใจตนเอง) ต้องหาเอกลักษณ์ของตนเองให้พบ
การมองตนเองในด้านบวกจะเป็นแรงจูงใจสำคัญ เป็นสิ่งที่ผลักดันให้บรรลุจุดมุ่งหมายนำไปสู่ความสำเร็จได้
พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
เชื่อและรับฟังเพื่อนมากกว่าพ่อแม่
ชอบเปรียบเทียบตนเองกับเพื่อนฝูง รู้สึกมีปมด้อย
ท้อแท้ใจได้ง่าย พยายามปลีกตัวห่างจากพ่อแม่ เพื่อหัดดูแลรับผิดชอบตนเอง
ต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน
พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิญญาณ
สามารถเข้าใจความความคิดรวบยอดที่ลึกซึ้งได้เปรียบเทียบได้
สามารถคาดการณ์ถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นได้
อารมณ์หวั่นไหวเปลี่ยนแปลงง่าย อารมณ์รุนแรง ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอ อารมณ์ค้าง หงุดหงิดกับความเปลี่ยนแปลงที่ยังยอมรับไม่ได้
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น
ด้านร่ายกาย
วัยรุ่นมีการผลิตฮอร์โมนในการเจริญเติบโตและฮอร์โมนเพศ
ถ้าฮอร์โมนผิดปกติจะทำให้น้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามปกติ
เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสัดส่วนร่างกายอย่างมาก และมีการเจริญเติบโตทางเพศอย่างชัดเจน
ด้านจิตใจ
สับสนในภาพลักษณ์ของตน เนื่องจากวัยรุ่นเป็นระยะพัฒนาภาพลักษณ์ของตนเอง
การทะเลาะวิวาท เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่อารมณ์หวั่นไหวเปลี่ยนแปลงง่าย
สับสนในบทบาททางสังคม เช่น ชอบแกล้งน้อง มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
ด้านสังคม
ปัญหาการเข้าสังคมของวัยรุ่น มีปัญหาทะเลาะกับคนในครอบครัว ไม่อยากกลับบ้าน ต้องการความเป็นอิสระจากผู้ปกครองอย่างสูง ต้องการโลกส่วนตัว และหันเข้าหาเพื่อนมากขึ้น
การฝ่าฝืนกฎระเบียบ วัยรุ่นบางคนมีความกดดันทางอารมณ์ ต้องการความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง เกิดความรู้สึกอยากฝ่าฝืนกฎระเบียบของสังคม
ด้านจิตวิญญาณ
การใช้สารเสพติด การใช้สารเสพติดเป็นการแสดงออกถึงความเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
ความขัดแย้งทางคุณธรรม วัยรุ่นจะให้ความสนใจในศาสนา คุณธรรมอย่างมาก บางรายอาจต้องการพิสูจน์ในสิ่งที่ตนเชื่อมาตั้งแต่เด็ก เช่น พระเจ้ามีจริงหรือไม่
การสร้างเสริมสุขภาพผู้ใหญ่
การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
รักษาสุขภาพให้อยู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล
จัดระบบแหล่งประโยชน์มาเพื่อเกื้อกูลการมีสุขภาพดี
การพัฒนาความสามารถ ให้ควบคุมปัจจัย ที่มีผลต่อสุขภาพ
ความสำคัญของวัยผู้ใหญ่
เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสูงสุดของชีวิต
เป็นวัยที่มีช่วงชีวิตยาวนานประมาณ 40 ปี
เป็นวัยที่ก่อสร้างรากฐานของครอบครัว
เป็นวัยที่ร่างกายเจริญเต็มที่และเริ่มเสื่อมถอย
เป็นวัยที่สร้างอาชีพและรายได้
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Early adulthood)
ระบบหัวใจและหลอดเลือด : หลังอายุ 30ปี จะทาหน้าที่ลด ลง 0.7% ต่อปี
ระบบหายใจ : ประสิทธิภาพปอดลดลง 8% ทุก 10 ปี ความจุปอด 4-5ลิตร
ระบบย่อยอาหาร : การย่อยอาหาร,การดูดซึมอาหารและ
การขับถ่ายทางานลดลง
วัยผู้ใหญ่กลางคน (Middle-aged)
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก : มีน้าหนักตัวและมีไขมันใต้ผิวหนังเพิ่มมากขึ้น กระดูกเริ่มเปราะบางและหักง่าย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด : หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง มีไขมันมาเกาะมากขึ้น
ระบบย่อยอาหาร : ต่อมไร้ท่อที่ผลิตน้าย่อยทางานลดลง
ระบบผิวหนัง : มีรอยย่น แห้งกร้าน มีถุงใต้ตาเป็นรอยคล้า
*การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ผู้ใหญ่ตอนต้น ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ไม่เอาแต่ใจ วัยผู้ใหญ่ตอนกลางคน บุคคลิกภาพมั่นคง มีคว่มยืดหยุ่นทางอารมณ์
*การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม วัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีสัมพันธภาพกับครอบครัวมากขึ้นเริ่มสร้างครอบครัว ผู้ใหญ่ตอนกลางคน ดูความสำเร็จของลูกหลาน ในคนโสดอาจจะอุทิศตนเพื่อสังคม
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ใหญ่
ปัจจัยด้านชีวภาพและปัจจัยประชากร ได้แก่ อายุ, เพศ, อาชีพ, สถานภาพสมรส, ความเครียด, ลักษณะอุปนิสัย
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยด้านความเชื่อ
การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การนอนหลับ พฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมที่คุกคามต่อสุขภาพ ได้แก่ การสูบบุหรี่, การดื่ม , แอลกอฮอล์ , การใช้ยาเสพติด
วัยทอง (Menopause)
การก้าวเข้าสู่วัยทองของสตรีนั้น จะมีช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน เป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงยังไม่หมดประจำเดือน หรือไม่มีประจำเดือนมาระยะเวลาหนึ่งแต่ไม่ถึง 1 ปี ช่วงวัยนี้อาจจะยาวนานถึง 6 ปีก่อนจะก้าวสู่วัยทอง โดยปรากฏอาการออกเป็นตามช่วงคือ
ช่วงแรก ประจำเดือนจะมาเร็วขึ้น จากที่เคยมาทุกเดือน จะมาทุกๆ3 อาทิตย์
ช่วงที่สอง ประจำเดือนจะเริ่มมาห่าง เช่น 2-3 เดือนมาหนึ่งครั้ง
ช่วงที่สาม คือช่วงที่ประจำเดือนหายไปนานจนครบ 1 ปี
ผลจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรก เป็นอาการที่เกิดในช่วงสั้น หรือเกิดหลังจากหมดประจำเดือนใหม่ๆ จะมีอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ รู้สึกเบื่อ เหนื่อย ใจสั่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า
กลุ่มที่สอง หลังจากหมดประจำเดือนไประยะหนึ่ง จะเกิดอาการจากการฝ่อเหี่ยวของเนื้อเยื่อทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ทำให้ช่องคลอดแห้งแสบ เจ็บแสบเวลามีเพศสัมพันธ์
กลุ่มสุดท้าย เกิดในระยะยาว เช่น การสูญเสียเนื้อกระดูกทำให้กระดูกผุ กระดูกพรุน เกิดโรคหัวใจขาดเลือด และโรคความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์)
หญิงวัยทองร้อยละ 48 มีโรคประจำตัว 3 อันดับแรกที่พบมาก ได้แก่ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ
วัยผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ คือบุคคลที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปโดยนับตามปีปฏิทิน และถือเป็นข้อตกลงในวงการระหว่างประเทศแต่การกำหนดความเป็นผู้สูงอายุโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์นี้
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาในผู้สูงอายุ
ระบบผิวหนัง ระบบประสาท ระบบกล้าเนื้อและกระดูก ระบบไหลเวียนเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดอนปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมในวัยสูงอายุ
การปลดเกษียณ หรือการออกจากงาน (retirement)
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและครอบครัว
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ปัญหาสุขภาพที่มักเกิดในวัยผู้สูงอายุ
1.อุบัติเหตุ
เบื่ออาหาร ขาดสารอาหาร และโลหิตจาง
กระดูกเปราะและหักง่าย ปวดข้อ
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง สมองขาดเลือด(อัมพาต)
การติดเชื้อทางเดินหายใจ และการสาลัก หายใจลาบาก เหนื่อยง่าย
เบาหวาน
ท้องผูก
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุ
การคัดกรองโรค (screening) เช่น
การตรวจวัดความดันโลหิต
การตรวจระดับน้าตาล
การตรวจระดับไขมันในเลือด
การฉีดวัคซีนป้องกันโรค (immunization) เช่น
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมค็อกคัส (Pneumococcal vaccine)
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Herpes zoster)
การให้ยาป้องกันโรค (chemoprophylaxis) เช่น
Aspirin (ASA)
ฮอร์โมนทดแทน (hormone replacement therapy:HRT)
การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น
การแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่
การแนะนำให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์
การแนะนำอาหาร
การแนะนำให้ออกกำลังกาย
การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง
นางสาวศศิภา แก้วอาษา 611410068-3 คณะพยาบาลศาสตร์