Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ใช้ในระบบประสาทอัตโนมัติ - Coggle Diagram
ยาที่ใช้ในระบบประสาทอัตโนมัติ
การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
เป็นการควบคุมอวัยวะภายใน โดยการประสานการทำงานร่วมกันของ ANS ประกอบด้วย 2 ระบบ คือ
ระบบประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic nervous system) ทำงานเพื่อให้สามารถ ต่อสู้หรือถอยหนี เพิ่มการใช้พลังงาน ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เพิ่มcardiac output หลอดลมขยาย การทำงานของระบบทางเดินอาหารลดลง
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก(Parasympathetic nervous system) เปรียบเสมือนการชะลดหรือห้ามระบบ เพื่อให้พักผ่อนหรือย่อยอาหาร ได้แก่ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ หลอดลมตีบแคบลง กระเพาะอาหารละกระเพาะปัสสาวะบีบตัว เพิ่มการหลั่งกรดและน้ำย่อย
ระบบประสาททั้ง 2 ชนิด จะตอบสนองให้ผลตรงกันข้ามหรือระบบหนึ่งแสดงผลอีกระบบไม่แสดงผล
สารสื่อประสาท(neurotransmitter) และตัวรับ(Receptor) ในระบประสาทอัตโนมัติ
สารสื่อประสาทในระบบประสาทซิมพาเทติก เรียกว่า Adrengic agents ได้แก่ Noradrenaline(NE) และจับกับตัวรับเฉพาะที่เรียกว่า Adrenergic receptor มีชนิด Alpha และ Beta
สารสื่อประสาทในระบบประสาทพาราซิมพาเทติก เรียกว่า Cholinergic agents ได้แก่ Acetylcholine (ACh) และจับกับตับรับเฉพาะที่เรียกว่า Cholinergic receptor มีทั้งชนิด Muscarinic และ Nicotinic recerptor
สารสื่อประสาทในระบบโซมาติก จะมีเส้นประสาทที่ไปยังกล้ามเนื้อลายซึ่งหลั่ง Ach ออกฤทธิ์ที่ Nicotinic receptor กล้ามเนื้อลาย
การแบ่งประเภทของ Adrenergic receptors
a1 พบที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทางเดินปัสสาวะ และมดลูก
a2 พบที่ปลายประสาทซิมพาเทติกที่เนื้อเยื่อต่างๆ ยับยั้งการหลั่งของ norepinephrine (NE)
B1 พบที่หัวใจ เมื่อถูกกระตุ้นจะเพิ่มแรงบีบตัว อัตราการเต้นของหัวใจ
B2 พบที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด กล้ามเนื้อลายก่อให้เกิดการสลายไกลโคเจน
B3 พบที่เซลล์ไขมัน เมื่อกระตุ้นทำให้เกิดการสลายไขมัน
การแบ่งประเภทของ Cholinergic receptor
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
Nicotinic receptor พบที่ปมประสาท
Muscarinic receptor แบ่งเป็น
M1 พบที่สมอง Peripheral neuron และ Gastric parietal เมื่อมีการกระตุ้นทำให้เกิดการตอบสนองแบบ Excitation
M2 พบที่หัวใจ เช่น หัวใจเต้นช้า ยับยั้งการหลั่ง Ach ออกจากปลายประสาทซิมพาเทติก
M3 พบได้ตามต่อมมีท่อต่างๆ กล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการตอบสนองแบบ Excitation เช่น มีการหลั่งของต่อมมีท่อมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว
M4 พบที่ระบบประสาท การหลั่งของ Dopamine
M5 พบที่ Dopamine neuron เสริมการหลังของ Dopamine
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ แบ่งได้ดังนี้
1. ยาโคลิเนอร์จิก (Cholinergic Drugs)
เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์คล้ายกับการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก กลไกการออกฤทธิ์ขางยา แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
Cholinergic agonist ออกฤทธิ์โดยตรง ได้แก่ Acetylcholine (Ach) และยาสังเคราะห์ choline ester Ach จัดเป็นยาต้นแบบของยากลุ่มนี้แต่ไม่สามารถนำมาใช้ในการรักษาเนื่องจากฤทธิ์กระจายมากและออกฤทธิ์สั้นเนื่องจากยาถูกทำลายอย่างรวดเร็วด้วย AChE จึงเกิดการสังเคราะห์ Choline ester อื่นๆ เช่น Carbachol และ Bethanechol
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ Muscarinic และ Nicotinic receptor
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบไหลเวียนเลือด สารMuscarinic agonist มีผลโดยตรงทำให้ลดความต้านทานหลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ลดความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ
ระบบหายใจ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดลมหดตัว ต่อมในหลอดลม หลั่งสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น ถ้าการกระตุ้นมีมากจะเกิดอาการคล้ายหืด
ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหดตัว เพิ่มความดันกระเพาะปัสสาวะ เพิ่มการบีบตัวของท่อปัสสาวะ และการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูด
ระบบทางเดินอาหาร เพิ่มการหลั่งสารคัดหลั่ง คือ น้ำลาย และกรดในกระเพาะอาหาร ต่อมในตับอ่อนและลำไส้เล็ก
ฤทธิ์ต่อตา ทำให้ม่านตาหรี่ เป็นผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ sphincter muscle ของ iris ลดความดันในเบ้าตา
ระบบประสาทส่วนกลาง สารมีฤทธิ์กระตุ้นสมองส่วน cortex มีบทบาทเกี่ยวกับการรับรู้ การเคลื่อนไหว ความอยากอาหาร
การนำไปใช้ทางคลินิก
ใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะ ใช้รักษาอาการปัสสาวะไม่ออกจากหัตถการผ่าตัด การคลอดบุตร กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะให้มีการบีบตัวเพื่อขับปัสสาวะออกมาได้
ใช้รักษาต้อหิน glaucoma ยา Pilocarpine ชนิดหยอด รักษาต้อหินเฉียบพลัน มีฤทธิ์กระตุ้นให้ม่านตาหรี่ ลดความดันในลูกตา ลดความดันในลูกตาในการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดตาหรือตรวจตา
ใช้รักษาอาการท้องอืด ไม่ถ่าย เช่น โรคกรดไหลย้อนgastroesophageal reflux
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ได้แก่ อาเจียน มีน้ำลาย น้ำมูก เหงื่อออก ปวดมวนท้อง ระคายเคืองตา
ข้อห้ามใช้
ผู้เป็นโรคหืบ Asthma จะทำให้หลอดลมหดตัว
โรงแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ Peptic ulcer เนื่องจากยากระตุ้นการหลั่งกรด และน้ำย่อยมากขึ้น
ผู้ป่วยลำไส้อุดตัน นิ่วทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากการกระตุ้นการบีบตัวจะก่ออันตรายได้
Anticholinesterase agent (Cholinesterase inhibitors) ออกฤทธิ์ทางอ้อม
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Acetylcholinesterase (AChE) ทำให้ Ach ไม่ถูกทำลาย การจับกับเอนไซม์ถ้าเป็นชั่วคราว จัดอยู่ในกลุ่ม 'reversible' ส่วนสารที่จับกับเอนไซม์อย่างถาวร เรียกกลุ่ม 'irreversible'
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ผลต่อกล้ามเนื้อเรียบและต่อมของกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ ตา แต่ผลเหล่านี้อาจรุนแรงทั่วร่างกาย systemic effect ต่อระบบไหลเวียนอาจทำให้หัวใจเต้นช้า ลด cardiac output ความดันโลหิตลดลง
ผลต่อ nicotinic receptor ผลต่อกล้ามเนื้อลาย การบีบตัวของใยกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการสั่นพริ้ว
การนำไปใช้ทางคลินิก
ใช้ในการรักษาอาการลำไส้ กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว ได้แก่ Neositigmine
ใช้ในการรักษาโรค Myasthenia gravis ยาช่วยเพิ่ม Ach ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นกลับมีแรงดีขึ้น ได้แก่ Pyridostigmine (Mestinon) สำหรับยาEdrophonium จะออกฤทธิ์สั้น ใช้วินิจฉัยโรค Myasthenia gravis
ใช้ในการยุติฤทธิ์ของยาคลายกล้ามเนื้อกลุ่มที่เป็น competitive antagonist เพื่อให้ผู้ป่วยกลับหายใจได้ปกติเร็วขึ้นหลังการผ่าตัด ได้แก่ Neostigmine และ Pyridostigmine
รักษา Alzheimer's disease ยาช่วยปรับปรุงด้านความจำ ความเข้าใจ
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
Organophosphate หรือ ยาฆ่าแมลง เป็นยาที่จับกับเอนไซม์อย่างถาวร irreversible เมื่อได้รับสารนี้จะเกิดอาการพิษ ได้แก่ รูม่านตาเล็ก หัวใจเต้นช้า เหงื่อออกมาก ปวดท้อง การรักษาโดยให้ยาต้านพิษได้แก่ Atropine และ pralidoxime (2-PAM) เพื่อยับยั้ง Muscarinic effect
2. ยาต้านมัสคารินิค (Antimuscarinic Drugs)
Antimuscarinic Drugs หรือ Anticholinergic Drugs ยับยั้งฤทธิ์ของ Cholinergic drugs ที่ cholinergic receptor ได้แก่ Atropine
กลไกการออกฤทธิ์
Atropine ออกฤทธิ์แย่งที่กับ Ach ในการจับ Muscarinic receptors ทำให้ยามีผลลด parasympathetic tone ในร่างกายที่ตอบสนองต่อฤทธิ์ยาได้ไว คือ ต่อมมีท่อต่างๆ เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำลาย และต่อมสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบตา เป็นอันตรายต่อต้อหิน glaucoma
ระบบทางเดินอาหาร ลดการบีบตัวของหลอดอาหารไปจนถึงลำไส้ใหญ่
ระบบทางเดินหายใจ ยับยั้งการหลั่งของสารคัดหลั่ง secretion ที่จมูก ปาก คอ และหลอดลมได้
กล้ามเนื้อเรียบอื่นๆ ความแรงในการบีบตัวของท่อปัสสาวะ
ต่อมเหงื่อ ทำให้ร่างกายขับเหงื่อได้น้อยลง เรียกว่า Atropine fever
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว tachycardia มีฤทธิ์โดยตรงทำให้หลอดเลือดขยายตัว โดยเฉพาะหลอดเลือดใต้ผิวหนัง เรียกว่า Atropine flush
การนำไปใช้ทางคลินิก
Antisecretory รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
ใช้เป็น Antispasmodics ยาลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในช่องท้อง ใช้รักษาโรคอาการท้องอืด ได้แก่ Buscopan
ใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวมากเกินไป overactive bladder ได้แก่ Oxyphencyclimine
ใช้ทางจักษุแพทย์ ทำให้รูม่านตาขยาย mydriasis เป็นยาหยอดขยายม่านตาก่อนการตรวจตา และ tropicamide
ใช้เป็นยาขยายหลอดลม bronchodilators ในผู้ป่วย COPD และโรคหืด asthma
ใช้เป็นยาเตรียมก่อนการผ่าตัด anesthetic premedication (Atropine) ยับยั้งการหลั่งกรด
ใช้เป็นยารักษาโรคพาร์กินสัน กลุ่มอาการที่เรียกว่า extrapyramidal syndrome อาการเกร็งกระตุกกล้ามเนื้อ
รักษาภาวะล้มเหลวของระบบไหลเวียนโลหิต Atropine หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น
ใช้เป็นยาป้องกันและรักษาอาการเมารถ เมาคลื่น antimotion-sickness ได้แก่ scopolamine
ใช้เป็นยาต้านพิษ Antidote เกิดจาก organophosphate ได้แก่ Atropine
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่ามัว ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง
3. ยากระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Adrenergic drugs)
เป็นสารทำให้เกิดการกระตุ้นของประสาทซิมพาเทติก หรือกระตุ้นAdrenergic receptors กลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามี 3 แบบคือ Directly acting drugs ออกฤทธิ์ที่ Adrenergic receptors ที่เซลล์เมมเบรนของ sympathetic effector cells โดยตรง หรือ Mixed-acting drugs
กลุ่ม Catecholamines ได้แก่ Epinephrine, Norepinephrine(NE), Depamine(DA) และ Dobutamine
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบไหลเวียนเลือด กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบองหลอดเลือดให้หดตัว vasoconstriction
ผลต่อล้ามเนื้อเรียบ การคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม Bronchodilation ทางเดินอาหารและกล้ามเนื้อมดลูก
ผลกระตุ้นหัวใจ กระตุ้นเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณไฟฟ้า
ผลต่อเมแทบอลิซึม ผลต่อตับ เพิ่มการสลาย glycogen สร้าง glucose จาก lipid
ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ตื่นตัวและลดความอยากอาหาร
ผลต่อตา ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว รูม่านตาขาย เพิ่มการสร้างน้ำลูกตา
ยากลุ่ม Catecholamines ได้แก่
1. Epinephrine (Adrenaline)
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้นได้ทั้ง a1และa2 และ B1และB2 receptor
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบไหลเวียนโลหิต มีฤทธิ์ในการบีบหลอดเลือดและกระตุ้นหัวใจ เพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบตัวของหัวใจ เพิ่มความดันโลหิต
ระบบทาเดินอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหารคลายตัว กล้ามเนื้อหูรูดบีบตัว
ระบบหายใจ กล้ามเนื้อทางเดินหายใจคลายตัว หลอดลมขยายตัว
ผลต่อเมตาบอลิซึม ทำให้กลูโคสและ lactose ในเลือดสูง
ยาเข้าสู่สมองได้น้อยจึงไม่มีฤทธิ์กระตุ้นสมอง
การนำไปใช้ทางคลินิก
ภาวะหัวใจหยุดเต้น cardiac arrest
ภาวะแอนาฟิแล็กซิส anaphylaxis ยาลดอาการหดเกร็งของหลอดลม
ใช้เพื่อห้ามเลือด Topical hemostasis
ใช้ผสมยาชาเฉพาะที่ เพื่อช่วยให้ออกฤทธิ์นานขึ้น
1.2. Norepinephrine / Noradrenaline (Levophed)
กระตุ้นที่a1 และ B1 receptor เพิ่มความต้านทานรวมของหลอดเลือดส่วนปลายได้มาก ทำให้หลอดเลือดหดตัว รักษาความดันโลหิตต่ำรุนแรง ที่ไม่ตอบสนองต่อยาอื่น เช่น ภาวะซ็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต septic shock
1.3. Dopamine; DA (Dopaminex, Dopamin, Intropin)
เป็น Neurotransmitter ในสมอง เมื่อถูกเมตาโบไลท์จะได้ norepinephrine และ epinephrine ยาออกฤทธิ์ต่อ receptor ในขนาดต่ำ ทำให้เกิด vasodilation ของหลอดเลือดในไต เพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่ไต ขับโซเดียวทางปัสสาวะ ในขนาดปานกลาง เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ เพิ่มอัตราการเต้นหัวใจเพียงเล็กน้อย มีประโยชน์ในภาวะหัวใจล้มเหลวและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในขนาดสูง ทำให้หลอดเลือดหดตัว รักษาภาวะช็อกจากหัวใจ จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
1.4. Dobutamine
เป็นยาที่กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม cardiac output โดยมีผลเล็กน้อยต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เช่นเดียวกับ DA แต่ Dotutamine ไม่มีผลต่อ D1 receptors ที่ไต
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ระบบไหลเวียน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปอดบวมน้ำ เจ็บหน้าอก
Tissue necrosis ถ้าฉีดเข้าหลอดเลือดดำรั่วไปเนื้อเยื่อรอบๆ จะเกิด vasoconstriction อย่างมากจนเนื้อตายได้
ระบบประสาท วิตกกังวล ปวดศีรษะ อาการสั่น อาจเกิด cerebral hemorrhage
2. Alpha-adrenergic agonist
2.1 Alpha-1 agonist
ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงที่ a1-adrenergic receptor ได้แก่
Phenylephrine เป็นยารูปแบบรับประทานหรือแบบพ่นจมูก มีผลให้หลอดเลือดในเยื่อเมือกในโพรงจมูกหดตัว ใช้เป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูก ใช้เป็นยาหยอดขยายม่านตา
Midodrine ทำให้หลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิตเพิ่ม ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการ postural hypotension จากความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
2.2 Alpha-2 agonist
* Clonidine
เป็นยาที่เลือกใช้ในสตรีตั้งครรภ์ รักษาอาการขาดเหล้า อาการถอนพิษของสุรา เฮโรอีน รักษาอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยหมดประจำเดือน ผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ทำให้ง่วง ซึมเศร้า ปากแห้ง ท้องผูก เบื่ออาหาร ถ้าหยุดยาเร็วอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน
3. Beta-adrenergic agonist
3.1 B2 adrenergic agonist
.
ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น ใช้รักษาอาการหลอดลมหดเกร็งเฉียบพลัน ใช้บรรเทาอาการจับหืดเฉียบพลันหรือ COPD นอกจากนี้ Terbutaline ชนิดรับประทาน ยับยั้งมดลูกบีบตัวใช้ในการชะลอหรือป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว ได้แก่ Salmeterol & formoterol เป็นยาที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ยาว นานกว่า 12 ชั่วโมง ใช้ในโรคหอบหืด และ COPD
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ได้แก่ ใจสั่น อาการสั่น อาการกระวนกระวาย วิตกกังวล หัวใจเต้นเร็ว
3.2 B3 adrenergic agonist
Mirabegron ออกฤทธิ์จำเพาะต่อ B3-receptor มีผลให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะคลายตัว ใช้ในการรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
4. Indirect-acting and mied-type adrenergic agonist
4.1 Ephedrine & pseudoephedrine
ยา Ephedrine ไม่ได้ใช้ทางคลินิกแล้ว pseudoephedrine ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ receptor ได้โดยตรง ใช้เป็นยาลดน้ำมูกและคัดจมูก อาการข้างเคียงพบมากในผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว
4.2 Amphetamine
เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางที่มีความแรงสูง เพิ่มความดันโลหิต และในขนาดสูงมีผลทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผลเด่นชัดต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผลอต่ออารมณ์ จิตใจ เพิ่มความตื่นตัว ลดความรู้สึกอ่อนล้า ลดความอยากอาหาร มีอารมณ์ครื้นเครง จนกระทั่งมีอาการเคลิ้มเป็นสุข อาการข้างเคียง นอนไม่หลับ กระสับกระส่สย อาจก้าวร้าว ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง อาจทำให้เกิดการติดยาและต้องเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อยๆ
ประโยชน์ทางคลินิกของยาในกลุ่ม Sympathomimetics
ภาวะหัวใจหยุดเต้น Epinephrine
Anaphylaxis ยาหลักที่ใช้ได้แก่ epinephrine ขยายหลอดลม
Glaucoma ยากลุ่ม a2-agonist ช่วยลดความดันในลูกตา
Antihypertensive ยากลุ่ม a2-adrenergic agonist เช่น clonidine
ลดการคั่งการบวมของเนื้อเยื่อในจมูก nasal decongestion
อื่นๆ ได้แก่ overactive bladder ใช้ยา B3-receptor agonist
4. ยาปิดกั้นอะดรีเนอร์จิครีเซพเตอร์ Adrenoceptor blocking drugs
ยาในกลุ่มนี้เรียกว่า Adrenergic blocker หรือ ยา sympatholytic ออกฤทธิ์ปิดกั้นที่ adrenergic receptors
1. a-adrenergic antagonists
ได้แก่
- Prazosin, Doxazosin
ออกฤทธิ์จำเพาะต่อ a1-receptor ในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ที่ผนังหลอดเลือด ที่หัวใจ และต่อมลูกหมาก ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคต่อมลูกหมากโตร่วมด้วย
2. B-adrenergic antagonists (B-blocker)
2.1 Non-selective B-blocker
ได้แก่ Propranolol, Timolol, Sotalol
- Propranolol
ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ลดการกระตุ้นหัวใจ ลดอาการใจสั่น ลดหัวใจเต้นเร็ว ป้องกันอาการใจสั่นจากสาเหตุอื่นๆ
2.2 Selective B-blocker
ได้แก่ Atenolo, Metoprolol
- Metoprolol และ Atenolo
ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก ลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวจล้มเหลวจากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 45 ครั้ง/นาที ป้องกันไมเกรน รักษาผู้ป่วยที่ต่อมไทยรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นช้า เกิดจากการปิดกั้นตัวรับ B ที่หัวใจและหลอดเลือด และ atrioventricular block
ระบบหายใจ จากการปิดกั้นตัวรับ B2 อาจทำให้หลอดลมตีบแคบ
เมื่อหยุดยาอย่างกะันหัน จะรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ระบบประสาท ปวดศีรษา นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า
ระบบต่อมไร้ท่อและกระบวนการเมแทบอลิซึม เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ