Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ใช้ในระบบประสาทอัติโนมัติ - Coggle Diagram
ยาที่ใช้ในระบบประสาทอัติโนมัติ
บทนำระบบประสาทอัติโนมัติ
การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
ระบบประสาทซิมพาเทติก
(Sympathetic nervous system)
ทำงานเพื่อให้สามารถ “ต่อสู้หรือถอยหนี” (Fight or Fight)
ระบบประสาทซิมพาเทติก
(Sympathetic nervous system)
เปรียบเสมือนการชะลอหรือห้ามระบบ “เพื่อให้พักผ่อนหรือย่อยอาหาร” (Rest or Digest)
การแบ่งประเภทของ Adrenergic receptors
B2
พบที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหลอดลมทางเดินปัสสาวะและมดลูก
B3
พบที่เซลล์ไขมันเมื่อมีการกระตุ้นทำให้เกิดการสลายไขมัน
Q1
พบที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดทางเดินปัสสาวะและมดลูก
G2
พบที่ปลายประสาทซิมพาเทติกที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ และในสมอง
B1
พบที่หัวใจเมื่อถูกกระตุ้นจะเพิ่มแรงบีบตัวอัตราการเต้นของหัวใจ
สารสื่อประสาท (neurotransmitter) และตัวรับ (Receptor) ในระบบประสาทอัตโนมัติ
สารสื่อประสาทในระบบประสาทซิมพาเทติก
Adrenergic agents ได้แก่ Noradrenaline (NE) และจับกับตัวรับเฉพาะที่เรียกว่า
Adrenergic receptor มีชนิด Alpha (G) และ Beta (8)
สารสื่อประสาทในระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
Cholinergic Acetylcholine (ACh) และจับกับตัวรับเฉพาะที่เรียกว่า Cholinergic receptor มีทั้งชนิด Muscarinic (M) ua: Nicotinic receptors
สารสื่อระบบประสาทในระบบโซมาติก
จะมีเส้นประสาทที่ไปยังกล้ามเนื้อลายซึ่งหลั่ง Ach ออกฤทธิ์ที่ Nicotinic receptors กล้ามเนื้อลาย
การแบ่งประเภทของ Cholinergic receptor
Nicotinic receptor
พบที่ปมประสาท
Muscarinic receptor
M3
พบได้ตามต่อมมีท่อต่าง ๆ กล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหารทางเดินหายใจ
M4
พบที่ระบบประสาทการกระตุ้น
M2
พบที่หัวใจและบางส่วนของ Peripheral neuron
M5
พบที่ Dopamine neuron
M1
พบที่สมอง Peripheral neuron และ Gastric parietal
ยาต้านมัสคารินิค (Antimuscarinic drugs)
เป็นกลุ่มยาที่ปิดกั้นหรือยับยั้งฤทธิ์ของ cholinergic drugs ที่ cholinergic receptors ยาในกลุ่มนี้มีผลต่อ nicotinic เล็กน้อยจึงออกฤทธิ์ปิดกั้นที่ Muscarinic receptors ได้แก่ “ Atropine "
กลไกการออกฤทธิ์
Atropine เป็น muscarinic antagonists ออกฤทธิ์แย่งที่กับ Ach ในการจับ Muscarinic receptors แบบแข่งขัน (Competitive inhibition) ทำให้ยามีผลลด parasympathetic tone ในร่างกายส่วนของร่างกายที่ตอบสนองต่อฤทธิ์ยาได้ไวคือต่อมมีท่อต่าง ๆ เช่นต่อมเหงื่อต่อมน้ำลายและต่อมสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบตา
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบ iris Sphincter และ ciliary muscle ไม่สามารถหดตัวได้จึงทำให้ม่านตาขยาย (mydriasis)
ระบบทางเดินอาหาร
การปิดกั้น muscarinic receptors ทำให้ parasympathetic tone ที่ระบบทางเดินอาหารลดลง
ระบบทางเดินหายใจ
มีฤทธิ์ขยายหลอดลม (bronchodilation)
ยับยั้งการหลั่งของสารคัดหลั่ง (secretion)
กล้ามเนื้อเรียบอื่น ๆ
ลดความตึงตัวและความแรงในการบีบตัวของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะลำบาก
ต่อมเหงื่อ atropine
ทำให้ร่างกายขับเหงื่อได้น้อยลงส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกทางเหงื่อได้
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทำให้หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)
การนำไปใช้ทางคลินิก
รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
โรคอาการท้องเดิน (antidiarrheat agent) ,โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)
ใช้ทางจักษุแพทย์ทำให้รูม่านตาขยาย (mydriasis)
ใช้เป็นยาขยายหลอดลม (bronchodilators)
ใช้เป็นยาเตรียมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด (anesthetic premedication)
ใช้เป็นยารักษาโรคพาร์กินสัน
รักษาภาวะล้มเหลวของระบบไหลเวียนโลหิต
ใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวมากเกินไป (overactive bladder)
ใช้เป็นยาป้องกันและรักษาอาการเมารถเมาคลื่น (antimotion-sickness)
ใช้เป็นยาต้านพิษ (Antidote)
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ปากแห้งคอแห้ง
ตาพร่ามัว
วูบวาบทางผิวหนัง
ท้องผูกปัสสาวะลำบาก
ยากระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Adrenergic drugs)
กลุ่ม catecholamines
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดให้หดตัว (vasoconstriction)
กระตุ้นหัวใจกระตุ้นเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญานไฟฟ้าที่ AV node โดยผ่าน B1-receptor
ตับอ่อนลดการหลั่ง insulin ผ่าน a2 receptor เพิ่มการหลั่ง glucagon ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
กระตุ้นผ่าน B2-receptor ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลายขยายทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม (Bronchoditation)
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้ตื่นตัวและลดความอยากอาหาร
ผลต่อตา (Eye effect) การกระตุ้น a-receptor ที่ radial muscle ของม่านตาทำให้กล้ามเนื้อหดตัวมีผลให้รูม่านตาขยาย
ผลต่อตับเพิ่มการสลาย glycogen และสร้าง glucose จาก lipid และโปรตีนผ่าน a1, B2 receptor
Epinephrine (Adrenaline)
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้นได้ทั้ง a (a1 & a2) , B (B1 & B2) receptor ถูกทำลายอย่างรวดเร็วโดย MAO และ COMT ดังนั้นให้โดยการรับประทานไม่ได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบไหลเวียนโลหิต
มีฤทธิ์แรงที่ในการบีบหลอดเลือดและกระตุ้นหัวใจเนื่องจากยามีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ
ระบบทางเดินอาหาร
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหารคลายตัวกล้ามเนื้อหูรูดบีบตัว
ระบบหายใจ
ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจคลายตัวหลอดลมขยายตัว
ผลต่อเมตาบอลิซึมภายในร่างกาย
ทำให้กลูโคสและ Lactose ในเลือดสูง
ผลต่อสมอง
ยาเข้าสู่สมองได้น้อยจึงไม่มีฤทธิ์กระตุ้นสมอง
การนำไปใช้ทางคลินิก
ภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)
ภาวะแอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis)
ใช้ผสมยาชาเฉพาะที่
ใช้เพื่อห้ามเลือด (Topical hemostasis)
Norepinephrine / Noradrenaline (Levophed)
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับ Epinephrine แต่มีความชอบ a-receptor สูงกว่า
ประโยชน์ทางคลินิก
รักษาความดันโลหิตต่ำรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อยาอื่นได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้ความดันโลหิตสูง
เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
เพิ่ม cardiac output
Dopamine; DA (Dopaminex, Dopmin, Intropin)
กลไกการออกฤทธิ์
DA ขนาดปานกลาง กระตุ้น B1 receptor เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจเพิ่มอัตราการเต้นหัวใจเพียงเล็กน้อยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่ต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้นมีประโยชน์ในภาวะหัวใจล้มเหลวและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
DA ในขนาดสูง กระตุ้น a1 receptor ทำให้เกิดหลอดเลือดหดตัว vasoconstriction เพิ่มความดันโลหิตประโยชน์ทางคลินิกรักษาภาวะช็อกจากหัวใจ (Cardiogenic shock) จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction)
DA ในขนาดต่ำ (renal dose) กระตุ้น D1- receptors ทำให้เกิด vasoditation ของหลอดเลือดในไตและหลอดเลือดในหัวใจ Coronary มีผลเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่ไต (glomerular filtration rate; GFR) เพิ่มการขับโซเดียมทางปัสสาวะจึงมีประโยชน์ในการรักษาภาวะช็อกที่เกิดจาก Cardiac output ลดลงร่วมกับการทำงานของไตไม่ดี
Dobutamine
กลไกการออกฤทธิ์
เป็นสารสังเคราะห์มีโครงสร้างคล้าย DA มีฤทธิ์ a1 และ B agonist ออกฤทธิ์กระตุ้น B1 receptor ฤทธิ์ต่อ a-receptor มีน้อย
เป็นยาที่กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจเพิ่ม Cardiac Output
ทำให้หลอดเลือดขยายตัวจึงไม่ใช่ย่าเพิ่มความดันโลหิต
ประโยชน์ทางคลินิก
รักษาความดันโลหิตต่ำรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อยาอื่นได้ (เช่นเดียวกับ DA)
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ระบบประสาท
วิตกกังวล ปวดศีรษะ อาการสั่น อาจเกิด cerebral hemorrhage
ระบบไหลเวียน
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปอดบวมน้ำ เจ็บหน้าอก (ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วย hyperthyroidism)
Tissue necrosis
Norepinephrine ถ้าฉีดเข้าหลอดเลือดดำรั่วไปเนื้อเยื่อรอบ ๆ จะเกิด vasoconstriction อย่างมากจนเนื้อตายได้
Alpha-adrenergic agonist
Alpha-1 agonist
Phenylephrine
เป็นยาออกฤทธิ์จำเพาะต่อ a1- receptor
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหดตัว
เพิ่มแรงต้านในหลอดเลือด
เพิ่มความดันโลหิต
ยารูปแบบรับประทานหรือแบบพ่นจมูก มีผลให้หลอดเลือดในเยื่อเมือกในโพรงจมูกหด ตัวใช้เป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูก
Midodrine
เป็นยาออกฤทธิ์จำเพาะต่อ a1- receptor
ทำให้หลอดเลือดหดตัวส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่ม
ออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมง
ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการ postural hypotension หรืออาการหน้ามืดจากความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
Alpha-2 agonist
Clonidine
ออกฤทธิ์กระตุ้น a2- receptor ที่สมองและหลอดเลือด
ใช้เป็นยาลดความดันโลหิตมีชนิดรับประทาน
ใช้เป็นแผ่นแปะผิวหนังทำให้ลดการหดตัวของหลอดเลือดลดความต้านทานของหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตลดลง
ประโชน์ทางคลินิก
ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
เป็นยาที่เลือกใช้ในสตรีตั้งครรภ์
รักษาอาการขาดเหล้าหรืออาการถอนพิษ (withdrawal) ของสุรา
เฮโรอีนและมอร์ฟีน คือยาช่วยลดอาการทางระบบประสาทซิมพาเทติกที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการหยุดยาเสพติดได้
รักษาอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยหมดประจำเดือน
ใช้ร่วมกับยาอื่นในการระงับปวดจากมะเร็ง
ผลข้างเคียง
ทำให้ง่วง
ซึมเศร้า
ปากแห้ง
ท้องผูก
เบื่ออาหาร
อาจเกิดอาการถอนยา (withdrawal syndrome) คือถ้าหยุดยาเร็วอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน
Beta-adrenergic agonist
ß2 adrenergic agonist
ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น (Short-Acting Beta Agonists, SABAs)
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดลมคลายตัว
ใช้รักษาอาการหลอดลมหดเกร็งเฉียบพลัน (Acute bronchospasm)
ออกฤทธิ์ได้เร็วภายใน 15 นาที
เมื่อใช้แบบยาพ่นใช้บรรเทาอาการจับหืดเฉียบพลันหรือ COPD
ยากลุ่มนี้มักใช้เสริมเมื่อมีอาการเฉียบพลัน
ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว (Long-acting beta agonists, LABAs)
เป็นยาที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ยาวนานกว่า 12 ชั่วโมง
Salmeterol มี onset ช้าใช้เวลาหลายชั่วโมง
รูปแบบยาพ่นช่วยบรรเทาอาการหืด
formuterol ออกฤทธิ์เร็ว ใช้รักษาทั้งระยะเฉียบพลันและระยะยาว
ใช้ในโรคหืดและ COPD
ป้องกันอาการหืดเมื่อออกกำลังกาย
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ใจสั่น
อาการสั่น
อาการกระวนกระวาย
วิตกกังวล
หัวใจเต้นเร็ว
ß3 adrenergic agonist Mirabegron
ยาออกฤทธิ์จำเพาะต่อ B3-receptor
ใช้ในการรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (overactive bladder)
ผลให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะคลายตัว
Indirect-acting and mixed-type adrenergic agonist
Ephedrine & pseudoephedrine
Ephedrine ไม่ได้ใช้ทางคลินิกแล้ว
pseudoephedrine เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท มีใช้อย่างจำกัดในโรงพยาบาล
ออกฤทธิ์ทางอ้อม
pseudoephedrine ใช้เป็นยาลดน้ำมูกและคัดจมูก
อาการข้างเคียง คือ ความดันโลหิตสูงนอนไม่หลับหัวใจเต้นเร็ว
Amphetamine
เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางที่มีความแรงสูง
ออกฤทธิ์ทางตรง และทางอ้อม
สามารถให้โดยการรับประทานและฤทธิ์อยู่ได้นาน
ยามีผลเพิ่มความดันโลหิต
ในขนาดสูงมีผลทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
เพิ่มความตื่นตัว ลดความรู้สึกอ่อนล้า ลดความอยากอาหาร
มีอารมณ์ครื้นเครง นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ประสาทหลอน
ทำให้เกิดการติดยาและต้องเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อย ๆ
ประโยชน์ทางคลินิกของยาในกลุ่ม Sympathomimetics
ใช้ Epinephrine ในภาวะหัวใจหยุดเต้น
Glaucoma ยากลุ่ม G2- agonist ช่วยลดความดันในลูกตาโดยลดการผลิตน้ำในลูกตา
Asthma & COPD ใช้เป็นยาขยายหลอดลม
clonidine ยาออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางช่วยลดความดันโลหิต
ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้น adrenergic receptor ลดการคั่งการบวมของเนื้อเยื่อในจมูก (nasat decongestion)
overactive bladder ใช้ยา B3-receptor agonist มีผลคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
Dopamine มีผลเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่ไต
ยาโคลิเนอร์จิก (Cholinergic drugs)
Cholinergic agonist
Acetylcholine (Ach) และสารสังเคราะห์ choline ester
Ach จัดเป็นยาต้นแบบของยากลุ่มนี้ แต่ไม่สามารถนำมาใช้ในการรักษาเนื่องจากฤทธิ์กระจายมากและออกฤทธิ์สั้นเนื่องจากยาถูกทำลายอย่างรวดเร็วด้วย AChE จึงเกิดการสังเคราะห์ Choline ester อื่น ๆ มาใช้
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ Muscarinic และ Nicotinic receptor
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหดตัว (detrusor muscle)
เพิ่มความดันกระเพาะปัสสาวะ
เพิ่มการบีบตัวของท่อปัสสาวะ
ระบบทางเดินอาหาร
เพิ่มการหลั่งสารคัดหลั่งคือน้ำลายและกรดในกระเพาะอาหาร
กระตุ้นกล้ามเนื้อทางเดินอาหารบีบตัว (peristalsis)
ระบบหายใจ
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดลมหดตัว
ต่อมในหลอดลมหลั่งสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น
ฤทธิ์ต่อตา
ทำให้ม่านตาหรี่ (miosis)
ระบบไหลเวียนเลือด
ให้หลอดเลือดขยายตัว (vasodilation)
ทำให้ลดความต้านทานหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular resistance)
ลดความดันโลหิตลดการเต้นของหัวใจ
ระบบประสาทส่วนกลาง
กระตุ้นบทบาทเกี่ยวกับการรับรู้ (cognitive function)
กระตุ้นการเคลื่อนไหว (motor Control)
กระตุ้นความอยากอาหาร (appetite)
กระตุ้นความปวด (nociception)
การนำไปใช้ทางคลินิก
ใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะ (Bethanechot)
ใช้รักษาต้อหิน (glaucoma)
ใช้รักษาอาการท้องอืดไม่ถ่าย
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
อาการมึนเวียนศีรษะ (dizziness) คล้ายจะเป็นลม
อาเจียน
ทำให้มีน้ำลาย น้ำมูก เหงื่อออก
ปวดปัสสาวะ ปวดมวนท้อง
อาการตามัว ระคายเคือง คันตา ตาแดง น้ำตาไหล
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในผู้เป็นโรคหืด (Asthma) หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (Peptic ulcer)
ผู้ป่วยลำไส้อุดตันนิ่วทางเดินปัสสาวะ
Anticholinesterase agent (Cholinesterase inhibitors)
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Acetylcholinesterase (AChE) หรือ Cholinesterase (ChE)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ผลต่อ muscarinic receptor คล้ายกับ Cholinergic agonist คือ ผลต่อกล้ามเนื้อเรียบและต่อมของกระเพาะอาหาร และทางเดินอาหารทาง เดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ ตา
ผลต่อ nicotinic receptor ผลต่อกล้ามเนื้อลายการบีบตัวของใยกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อมีอาการสั่นพลิ้วการ
นำไปใช้ทางคลินิก
ใช้ในการรักษาอาการลำไส้กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว
ใช้ในการรักษาโรค Myasthenia gravis (MS)
ใช้ในการยุติฤทธิ์ของยาคลายกล้ามเนื้อกลุ่มที่เป็น Competitive antagonist
รักษา Alzheimer's disease
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
รูม่านตาเล็ก
หายใจลำบาก
หัวใจเต้นช้า
ความดันโลหิตต่ำ
หน้ามืด
เหงื่อออกมาก
น้ำลายมาก
มีสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจมาก
หลอดลมหดเกร็ง
ปวดท้อง
ยาปิดกั้นอะดรีเนอร์จิครีเซพเตอร์ (Adrenoceptor blocking drugs)
Alpha-adrenergic antagonists (a-blocker)
Prazosin, Doxazosin
ยาที่มีใช้ในปัจจุบันคือ selective a1-antagonist
ออกฤทธิ์จำเพาะต่อ a1-receptor ที่อยู่ภายในเซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดที่หัวใจและที่ต่อมลูกหมาก
ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ
ลดความต้านทานของหลอดเลือดแดง
ผนังหลอดเลือดขยายทำให้ลดความดันโลหิตได้ดีและรวดเร็ว
ไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาอันดับแรกในการลดความดันโลหิต
ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคต่อมลูกหมากโตร่วมด้วย
อาการข้างเคียง
การใช้ยาในระยะแรก ๆ จะมีความดันโลหิตต่ำในขณะเปลี่ยนอิริยาบถ (postural hypotension)
Beta-adrenergic antagonists (ß-blocker)
Non-selective B-blocker
Propranolol
ยาต้นแบบของ B-blocker
ถูกดูดซึมได้ดีมาก
มี first-pass metabolism สูง
ประโยชน์ในการรักษา
ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
ลดอาการใจสั่นและมือสั่นในผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (hyperthyroidism)
ลดหัวใจเต้นเร็วหรือป้องกันอาการใจสั่นจากสาเหตุต่าง ๆ
ลดอาการตื่นเต้นได้ง่ายทำให้เกิดภาวะสงบ
รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ
Selective B-blocker
Metoprolol และ Atenolol
เป็น Selective B1-blocker
ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงห
ใช้รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เป็นยาสำคัญใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 45 ครั้ง / นาที
ใช้ป้องกันไมเกรน
ใช้รักษาผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติร่วมกับยารักษาไทรอยด์
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด : ทำให้หัวใจเต้นช้าเกิดจากการปิดกั้นตัวรับ B ที่หัวใจและหลอดเลือดและ atrioventricular block
ระบบหายใจ : จากการปิดกั้นตัวรับ B2 อาจทำให้หลอดลมตีบแคบผู้ป่วยโรคหอบหืดไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ระบบประสาท : พบอาการปวดศีรษะ วิงเวียน นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า
ผลกับระบบต่อมไร้ท่อและกระบวนการเมแทบอลิซึม : อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการตอบสนอง เพิ่มระดับน้ำตาลผิดปกติ