Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย, ชื่อ นางสาวมาลินี คำมา เลขที่ 62, รหัส…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
ระเบียบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับ ที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น
หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด กำหนดรูปแบบการปกครองประเทศ
วางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย
ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติ (พรบ.)
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา
คือ คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ประมวลกฎหมาย
เป็นการรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ให้มาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบ
พระราชกำหนด
เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหาร
พระราชกฤษฎีกา
เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของ
พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร
ระเบียบ และข้อบังคับ
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงานองค์กร ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงาน หรือคณะกรรมการ
ประกาศและคำสั่ง
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน
อื่น ๆ
ข้อบังคับท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดหรือกำหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้
ตัวอย่าง
กฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔ บัญญัติว่า “ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ”
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๓ บัญญัติว่า “ บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ”
มาตรา ๑๕๖๔ บัญญัติว่า “ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ”
กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ
ตัวอย่าง
รัฐสภา
รัฐบาล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้
ข้อยกเว้นของฑูตต่างประเทศ
ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร
หากได้กระทำความผิดอาญา ก็อาจได้รับเอกสิทธิ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องถูกดำเนินคดีในประเทศไทย
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ผลร้าย
ประหารชีวิต คือ การนำตัวผู้กระทำความผิดไปฉีดยาพิษให้ตาย
จำคุก คือ การเอาตัวไปคุมขังไว้ในเรือนจำตามกำหนดเวลาที่ศาลพิพากษา
กักขัง คือ โทษที่ให้กักตัวผู้กระทำความผิดไว้ในสถานที่กักขัง
ปรับ คือ โทษที่ผู้กระทำความผิดต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
ริบทรัพย์สิน คือ จะริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาจากการกระทำความผิด
ผลดี
กรณีจดทะเบียนสมรส ทำให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
สามารถใช้สิทธิของคู่สมรสไปลดหย่อนภาษีได้
ระบบของกฎหมาย
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
ยึดถือคำพิพากษาในคดีก่อน (Precedent) เป็นหลักบรรทัดฐานในการตัดสินคดี
ประเทศที่ใช้
สหรัฐอเมริกา , ออสเตรเลีย , อินเดีย
นิวซีแลนด์ , แคนาดา , อังกฤษ
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
การพิจารณาคดีของศาลจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ทั่วไปสู่การพิจารณาเฉพาะเรื่องโดยการตีความต้องพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย
ประเทศที่ใช้
เดนมาร์ก , เยอรมัน , ฝรั่งเศส , เบลเยี่ยม
สวิสเซอร์แลนด์ , ออสเตรีย , อิตาลี , สเปน
ไทย , จีน , ญี่ปุ่น
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายมหาชน
บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน
ตัวอย่าง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นแม่บทและเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่กำหนดการปกครองประเทศ รองจากรัฐธรรมนูญ
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดและบทลงโทษ
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยกระบวนการดำเนินคดี การพิจารณาความทางอาญา ตั้งแต่การจับกุม การรวบรวมพิจารณาและการพิจารณาคดี
ธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงการจัดตั้งศาล อำนาจของศาลและผู้พิพากษาคดี
กฎหมายเอกชน
บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน
ตัวอย่าง
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน
กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการค้าขาย หุ้นส่วน บริษัท การประกันภัยและตั๋วเงิน
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาความ การดำเนินคดี ในการพิจารณาข้อพิพาททางแพ่ง ตลอดจนการกำหนดให้ฝ่ายผิดปฏิบัติตามคำพิพากษา
อื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายระหว่างประเทศ
แผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของรัฐเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่มหาชน
แผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลต่างรัฐในทางแพ่งเกี่ยวกับความประพฤติ สิทธิ และหน้าที่
แผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ก าหนดความสัมพันธ์ในคดีอาญาของบุคคลที่เกิดขึ้น
กฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
กฎหมายภายใน
เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ
กฎหมายภายนอก
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ
กฎหมายที่แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
เช่น กฎหมายระเบียบราชการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายสาธารณะสุข กฎหมายอุตสาหกรรม เป็นต้น
กฎหมายที่แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ
เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล
เช่น วิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
กฎหมายที่แบ่งโดยสภาพบังคับทางกฎหมาย
เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลเดี่ยว
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท
ระบบศาลคู่
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น
ระบบศาลของประเทศไทย
เป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกัน
มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ
ประเภท
ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป
ศาลยุติธรรม
ศาลชั้นต้น
ศาลแพ่ง
ศาลอาญา
ศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกา
ศาลปกครอง
เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน
มี 2 ชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด
ศาลทหาร
มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจำการกระทำผิด ตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร
ชื่อ นางสาวมาลินี คำมา เลขที่ 62
รหัส 6001211368 Section A